เมื่อวานได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการให้คะแนนบอร์ดซีเนียร์โปรเจค
ได้เห็นผลการทดลองต่าง ๆ
ที่น่าสนใจ
และควรต้องใช้ความระมัดระวังมากในการแปลผล
ก็เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟัง
เรื่องที่
๑ พีคอยู่ตรงไหน
ในงานด้าน
spectroscopy
นั้น
ขนาดของพีค (ความสูงหรือความกว้าง)
จะบ่งบอกให้ทราบถึงปริมาณสารได้
กล่าวคือถ้ามีสารนั้นมาก
ก็จะเห็นพีคการดูดกลืนแสงของสารนั้นมากตามไปด้วย
แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ
"ความเข้มของการดูดกลืน"
หรือปริมาณแสงที่หายไป
กับ "ปริมาณสาร"
นั้นไม่จำเป็นต้องแปรผันเป็นเส้นตรง
มันขึ้นอยู่กับหน่วยที่ใช้แสดงการวัดปริมาณแสงที่หายไป
และช่วงความเข้มข้นของสาร
อีกประเด็นหนึ่งก็คือสัญญาณในบางช่วงความยาวคลื่นนั้นมันมีการทับซ้อนกันมาก
โดยเฉพาะพื้นผิวของแข็ง
และเมื่อพีคนั้นมีขนาดเล็ก
ยิ่งต้องระวังมากในการ (ก)
แยกว่าพีคที่เห็นนั้นคือสัญญาณการดูดกลืนหรือสัญญาณรบกวน
(noise)
และ
(ข)
ระดับของเส้น
base
line นั้นอยู่ตรงไหน
รูปในหน้าที่แล้วเป็นรูปสัญญาณ
FT-Raman
โดยปรกติแล้วสัญญาณ
Raman
จะแสดงความยาวคลื่นที่
"เปลี่ยน
หรือ shift"
ไปจากความยาวคลื่นที่ยิงเข้าใส่ตัวอย่าง
โดยมักจะแสดงความยาวคลื่นที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นแกน x
จึงไม่ใช่ความยาวคลื่นที่แท้จริงของแสงที่วัดได้
ความยาวคลื่นที่แท้จริงของแสงที่วัดได้จะคำนวณได้จากค่าความยาวคลื่นแสงที่ยิงเข้าไป
และนำค่า Raman
shift นี้ไปปรับแก้
อีกประเด็นที่ต้องระวังในการพิจารณาคือ
การใช้ "อัตราส่วน"
ในการแสดงปริมาณสัมพัทธ์ระหว่างสารสองชนิด
เพราะถ้าหากตัวหารมีค่าน้อยแล้ว
ตัวเลขค่าอัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าขนาดตัวหารจะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็ตาม
เรื่องข้อควรคำนึงในการอ่านผล
spectroscopy
นี้เคยเล่าไว้บ้างแล้วก่อนหน้านี้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๗๐ วันพุธที่ ๒๗
มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติตอนที่ ๓๗ NoiseหรือPeak"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๐๘ วันเสาร์ที่
๒๒ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการดูดกลืนแสง(Absorbance)กับความเข้มข้น"
และ
เรื่องที่
๒ เริ่มนับ
conversion
ที่ตรงไหนดี
รูปข้างล่างเป็นผลการทดลองใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง
ในการกำจัด Methylene
blue ที่ละลายอยู่ในน้ำ
ในการทดลองนั้นผู้ทดลองนำตัวเร่งปฏิกิริยาใส่ลงในภาชนะที่มีสารละลาย
Methylene
blue อยู่
(เริ่มจับเวลาตำแหน่ง
0
นาที)
แล้วทำการปั่นกวนในที่มืดเป็นเวลา
15
นาที
(ถึงเวลา
15
นาที)
จากนั้นจึงเปิดหลอดไฟให้แสง
และเริ่มเก็บตัวอย่างสารละลายมาวัดความเข้มข้นของ
Methylene
blue ด้วยเทคนิคทางด้าน
spectrometer
ตัวเร่งปฏิกิริยา
P25
คือตัวที่ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ
สิ่งที่น่าสนใจของผลการทดลองนี้ก็คือการหายไปของ
Methylene
blue ในช่วง
15
นาทีแรกที่ยังไม่มีการใช้แสง
ซึ่งต้องอธิบายให้ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด
เพราะ Methylene
blue ส่วนใหญ่หายไปในช่วงเวลาอันสั้นนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
90
นาทีของการทำปฏิกิริยา
(นาทีที่
