เวลาใครสักคนได้ยินคำว่า
"Schedule"
เชื่อว่าส่วนใหญ่คงนึกถึงความหมายที่เกี่ยวข้องกับ
"เวลา"
เช่นกำหนดการต่าง
ๆ แต่อันที่จริงคำนี้ยังมีอีกความหมายคือ
"รายการ"
(รูปที่
๑)
ซึ่งในงานวิศวกรรมก็มีการใช้คำนี้ในความหมายหลังนี้ในคำว่า
"Equipment
schedule" ซึ่งหมายถึงรายการอุปกรณ์
รูปที่
๑ ความหมายของคำว่า Schedule
ในฐานะที่เป็นคำนาม
(จาก
Oxford
Advanced Learner's Dictionary 4th ed. ฉบับพิมพ์ปีค.ศ.
๑๙๙๑)
Equipment
schedule ในที่นี้เป็นรายการอุปกรณ์สำหรับโรงงานหรือหน่วยผลิตหนึ่ง
ว่าประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง
จำนวนเท่าใด ทำหน้าที่อะไร
โดยมีรายละเอียดกำหนดคร่าว
ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับ specification
ที่เป็นการกำหนดเจาะลึกรายละเอียดตัวอุปกรณ์ว่าแต่ละชิ้นส่วนต้องมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างไรบ้างเพื่อให้ตรงกับการใช้งานจริง
ตัวอย่างเช่นในการเลือกซื้อปั๊ม
ถ้าเป็น specification
ก็จะมีการกำหนดรายละเอียดต่าง
ๆ ที่จำเป็น เช่น รูปแบบการทำงาน
(centrifugal
หรือ
reciprocating)
วัสดุที่ใช้สร้างชิ้นส่วนต่าง
ๆ ระบบป้องกันการรั่วซึม
(sealing)
ชนิดของอุปกรณ์ขับเคลื่อน
(driver)
ความเร็วรอบการหมุนของอุปกรณ์ขับเคลื่อน
ฯลฯ ดังนั้นปั๊มตัวไหนที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
specification
ก็สามารถนำมาใช้งานได้
แต่พอเป็น schedule
ก็อาจมีการระบุในส่วนของ
น้ำหนักและ/หรือมิติ
(ข้อมูลสำหรับการเคลื่อนย้าย)
ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย
ที่จะระบุได้หลังจากเลือกซื้อแล้ว
หรือจะมองว่า specification
นั้นเป็นตัวกำหนดว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นสำหรับแต่ละงานนั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
Equipment
schedule
ก็จะเป็นตัวบอกว่าสำหรับแต่ละกระบวนการผลิตนั้นมีอุปกรณ์อะไรอยู่บ้างและเป็นจำนวนเท่าใด
และข้อมูลบางอย่างก็อาจปรากฏอยู่ทั้ง
specification
และ
schedule
ก็ได้
บทความชุดนี้คงมีหลายตอน
ในตอนแรกนี้จะขอยกกรณีของ
compressor
และ
pump
มาให้ดูเป็น
"ตัวอย่าง"
ก่อน
(ซึ่งแปลว่าสามารถเอาไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับงานของแต่ละคนได้)
ตารางที่
๑ เป็นตัวอย่างรายละเอียด
Equipment
schedule สำหรับ
compressor
เราลองมาไล่ดูทีละหัวข้อไปเรื่อย
ๆ ก็แล้วกัน
"Item
no." คือรหัสชื่ออุปกรณ์
เช่น C-100,
C-212 ที่ปรกติก็จะประกอบด้วยตัวอักษรนำหน้าที่บ่งบอกว่าเป็นอุปกรณ์อะไร
และตัวเลขตามหลังที่บ่งบอกว่าใช้กับหน่วยผลิตใด
"Service
name" คือใช้ทำหน้าที่อะไร
เช่นอาจเป็น Recyle
gas blower, 2nd stage compressor เป็นต้น
"No.
