"
........
หรือถ้าจะไปทางลัดก็ต้องนั่งรถรางไปลงที่เทเวศน์แล้วข้ามเรือจ้างไปฝั่งธน
จะมีสถานีรถยนต์รางของเจ้าคุณวรพงษ์วิ่งตัดสวนต่าง
ๆ ไปออกทุ่งนาตรงไปตลาดบางบัวทอง
รถรางของท่านเจ้าคุณท่านนี้สร้างตัวรถแบบเดียวกับรถยนต์รางที่ปากลัดพระประแดง
คือไม่มีฝาไม่มีตัวถัง
รถเปิดโปร่ง มีม้านั่งเป็นแถว
ๆ ไป เวลานี้เขาเลิกเสียหมดแล้ว
ผมยังนึกเสียดายอยู่
........"
ข้อความข้างบนผมนำมาจากนิยายเรื่อง
"ชีวิตคุณย่า"
เขียนโดย
เหม เวชกร
ที่สำนักพิมพ์วิริยะมานำตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือชุด
"ภูติ
ผี ปิศาจ ไทย ๑๐๐ ปี เหม เวชกร"
ตอนใครอยู่ในอากาศ
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗
และได้เคยนำมาลงแล้วครั้งหนึ่งตอนที่เขียนเรื่องกับรถไฟสายบางบัวทอง(๑)
นิยายเรื่องนี้ทำให้ทราบว่าตู้โดยสารของรถยนต์รางที่พระประแดงนั้นมีลักษณะเดียวกันของรถไฟสายบางบัวทอง
พระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงษ์ของรัชกาลที่
๕ (รูปที่
๑)
ทำให้ทราบว่ารถรางสายนี้เปิดดำเนินการในปีพ.ศ.
๒๔๕๑
ประกาศของกระทรวงนครบาล
(รูปที่
๒)
ทำให้ทราบว่ารถรางสายนี้เก็บค่าโดยสาร
๖ สตางค์สำหรับที่นั่งชั้นธรรมดา
และเก็บเพิ่มเป็นสองเท่าสำหรับที่นั่งชัน
๑ และในหนังสือ "The
Railway Atlas of Thailand,Laos and Cambodia" ของ
B.R.
Whyte กล่าวไว้ว่ารถไฟสายนี้หยุดกิจการในปีพ.ศ.
๒๔๘๔
ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่
๒ จะเริ่มขึ้นในประเทศไทย
บริเวณพื้นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา
แม่น้ำที่อยู่ในบริเวณนี้มักมีลักษณะคดเคี้ยวไปมา
เช่นบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยที่มีแม่น้ำท่าจีนอยู่ทางตะวันตก
แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่บริเวณตอนกลาง
และแม่น้ำบางปะกงอยู่ทางตะวันออก
(รูปที่
๓)
สำหรับการเดินทางทางน้ำแล้วลักษณะลำน้ำที่คดเคี้ยวนี้ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง
แต่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเช่นปลูกพืชต่าง
ๆ
ลักษณะลำน้ำที่คดเคี้ยวก็มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนลึกเข้ามาในพื้นดินในช่วงที่เวลาน้ำลง
(ส่วนของแม่น้ำที่อยู่ใกล้ทะเล
เช่นแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลผ่านกรุงเทพ
เวลาที่น้ำลงน้ำในแม่น้ำจะไหลออกทะเล
แต่เวลาที่น้ำขึ้นจะเห็นน้ำในแม่น้ำไหลย้อนกลับมา
ซึ่งน้ำที่ไหลย้อนเข้ามานี้จะพาน้ำเค็มเข้ามาด้วย)
ในบริเวณที่อยู่ทางจากทะเลและไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลงที่ทำให้มีน้ำเค็มไหลย้อนเข้ามาในแผ่นดิน
