แบบจำลอง
Eley-Rideal
นี้เป็นแบบจำลองการทำปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลสองโมเลกุล
แบบจำลองนี้มีข้อแตกต่างจากแบบจำลอง
Langmuir-Hinshelwood
ตรงที่สารตั้งต้นสารหนึ่ง
(A)
จะถูกดูดซับลงบนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา
และสารตั้งต้นอีกสารหนึ่ง
(B)
จาก
fluid
phase จะเข้ามาชนกับ
A
ที่อยู่บนพื้นผิว
เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ (P)
โดยที่
B
"ไม่จำเป็น"
ต้องถูกดูดซับบนพื้นผิว
ดังสมการข้างล่าง
A
+ θ
→ θA
θA
+ B →
P
อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ
A
บนพื้นผิว
(θA)
และความเข้มข้นของ
B
ที่อยู่ในเฟสของไหล
(ในที่นี้สมมุติให้เป็นแก๊ส
-
PB)
ดังสมการ
(1)
เมื่อ
k
คือค่าคงที่ของการเกิดปฏิกิริยา
ค่าของ θA
หาได้จากสมการของ
Langmuir
ดังนี้
(ในกรณีที่
B
ไม่ถูกดูดซับลงบนพื้นผิว
(2)
เมื่อ
KA
คือค่าของที่การดูดซับของสาร
A
PA
คือความดันของสาร
A
แทนค่า
θA
จาก
(2)
ลงใน
(1)
จะได้
(3)
จากสมการที่
(3)
จะเห็นว่า
ถ้าเราคงความเข้มข้นของ A
(PA)
ให้คงที่
และเพิ่มความเข้นข้นของ B
(PB)
ที่อยู่ในเฟสแก๊สใหสูงขึ้นไปเรื่อย
ๆ อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปได้เรื่อย
ๆ โดยไม่มีขีดจำกัด
ในทางกลับกันถ้าเราให้ความเข้มข้นของ
B
(PB)
คงที่
และเพิ่มความเข้มข้นของ A
(PA)
ให้สูงขึ้นเรื่อย
ๆ ไปจนถึงระดับที่ทำให้ค่า
KAPA
>> 1 ซึ่งจะทำให้ค่า
1
+ KAPA ≈ KAPA
สมการที่
(3)
จะลดรูปเหลือเพียง
(4)
ซึ่งจะเข้าหาค่าคงที่ที่ถูกกำหนดด้วยความดันของ
B
ในระบบ
(ดูรูปที่
๑ ประกอบ)
รูปที่
๑
(บน)
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับความเข้มข้นของ
A
ซึ่งเป็นสารที่ถูกดูดซับบนพื้นผิวเมื่อความเข้มข้นของ
B
คงที่
(ล่าง)
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับความเข้มข้นของ
B
ซึ่งเป็นสารที่ไม่ถูกดูดซับบนพื้นผิวเมื่อความเข้มข้นของ
A
คงที่
โดยโมเลกุลของ B
ในเฟสแก๊สวิ่งเข้ามาชนกับโมเลกุล
A
ที่ถูกดูดซับอยู่บนพื้นผิวและกลายเป็นผลิตภัณฑ์
P
ไป
ในกรณีที่
B
ถูกดูดซับลงบนพื้นผิวด้วย
(แต่ตัวที่ทำปฏิกิริยาคือ
B
ที่อยู่ในเฟสแก๊ส
ไม่ใช่ B
ที่อยู่บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
-
θB)
ค่า
θA
จะเป็น
(5)
เมื่อ
KA
คือค่าของที่การดูดซับของสาร
A
และ
KB
คือค่าของที่การดูดซับของสาร
ฺB
PA
และ
PB
คือความดันของสาร
A
และ
B
ตามลำดับ
แทนค่า
θA
จาก
(5)
ลงใน
(1)
จะได้
(6)
จากสมการที่
(6)
จะเห็นว่าถ้าเราให้ความเข้มข้นของ
B
(PB)
คงที่
และเพิ่มความเข้มข้นของ A
(PA)
ให้สูงขึ้นเรื่อย