15-105)
และทำไมเมื่อเปิดให้แสงแล้วอัตราการหายไปของ
Methylene
blue จึงลดลง
ในเรื่องนี้ดูเหมือนว่าผู้ทำการวิจัยจะไม่ได้คำนึงถึงเรื่อง
"การดูดซับ"
ของ
Methylene
blue บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้
ซึ่งปริมาณที่ตัวเร่งปฏิกิริยาจะดูดซับได้นั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของพื้นที่ผิวและขนาดพื้นที่ผิว
แต่เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาที่นำมาทดสอบนั้นจัดว่าเป็นตระกูลเดียวกัน
ดังนั้นความสามารถในการดูดซับของพื้นที่ผิวจึงไม่ควรจะแตกต่างกัน
สิ่งที่ทำให้ปริมาณที่ดูดซับได้นั้นแตกต่างกันน่าจะเป็น
"ขนาดพื้นที่ผิว"
มากกว่า
โดยในช่วง 15
นาทีแรกนั้น
Methylene
blue จะหายไปด้วยการถูกพื้นผิวดูดซับเอาไว้
(จะอิ่มตัวหรือยังยังไม่อาจทราบได้
ต้องทำการทดสอบด้วยการปั่นกวนในที่มืดนานเป็นเวลาต่าง
ๆ กัน แล้วนำเอาสารละลายมาวัดความเข้มข้น
Methylene
blue ที่เหลือ)
ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวไหนมีพื้นที่ผิวมากกว่า
ก็ทำให้ Methylene
blue หายไปได้มากกว่าในช่วง
15
นาทีแรก
ดังนั้นถ้าจะวัดความสามารถในการกำจัด
Methylene
blue ด้วยแสงของตัวเร่งปฏิกิริยาแล้ว
ก็ควรที่จะพิจารณาจากตำแหน่งนาทีที่
15
ออกมา
(ใช้ค่าความเข้มข้นที่ตำแหน่งนาทีนี้เป็นฐาน)
ซึ่งถ้ามองภาพจากตรงจุดนี้แล้วจะเห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่จำนวน
4
ตัวนั้น
มีความว่องไวพอ ๆ กัน
(ความสูงของเส้นลูกศรสีเหลืองกับสีส้มพอ
ๆ กัน)
โดยมีความว่องไวสูงกว่า
P25เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เรื่องการดูดซับสารตั้งต้นบนผิวตัวเร่งปฏิกิริยาก่อนที่ส่งผลต่อค่า
conversion
ที่ได้นั้นเคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๗๕ วันพุธที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๔
เรื่อง "อุณหภูมิและการดูดซับ"
เรื่องที่
๓ ESR
วัดอะไร
ESR
ย่อมาจาก
Electron
spectroscopy resonance หรืออีกชื่อคือ
EPR
ซึ่งย่อมาจาก
Electron
paramagnetic resonance เทคนิคนี้เป็นการวัดการมีอยู่ของ
"อิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่
หรือ unpaired
electron"
อิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ในที่นี้คืออิเล็กตรอนที่อยู่ใน
orbital
ที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว
ตรงนี้อย่าไปสับสนกับ
"อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
หรือ lone
pair electron" ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่ใน
orbital
ที่มีอิเล็กตรอนครบ
2
ตัว
แต่ไม่ได้สร้างพันธะทางเคมีกับใคร
อิเล็กตรอนไม่มีคู่นี้พบได้ในสารอินทรีย์ที่อยู่ในรูปของอนุมูลอิสระ
(free
radical) หรือไอออนของโลหะทานซิชันบางตัว
(ขึ้นอยู่กับเลขออกซิเดชันของไอออนนั้นด้วย)
ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ
เทคนิค ESR
นั้นเป็นเทคนิคที่มี
"ความว่องไวสูง"
และ
"ไม่ใช่
surface
technique" ถ้าตัวอย่างให้สัญญาณ
ESR
แสดงว่าตัวอย่างนั้นมีอิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่
ส่วนอิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่นั้นมาจากไหน
หรือในกรณีของสารประกอบโลหะออกไซด์นั้นจำนวนที่เห็นจะส่งผลต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสารประกอบโลหะออกไซด์นั้นหรือไม่
ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
เพราะมันเป็นไปได้ที่อาจจะมีไอออนของโลหะที่มีเลขออกซิเดชันที่ให้สัญญาณ
ESR
แต่ไม่ได้มีปริมาณที่มากพอที่จะส่งผลกระทบใด
ๆ
อย่างมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสารประกอบโลหะออกไซด์ตัวนั้น
อีกประเด็นที่สำคัญคือ
การที่สารประกอบโลหะออกไซด์ตัวหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ทำให้จำนวน
lattice
oxygen (O2-) ของโครงร่างผลึกเปลี่ยนไป
ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้สัญญาณ
ESR
ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับชนิดของสารประกอบโลหะออกไซด์นั้น
เพราะแม้ว่าการเปลี่ยนจำนวน
lattice
oxygen จะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนเลขออกซิเดชันของของไอออนบวกของโลหะก็ตาม
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเลขออกซิเดชันของไอออนบวกของโลหะเปลี่ยนไป
จะต้องให้สัญญาณ ESR
เพราะตรงนี้มันขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเปลี่ยนจากเลขออกซิเดชันไหนไปเป็นเลขไหน
การที่ไปสรุปว่าการเกิดสัญญาณ
ESR
นั้นแสดงให้เห็นว่าเกิด
oxygen
vacancy นั้นจึงเป็นการ
"ด่วนสรุป"
มากไปหน่อย
โดยเฉพาะกรณีของตัวอย่างที่มีทั้งสารประกอบโลหะออกไซด์
และสารอินทรีย์ เพราะสัญญาณ
ESR
ที่เห็นอาจมาจากตัวสารอินทรีย์เองก็ได้
อีกประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ
ESR
"ไม่ใช่
surface
technique"
มันวัดได้แม้แต่ตัวอย่างที่เป็นแก๊สหรือของเหลวที่บรรจุอยู่ใน
cell
บรรจุตัวอย่าง
การวัดพวก surface
technique
นั้นจะทำการวัดกับผิวตัวอย่างโดยตรงโดยไม่ผ่านผนังภาชนะบรรจุตัวอย่าง
ดังนั้นเมื่อตัวอย่างเปลี่ยนจากการที่ไม่ให้สัญญาณ
ESR
มาเป็นให้สัญญาณ
ESR
ก็ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องอยู่ที่
surface
เรื่องการด่วนสรุปโดยใช้ผล
ESR
นี้เคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๖๓ วันอาทิตย์ที่
๑๓ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง "ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่"
และเมื่อไม่นานมานี้คือปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๖๔ วันพุธที่ ๕
มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๗
เรื่อง "แนวทางหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์นิสิตรหัส๕๕ (ตอนที่๓๒)"
(เอกสารแจกจ่ายเป็นการภายใน)
เรื่องที่
๔ เป็นไปตามจุดเดือด
ปฏิกิริยานี้ดำเนินที่อุณหภูมิห้อง
(เข้าใจว่าอย่างนั้น)
เป็นปฏิกิริยาการกำจัดสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ในอากาศ
สิ่งที่ต้องคำนึงให้มากในการเก็บตัวอย่างก็คือ
สารตัวอย่างที่เก็บนั้นมีการควบแน่นหรือดูดซับบนภาชนะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการทดลองและเก็บตัวอย่างหรือไม่
โดยปรกติแล้วถ้าไม่ใช่การดูดซับทางเคมี
ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงกว่าจุดเดือดของสาร
เราพอจะถือได้ว่าสารนั้นจะอยู่ในเฟสแก๊ส
การเก็บตัวอย่างสารที่ปรกติเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
แต่มีการระเหยเป็นไอบางส่วนมาอยู่ในเฟสแก๊สนั้น
ต้องคำนึงตรงจุดนี้ด้วย
เพราะถ้าอุปกรณ์ที่ใช้เก็บตัวอย่างนั้นมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิระบบ
