ความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศสมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๔ ที่ฝรั่งเศสพยายามเข้ามายึดครองดินแดนต่าง
ๆ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเมืองขึ้น
สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะฝรั่งเศสต้องการหาทางเข้าไปมีอิทธิพลในจีน
ซึ่งในขณะนั้นอังกฤษได้ปกครองอินเดีย
(รวมพม่าด้วย)
และเกาะฮ่องกง
ทำให้อังกฤษมีฐานที่มั่นสำหรับเข้าไปในจีนทั้งทางบก
(พม่า)
และทางเรือ
ฝรั่งเศสเองนั้นมองว่าแม่น้ำโขงน่าจะเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สามารถใช้เดินเรือเข้าไปในจีนได้
จึงได้หาทางเข้ายึดครองดินแดนที่อยู่เคียงข้างลำน้ำโขง
(แต่ต่อมาภายหลังพบว่าเส้นทางนี้ไม่สามารถใช้ได้)
โดยเริ่มจากเข้ายึดเวียดนามก่อน
ตามด้วยการเข้ายึดดินแดนในการปกครองของไทย
(คือลาวและเขมร)
และมีการขัดแย้งกับไทยที่รุนแรงในสมัยรัชกาลที่
๕ ที่เรียกว่ากรณี ร.ศ.
๑๑๒
(ปีค.ศ.
๑๘๙๓)
ซึ่งเป็นครั้งที่ไทยเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสมากที่สุด
การขัดแย้งกับฝรั่งเศสที่รุนแรงอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายปีพ.ศ.
๒๔๘๓
ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสยอมแพ้แก่กองทัพเยอรมันในยุโรป
รัฐบาลฝรั่งเศสภายหลังการยอมแพ้เยอรมันมีชื่อเรียกว่ารัฐบาลวิชีฝรั่งเศส
(Vichy
France)
การรบทางบกเริ่มขึ้นในวันที่
๕ มกราคม พ.ศ.
๒๔๘๔
ฝ่ายไทยใช้กำลัง ๔๔ กองพันทหารราบ
โดยมีการรบทางด้านลาวตอนเหนือ
ลาวตอนใต้ และกัมพูชา
โดยการรบที่หนักหน่วงที่สุดเกิดในแนวเส้นทางจากอรัญประเทศมุ่งหน้าไปทางปอยเปต
ทหารฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้ารบนั้นเป็นทหารอาณานิคม
(ทหารอาณานิคมคือทหารที่ฝรั่งเศสเอาชาวประเทศที่อยู่ในการปกครองของฝรั่งเศสมาฝึกทหารโดยมีคนฝรั่งเศสบังคับบัญชา
อังกฤษก็มีกองทหารแบบเดียวกัน)
การรบทางเรือเริ่มเกิดขึ้นในเช้าวันที่
๑๗ มกราคม พ.ศ.
๒๔๘๔
ที่คนไทยรู้จักในนาม
"ยุทธนาวีที่เกาะช้าง"
ซึ่งในการรบครั้งนี้ไทยเสียเรือรบไป
๓ ลำคือ เรือหลวงธนบุรี
เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี
รูปที่
๑ ทหารไทยเตรียมปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อยิงเครื่องบินฝรั่งเศส
(รูปไม่มีการระบุสถานที่)
ในระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีนในเดือนมกราคม
พ.ศ.
๒๔๘๔
(รูปจาก
http://www.ww2incolor.com/other/AA_Gun.html)
รูปที่
๒ การจัดวางกำลังของไทยกับฝรั่งเศส
(รูปจาก
http://france1940.free.fr/images/FTW1.jpg)
ตามแนวพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
สี่เหลี่ยมที่มีขีดสองขีดอยู่ด้านบนหมายถึงกองกำลังระดับกองพัน
ถ้าเป็นกากบาทอยู่กลางสี่เหลี่ยมคือหน่วยทหารราบ
และถ้าเป็นวงรีอยู่ตรงกลางสี่เหลี่ยมคือหน่วยยานเกราะ
จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงให้ทั้งสองฝ่ายยุติการรบ
(ตอนนั้นญี่ปุ่นเข้ามามีกองกำลังอยู่ในอินโดจีนฝรั่งเศสแล้ว)
และในอนุสัญญาสันติภาพที่ลงนามที่กรุงโตเกียวในวันที่
๙ พฤษภาคมปีเดียวกันนั้น
ทำให้ไทยได้ดินแดนบางส่วนกลับมา
และได้จัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้น
๔ จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์
จังหวัดลานช้าง
จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง
รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ
๒๔,๐๓๙
ตารางกิโลเมตร ซึ่งจังหวัดดังกล่าวนี้
ไทยได้ปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปี พ.ศ.
