เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว
(ศุกร์
๘ -
เสาร์
๙ พฤศจิกายน)
มีการจัดงานที่จังหวัดแพร่ในชื่อ
"ป๊ะไปแป้
แห่ระเบิด"
หรือ
"แอ่วเมืองแป้
แห่ระเบิด"
(เห็นมีโปสเตอร์อยู่สองแบบ)
ส่วนที่ว่าทำไมถึงมีคนถึงเรียกว่า
"เมืองแพร่
แห่ระเบิด"
ก็เห็นมีคนกล่าวเอาไว้เยอะแล้วในอินเทอร์เน็ต
แต่ก็เห็นเป็นข้อความเดียวกัน
(คงมีต้นตอมาจากที่เดียว
แต่ลอก ๆ กันต่อมาจนไม่รู้ว่าต้นเรื่องนั้นอยู่ที่ไหน)
Memoir ฉบับนี้ก็เลยขอเอารูปสมัยสงครามโลกครั้งสองที่ค้นเจอจาก
www.fold3.com
ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการ
"แห่ระเบิด"
ที่จังหวัดแพร่มาให้ดูกัน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อเข้าไปรบในพม่าและมลายู
เส้นทางการขนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่าง
ๆ
ของกองทัพญี่ปุ่นไปยังพม่านั้นก็ใช้เส้นทางรถไฟตะวันออกและสายเหนือของไทย
(ก่อนหน้าที่จะเปิดฉากบุกประเทศไทย
กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาประจำในอินโดจีนฝรั่งเศสหลังเหตุการณ์การสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสซึ่งญี่ปุ่นเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย
ทำให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถใช้เส้นทางรถไฟสายตะวันออกของไทยลำเลียงกำลังพลจากเขมรและเวียดนามผ่านประเทศไทยไปยังพม่า)
การเดินทางผ่านประเทศไทยไปยังพม่านั้น
นอกจากจะใช้เส้นทางทางภาคใต้แล้ว
ก็ยังมีการใช้เส้นทางด้านจังหวัดตาก
แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่
และเชียงราย
การลำเลียงทหารไปทางภาคเหนือนั้นก็จะใช้เส้นทางรถไฟเป็นหลัก
(หลังจากนั้นถึงค่อยมาสร้างทางรถไฟเชื่อมผ่านทางกาญจนบุรี)
ในช่วงแรกนั้นกองทัพอังกฤษต้องถอยร่นไปประจำอยู่ในอินเดีย
แต่พอกองทัพอังกฤษจะเริ่มการตีโต้กลับก็ต้องหาทางตัดเส้นทางส่งเสบียงของกองทัพญี่ปุ่น
วิธีการหนึ่งที่กองทัพอังกฤษ
(โดยทัพอากาศสหรัฐอเมริกา)
กระทำคือการทำลายเส้นทางรถไฟ
เป้าหมายที่เป็นจุดหลักในการทำลายคือชุมทางต่าง
ๆ ที่มีโรงซ่อม และสะพานข้ามแม่น้ำ
ใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๐๒ วันศุกร์ที่
๗ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๒๔ การทิ้งระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำทางรถไฟสายใต้"
นั้นได้นำเอาแผนที่เป้าหมายเส้นทางรถไฟที่ทัพอากาศสัมพันธมิตรทำการทิ้งระเบิด
และภาพการทิ้งระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำที่จังหวัดชุมพร
มาให้ดูกัน
คราวนี้ก็เลยขอเป็นการทิ้งระเบิดสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำของทางรถไฟสายเหนือบ้าง
รูปที่