required" คือให้บ่งบอกจำนวน
เช่นในกรณีที่เป็น compressor
ชนิดเดียวกัน
ทำหน้าที่เดียวกัน 3
ตัว
เช่นสมมุติว่าโรงงานมี
compressure
อัดอากาศสำหรับใช้งานทั่วไปในโรงงาน
(plant
air) การตั้งชื่ออุปกรณ์
(Item
no.) ก็อาจเป็น
C-701A,
C-701B และ
C-701C
แต่การกรอกข้อมูลในส่วนของ
Item
no. ก็จะเป็น
C-701
แต่พอจำนวนจะกรอกเป็น
3
"Compressor
of Blower" ตรงช่อง
Type
ให้ระบุว่าเป็น
Compressor
หรือ
Blower
ส่วนช่อง
Shaft
power ก็ให้ระบุกำลังที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อน
ช่อง
"Gas"
ให้ระบุชนิดแก๊สและน้ำหนักโมเลกุลของแก๊สที่ทำการอัด
(ข้อมูลสำคัญสำหรับการทำงานของทั้ง
Blower
และ
Compressor)
"Suction"
คือเงื่อนไขแก๊สด้านขาเข้า
ว่ามีความดันและอุณหภูมิเท่าใด
การระบุความดันตรงนี้ต้องดูด้วยว่าให้ระบุเป็นควานดันเกจ
(gauge
ที่ย่อว่า
g)
หรือความดันสัมบูรณ์
(absolute
ที่ย่อว่า
a)
"Discharge"
คือเงื่อนไขแก๊สด้านขาออก
ว่ามีความดันและอุณหภูมิเท่าใด
และเช่นเดียวกันกับด้านขาเข้า
การระบุความดันด้านขาออกนี้ต้องดูด้วยว่าให้ระบุเป็นควานดันเกจ
(gauge
ที่ย่อว่า
g)
หรือความดันสัมบูรณ์
(absolute
ที่ย่อว่า
a)
"Flow
rate" คืออัตราการไหล
เนื่องจากแก๊สนั้นปริมาตรเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิและความดัน
ดังนั้นอัตราการไหลโดยปริมาตรด้านขาเข้าและขาออกจึงแตกต่างกัน
แต่อัตราการไหลโดยน้ำหนัก
(In
weight) จะเท่ากัน
และถ้าเป็นการระบุอัตราการไหลโดยปริมาตร
(เช่นด้านขาเข้าดังตัวอย่างที่ยกมา)
ก็ต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่าอัตราการไหลโดยปริมาตรนั้นเป็นปริมาณ
ณ อุณหภูมิและความดันของแก๊สที่ไหลเข้า
compressor
(At suction (m3/hr)) หรือเป็นค่าที่ปรับแก้มาเป็นค่าที่
Normal
Temperature and Pressure (NTP) แล้ว
(At
NTP (Nm3/hr))
แต่ทั้งนี้ควรต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนด้วยว่า
"NTP"
นั้นกำหนดค่าที่ความดันและอุณหภูมิเท่าใด
(เพราะมันมีนิยามที่แตกต่างกันอยู่)
"Material
& Construction" คือให้ระบุชนิดวัสดุที่ใช้ทำตัวอุปกรณ์
เช่นตัวเรือน (Casing)
ตัวใบพัด
(Impeller)
ในกรณีของชนิด
centrifugal
หรือลูกสูบ
(Piston)
ในกรณีของชนิด
reciprocating
ชนิดของวิธีการป้องกันการรั่วซึม
(seal)
ว่าเป็นชนิดใดเช่น
mechanical
seal, labyrinth, carbon ring, gland packing เป็นต้น
"Driver"
หรืออุปกรณ์ขับเคลื่อน
ให้ระบุชนิด (Type)
เช่นเป็น
มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้อากาศอัดความดัน
ระบบไอน้ำ เครื่องยนต์ดีเซล