๒๔๘๘
รูปที่
๓
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าสองข้างทางรถไฟสายอรัญประเทศ-มงคลบุรี
หรือป่าปอยเปตในท้องที่ตำบลมรกฎ
ตำบลบ้านจังหัน ตำบลศรีโสภณ
ตำบลสวายจิก และตำบลทับไท
อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพิบูลสงคราม
ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช
๒๔๘๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๓๘ วันที่ ๑๗
กรกฎาคม พ.ศ.
๒๔๘๘
ฝ่ายไทยเองเมื่อได้ดินแดนดังกล่าวมาปกครองก็มีการออกกฎหมายต่าง
ๆ เพื่อบังคับใช้กับดินแดนเหล่านั้น
ตัวอย่างหนึ่งที่นำมาแสดงคือแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าปอยเปตเป็นป่าคุ้มครอง
(รูปที่
๓)
ที่เลือกเอาแผนที่นี้มาก็เพราะมันติดต่อกับพรมแดนไทยในปัจจุบันทางด้านอรัญประเทศโดยมีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเป็นจุดสังเกต
จะได้เทียบเคียงกับแผนที่ในปัจจุบันได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งใด
รูปที่
๔ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าโรเนียมโดนซอม
ในท้องที่ตำบลภูมิเรียง
และตำบลนาพะเนียด อำเภอไพริน
ตำบลมรกต และตำบลเวรุวัน
อำเภอพรมโยธี จังหวัดพระตะบอง
ให้เป็นป่าคุ้มครองพ.ศ.
๒๔๘๘
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๒๖ วันที่ ๘
พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๘๘
หน้า ๓๑๔
ในแผนที่นี้จะเห็นจังหวัดจันทบุรีอยู่ทางด้านซ้าย
ผมอ่านบทความที่เขียนเผยแพร่ในเว็บบางเว็บโดยชาวต่างชาติซึ่งต่างกล่าวว่ากองทัพไทยนั้นทำอะไรกองทัพฝรั่งเศสไม่ได้
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ต้องหาคำอธิบายให้ได้ว่าแล้วทำไมฝรั่งเศสจึงยอมยกดินแดนให้กับไทย
ตรงนี้มีบางคนกล่าวว่าญี่ปุ่นกับฝรั่งเศสมีการเจรจาลับกัน
โดยให้ฝรั่งเศสยกดินแดนให้ไทยส่วนหนึ่ง
แต่ญี่ปุ่นจะป้องกันไม่ให้ไทยรุกล้ำไปมากกว่านั้น
เรื่องเล่านี้จะจริงหรือไม่คงต้องหาหลักฐานมายืนยันกันอีกที
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็น่าคิดว่าเป็นไปได้ไหมว่าญี่ปุ่นอาจต้องการเอาใจไทย
เพราะต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่มั่นในการเดินทัพไปยึดพม่าและมลายูของอังกฤษ
รู้แต่ว่าภายหลังการเจรจาแล้วญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทให้อินโดจีนฝรั่งเศสมากขึ้น
(ตอนนั้นไม่มีประเทศ
ลาว เขมร และเวียดนาม
แต่เรียกว่าอินโดจีนฝรั่งเศส)
และใช้ที่ตั้งทางทหารในเวียดนามเป็นฐานในการส่งทหารเข้ายึดคาบสมุทรมลายูและส่งทหารผ่านไทยเข้าพม่าในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
(ดู
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๖๐ วันอังคารที่
๘ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"เหตุัผลที่ไทยต้องประกาศสงคราม (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๓๓)"
ประกอบ)
เช้าวันวาน
นั่งรถเมล์ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไทย
เห็นพวงมาลาที่วางเอาไว้เพื่อระลึกถึงวีรกรรมทหารผ่านศึก
เมื่อวันที่ระลึกทหารผ่านศึก
๓ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ก็เลยขอเขียนเรื่องเข้ากับบรรยากาศหน่อย
อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์และผู้เสียชีวิตในการรบครั้งนั้นก็คือ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
รูปที่ ๕
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่สร้างเป็นอนุสรณ์ให้กับผู้เสียชีวิตในการรบกับอินโดจีนฝรั่งเศสในปีพ.ศ.
๒๔๘๓-๒๔๘๔
จากรูปร่างที่ดูคล้ายเห็นขูดชาร์ป
ทำให้บางคนเรียกว่าอนุสาวรีย์นี้ว่าอนุสาวรีย์เหล็กขูดชาร์ป
ถ่ายเอาไว้ตอนเช้าวันวาน
http://th.wikipedia.org/wiki/กรณีพิพาทอินโดจีน ข้อมูล ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์
พ.ศ.
๒๕๕๖