ส่วนไหนของแม่น้ำที่คดเคี้ยวก็มักจะมีการขุดคลองตรงบริเวณคอคอดเพื่อย่นระยะทางในการเดินทางด้วยเรือ
แต่เมื่อเข้ามาสู่บริเวณใกล้ทะเลแล้ว
ปัจจัยเรื่องน้ำเค็มไหลย้อนจะส่งผลมากกว่า
ดังนั้นในอดีตนั้นตัวแม่น้ำเจ้าพระยาเองจึงมีการขุดคลองลัดบริเวณคอคอดต่าง
ๆ เพื่อย่นระยะทางในการเดินทาง
ซึ่งคลองหลายคลองที่ขุดนั้นได้กว้างขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำ
ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินแคบลงจนกลายเป็นคลองไป
คลองขุดในอดีตเดิมที่อยู่ใกล้ทะเลมากที่สุดปัจจุบันคือแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงปากคลองบางกอกน้อย
(ตรงสถานีรถไฟธนบุรีหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์)
ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่
(บริเวณพระราชวังเดิมหรือวัดกัลยาณมิตร)
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมก็กลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่
จะมีเว้นอยู่ที่หนึ่งก็คือบริเวณนครเขื่อนขันธ์หรือพระประแดงในปัจจุบัน
รูปที่ ๑ "พระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงษ์ ข้าทูลลอองธุรีพระบาทฝ่ายหน้า" ของรัชกาลที่ ๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๒๕ หน้า ๗๔๙-๗๕๓ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗)
รูปที่
๒ ประกาศกระทรวงนครบาล
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๒๖ หน้า ๑๘๒๒ วันที่ ๑๔
พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๒
(ร.ศ.
๑๒๘)
ประกาศนี้ทำให้ทราบว่ารถรางโดยสารนั้นมีที่นั่งโดยสารสองชั้น
และค่าโดยสารที่จัดเก็บ
รูปที่
๓ แผนที่แม่น้ำท่าจีน
(ซ้าย)
แม่น้ำเจ้าพระยา
(กลาง)
และแม่น้ำบางปะกง
(ขวา)
จะเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยามีความคดเคี้ยวน้อยกว่าแม่น้ำอีกสองสาย
ทั้งนี้เป็นเพราะมีการขุดคลองลัดบริเวณที่คดเคี้ยวหลายตำแหน่งเพื่อให้ลำน้ำตรงขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไปคลองที่ขุดเหล่านี้ก็กว้างขยายขึ้นกลายเป็นลำแม่น้ำขึ้นมาแทน
ในขณะที่ลำแม่น้ำเดิมก็หดแคบลงและถูกลดฐานะลงไปเป็นคลองแทน
จะมีเว้นก็แต่บริเวณพระประแดงที่มีการปล่อยเอาไว้เช่นนั้น
(แม้ว่าจะมีคลองให้เรือขนาดเล็กผ่านได้)
ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงและป้องกันไม่ให้น้ำเค็มไหลย้อนเข้ามาในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมได้มากเกินไป
(แต่ในปัจจุบันมีการขุดคลองลัดโพธิ์ที่เป็นคลองขนาดใหญ่ช่วยในการระบายน้ำ
แต่ก็ยังต้องมีระบบประตูน้ำคอยควบคุม)
รูปที่
๔ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง
จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.
