รูปข้างล่างเห็นมีคนเขากดแชร์บนหน้า
facebook
ตอนดูหัวข้อแล้วก็รู้สึกแปลก
ๆ พอได้อ่านคำอธิบายของเขาก็ยิ่งรู้สึกแปลกไปใหญ่
ยังไงลองอ่านเอาเองดูก่อนไหมครับ
ว่าคุณจะรู้สึกอย่างผมหรือไม่
รูปที่
๑
LPG
ย่อมาจาก
Liquefied
Petroleum Gas โดยทั่วไปจะหมายถึงไฮโดรคาร์บอน
C3
(ได้แก่โพรเพน)
และ
C4
(ได้แก่บิวเทน)
ที่อยู่ในรูปของเหลว
โดยอาจเป็นสารบริสุทธิ์หรือสารผสมระหว่าง
C3
กับ
C4
ในสัดส่วนต่าง
ๆ ก็ได้
LNG
ย่อมาจาก
Liquefied
Natural Gas โดยทั่วไปจะหมายถึงไฮโดรคาร์บอน
C1
(ได้แก่มีเทน)
ที่อยู่ในรูปของเหลว
การทำให้แก๊สกลายเป็นของเหลวได้นั้น
จำเป็นที่ต้องทำให้แก๊สนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต
(Tc
หรือ
critical
temperature) ในกรณีของแก๊สที่มีค่าอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
(ไม่ว่าจะในฤดูกาลใดก็ตาม)
เรามักจะทำให้แก๊สนั้นควบแน่นเป็นของเหลวด้วยการใช้ความดันเพียงอย่างเดียว
คืออัดแก๊สให้มีความดันสูงขึ้น
มันก็จะกลายเป็นของเหลวได้เอง
แก๊สหุงต้มหรือ LPG
ที่ใช้กันตามบ้านเรือนหรือในรถยนต์ทั่วไปก็เก็บในรูปแบบนี้
การเก็บแก๊สในรูปที่เป็นของเหลวมีข้อดีตรงที่ขนาดภาชนะบรรจุนั้นมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สที่เก็บไว้ได้
(เมื่อคิดจากปริมาตรไอที่ระเหยออกมา)
แก๊สที่มีค่าอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ไม่ว่าเราจะอัดมันด้วยความดันเท่าใด
มันจะไม่กลายเป็นของเหลว
(liquid)
แต่จะกลายเป็นของไหล
(fluid)
แก๊สมีเทนที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นก็จัดอยู่ในพวกนี้
ถ้าต้องการเก็บแก๊สปริมาณมากในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก
ก็จำเป็นต้องใช้ถังเก็บความดันที่สูง
พอเป็นถังความดันสูง
วัสดุทำผนังถังมันก็เลยต้องหนาขึ้นเพื่อให้รับความดันได้
ทำให้ภาชนะบรรจุมีน้ำหนักมาก
ถังเหล็กที่ใช้เก็บแก๊สมีเทนที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ในรูปของ
CNG
หรือ
Compressed
Natural Gas ก็มีปัญหาเช่นนี้
ทำให้มีการค้นหาถังแบบใหม่ที่สามารถรับความดันได้โดยที่มีน้ำหนักลดลง
เพื่อที่จะไปลดน้ำหนักรวมของรถยนต์ให้ต่ำลง
ส่งผลต่อการประหยัดเชื้อเพลิง
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่าถังแก๊ส
LPG
ที่ใช้กันตามบ้าน
หรือที่ติดตั้งในรถยนต์นั้นจะทำจากถังเหล็ก
เพราะความดันในถังนั้นไม่ได้สูง
ทำให้ถังไม่ได้มีความหนาสักเท่าใดนัก
และเหล็กก็เป็นโลหะที่มีราคาถูก