๒ สะพานข้ามแม่น้ำยมที่แก่งหลวง
ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟแก่งหลวงและที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้า
หรืออยู่ระหว่างอำเภอเด่นชัยและอำเภอลอง
จังหวัดแพร่
ในช่วงนั้นเหล็กกล้าที่ใช้กันในภูมิภาคบ้านเราจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
(เช่นจากอังกฤษ)
ดังนั้นการโจมตีจึงมักมุ่งไปที่สะพานที่เป็นโครงเหล็ก
เพราะสะพานเหล่านี้มักเป็นสะพานขนาดใหญ่
และถ้าประเทศนั้น
(เช่นประเทศไทยในขณะนั้น)
ไม่มีทรัพยากรแร่เหล็กและอุตสาหกรรมเหล็กกล้าด้วยแล้ว
การหาเหล็กกล้ามาซ่อมแซมสะพานคงทำได้ยาก
รูปที่ ๓ ภาพดาวเทียมของสะพานในปัจจุบัน
ดูเหมือนว่าเส้นทางรถไฟทางด้านฝั่งเหนือแม่น้ำยมมีการปรับแนวให้เป็นเส้นตรงจากแนวเดิม
(เส้นประสีเขียว)
"ห้วยแม่ต้า"
คือลำน้ำเล็ก
ๆ ที่มาบรรจบแม่น้ำยมทางทิศตะวันออกของสะพาน
จะเห็นซากตอม่อของสะพานเก่า
(ลูกศรสีเหลืองชี้)
อยู่ทางด้านตะวันตกของสะพานปัจจุบัน
สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำยมที่จังหวัดแพร่
ที่อยู่ระหว่างสถานีรถไฟแก่งหลวงและที่หยุดรถไฟบ้านห้วยแม่ต้า
(ถัดไปจากที่หยุดรถห้วยแม่ต้าก็เป็นสถานีรถไฟบ้านปิน)
ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสัมพันธมิตร
ทางรถไฟช่วงนี้เป็นทางรถไฟระหว่างอำเภอเด่นชัยและอำเภอลอง
จังหวัดแพร่
รูปที่
๔ รูปสะพานข้ามแม่น้ำยมที่แก่งหลวง
ด้านนี้ของภาพใช้คำว่า
"Print
rec'd 11/30/44" หมายถึงวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ค.ศ.
๑๙๔๔
(พ.ศ.
๒๔๘๗)
แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นวันที่ถ่ายภาพหรือเป็นวันที่อัดภาพแผ่นนี้ขึ้นมาใหม่
ที่เห็นดำ ๆ เป็นรูปโครงเหล็กนั้นคือ
"เงา"
ของสะพาน
ไม่ใช่ตัวสะพาน
แสดงว่ารูปนี้ถ่ายในตอนบ่าย
เพราะเงาทอดไปทางตะวันออก
ไฟล์ต้นฉบับที่ดาวน์โหลดมานั้นเป็นไฟล์
Bitmap
ขนาดใหญ่
(ประมาณ
3500
x 4600 pixel) ก็เลยต้องเอามาลดขนาดลงหน่อยและจับภาพวางตะแคง
เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า
ดังนั้นถ้าจะดูบนจอโดยไม่พิมพ์ออกมา
ก็ให้ใช้คำสั่งตะแคงรูปเอาเองก็แล้วกัน
รูปที่
๕ รูปขยายเฉพาะส่วนตัวสะพานในรูปที่
๔ จะเห็นว่าที่เห็นเป็นรูปโครงเหล็กดำ
ๆ นั้นแท้จริงคือ "เงา"
ของสะพาน
และเมื่อดูจากทิศทางของเงาที่ทอดไปทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือ
ก็ทำให้เป็นไปได้ว่ารูปนี้น่าจะถ่ายในช่วงปลายปี
ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์เดินทางเยื้องไปทางทิศใต้
(ที่เรียกว่า
"ตะวันอ้อมข้าว)
รูปที่
๖ ในกรอบสีแดงด้านหน้าบอกว่า
"Print
rec'd 7/24/77" หมายถึงวันที่
๒๔ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.
