วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อย่าคิดว่าคนอื่นจะคิดเหมือนเราเสมอไป MO Memoir : วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒

เมื่อวันพุธที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ไปนั่งฟังการนำเสนอผลงานของนิสิตที่ทำการฝึกงานที่โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ศรีราชา ปรากฏว่าฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะผลงานของนิสิตแต่ละกลุ่มเต็มไปด้วยคำย่อ ซึ่งคิดว่าเป็นคำย่อมาตรฐานที่แต่ละหน่วยงานของโรงกลั่นเข้าใจกัน แต่ไม่รู้ว่าเหมือนกันว่าถ้าเป็นต่างหน่วยงานจะเข้าใจกันหรือเปล่า ข้อคิดที่ได้ให้แก่นิสิตเหล่านั้นไปคือให้ระวังถ้าจะต้องนำเสนองานต่าง ๆ ให้กับผู้ฟังที่ไม่มีพื้นฐานในงานที่ตัวเองทำ (หรือมีพื้นฐานแต่เป็นผู้ที่มาจากหน่วยงานอื่น) เพราะคำย่อที่ใช้ในหน่วยงานหนึ่งอาจเป็นคำย่อเฉพาะสำหรับหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ใช่คำย่อมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในวงการ
  
จะว่าไปเรื่องการใช้คำย่อโดยที่ไม่สนว่าผู้ฟังจะรู้เรื่องหรือเปล่านี่ไม่ต้องไปหาตัวอย่างดูไกล ๆ ที่ไหนหรอก เวลาเรียนในชั่วโมงสัมมนาก็เห็นได้ชัด ผู้นำเสนอของแต่ละกลุ่มวิจัยก็นำเสนอโดยไม่สนใจว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มวิจัยอื่นจะรู้เรื่องหรือเปล่า (หรือเขาคิดกันอยู่ในใจว่า "ไม่รู้เรื่องก็ดี จะได้ไม่มีคำถาม")
 
เรื่องการใช้คำย่อดังกล่าวทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อสัก 20 ปีที่แล้ว (ราว ๆ ปีพ.. 2531 หรือปีค.. 1988) ตอนนั้นยังทำงานคุมการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งหนึ่งอยู่ที่มาบตาพุด คือหลังจากที่เลือกเทคโนโลยีการผลิตได้แล้วก็จะเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนจาก Process Flow Diagram (PFD) ไปเป็นตัวโรงงานจริง ซึ่งต้องมีการระบุรูปร่างและขนาดของพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้าง และตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงค่อยทำการคำนวณหาขนาดของท่อและปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์ เพื่อให้ได้อัตราการไหลและความดันตามที่ต้องการ ซึ่งในระหว่างกระบวนการเหล่านี้ก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบไปเรื่อย ๆ (โดยเฉพาะ Piping and Instrumental Diagram - PID หรือ P&ID ฯลฯ หรือแล้วแต่จะย่อกัน)
 
อยู่มาวันหนึ่งในที่ประชุม รุ่นพี่ที่เป็นวิศวกรไฟฟ้าคนหนึ่งก็เอ่ยถามว่า "STP นี่นิยามที่ตรงไหน" ปรากฏว่าพวกนักเคมีและวิศวกรเคมีที่อยู่ในที่ประชุมต่างให้คำตอบที่ไม่ตรงกัน (เรียนมาจากตำราต่างกัน) บางคนก็บอกว่าค่านี้คือ STP และอีกค่าหนึ่งคือ NTP บางคนก็บอกว่า STP และ NTP คือค่าค่าเดียวกัน ฯลฯ คำถามที่เกิดขึ้นทันทีในขณะนั้นคือการออกแบบโรงงานที่กำลังกระทำอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ใช้ค่า STP ตรงกับที่ทางฝ่ายไทยคิดเอาไว้หรือไม่
  
STP ย่อมาจาก Standard Temperature and Pressure ส่วน NTP ย่อมาจาก Normal Temperature and Pressure เมื่อลองค้นหาโดยใช้ google ก็พบว่ามีทั้งที่บอกว่าเหมือนกันและแตกต่างกัน บางคนก็บอกว่า NTP เป็นชื่อเก่าของ STP แต่ที่หนักไปกว่านั้นคือนิยามของ STP เอง ซึ่งทาง IUPAC ได้ให้ไว้ 2 นิยาม
  
นิยามเดิมของ STP นั้นทาง IUPAC กำหนดไว้ที่อุณหภูมิ 273.15 K (°C) และความดัน 1.01325 ´ 105 pascals (หรือ 1 atm) แต่ในเอกสารของ IUPAC เองที่ระบุว่าเผยแพร่ในปีค.. 1990 (.. 2533) กลับกำหนดที่อุณหภูมิ 273.15 K เหมือนเดิมแต่เปลี่ยนความดันเป็น 105 pascals (ความดันลดลงเล็กน้อย) และกล่าวไว้ด้วยว่าควรจะยกเลิกนิยามที่เดิมกำหนดที่ความดัน 1.01325 ´ 105 pascals (ดู http://www.iupac.org/goldbook/S05910.pdf)
 
