บันทึกนี้เป็นการเดินทางในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒
หลังจากออกจากบ่อน้ำร้อนที่เขาชัยสน
จุดมุ่งหมายถัดไปที่ต้องการไปก็คือเมืองเก่าไชยบุรี
ที่เป็นที่ตั้งเดิมของจังหวัดพัทลุง
ซึ่งอยู่เหนือตัวเมืองปัจจุบันไปทางเหนือเล็กน้อย
ใกล้กับวนอุทยานเมืองเก่าไชยบุรี
สถานที่นี้ผมเคยแวะไปมาครั้งหนึ่งเมื่อราว
ๆ ปี ๒๕๓๘ จำได้แต่ว่ามีแต่ซากเก่า
ๆ ก็เลยอยากแวะไปดูอีก
หลังจากวนหาอยู่พักหนึ่ง
(เพราะป้ายบอกทางไม่ชัดเจน)
ก็เลยต้องแวะถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลวนอุทยานว่าเมืองเก่าอยู่ที่ไหน
ก็เลยได้ทราบว่าที่มีเหลือให้เห็นก็มีแต่ที่ตั้งศาลหลักเมืองเก่า
ที่อยู่ในถนนซอยเล็ก ๆ
แยกออกจากทางหลัก
และเงียบมากแบบไม่มีคนไป
และที่วัดเขาเมืองเก่า
ที่มีเจดีย์เก่าตั้งอยู่บนเขาลูกเล็ก
ๆ และด้านหลังของเขาลูกนั้นก็มีถ้ำพระ
วันที่ผมไปถึงนั้นสถานที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงเส้นทางเดินขึ้นไปยังเจดีย์
ที่เดิมบันไดเดินขึ้นแหว่งหายเป็นช่วง
ๆ ก็เลยไม่ได้ขึ้นไปถ่ายรูปจากบนยอดเขา
รูปที่
๑ จุดแวะพักของการเดินทาง
(1)
ปากคลองศรีปากประที่เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการยกยอกันและมีการโปรโมทให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ทั้ง ๆ
ที่ในความเป็นจริงการจับปลาด้วยการยกยอก็มีให้เห็นกันทั่วไป
(2)
คลองนางเรียมที่เป็นคลองเชื่อมต่อระหว่างทะเลน้อยกับทะเลสาปสงขลาหรือที่คนพัทลุงเรียกว่าทะเลลำปำ
(3)
บริเวณอุทยานแห่งชาติทะเลน้อย
(4)
วัดเขาอ้อที่ขึ้นชื่อในเรื่องเป็นสำนักตักศิลาทางไสยเวทย์ในภาคใต้
รูปที่
๒ บนเส้นทางจากแหลมจองถนนไปเขาชัยสน
รูปที่
๓ ป้ายเล่าประวัติความเป็นมาของเมืองพัทลุงและศาลหลักเมือง
ชื่อเก่าคือเมืองโบราณชัยบุรี
รูปที่
๔ ศาลหลักเมืองโบราณชัยบุรี
ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของอำเภอเมือง
รูปที่
๕ ป้ายเล่าประวัติวัดเขาเมืองเก่า
รูปที่
๖ เจดีย์วัดเขาเมืองเก่า
ทางขึ้นเดิมชำรุดทรุดโทรม
บันไดแหว่งหายเป็นช่วง
ไม่สามารถเดินขึ้นไปข้างบนได้
(เว้นแต่ต้องปีนขึ้นไป)
วันที่ไปนั้นกำลังอยู่ระหว่างการสร้างทางขึ้นใหม่
รูปที่
๗ บริเวณด้านหลังของเจดีย์
จะมีถ้ำพระซ่อนอยู่
ถัดจากเยี่ยมชมเมืองเก่า
จุดมุ่งหมายถัดไปก็เป็นการชมธรรมชาติ
ไหน ๆ
เส้นทางจากเมืองเก่าไปยังทะเลน้อยก็ต้องเลียบผ่านทะเลลำปำแล้ว
คุณน้าก็เลยพาไปแวะที่ปากคลองปากประ
ที่ปัจจุบันมีคนพยายามทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยการไปชม
"ยอ"
ขนาดใหญ่ที่เขาใช้จับปลา
อันที่จริงการจับปลาด้วยการยกยอมันก็มีมานานแล้ว
ผมเองก็เห็นตั้งแต่เด็กตอนเริ่มจำความได้
เวลานั่งรถไฟจากสถานีรถไฟธนบุรีลงใต้
ด้วยรถเร็วธนบุรี-สุไหลโกลก
ที่ออกตอนทุ่มเศษ
ที่จะไปสว่างตอนเช้าก่อนถึงทุ่งสง
บริเวณจุดสะพานข้ามคลองบางแห่งก็จะเห็นมีการยกยอจับปลากันอยู่ทั่วไป