น้ำหนักของถังจะต่ำกว่าน้ำหนักของเชื้อเพลิงที่เก็บได้
แต่ในกรณีของถังเก็บ CNG
นั้นจะแตกต่างกัน
เนื่องจากใช้ความดันในการเก็บที่สูง
(ประมาณ
200
เท่าของความดันบรรยากาศ)
ถ้าใช้เหล็กทำถังจะทำให้ถังมีน้ำหนักมาก
(ระดับ
80-100
กิโลกรัม)
แต่เก็บแก๊สได้ไม่มาก
(ประมาณ
10-20
กิโลกรัม)
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่าทำไมในช่วงแรกที่มีการนำรถไปติดตั้งถัง
CNG
ไว้ในกระโปรงท้ายรถ
หลายคันต้องมีการเปลี่ยนโช้คหลังให้แข็งขึ้นด้วยเพราะไม่ต้องการให้หน้ารถเชิด
แต่ในปัจจุบันก็เห็นมีการนำถังเก็บ
CNG
ที่ทำจากวัสดุคอมพอสิตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
คือแกนกลางยังคงเป็นถังโลหะอยู่แต่มีผนังบางลง
แต่ใช้เส้นใยวัสดุคอมพอสิตรัดเอาไว้เพื่อช่วยในการรับความดัน
ทำให้ลดน้ำหนักถังบรรจุลงไปได้
ในระดับโรงงานนั้น
ในกรณีของแก๊ส LPG
ถ้าเป็นโรงงานทั่วไปที่รับแก๊ส
LPG
มาทางรถบรรทุกจากผู้ขาย
จะนิยมเก็บในถังชนิด Bullet
type ที่มีรูปร่างเป็นถังทรงกระบอกวางนอน
หัวท้ายมีฝาปิดที่โค้งเป็นรูปครึ่งวงรี
ขนาดและจำนวนของถังเก็บจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน
แต่ถ้าเป็นโรงงานผู้ผลิต
(เช่นโรงแยกแก๊ส)
หรือนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายต่อ
ที่มีการเก็บในปริมาณมาก
จะนิยมใช้ถังทรงกลมขนาดใหญ่ที่เรามักเรียนกันว่าถังลูกโลก
(Spherical
type)
แล้วถังทรงกลมมันดีกว่าถังทรงกระบอกอย่างไรเหรอ
ตรงนี้คงต้องใช้ความรู้ทางด้านวิชากลศาสตร์วัสดุ
(Mechanics
of materials) มาอธิบาย
เพราะที่ความดันในถังเท่ากัน
ค่าความเค้นสูงสุดที่กระทำต่อผนังโลหะของถังทรงกลมจะมีค่าเพียงครึ่งเดียวของถังทรงกระบอก
ทำให้สามารถใช้โลหะที่บางกว่ามาทำถัง
ประหยัดในเรื่องของค่าวัสดุและน้ำหนัก
อันนี้ไม่คิดค่าขึ้นรูปนะ
เพราะการเอาเหล็กแผ่นหลายแผ่นมาประกอบเป็นทรงกลมมันยากกว่าเอามาม้วนเป็นทรงกระบอก
(ในถังทรงกระบอกนั้นมีความเค้นในทิศทางแนวยาวที่เรียกว่า
longitudinal
stress และในแนวเส้นรอบวงที่เรียกว่า
hoop
stress ที่ค่าความดันหนึ่งนั้นค่า
longitudinal
stress ของถังทรงกระบอกจะมีค่าเพียงครึ่งเดียวของ
hoop
stress ด้วยเหตุนี้เวลาที่ท่อแตก
จึงฉีกขาดตามแนวยาว
ไม่ได้ฉีกขาดตามแนวหน้าตัดเป็นสองท่อนแยกจากกัน
แต่ในกรณีของถังทรงกลมนั้นค่าความเค้นในทุกทิศทางจะเท่ากันหมด
และที่ความดันเดียวกันกับถังทรงกระบอก
ค่าความเค้นที่กระทำต่อผนังถังทรงกลมจะเท่ากับค่า
longitudinal
stress ของถังทรงกระบอก)
ในระดับโรงงาน