ๆ ไปจนถึงระดับที่ทำให้ค่า
KAPA
>> 1 + KPB
ซึ่งจะทำให้ค่า
1
+ KPA
+ KPB ≈ KPA
สมการที่
(6)
จะลดรูปเหลือเพียง
(7)
ซึ่งจะเข้าหาค่าคงที่ที่ถูกกำหนดด้วยความดันของ
B
ในระบบ
(เหมือนกับสมการที่
(4))
ในทางกลับกันถ้าเราให้ความเข้มข้นของ
A
(PA)
คงที่
และเพิ่มความเข้มข้นของ B
(PB)
ให้สูงขึ้นเรื่อย
ๆ ไปจนถึงระดับที่ทำให้ค่า
KBPB
>> 1 + KAPA
ซึ่งจะทำให้ค่า
1
+ KAPA
+ KBPB
KBPB
สมการที่
(6)
จะลดรูปเหลือเพียง
(8)
ซึ่งจะเข้าหาค่าคงที่ที่ถูกกำหนดด้วยความดันของ
A
ในระบบในทำนองเดียวกันกับสมการที่
(8)
(ดูรูปที่
๒ ประกอบ)
รูปที่
๒ (บน)
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับความเข้มข้นของ
A
ซึ่งเป็นสารที่ถูกดูดซับบนพื้นผิวเมื่อความเข้มข้นของ
B
คงที่
(ล่าง)
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับความเข้มข้นของ
B
(ซึ่งในกรณีนี้
B
ถูกดูดซับบนพื้นผิวด้วย)
เมื่อความเข้มข้นของ
A
คงที่
โดยโมเลกุลของ B
ที่เข้าทำปฏิกิริยากับ
A
คือโมเลกุลของ
B
ในเฟสแก๊สที่วิ่งเข้ามาชนกับโมเลกุล
A
ที่ถูกดูดซับอยู่บนพื้นผิวและกลายเป็นผลิตภัณฑ์
P
ไป
ส่วนโมเลกุลของ B
ที่ถูกดูดซับอยู่บนพื้นผิวไม่ได้มีส่วนร่วมใด
ๆ ในการทำปฏิกิริยา
ทำหน้าที่เพียงแค่แย่ A
เกาะบนพื้นผิวเท่านั้น
จากที่กลุ่ม
DeNOx-SCR
ได้ค้นคว้าบทความและพบว่ามีผู้
"นำเสนอ"
ว่าปฏิกิริยาระหว่าง
NH3
กับ
NO
หรือ
O2
บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นไปตามกลไกแบบจำลอง
Eley-Rideal
นี้
(ผมใช้คำว่า
"นำเสนอ"
เพราะผมยังไม่ได้เห็นตัวจริงว่าสิ่งที่เขาบอกนั้นได้มาจากการทดลองยืนยันจริงที่ไม่น่าสรุปเป็นอย่างอื่นได้
หรือเป็นเพียงแค่สมมุติฐานที่ตั้งขึ้นโดยยังไม่มีข้อมูลผลการทดลองรองรับ)
จะว่าไปแล้วก็มีโอกาสที่เป็นไปได้
เพราะโดยปรกติพื้นผิวของโลหะออกไซด์มักจะชอบที่จะดูดซับโมเลกุลที่มีความเป็นขั้วมากกว่าโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว
ดังนั้นในกรณีนี้จึงเป็นไปได้สูงที่ปฏิกิริยาจะเกิดระหว่าง
NH3
ที่อยู่บนพื้นผิว
(แต่ต้องไม่ลืมนะว่า
H2O
และ
SO2
ก็สามารถลงมาเกาะบนพื้นผิวได้เช่นเดียวกัน)
กับ
NO
และ/หรือ
O2
ในเฟสแก๊ส
แต่ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ที่สามารถถูกรีดิวซ์/ออกซิไดซ์ได้ง่ายนั้น
(เช่น
V2O5)
การเกิดปฏิกิริยาอาจเกิดผ่านกลไกการเกิดอีกกลไกหนึ่งที่เรียกว่า
"REDOX"
(ย่อมาจาก
Reduction-Oxidation)
ซึ่งในกรณีนี้ทั้ง
NO
และ
O2
สามารถที่จะลงมาเกาะบนพื้นผิวโลหะออกไซด์ได้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของตัวโลหะ
ซึ่งเรื่องนี้จะกล่าวถึงในตอนต่อไป