จะว่าไปบริเวณทะเลน้อยและทะเลลำปำก็เป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์แหล่งหนึ่ง
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะถิ่นแถวนี้มีคนอยู่อาศัยไม่หนาแน่นหรือเปล่า
ก็เลยไม่มีน้ำทิ้งจากที่พักอาศัยไหลลงสู่แหล่งน้ำนี้เป็นจำนวนมาก
แถมยังไม่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมอีก
ฝูงนกกินปลาจึงอาศัยอยู่ได้อย่างสบาย
และสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่คนต่างถิ่นมักจะมาชมก็คือ
"ควาย"
ควายที่เห็นแถวนี้เป็นควายเลี้ยง
เวลาที่ทะเลน้อยน้ำแห้งมันก็จะออกมาเดินหากินหญ้าไปเรื่อย
ๆ พอตกเย็นมันก็กลับเข้าคอกของมันเอง
คนเลี้ยงก็มีอยู่หลายราย
บางทีเขาก็มาปลูกเพิงชั่วคราวไว้นอนเฝ้าควาย
ที่มันมีชื่อให้คนมาดูก็เพราะเวลาที่ทะเลน้อยน้ำเยอะ
พื้นที่กินหญ้าของมันโดยน้ำท่วมหมด
ฝูงควายมันก็เลยต้องว่ายน้ำออกมาหาหญ้าที่จมน้ำกิน
กลายเป็นเรื่องแปลกที่ชวนให้ใครต่อใครต้องมาดู
การจอดดูควายก็จอดได้บนสะพานที่สร้างข้ามทะเลน้อย เขามีจุดจอดรถพักสำหรับชมทิวทัศน์เป็นระยะ จอดรถแล้วก็ควรอยู่ในบริเวณจุดพักรถ อย่าล้ำออกมาบนถนน เพราะรถวิ่งกันเร็ว แต่ก่อนแถวนี้ไม่ค่อยมีรถเท่าใด แต่พอมีสะพานและถนนเส้นนี้ มันกลายเป็นทางลัดสำหรับการเดินทางไปยัง อ.ระโนด และ อ.สะทิงพระ จ.สงขลา การจราจรก็เลยหนาแน่นขึ้น บนสะพานนี้จะไม่มีการติดตั้งไฟส่องสว่าง ซึ่งผมว่าก็ดีแล้ว จะได้ไม่เป็นการรวบกวนธรรมชาติในเวลากลางคืน ถ้ารักธรรมชาติจริง ก็ต้องรักที่จะให้ตอนกลางคืนมันมืดมิดด้วย
การจอดดูควายก็จอดได้บนสะพานที่สร้างข้ามทะเลน้อย เขามีจุดจอดรถพักสำหรับชมทิวทัศน์เป็นระยะ จอดรถแล้วก็ควรอยู่ในบริเวณจุดพักรถ อย่าล้ำออกมาบนถนน เพราะรถวิ่งกันเร็ว แต่ก่อนแถวนี้ไม่ค่อยมีรถเท่าใด แต่พอมีสะพานและถนนเส้นนี้ มันกลายเป็นทางลัดสำหรับการเดินทางไปยัง อ.ระโนด และ อ.สะทิงพระ จ.สงขลา การจราจรก็เลยหนาแน่นขึ้น บนสะพานนี้จะไม่มีการติดตั้งไฟส่องสว่าง ซึ่งผมว่าก็ดีแล้ว จะได้ไม่เป็นการรวบกวนธรรมชาติในเวลากลางคืน ถ้ารักธรรมชาติจริง ก็ต้องรักที่จะให้ตอนกลางคืนมันมืดมิดด้วย
หลายปีก่อนหน้านี้ผมมีโอกาสได้ไปพักที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งใกล้ทะเลน้อย
รีสอร์ทนี้เป็นรีสอร์ทแรก
ๆ ที่เพิ่งเปิดในบริเวณนั้น
ยังได้สนทนากับเข้าของรีสอร์ทถึงความเป็นมาของท้องถิ่นแถวนี้
เรื่องหนึ่งที่เขาเล่าให้ฟังก็คือ
"ช้างน้ำ"
ซึ่งอันที่จริงมันก็คือช้างธรรมดานี่เอง
แต่ในอดีตเคยมีความพยายามเอาช้างมาใช้เป็นแรงงานในบริเวณนี้
แต่ด้วยคงเป็นเพราะพืชท้องถิ่นนั้นไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารช้าง
การใช้ช้างเป็นแรงงานก็เลยเลิกไป
แต่ก็ยังมีอยู่บ้างในบางโอกาส
ที่เคยได้ยินคุณน้าเล่าให้ฟังก็คือปีหนึ่งที่มีพายุฝนแรง
ทำให้ต้นยางพาราในส่วนต่าง
ๆ เอนเอียง (ไม่ถึงกับล้ม)
ก็มีการจ้างช้างให้มาดึงต้นยางพาราขึ้นตั้งตรง
(ในสวนยางรถใหญ่เข้าไม่ได้)