สารที่เป็นไอในระบบ
เมื่อถูกดูดเข้ามาในอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง
ก็สามารถเกิดการควบแน่นบนพื้นผิวอุปกรณ์เก็บตัวอย่างได้
ทำให้ความเข้มข้นของสารในแก๊สที่เก็บมานั้นต่ำกว่าแก๊สที่อยู่ในระบบ
สำหรับการทดลองในระบบที่เป็นแก๊สที่อุณหภูมิต่ำ
กับสารที่มีจุดเดือดสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
สิ่งที่ต้องคำนึงให้มากก็คือการดูดซับของตัวอย่างบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
ซึ่งสารที่มีจุดเดือดสูง
และตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีพื้นผิวสูง
ก็จะดูดซับสารตัวอย่างเอาไว้ได้มาก
ทำให้เห็นสารตัวอย่างนั้นผ่านระบบได้น้อย
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัวเร่งปฏิกิริยานั้น
"มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยา"
สูง
แต่มันมี "ความสามารถในการดูดซับ"
ได้สูงต่างหาก
อย่างเช่นข้อมูลในตารางข้างล่างมันก็ไม่แปลกถ้าจะบอกว่าที่เห็น
xylene
หายไปเยอะกว่า
toluene
และ
toluene
หายไปเยอะกว่า
benzene
ก็เพราะจุดเดือดของ
xylene
(138-144ºC) สูงกว่าจุดเดือดของ
toluene
(111ºC) และจุดเดือดของ
toluene
ก็สูงกว่าจุดเดือดของ
benzene
(80ºC)
ที่อุณหภูมิห้องความดันไอของ
xylene
ก็ต่ำอยู่แล้ว
พอมีสารดูดซับร่วมด้วยความเข้มข้นในเฟสแก๊สก็เลยลดน้อยลงไปอีก
เรื่องที่
๕ รีดิวซ์หมดแล้วเหรอ
ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นโลหะ
หรือโลหะบนตัวรองรับนั้น
จะเตรียมขึ้นมาในรูปของสารประกอบโลหะออกไซด์ก่อน
เมื่อบรรจุเข้าเครื่องปฏิกรณ์แล้วจึงค่อยทำการรีดิวซ์
(ปรกติก็ใช้แก๊สไฮโดรเจน)
ให้กลายเป็นโลหะ
อุณหภูมิที่ใช้ในการรีดิวซ์นี้ก็ขึ้นกับชนิดของสารประกอบโลหะออกไซด์
ถ้าอุณหภูมิสูงไม่มากพอ
หรือสูงมากพอแต่เวลาไม่นานพอ
ก็ไม่สามารถรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์ให้กลายเป็นโลหะได้
วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าควรใช้อุณหภูมิเท่าใดในการรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์ตัวนั้นก็คือการใช้เทคนิค
Temperature
programmed reduction (TPR) ด้วยแก๊สไฮโดรเจน
แล้วจึงใช้ข้อมูลนั้นมาพิจารณาว่าควรจะใช้อุณหภูมิรีดิวซ์เท่าใด
อย่างเช่นในกรณีผล
TPR
ในรูปที่นำมาแสดงนี้
ตัวเร่งปฏิกิริยาก่อนการใช้งานนั้นจะถูกรีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนที่อุณหภูมิ
350ºC
แต่เมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
TPR
พบว่ามีส่วนของสารประกอบโลหะออกไซด์ที่ต้องใช้อุณหภูมิในการรีดิวซ์สูงกว่า
350ºC
ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดคำถามขึ้นได้ว่า
ในงานนี้ยังมีอีกประเด็นที่ต้องคำนึงคือ
อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาตัวเร่งปฏิกิริยา
(calcination)
(500ºC)
ในกระบวนการเตรียมนั้นต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา
(700ºC)
ดังนั้นเมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นไปใช้งาน
โครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยาจึงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อีก
ทำให้โครงสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเตรียมและในขณะใช้งานนั้นแตกต่างกันได้
ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นอาจไม่ได้สื่อถึงคุณสมบัติตัวเร่งปฏิกิริยาในขณะใช้งานจริงก็ได้
เรื่องที่
๖ ใส่สีให้มัน
มันก็มีสี
ตัวเร่งปฏิกิริยาพวก
photocatalyst
เช่น
TiO2
(anatase) นั้นมักจะดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงอัลตร้าไวโอเล็ต
และเนื่องจากมันไม่ดูดกลื่นคลื่นแสงในช่วงตามองเห็น
(visible
light) จึงทำให้เราเห็นมันมีสีขาว
มีความพยายามอยู่เหมือนกันที่จะทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ทำงานได้ด้วยการดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงตามองเห็นด้วยการเติมสารต่าง
ๆ เข้าไป
และก็แน่นอนว่าถ้าเราเติมสารที่นั้นเป็นสารที่มีสี
มันก็จะทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้นั้นมีการดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงตามองเห็นด้วย
(ตรงนี้พึงระลึกว่าสีที่เรามองเห็นคือสีที่ไม่ถูกดูดกลืน)
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัวเร่งปฏิกิริยานั้นสามารถนำพลังงานของคลื่นแสงในช่วงตามองเห็นที่ดูดกลืนเข้าไปนั้นไปใช้งานได้
อย่างเช่นในกรณีของการผสมสารอินทรีย์เข้าไปใน
TiO2
(anatase) ที่มีสีขาว
และเมื่อนำไปเผาแล้วทำให้ได้ตัวเร่งปฏิกิริยา
TiO2
ที่มีสีน้ำตาล
สีน้ำตาลนี้เกิดจากการดูดกลืนแสงของสารอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารเติมเข้าไปและตกค้างอยู่หลังการเผา
ดังนั้นเมื่อนำ TiO2
ที่มีสารอินทรีย์ตกค้างอยู่นี้ไปวัดการดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงตามองเห็น
เราก็จะเห็นมันดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงตามองเห็นตลอดทั้งช่วงคลื่น
(ดังเช่นในรูปข้างล่าง)
แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า
TiO2
ที่ได้นี้จะสามารถทำงานได้ด้วยการใช้พลังงานแสงในช่วงตามองเห็น
เรื่องที่
๗
อุณหภูมิเริ่มต้นเดียวกัน
ในระหว่างการเผาสารตัวอย่างนั้น
สารตัวอย่างนั้นอาจมีน้ำหนักเปลี่ยนไป
เช่นลดลง เนื่องจากการสลายตัวของสารตัวอย่าง
ประเด็นที่ต้องคำนึงก็คือในการสลายตัวของสารตัวอย่างนั้น
แก๊สที่ไหลผ่านสารตัวอย่างจำเป็นต้องเข้ามาทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่างหรือไม่
เพื่อให้สารตัวอย่างสลายตัวกลายเป็นแก๊ส
ในกรณีที่การสลายตัวของสารตัวอย่างนั้นเกิดจากสารตัวอย่างเอง
รูปร่างและขนาดของตัวอย่างที่ทำการเผาจะไม่ส่งผลต่ออัตราการลดลงของน้ำหนักของสารตัวอย่างเท่าใดนัก
แต่ในกรณีที่สารตัวอย่างจำเป็นต้องมีการทำปฏิกิริยากับแก๊สที่ไหลผ่านเพื่อให้สลายตัวกลายเป็นแก๊ส
พื้นที่ผิวสัมผัสของสารตัวอย่าง
(ขึ้นอยู่กับรูปร่างและขนาดของตัวอย่างที่เผา)
จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าน้ำหนักของสารตัวอย่างนั้นจะลดลงช้า-เร็วเพียงใด
ถ้าเรานำเอาตัวอย่างชนิดเดียวกันแต่มีรูปร่างต่างกันมาเผา
สิ่งที่เราจะเห็นได้ก็คืออุณหภูมิเริ่มต้นการสลายตัวนั้นจะเป็นอุณหภูมิเดียวกัน
(ก็เพราะมันเป็นสารชนิดเดียวกัน)
แต่อัตราการลดลงของน้ำหนักนั้นแตกต่างกัน
(เพราะมันมีพื้นที่ผิวสัมผัสที่ไม่เท่ากัน)
เรื่องการหายไปของน้ำหนักระหว่างการเผานี้เคยเล่าเอาไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๗๗ วันศุกร์ที่ ๑๓
พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๒
เรื่อง "น้ำหนักหายได้อย่างไร"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น