จากที่เมื่อช่วงลอยกระทงได้พาสมาชิกที่ไปประชุมกันที่หาดใหญ่ไปเที่ยวสถานีรถไฟคลองแงะ
โชคดีที่มีรถไฟเข้ามาพอดี
ก็เลยได้เห็นพนักงานขับรถไฟรับ-ส่ง
"ห่วงทางสะดวก"
(เอาไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังว่าคืออะไร)
ในขณะที่รถวิ่งผ่านสถานีรถไฟโดยไม่ต้องหยุดรถกัน
วันก่อนระหว่างการขับรถกินลมไปบางแสน
ได้ถือโอกาสแวะสถานีรถไฟชลบุรีซึ่งอยู่บนถนนสายเลี่ยงตัวเมืองชลบุรีก่อนถึงแยกเข้าสุขุมวิทเพื่อไปบ้างแสน
เพื่อถ่ายรูปอุปกรณ์เกี่ยวกับการเดินรถไฟอีกชนิดมาให้ดูกัน
จะได้รู้จักสิ่งอื่น ๆ
บ้างนอกเหนือจากตำราเรียน
ตอนเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔
ผมเคยเล่าเรื่อง track
circuit ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บอกว่ามีรถไฟอยู่บนรางช่วงไหน
วันนี้ก็ขอแนะนำให้รู้จักกับอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งคือ
"เครื่องตกราง"
หรือบางรายก็เรียกว่า
"เหล็กตกราง"
"เครื่องตกราง"
นี้เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับป้องกันการชนกันของรถไฟ
เช่นในกรณีที่มีตู้รถไฟจอดรออยู่ในรางสับหลีก
ถ้าหากมีการสับรางผิดพลาด
รถไฟอีกขบวนก็อาจวิ่งเข้าชนตู้รถไฟที่จอดรออยู่ได้
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการติดตั้ง
"เครื่องตกราง"
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่วางคร่อมรางเอาไว้รางหนึ่ง
เมื่อล้อรถไฟมาถึงเครื่องตกรางดังกล่าว
ก็จะเกิดการปีนและทำให้รถไฟตกราง
ไม่สามารถวิ่งเข้าไปชนตู้รถไฟที่จอดอยู่ได้
รูปที่เอามาให้ดูเป็นชนิดที่ทำจากเหล็ก
มีคันโยกสำหรับเปิดหรือปิดเรียบร้อย
ในบางที่ (น่าจะเป็นรุ่นเก่าหรือตามสถานีต่างจังหวัด)
จะมีชนิดที่เป็นท่อนไม้ใหญ่
ๆ วางคร่อมราง
โดยด้านหนึ่งของไม้ติดอยู่กับบานพับ
และอีกด้านมีห่วงอยู่สำหรับคล้องกุญแจ
ถ้าอยากเห็นรูปมันก็ลองค้นดูเอาเองได้จาก
google
มีคนถ่ายรูปเอาไว้เยอะ
รูปที่
๑ ในวงเหลืองคือเครื่องตกรางชนิดทำจากเหล็ก
(ถ่ายจากสถานนีรถไฟชลบุรี)
ส่วนวงเขียวคือคันโยกสำหรับโยกเปิดหรือปิด
รูปที่
๒ อีกมุมหนึ่งของ "เครื่องตกราง"
ที่แสดงในรูปที่
๑ ในวงเหลืองเป็นเสาสัญญาณที่บอกให้ทราบว่ารางนั้นรถผ่านได้หรือไม่
(ถ่ายจากสถานนีรถไฟชลบุรี)
ที่เอาเรื่องนี้มาเล่าก็เพราะนึกถึงอุบัติเหตุหนึ่งในอดีต
ซึ่งถ้ามีการทำให้รถไฟตกรางเสียก่อนก็คงจะไม่เสียหายหนัก
วันเสาร์ที่
๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๒๙
หรือเมื่อ ๒๕
ปีเศษที่แล้วมีอุบัติเหตุหัวรถจักรที่ไม่มีผู้ขับขี่ออกวิ่งจากสถานีบางซื่อ
ผ่านทางแยกตัดถนนต่าง ๆ
มุ่งหน้าเข้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
เจ้าหน้าที่ทราบว่ามีรถจักรวิ่งเข้าหาสถานีโดยไม่มีการควบคุม
แต่ก็ไม่มีการพยายามที่จะทำให้รถคันดังกล่าวตกราง
(ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าในขณะนั้นสามารถทำได้หรือเปล่า)
ทำให้ขบวนหัวรถจักรดังกล่าววิ่งเข้าชนชานชาลาสถานี
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย
ถ้าอยากทราบรายละเอียดเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมก็ลองใช้คำค้นหา
"หัวรถจักรพุ่งชนหัวลำโพง"
ใน
google
ก็จะได้ทั้งรายละเอียดและรูปภาพเหตุการณ์
คำถามสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวที่น่าจะถามก็คือ
ถ้าหากสามารถทำให้หัวรถจักรขบวนดังกล่าวตกรางได้
ซึ่งแน่นอนว่าหัวรถจักรต้องเกิดความเสียหายแน่
ใครจะเป็นคนสั่งให้ดำเนินการให้หัวรถจักรตกราง
และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายของหัวรถจักรที่ตกรางนั้น