ทะเลน้อยยังเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นกระจูด
เรียกว่ามีขายในราคาถูกกว่าซื้อข้างนอกเยอะ
ร้านค้าก็อยู่ฝั่งตรงข้ามที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
และติดกันก็คือร้านขายของกิน
ที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็คือ
"ไข่ปลาทอด"
บางร้านเสียบไม้ขาย
ขายกันไม้ละ ๒๐ บาท ถ้าสามไม้ก็
๕๐ บาท มีหลายเจ้าที่ขาย
บางร้านก็มีคนต่อคิวซื้อ
ในขณะที่บางร้านก็ดูว่าง
ๆ ไข่ปลาทอดนี้กินเปล่า ๆ
ได้ไม่ต้องอาศัยน้ำจิ้มอะไร
ถ้าไม่กลัวโคเลสเตอรอลขึ้นก็กินได้ตามสบาย
วันนั้นฝนไล่หลังมาจากทะเลน้อย
จุดแวะสุดท้ายก่อนวนกลับทุ่งขึงหนังก็คือวัดเขาอ้อ
วัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำนักตักศิลาทางไสยเวทย์ในภาคใต้
เล่ากันว่าขุนพันธรักษ์ราชเดชที่เป็นต้นตำรับของจตุคามรามเทพ
ท่านก็มาอาบแช่น้ำว่านที่วัดนี้
ผมไปถึงตอนเย็นแล้ว
ฝนทำท่ากำลังจะตก วัดก็เลยเงียบสงบ
ก็เลยได้มีโอกาสเข้าไปไหว้พระและเยี่ยมชมถ้ำที่เป็นที่ตั้งของอ่างแช่น้ำแร่เดิม
ก่อนกลับที่พักรอเวลาคุณน้าอีกคนเลี้ยงข้าวเย็นที่ร้านสเต็กหลานตาชู
ร้านสเต็กหลานตาชูผมเห็นเปิดมาหลายปีแล้ว
แต่ไม่เคยไปกิน
วันนั้นเป็นวันแรกที่เพิ่งจะได้แวะไป
ถนนสาย ๔๑ จากพัทลุงมาควนขนุนแต่เดิมก็เงียบ
ๆ เป็นเพียงแค่เส้นทางผ่านจากทุ่งสงไปหาดใหญ่
แต่พักหลังนี้ดูเหมือนตัวเมืองพัทลุงจะขยายออกมาทางเส้นนี้
สาเหตุหนึ่งก็คงเป็นเพราะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขตพัทลุงด้วย
ร้านนี้ก็เรียกว่าขึ้นชื่อขนาดมีคนเดินทางทั้งจากหาดใหญ่และนครศรีธรรมราชเพื่อมากินอาหารที่ร้านนี้
คงไม่ขอออกความเห็นว่าอาหารที่ร้านนี้เป็นอย่างไร
แต่เอาเป็นว่าหลังจากเที่ยวมาทั้งวัน
คืนนั้นก็หลับยาว
รูปที่
๘ บรรยากาศบริเวณปากคลองปากประ
รูปที่
๙ ศาลาบริเวณคลองนางเรียม
ทะเลน้อย
รูปที่
๑๐ ฝูงควายที่ออกมาหากิน
ช่วงที่ไปนั้นฝนไม่ตกมา ๔
เดือน (พึ่งจะตกวันที่ผมเดินทางไปถึงพัทลุง)
น้ำในทะเลน้อยเลยแห้งไปมาก
ฝูงควายเลยไม่ต้องว่ายน้ำออกมาหากิน
รูปที่
๑๑
บริเวณศาลาที่พักและพระตำหนักบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลน้อย
ที่นี่นอกจากการดูนกและนั่งเรือชมดอกบัวบานในตอนเช้าแล้ว
ก็ยังเป็นแหล่งขายของอร่อยคือ
"ไข่ปลาทอด"
และผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด
(เช่นกระเป๋ารูปแบบต่าง
ๆ)
ในราคาถูกอีกด้วย
เหมาะแก่การขนกลับไปเป็นของฝาก
รูปที่
๑๒ วัดเขาอ้อ
สำนักตักศิลาทางไสยเวทย์ที่เป็นที่ขึ้นชื่อของภาคใต้
รูปที่
๑๓ ปากถ้ำที่เป็นที่ตั้งของบ่อแช่น้ำว่านเดิม
เล่ากันว่าขุนพันธรักษ์ราชเดช
ก็มาแช่น้ำว่านที่วัดนี้
รูปที่
๑๔ รางแช่น้ำว่านเดิม
คือต้องลงไปนอนแช่
รูปที่
๑๕ "ไข่ปลาทอด"
มาถึงทะเลน้อยแล้วจะไม่กินก็ไม่ได้
เพราะมันเป็นของอร่อยประจำท้องถิ่น
นอกจากจะซื้อกินในวันนั้นแล้ว
ยังซื้อแช่แข็งกลับมากินที่กรุงเทพอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น