เป็นต้น กำลังขับเคลื่อน
(Output
(kW)) และรอบการหมุนของอุปกรณ์ขับเคลื่อน
(ในกรณีของพวก
centrifugal
รอบการหมุนของอุปกรณ์ขับเคลื่อนไม่จำเป็นต้องเท่ากับตัว
impeller
เพราะอาจมีการใช้สายพานหรือเฟืองทดรอบได้
และในกรณีของชนิด reciprocating
นั้นรอบการหมุนของมอเตอร์อาจคงที่
แต่ไปปรับที่ระยะช่วงชักของลูกสูบเพื่อปรับอัตราการไหลได้)
"Approx
weight" คือน้ำหนักโดยประมาณ
ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการขนส่ง
ในกรณีของพวกที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ดีเซล
ตัว compressor
และอุปกรณ์ขับเคลื่อนก็อาจรวมมาเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันก็ได้
"Supplier"
คือผู้ผลิตอุปกรณ์
แม้ว่าคำนี้ถ้าแปลออกมามันจะแปลว่าผู้ขายก็ได้
แต่ควรจะบันทึกว่าใครเป็นผู้ที่ผลิตอุปกรณ์นั้นจะดีกว่า
เพราะเป็นเรื่องปรกติที่ผู้ขายอุปกรณ์ก็ไม่ได้เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นเสมอไป
"Remarks"
คือหมายเหตุ
คือมีอะไรเป็นพิเศษที่ไม่ตรงกับช่องที่มีอยู่
ก็ให้มาเขียนไว้ที่นี่
ตารางที่ ๒ เป็นตัวอย่างรายละเอียด Equipment schedule สำหรับ pump ซึ่งมีบางจุดก็คล้ายกับของ compressor เราลองมาไล่ดูทีละหัวข้อไปเรื่อย ๆ ก็แล้วกัน
"Item
no." คือรหัสชื่ออุปกรณ์
เช่น P-501,
P-701 ที่ปรกติก็จะประกอบด้วยตัวอักษรนำหน้าที่บ่งบอกว่าเป็นอุปกรณ์อะไร
และตัวเลขตามหลังที่บ่งบอกว่าใช้กับหน่วยผลิตใด
"Service
name" คือใช้ทำหน้าที่อะไร
เช่นอาจเป็น Reflux
pump, Fuel oil feed pump เป็นต้น
"No.
required" คือให้บ่งบอกจำนวน
และเช่นเดียวกันในกรณีของ
compressor
ถ้าหากมีปั๊มชนิดเดียวกัน
ทำหน้าที่เดียวกัน 2
ตัว
ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องปรกติของปั๊มที่ทำงานต่อเนื่อง
24
ชั่วโมง
ที่ต้องมีตัวสำรองเสมอ
การตั้งชื่ออุปกรณ์ (Item
no.) ก็อาจเป็น
P-501A
และ
P-501B
แต่การกรอกข้อมูลในส่วนของ
Item
no. ก็จะเป็น
P-501
แต่พอจำนวนจะกรอกเป็น
2
"Type"
คือชนิดของปั๊ม
เช่น centrifugal,
plunger (ลูกสูบ),
diaphragm, gear, rotary ฯลฯ
ช่อง
"Fluid
name" ก็ให้กรอกของเหลวที่ปั๊มสูบ
เช่น boiler
feed water (BFW), caustic, seal oil ฯลฯ
ถัดไปคือ
"Operating
condition" หรือสภาวะการทำงานที่ประกอบด้วย
อุณหภูมิ (Temperature),
อัตราการไหล
(Flow
rate), ความหนาแน่น
(Density),
ความหนืด
(Viscosity),
มีของแข็งแขวนลอยหรือเป็น
Slurry
หรือไม่,
ความดันด้านขาเข้า
(Suction
pressure) และความดันด้านขาออก
(Discharge
pressure) ที่เป็นความดันด้านขาออกในขณะทำงานที่สภาวะปรกติ