การเก็บแก๊สที่ไม่สามารถอัดให้เป็นของเหลวได้ที่อุณหภูมิห้องในปริมาณมากนั้น
อาจใช้การลดอุณหภูมิแก๊สนั้นให้ต่ำลงจนถึงระดับใช้ความดันอัดให้เป็นของเหลวได้
(ถังเก็บอุณหภูมิต่ำ
ความดันต่ำ)
หรือไม่ก็ลดอุณหภูมิให้ต่ำลงจนกลายเป็นของเหลวที่ความดันบรรยากาศได้
(ถังเก็บอุณหภูมิต่ำ
ความดันบรรยากาศ)
การเก็บแก๊ส
LPG
ปริมาณมากก็ใช้วิธีการเช่นนี้ได้
การเก็บแก๊สด้วยการทำให้แก๊สเย็นลงจนเป็นของเหลวนั้นต้องใช้ระบบทำความเย็นเข้ามาช่วย
จึงใช้กันเฉพาะในระดับโรงงานที่มีการเก็บเป็นปริมาณมาก
(ไม่ใช้กับถังแก๊สติดรถยนต์หรือรถบรรทุก)
วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องมีระบบทำความเย็นที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา
และต้องไปใช้โลหะที่ทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ในการสร้างถังเก็บ
เหล็กกล้าส่วนใหญ่ที่ใช้งานกันทั่วไปนั้นเมื่อมีอุณหภูมิเย็นจัดจะสูญเสียความเหนียว
แต่จะเปราะแทน (คือทุบแตกได้)
งานอุณหภูมิต่ำจึงต้องเปลี่ยนไปใช้เหล็กกล้าโลหะผสมหรือโลหะชนิดอื่นที่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้แทน
(แน่นอนว่าราคาก็เพิ่มขึ้นไปด้วย)
ปูพื้นฐานมาให้หน้าเศษแล้ว
คราวนี้เราลองกลับไปดูประโยคคำถามในรูปที่
๑ ดูนะครับ (ขอแปลเป็นไทย)
ที่ว่า
(ก)
"ทำไม
LPG/LNG
จึงถูกเก็บในภาชนะอลูมิเนียมทรงกลม"
ตอนแรกที่คุณเห็นคำถามดังกล่าว
คุณรู้สึกอย่างไร
ทีนี้ลองดูคำถามผมเขียนคำถามขึ้นใหม่ดังนี้นะครับ
(ข)
"ทำไมจึงใช้อะลูมิเนียมมาทำเป็นภาชนะเก็บ
LPG/LNG
ทรงกลม"
และ
(ค)
"ทำไมจึงมีการใช้อะลูมิเนียมมาทำเป็นภาชนะเก็บ
LPG/LNG
ทรงกลม"
ประเด็นที่อยากให้ลองพิจารณากันเล่น
ๆ ก็คือ
ในกรณีที่ผู้ที่มาอ่านพบเข้านั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บแก๊สในปริมาณมากมาก่อน
พอไปเจอประโยคคำถามในข้อ
(ก)
เข้า
จะทำให้เขาคิดเช่นนี้ได้ไหมว่า
๑.
ถังเก็บ
LPG/LNG
"ต้อง"
เป็นถังทรงกลม
(เป็นทรงอื่นไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น)
๒.
ถังเก็บ
LPG/LNG
"ต้อง"
ทำจากอะลูมิเนียม
(เป็นโลหะอื่นไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น)
ทีนี้ถ้าเป็นคำถามที่มีผมเขียนขึ้นมาใหม่ในข้อ
(ข)
และ
(ค)
ข้อ
(ค)
แตกต่างจากข้อ
(ข)
ตรงที่มีการแทรกคำ
"มีการ"
เพิ่มเติมเข้ามา
ในความรู้สึกของคุณเองนั้นคุณคิดว่ามันเป็นไปได้ไหมว่า
๓.
คำถามข้อ
(ข)
นั้นชวนให้คิดว่าถ้าเป็นถังเก็บ
LPG/LNG
ทรงกลม
ต้องทำจากอะลูมิเนียม
(แต่ถ้าเป็นทรงอื่นที่ไม่ใช่ทรงกลมก็ไม่เป็นไร)
๔.
คำถามข้อ
(ค)
นั้นชวนให้คิดว่าอะลูมิเนียมเป็นเพียงแค่วัสดุชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้สร้างถังเก็บ
LPG/LNG
ทรงกลมได้
(คือยังมีวัสดุชนิดอื่นอีกนอกเหนือจากอะลูมิเนียม
ที่สามารถนำมาใช้สร้างถังเก็บ
LPG/LNG
ทรงกลมได้)
สิ่งที่เราน่าเก็บไปคิดพิจารณาคือ
ด้วยประโยคเดียวกัน
แต่มีคนอ่านหลายคน
แต่ละคนนั้นมีความเข้าใจข้อความนั้นเหมือนกันทุกคนหรือไม่
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ที่เข้าใจคลาดเคลื่อนนั้นนำเอาความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการที่เขาตีความหรือขยายความขึ้นมาเองนั้นไปใช้งาน
ยิ่งเป็นในบ้านเราที่มักจะใช้การจำข้อมูลที่เห็นนั้นไปใช้โดยไม่มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
(อันที่จริงแม้แต่จะอ่านก็อาจจะยังไม่อ่าน
ขอให้ได้กดไลค์กดแชร์ก็พอ)
ประเด็นตรงนี้ก็คงต้องขอฝากให้คิดกันเล่น
ๆ เอาเองก็แล้วกันครับ
เพราะผมเองก็ไม่มีคำตอบให้ซะด้วย
ถัดไปเราลองมาดูคำตอบ
๔ ข้อของเขาว่ามันสัมพันธ์กับคำถามที่เขาตั้งขึ้นหรือไม่
อย่างไร
เริ่มจากข้อแรกก่อนที่เขาบอกว่า
"โลหะอะลูมิเนียมนั้นจะเกิดชั้นออกไซด์บนพื้นผิว
ซึ่งป้องกันโลหะจากการกัดกร่อนลึกลงอีก"
เหล็กนั้นเวลาที่สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศจะทำปฏิกิริยากลายเป็นสารประกอบออกไซด์ที่เราเรียกว่าสนิมเหล็ก
แต่สนิมเหล็กที่เกิดขึ้นไม่ได้มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบปิดคลุมผิวโลหะเหล็กที่อยู่ลึกลงไปเอาไว้
ออกซิเจนในอากาศยังคงสามารถซึมลงไปทำปฏิกิริยากับเหล็กที่อยู่ใต้สนิมเหล็ก
ทำให้เหล็กผุกร่อนไปเรื่อย
ๆ นอกจากนี้เวลาที่เหล็กได้รับความร้อนจนขยายตัว
สนิมเหล็กจะหลุดร่อนออกมาจากผิวเหล็ก
(เพราะมันขยายตัวไม่เท่ากัน)
วิธีการนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการกำจัดสนิมออกจากภายในท่อเหล็ก
ด้วยการผ่านไอน้ำเข้าไปในท่อเพื่อในสนิมที่เกาะอยู่ตามผิวด้านในของท่อร่อนออก
(แล้วค่อยล้างเอาสนิมที่หลุดร่อนนั้นออกอีกที)
แต่ในกรณีของโลหะอะลูมิเนียมนั้น
ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นชั้นฟิล์มเคลือบป้องกันโลหะอะลูมิเนียมที่อยู่ข้างใต้
และยังไม่ร่อนหลุดเมื่อร้อนด้วย
ดูหม้อหุงข้าวไฟฟ้าตามบ้านเป็นตัวอย่างได้
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าชั้นฟิล์มออกไซด์ของอะลูมิเนียมมันทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีที่เป็น
"กรด"
หรือ
"เบส"
นะครับ
อะลูมิเนียมออกไซด์ละลายได้ทั้งในกรดและในเบส
ไฮโดรคาร์บอนไม่ใช่สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ
จะว่าไปเราใช้น้ำมันเคลือบผิวเหล็กกันสนิมซะด้วย
ดังนั้นผนังด้านในของถังเก็บที่ทำจากเหล็กนั้นไม่มีปัญหาเรื่องการกัดกร่อนแน่
แล้วในส่วนผนังด้านนอกล่ะ
ในกรณีของถังลูกโลกที่เก็บแก๊ส
LPG
ภายใต้ความดันที่อุณหภูมิห้องที่ทำจากเหล็กนั้นก็สามารถใช้การทาสีป้องกันสนิมได้
(เป็นเรื่องปรกติที่ทำกันทั่วไป)
ถังแก๊ส
LPG
ติดรถยนต์ก็ใช้วิธีการทาสีนี้เช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือถ้าเป็นถัง
cryogenic
ที่เก็บแก๊สที่ความดันบรรยากาศแต่ใช้อุณหภูมิต่ำจนแก๊สเป็นของเหลวนั้น
"จำเป็น"
ต้องใช้อะลูมิเนียมทำไหม
ตรงนี้ขอเก็บเอาไว้ก่อน
ข้อสองที่กล่าวว่า
"อะลูมิเนียมให้อัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรที่ดี"
ตรงนี้ไม่เถียงเพราะว่าอะลูมิเนียมมีความหนาแน่นต่ำกว่าเหล็ก
ที่ความแข็งแรงเท่ากัน
ภาชนะทำจากอะลูมิเนียมจึงเบากว่าเหล็กได้
ด้วยความเบานี้เองจึงทำให้มีการนำเอาอะลูมิเนียมไปใช้สายไฟฟ้าแรงสูงที่ต้องพาดผ่านเสาที่ตั้งอยู่ห่างกันเป็นระยะทางไกล
เพราะแม้ว่ามันจะมีความต้านทานสูงกว่าทองแดง
แต่ถ้าขยายหน้าตัดให้มันมีความต้านทานลดลงในระดับเดียวกัน
มันก็ยังเบากว่าสายทองแดง
และจะว่าไปแล้วในกรณีของถัง
LPG
ขนาดเล็กก็มีการนำเอาอะลูมิเนียมไปใช้ทำถังบรรจุ
แต่คิดว่าราคาคงจะสูงกว่าถังเหล็กอยู่มากเหมือนกัน
ถังแก๊ส LPG
ที่ใช้ในครัวเรือนในบ้านเราจึงยังเป็นถังเหล็กอยู่ทั้งหมด
เพราะปรกติเราก็ไม่ได้ยกถังแก๊สหุงต้มเล่นทุกวัน
จะยกทีก็ตอนเปลี่ยนถังแก๊ส
(เชื่อว่าหลายบ้านใช้คนส่งแก๊สจัดการให้ด้วยซ้ำ
ทั้งการเอาถังเก่าออกและเอาถังใหม่มาติดตั้ง)
ดังนั้นน้ำหนักถังจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ
แต่ถ้าเป็นประเภทการนำถังแก๊สไปติดตั้งบนยานพาหนะ
(เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์)
หรือนำไปใช้นอกสถานที่
(เพื่อใช้ให้ความร้อน)
ก็ว่าไปอย่าง
เพราะการลดน้ำหนักบรรทุกลงได้นั้นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเลือกชนิดถังบรรจุ
ข้อสามที่ว่า
"เป็นโลหะที่เหนียวและไม่เปราะในการใช้งานอุณหภูมิต่ำมาก
(ที่เรียกว่า
cryogenic
operation)" คุณสมบัติข้อนี้ของโลหะอะลูมิเนียมไม่ขอเถียง
แต่โลหะที่ทนต่อความเย็นจัดได้ก็ไม่ได้มีแต่อะลูมิเนียมเท่านั้น
เหล็กกล้าผสมสูงบางชนิดก็ทนได้เช่นกัน
ในกรณีของการเก็บแก๊สมีเทนในปริมาณมากนั้นจะใช้การทำให้แก๊สมีอุณหภูมิต่ำจนกลายเป็นของเหลวที่เรียกว่า
LNG
แต่มันมีประเด็นอยู่ตรงที่ว่า
(ง)
ในกรณีของ
LPG
นั้นจำเป็นต้องเก็บโดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำมากเช่นนี้หรือไม่
(จ)
ถังเก็บที่อุณหภูมิต่ำมากไม่ว่าจะเป็นถัง
LPG
หรือ
LNG
ก็ตาม
จำเป็นต้องเป็นถัง "ทรงกลม"
หรือไม่
ประเด็นข้อ
(ง)
นั้นได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้
ส่วนประเด็นข้อ (จ)
มันอยู่ตรงที่ว่าการใช้ถังรูปทรง
"ทรงกลม"
นั้นมันมีเรื่องการรับความดันเข้ามาเกี่ยวข้อง
เดี๋ยวค่อยมาว่ากัน
ลองไปดูเหตุผลข้อที่สี่ของเขาดูก่อน
เหตุผลข้อที่สี่ที่เขาให้มาที่เขาบอกว่า
"รูปทรงกลมนั้นกระจายความดันไปยังผนังทุกด้านเท่าเทียมกัน
แทนที่จะกดลงไปที่ฐาน"
ผมอ่านแล้วก็งง
ๆ ว่าเขาต้องการสื่อถึงอะไร
โดยเฉพาะตรงคำว่า "ฐาน"
การเก็บของเหลวที่ความดันบรรยากาศนั้นผนังถังรับเฉพาะแรงกระทำจากน้ำหนักของเหลวเท่านั้น
ไม่มีความดันเข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ถังเก็บรูปทรง
"ทรงกลม"
และจะว่าไปถังเก็บ
cryogenic
นี้ที่เห็นกันทั่วไปก็จะเป็นทรงกระบอกพื้นเรียบที่มีฝาบนที่โค้งมนกันทั้งนั้น
โครงสร้างของถัง LNG
รูปทรงกระบอกได้ในไฟล์
pdf
ที่แนบมาก็ใช้คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างเสียด้วยซ้ำ (ดาวน์โหลดไฟล์แนบที่ลิงค์นี้)
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการสร้างถังเก็บ
LNG
ในที่มีรูปร่างเป็น
"ทรงกลม"
นะ
จากการค้นข้อมูลดูก็พบว่ามีการใช้ถังรูป
"ทรงกลม"
เป็นถังเก็บ
LNG
เช่นกัน
แต่เป็นถังเก็บที่ติดตั้งกับเรือเดินสมุทรที่ใช้ในการลำเลียง
LNG
จากแหล่งหนึ่งไปส่งยังอีกแหล่งหนึ่ง
ไม่ได้นำมาใช้กับถังเก็บที่ตั้งอยู่บนพื้นดิน
(จะว่าไปแล้วมีคนทำหรือเปล่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน)
ส่วนที่ว่าทำไปถังเก็บที่ใช้กับเรือเดินสมุทรจึงใช้รูปทรงนี้
อันนี้ผมก็ไม่รู้เหตุผล
ถ้าให้เดาก็คงเป็นเพราะรูปร่างของเรือ
หรือไม่ก็เพราะสภาพการณ์ที่เรือบรรทุกอาจต้องเผชิญในระหว่างการเดินทาง
สิ่งที่คนจำนวนไม่น้อยเรียกว่าเป็นการนำเสนอ
"ที่ดี"
นั้นมักจะเน้นไปที่การทำให้ผู้รับข้อมูลนั้น
"ไม่ทันคิดเป็นอย่างอื่น"
นอกจากเห็นด้วยกับข้อมูลที่ปรากฏในสิ่งที่เขานำเสนอเท่านั้น
แต่นี่ก็ไม่ได้หมายว่าการนำเสนอที่ดีนั้นต้องมาคู่กับ
"วิธีการปฏิบัติที่ดี"
เพราะที่ผ่านมานั้นมักจะเห็นว่ามักจะไม่ค่อยมาด้วยกัน
กรณีของการโฆษณาที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
(นำมาเพียงบางข้อ)
เพื่อให้ผู้รับข้อมูลนั้นตีความไปอย่างผิด
ๆ ก็เคยเกิด
(สิ่งที่นำมาโฆษณานั้นไม่ผิดหลักวิชาการ
ในแง่กฎหมายจึงไม่ผิด
แต่การตีความของผู้รับนั้นผิด
แต่มันทำให้ผู้นำเสนอข้อความนั้นได้รับประโยชน์จากการตีความที่ผิดนั้น)
พักหลัง
ๆ
นี้มักจะเห็นการกระทำเช่นนี้บ่อยครั้งจากเว็บที่คงต้องการหารายได้จากจำนวนยอดผู้เข้ามาชมหรือกดไลค์กดแชร์
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะให้ข้อมูลที่ผิดเสมอไป
ส่วนที่ว่าเราควรจะนำมันมาใช้หรือแบ่งปันต่อนั้นมันขึ้นอยู่กับว่าเรานั้นมีความรู้พื้นฐานทางด้านนั้นมากน้อยแค่ไหน
และได้ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นกับแหล่งอื่นด้วยหรือเปล่าว่าข้อมูลที่เห็นนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น