๒๔๘๐
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๔ หน้า ๑๘๗๘-๑๘๘๑
เส้นทางรถรางที่เชื่อมสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในกรอบสีน้ำเงิน
บริเวณนี้มีคลองลัดหลวง
(รูปที่
๔)
สำหรับให้เรือขนาดเล็กผ่านได้
แต่ไม่ให้เรือขนาดใหญ่ผ่าน
สาเหตุที่ต้องเก็บบริเวณนี้เอาไว้ก็เพราะไม่เพียงแต่การมีคลองขนาดใหญ่จะทำให้น้ำเค็มไหลย้อนเข้าไปในแผ่นดินได้ลึกและรวดเร็วในช่วงน้ำลง
(ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายได้
และยังทำให้มีปัญหาเรื่องนำบริโภคได้)
แต่ยังทำให้เรือรบข้าศึกเข้าประชิดพระนครได้รวดเร็วขึ้น
ดังนั้นถ้ามองจากแง่ชัยภูมิทางทหารแล้ว
การตั้งป้อมปืนบนฝั่งบริเวณคอคอดนี้เพื่อรับมือกับกองเรือรบข้าศึกที่มาตามลำแม่น้ำจะทำให้รับมือกับข้าศึกได้ถึงสองครั้ง
คือครั้งแรกที่ข้าศึกแล่นเข้ามา
และครั้งที่สองถ้าข้าศึกนั้นผ่านไปได้
ข้าศึกนั้นจะต้องกลับมาโผล่อีกทางฝั่ง
อันที่จริงตรงพระประแดงนี้ก็มีแผนการขุดคลองลัดพร้อมระบบประตูน้ำควบคุม
(คงเพื่อช่วยในการระบายน้ำออกทะเล)
มานานก่อนไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
แต่ก็ไม่ได้ทำสักทีจนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ที่มีคลองลัดโพธิ์เกิดขึ้น)
รูปที่
๕ ส่วนขยายของแผนที่ในกรอบสีน้ำเงินของรูปที่
๔ ระบุว่าปลายทางด้านบนอยู่ตรง
"ท่าตรงข้ามถนนตก"
ส่วนปลายทางด้านล่างอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอพระประแดง
รูปที่
๖
แผนที่กรุงเทพมหานครจัดทำโดยกองทัพอังกฤษในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๒
ในแผนที่ฉบับนี้ปรากฏเส้นทางรถรางปลายทางด้านทิศเหนืออยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสี่แดงด้านล่างของรูป
รถยนต์รางที่ปากลัด
พระประแดงนี้ เป็นรถรางสายสั้น
ๆ ความยาวประมาณ ๑๙๐๐ เมตร
แต่ช่วยย่นระยะทางการเดินทางทางเรือระหว่างสองฟากฝั่งสถานีรถรางที่ยาวถึง
๒๐ กิโลเมตร หนังสือของ B.R.
Whyte ในแผนที่
29
ท้ายเล่มให้แนวเส้นทางรถไฟดังกล่าวเอาไว้คร่าว
ๆ
แต่แนวเส้นทางเทียบสถานที่จริงนั้นไปค้นเจอจากแผนที่แนบท้ายราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศตั้งเทศบาลเมืองพระประแดส
(รูปที่
๔ และ ๕)
และแผนที่บริเวณกรุงเทพมหานคร
จัดทำโดยกองทัพอังกฤษ(๒)
ที่เสียดายก็คือยังไม่พบว่ามีรูปถ่ายของรถรางดังกล่าวปรากฏให้เห็นเหมือนของรถไฟสายบางบัวทองหรือสายพระพุทธบาท
รูปที่ ๗ แผนที่กรุงเทพมหานครจัดทำโดยกองทัพอังกฤษในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นส่วนต่อด้านล่างของแผนที่ในรูปที่ ๖ ในแผนที่ฉบับนี้ปรากฏส่วนที่เหลือของเส้นทางต่อจากรูปที่ ๖ ในกรอบสี่เหลี่ยมสี่แดงด้านบนของรูป และทางรถไฟสายปากน้ำทางด้านขวา (ที่เขียนในแผนที่ว่า SIAM STATE RAILWAY)
หมายเหตุ
(๑)
Memoir ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๙๘ วันพฤหัสบดีที่
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"รถไฟสายบางบัวทอง (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๓๘)"
(๒)
รายละเอียดของแผนที่ชุดนี้เคยให้ไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๒๗ วันพฤหัสบดีที่
๙ มกราคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา) ภาค ๖ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๕๔)"
รูปที่
๘ (บน)
ภาพขยายในกรอบสีแดงของรูปที่
๖ (ล่าง)
ภาพขยายในกรอบสีแดงของรูปที่
๗ ลูกศรสีแดงชี้แนวเส้นทางรถราง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น