ช่อง
"Total
head as liquid column" ที่มีหน่วยเป็นระยะทาง
(เช่น
m
ในตัวอย่างที่ยกมา)
หมายถึงความดันสูงสุดด้านขาออก
(ในกรณีของ
centrifugal
pump ก็จะเป็นค่าที่เมื่ออัตราการไหลเป็นศูนย์หรือวาล์วด้านขาออกปิด)
ว่าเทียบเท่ากับความดันของของเหลวที่สูงกี่เมตร
นิยามต้องนี้บางครั้งต้องระวังให้ดี
โดยเฉพาะ "ของเหลว"
นั้นหมายถึง
"น้ำ"
หรือของเหลวที่ปั๊มนั้นทำงานด้วยจริง
เพราะความหนาแน่นมันต่างกัน
และเป็นค่าที่อุณหภูมิเท่าใดด้วย
เพราะของเหลวที่ร้อนจะมีความหนาแน่นต่ำกว่าาของเหลวที่เย็นกว่า
ช่อง
"NPSH"
คือ
Net
Positive Suction Head นั่นเอง
ว่าในระบบนั้นมีให้เท่าใด
(AVA
- Available) และในการทำงานจริงนั้นปั๊มต้องการเท่าใด
(REQD
- Required)
ช่อง
"Design"
ตรงนี้เป็นค่าของอุณหภูมิและความดันที่ใช้ในการออกแบบปั๊ม
"Material
& Construction" เป็นข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ทำและโครงสร้าง
(ว่ามีอะไรเป็นพิเศษหรือไม่)
เช่นในส่วนของตัวเรือน
(casing),
ใบพัด
(impeller),
เพลา
(shaft)
การป้องกันการรั่วซึมระหว่างเพลากับตัวเรือน
(ช่อง
"shaft
seal") ว่าใช้ระบบใด
เช่น double
mechanical seal, gland packing เป็นต้น
"Flushing"
คือการใช้ของเหลว
(ที่สะอาด)
ชะเข้าไปตรงบริเวณที่ติดตั้ง
mechanical
seal ซึ่งอาจทำไปเพื่อระบายความร้อน
(ด้วยการอัดของเหลวที่เย็นกว่า
process
fluid เข้าไป)
ป้องกันไม่ให้ของแข็งที่มากับ
process
fluid นั้นเข้ามาสะสมและก่อความเสียหายให้กับ
mechanical
seal เป็นต้น
ของเหลวที่นำมาใช้ในการ
flushing
นี้อาจมาจากแหล่งภายนอกที่มีระบบจ่ายต่างหาก
หรือนำเอา process
fluid ด้านขาออก
(ที่มีความดันสูง)
มากรองเอาของแข็งออกและ/หรือลดอุณหภูมิให้ต่ำลงมาใช้เป็นของเหลวสำหรับ
flushing
ก็ได้
"Insulation"
เป็นการถามความต้องการว่าต้องหุ้มฉนวน
(ร้อนหรือเย็น)
ให้กับตัวปั๊มด้วยหรือไม่
ช่อง
"Driver
: Type & Output" ให้ระบุอุปกรณ์ขับเคลื่อนว่าเป็นอะไร
เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ไอน้ำ
เครื่องยนต์ดีเซล
(เช่นในกรณีของปั๊มน้ำดับเพลิง)
และกำลังของหน่วยขับเคลื่อน
ตัวปั๊มที่เพลามอเตอร์กับเพลาของ
impeller
นั้นเป็นคนละท่อนกัน
เมื่อได้มาแล้วก็ควรต้องมีการตรวจสอบการเชื่อมต่อตรง
coupling
ด้วยว่าต่อเพลาไว้ตรงแนวกันหรือไม่
"Approx
weight" คือน้ำหนักโดยประมาณ
"Supplier"
คือผู้ผลิตอุปกรณ์
"Remarks"
คือหมายเหตุ
คือมีอะไรเป็นพิเศษที่ไม่ตรงกับช่องที่มีอยู่
ก็ให้มาเขียนไว้ที่นี่
สำหรับตอนที่
๑ คงจะจบเพียงแค่นี้ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น