๒๔๘๗
บอกว่าเป็นภาพตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อออกข่าว
และคงไม่ใช่วันที่ที่ทำการทิ้งระเบิดจริง
เพราะบันทึกที่อยู่ด้านหลังภาพนี้
(รูปที่
๗)
มีการลงวันที่ไว้อีกวันหนึ่ง
ภาพนี้แสดงการทิ้งระเบิดลงบริเวณคอสะพานฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำยม
ในรูปนี้จะเห็นเส้นทางรถไฟฝั่งด้านทิศเหนือของแม่น้ำยมมีการคดไปทางซ้ายก่อนที่จะวกกลับมาทางขวาอีกที
ซึ่งแตกต่างไปจากภาพปัจจุบันที่แสดงในรูปที่
๓ ที่เป็นเส้นตรง
แสดงว่าเส้นทางฝั่งด้านทิศเหนือนั้นมีการปรับแนวใหม่
จุดสังเกตอีกจุดคือแม่น้ำยมที่เห็นในรูปนี้ก็แห้งกว่าในรูปที่
๔
สังเกตได้จากการปรากฏของเนินกลางแม่น้ำที่ทอดยาวจากตัวสะพานไปยังฝั่งด้านทิศเหนือ
แสดงว่ารูปนี้น่าจะเป็นการถ่ายภาพในหน้าแล้ง
ซึ่งวันที่จะไปตรงกับที่มีการระบุไว้ข้างหลังภาพในรูปที่
๗
รูปที่
๗ คำบรรยายที่อยู่ทางด้านหลังของรูปที่
๖ บอกว่าเป็นสะพานแก่งหลวงทางด้านเหนือของประเทศไทย
ที่เป็นทางรถไฟยุทธศาสตร์ลำเลียงเสบียงให้กับกองทัพญี่ปุ่นที่อยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า
(ผ่านทางเชียงใหม่
เชียงราย แม่ฮ่องสอน)
ในกรอบแดงระบุวันที่
"31
MAY 1944" หรือ
๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๘๗
ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้ง
ทำให้น่าสงสัยว่าวันที่นี้คงเป็นวันที่ทำการถ่ายภาพดังกล่าว
การทิ้งระเบิดกระทำโดยเครื่องบิน
B-25
Mitchell ของกองทัพอากาศที่
๑๔ ของสหรัฐ บังคับการโดยนายพล
Claire
Lee Chennault ฝูงบินนี้เป็นที่รู้จักในนาม
"Flying
Tiger" นายพล
Chennault
ผู้นี้เป็นนักบินอาสาสมัครของสหรัฐที่เข้าไปช่วยรัฐบาลเจียงไคเช็คของจีนรบกับญี่ปุ่นตั้งแต่ปีค.ศ.
๑๙๓๗
หรือก่อนที่สงครามระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐจะเกิดขึ้นถึง
๔ ปี
รูปที่
๘ ภาพขณะเกิดการระเบิด
ระเบิดส่วนใหญ่ตกลงทางด้านตะวันตกของสะพาน
รูปนี้จะเห็นรอยระเบิดเก่า
(พื้นที่ขาว
ๆ)
อยู่ทางด้านฝั่งแม่น้ำด้านทิศใต้ทางด้านตะวันตกของทางรถไฟและบริเวณริมห้วยแม่ต้า
ซึ่งรอยเหล่านี้ไม่ปรากฏในรูปที่
๕ และทิศทางของแสงเงาของรูปนี้เหมือนกับในรูปที่
๓ แสดงว่ารูปที่ ๓ และ ๗
นี้น่าจะถ่ายในวันเดียวกัน
ด้านนี้ของรูปบันทึกไว้ว่า
"Print
rec'd 11/30/44" แต่คงไม่ใช่วันทิ้งระเบิด
น่าจะเป็นวันได้รับอนุญาตให้เผยแพร่มากกว่า
ส่วนวันทิ้งระเบิดจริงนั้นน่าจะเป็นอีกวันหนึ่งที่บันทึกเอาไว้ด้านหลังของรูป
รูปที่
๙ ด้านหลังของรูปที่ ๘
กล่าวว่าเครื่องบิน "B-25
Mitchells smash Jap lifeline in Thailand 11/11/44"
ดังนั้นวันที่ถ่ายภาพในรูปที่
๘ นั้นน่าจะเป็นวันที่ ๑๑
พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๘๗
ถือเสียว่าเราต้อนรับวันก่อนวันลอยกระทงด้วยการนำเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนนี้เมื่อ
๖๙ ปีที่แล้วมาเล่าสู่กันฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น