ในเอกสารของ IUPAC เอง (http://www.iupac.org/goldbook/S06036.pdf จัดทำในปีค.. 1997) ในส่วนของ STP ยังได้กล่าวเอาไว้อีกว่า ในกรณีของการปรับเทียบ (calibrate) flow meter ต่าง ๆ นั้นที่ระบุอัตราการไหลเป็นปริมาตรต่อหน่วยเวลา มักจะหมายถึงปริมาตรที่อุณหภูมิ 25 °C ไม่ใช่ที่ 0 °C
ตารางที่ 1 ในหน้าถัดไปได้มาจากเว็ปไซด์ของ wikipedia จะเห็นว่าแต่ละหน่วยงานก็มีการกำหนดนิยามของ STP ที่แตกต่างกันออกไป รายละเอียดชื่อย่อหน่วยงานต่าง ๆ ขอให้ไปตามดูเองจากเว็ปไซด์ดังกล่าว
 

ตารางที่ 1 ภาวะอ้างอิงมาตรฐานสำหรับค่า STP ที่กำหนดโดยหน่วยงานต่าง ๆ
Temp.
Pressure (abs)
Relative humidity
Publishing or establishing entity
°C
kPa
% RH

0
100.000

IUPAC (present definition)
0
101.325

IUPAC (former definition), NIST, ISO 10780
15
101.325
0
ICAO's ISA, ISO 13443, EEA, EGIA
20
101.325

EPA, NIST
25
101.325

EPA
25
100.000

SATP
20
100.000
0
CAGI
15
100.000

SPE
20
101.3
50
ISO 5011
°F
psi
% RH

60
14.696

SPE, U.S. OSHA, SCAQMD
60
14.73

EGIA, OPEC, U.S. EIA
59
14.503
78
U.S. Army Standard Metro
59
14.696
60
ISO 2314, ISO 3977-2
°F
in Hg
% RH

70
29.92
0
AMCA, air density = 0.075 lbm/ft3. This AMCA standard applies only to air.
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Standard_conditions_for_temperature_and_pressure
* EGIA: Electricity and Gas Inspection Act (of Canada)
* SATP: Standard Ambient Pressure and Temperature
* SCAQMD: California's South Coast Air Quality Management District
  
ในหนังสือ What went wrong? Case histories on process plant disasters เขียนโดย Trevor A. Kletz ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปีค.. 1988 โดยสำนักพิมพ์ Gulf publishing company นั้น เนื่องจากผู้เขียนเป็นชาวอังกฤษ แต่หนังสือจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อเมริกา ในเรื่องแรกของเนื้อหาจึงต้องมีการกล่าวไว้ก่อนว่าภาษาที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษแบบไหน และได้ให้ตารางเทียบศัพท์เทคนิคที่ใช้ระหว่างอังกฤษกับอเมริกาเอาไว้ด้วย ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือค่า STP
ดังแสดงในตารางที่ 2 ข้างล่าง
 
ตารางที่ 2 ค่า STP และ NTP ตามความหมายของอังกฤษ (UK) และอเมริกา (US)
US

UK

STP
60 °F 1 atm
32 °F 1 atm
STP
NTP
32 °F 1 atm

  
Prof. T.A. Kletz นั้นเดิมเป็นวิศวกรทำงานบริษัทเอกชน (ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนว่าจะเป็น ICI) มีประสบการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานมามาก เมื่อพ้นจากงานในบริษัทเอกชนก็เข้ามาเป็นอาจารย์ที่ Loughborough University ประเทศอังกฤษ หนังสือเล่มที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการรวบรวมอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมและชี้ให้เห็นความผิดพลาดต่าง ๆ จัดว่าเป็นหนังสือที่ดีมากเล่มหนึ่ง ผมเองอ่านจนหมดเล่มเป็นสิบเที่ยวอยู่เหมือนกัน เอาไว้ถ้ามีโอกาสจะคัดเลือกบางเรื่องจากหนังสือดังกล่าวมาเล่าให้ฟัง
  
อีกตัวอย่างหนึ่งคือเครื่องหมายคำเตือนที่มักติดไว้ข้างกล่องหรือลังสิ่งของต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 1 ข้างล่าง การที่ใช้รูปภาพก็เพื่อตัดปัญหาเรื่องภาษาที่อาจสื่อสารไม่เข้าใจกันเมื่อต้องส่งสิ่งของไปยังประเทศต่าง ๆ ลองดูภาพข้างล่างแล้วคุณคิดว่าหมายความว่าอย่าไร


รูปที่ 1 ตัวอย่างป้ายเตือนที่มักพบอยู่ข้างหีบห่อสิ่งของต่าง ๆ
 
ภาพข้างบนเป็นภาพรวม แต่ก็มีบันทึกไว้เหมือนกันว่าพอคนงานเห็นรูปแก้วแตกอยู่ข้างกล่อง ก็ตีความหมายว่ากล่องนั้นบรรจุสิ่งของที่แตกหักเอาไว้ ดังนั้นเวลาขนของหรือลำเลียงก็ไม่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก โยนได้ก็โยน พอเห็นรูปร่มกันฝนก็เข้าใจว่าหีบห่อดังกล่าวได้รับการป้องกันน้ำฝนเอาไว้แล้ว ดังนั้นสามารถเก็บไว้กลางแจ้งให้ตากแดดตากฝนได้
ถ้าคุณเจอเหตุการณ์แบบนี้เข้า คุณจะทำอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: