ไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไปนั้นจะมีสายไฟฟ้าเข้าบ้านสองสาย
สายหนึ่งเป็นสายที่มีไฟที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
live
(ไลฟ)
หรือ
line
(ไลน์)
ซึ่งเรียกได้ทั้งสองแบบ
สายนี้ถ้าเอาไขควงเช็คไฟไปตรวจก็จะเห็นหลอดไฟติด
อีกสายหนึ่งนั้นเป็นสาย
neutral
(นิวทรอน)
ที่เป็นสายสำหรับให้ไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร
สายนี้ถ้าเอาไขควงเช็คไฟไปตรวจจะไม่เห็นหลอดไฟติด
และยังมีอีกสายหนึ่งที่แต่ละบ้านต้องเดินเองก็คือสายดิน
ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าสาย
earth
(อังกฤษ)
หรือ
ground
(อเมริกา)
ที่เอาไว้ป้องกันผู้คนเวลาที่เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้าเข้าสู่ตัวโครงสร้างอุปกรณ์
รูปที่
๑ รูปบนเป็นรูปสี
ส่วนรูปล่างใช้โปรแกรม
Photoscape
ปรับภาพเป็น
grayscale
ตอนที่ผมไปเรียนที่อังกฤษเมื่อ
๓๐ ปีที่แล้ว
เวลาที่ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้ต้องซื้อปลั๊กตัวผู้แยกต่างหากเพื่อมาต่อเข้ากับสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งนี้เป็นเพราะช่วงนั้น
(ซึ่งเริ่มเมื่อใดก็ไม่รู้
แต่น่าจเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
๒)
อังกฤษอยู่ระหว่างการเปลี่ยนมาตรฐานการเดินสายไฟในอาคารซึ่งส่งผลไปถึงรูปแบบของปลั๊กตัวเมียที่ต้องเปลี่ยนไปด้วย
(คือมีการใส่ฟิวส์ที่ปลั๊กตัวผู้
ทำให้ต้องเปลี่ยนปลั๊กตัวเมียให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม)
ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าก็เลยไม่ติดปลั๊กตัวผู้มาให้กับสายไฟ
ผู้ใช้ต้องไปหาซื้อปลั๊กติดเองตามแบบที่บ้านตัวเองใช้
(ว่ายังคงใช้มาตรฐานเก่าหรือเปลี่ยนเป็นมาตรฐานใหม่แล้ว)
และสิ่งหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นประจำทุกปีก็คือ
การต่อผิด โดยเอาสายดินนั้นไปต่อเข้ากับสาย
live
ตามมาตรฐาน
IEC60446
นั้น
สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเฟสเดียว
สายที่ฉนวนมีสีเขียว-เหลืองกำหนดให้เป็นสายดิน
สาย live
ในฉนวนมีสีน้ำตาล
และสาย neutral
ให้ฉนวนมีสีน้ำเงิน
(ปลั๊กตัวขวาในรูปที่
๑)
ซึ่งดูเหมือนว่าตอนนี้สายไฟในบ้านเราก็ใช้สีแบบนี้
(แต่ก่อนจะเห็นใช้สีเทากับดำ)
การกำหนดสายดินให้ฉนวนมีสีเขียว-เหลืองนั้นเริ่มต้นเมื่อใดก็ไม่รู้เหมือนกัน
แต่ก็น่าจะไม่น้อยกว่า ๕๐
ปีมาแล้ว เพราะไปค้นพบคำถามหนึ่งที่ปรากฏใน
ICI
Newsletter ฉบับที่
๒๓ ตุลาคม ค.ศ.
๑๙๗๐
(พ.ศ.
๒๕๑๓)
(รูปที่
๒)
ที่มีผู้ถามว่าทำไปมาตรฐานใหม่จึงกำหนดให้สายดินมีสีเขียว-เหลือง
ทั้ง ๆ ที่โลกก็ไม่ได้มีสีนี้
และทำไมสาย live
จึงมีสีน้ำตาลและสาย
neutral
จึงมีสีน้ำเงิน
รูปที่
๒ จาก ICI
Newsletter ฉบับที่
๒๓ ตุลาคม ค.ศ.
๑๙๗๐
(พ.ศ.
๒๕๑๓)
คำตอบที่มีผู้ตอบไว้ค่อนข้างชัดเจนดี
คือตอนนั้นในแต่ละประเทศต่างใช้มาตรฐานที่ต่างกัน
ทำให้สีของสายแตกต่างกันไปด้วย
การเลือกสีที่ประเทศหนึ่งใช้กับสายแบบหนึ่งตามมาตรฐานของเขา
แต่กลับมาระบุให้เป็นสายอีกแบบหนึ่งตามมาตรฐานสากลจะทำให้เกิดปัญหาได้
และสีที่เหลืออยู่ให้เลือกก็มีไม่มาก
โดยสีน้ำเงินและน้ำตาลก็เป็นตัวเลือกไม่กี่ตัวที่เหลือง
โดยปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณาเลือกสีสายไฟก็คือ
ควรต้องลดความผิดพลาดในการทำงานในสภาพที่มีแสงสว่างไม่มาก
และต้องทำให้ "คนตาบอดสี"
สามารถแยกแยะสายไฟได้
ด้วยเหตุนี้จึงต้องเลือกสีของสาย
live
และ
neutral
ให้ตรงข้ามกันในแง่ที่ว่าคนตาบอดสีต้องมองเห็นสีต่างกัน
คือสายหนึ่งจะมีสีที่เข้มและอีกสายอื่นจะมีสีที่อ่อน
ส่วนสายดินนั้นใช้ให้มันมีสองสีโดยเลือกสีที่คนตาบอดสีนั้นจะมองเห็นเป็นแถบสีเข้ม-อ่อน
(สายอื่นจะเห็นเพียงสีเดียว)
ตรงนี้ลองพิจารณารูปที่
๑ ดูเอาเองก็แล้วกัน
ตัวสายดินที่มีสองสีนั้นภาพอาจไม่ชัดหน่อย
(เพราะขี้เกียจรื้อสายไฟ)
แต่น่าจะพอมองเห็นได้ว่าเมื่อปรับภาพจากภาพสีเป็น
grey
scale แล้วจะมองเห็นสายดินมีสองเป็นแถบสีเข้ม-อ่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น