เมื่อวันจันทร์ที่
๒๓ เมษายนที่ผ่านมา
สาวน้อยหน้าบานพาเพื่อนคนหนึ่งท่าทางกระวนกระวาย
(สาวน้อยจากเมืองสุโขทัย)
มาถามคำถามผมเกี่ยวกับปัญหาของหมู่ไฮดรอกซิล
(Hydroxyl
-OH) ว่าตกลงว่ามันเป็นกรดหรือเป็นเบส
อันที่จริงเรื่องนี้ผมเคยพูดไปบ้างแล้วว่าหมู่
-OH
นั้น
เวลาที่มันอยู่กับสารอินทรีย์
(เช่นแอลกอฮอล์
กรดอินทรีย์ ฟีนอล)
มันแสดงฤทธิ์เป็นกรด
คือจะแตกตัวให้โปรตอน (H+)
ออกมา
แต่เวลาที่มันเป็นสารประกอบกับโลหะโดยเฉพาะโลหะ
"อัลคาไลน์"
และ
"อัลคาไลน์เอิร์ธ"
มันแสดงฤทธิ์เป็นเบส
คือตัวอะตอม O
จะดึงอิเล็กตรอนจากอะตอมโลหะทำให้ตัวมันกลายเป็นไอออนลบ
OH-
ที่เราเรียกว่าหมู่ไฮดรอกซี
(Hydroxy)
Electronegativity
(En)
เป็นค่าที่บอกความสามารถของอะตอมในการดึงอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่นเข้าหาตัวมันเอง
เวลาที่อะตอมสองอะตอมที่มีค่า
En
ต่างกันมาสร้างพันธะทางเคมีเข้าด้วยกัน
อิเล็กตรอนที่เป็นตัวสร้างพันธะนั้นก็จะเคลื่อนที่ไปมาระหว่างอะตอมทั้งสอง
แต่อิเล็กตรอนที่เป็นตัวสร้างพันธะนั้นไม่จำเป็นต้องกระจายตัวอยู่ระหว่างอะตอมทั้งสองเป็นจำนวนที่เท่า
ๆ กัน โดยการกระจายตัวของอิเล็กตรอน
(ที่เป็นตัวสร้างพันธะนั้น)
ที่อะตอมที่มีค่า
En
สูงกว่าจะมากกว่าที่อะตอมที่มีค่า
En
ต่ำกว่า
(กล่าวคือไปใช้เวลาอยู่ที่อะตอมที่มีค่า
En
มากกว่าเป็นเวลานานกว่าอะตอมที่มีค่า
En
ต่ำกว่า)
รูปที่
๑ ตารางแสดงค่า Electronegativity
ของธาตุต่าง
ๆ โดยใช้สเกลของ Linus
Pauling
(รูปจาก
http://www.standnes.no/chemix/periodictable/electronegativity-chart.htm)
วิธีคำนวณค่า
En
นั้นมีหลายวิธี
แต่ที่รู้สึกว่าจะมีการใช้กันมากที่สุดคือสเกลของ
Linus
Pauling ที่ผมเอามาแสดงในรูปที่
๑ ในหน้าที่แล้ว
ถึงตรงนี้ต้องขอเตือนเอาไว้ก่อนนะว่าผมเองก็ไม่เคยเรียนวิชาอนินทรีย์เคมีแบบเป็นทางการ
เรียนมาแบบอ่านเอาเองหรือไม่ก็แบบ
"ครูพักลักจำ"
ตอนที่เราเรียนพันธะทางเคมีนั้น
เราจะเรียนว่ามันมีอยู่ ๒
แบบคือพันธะโควาเลนซ์
(covalent
bond) และพันธะไอออนิก
(ionic
bond)
พันธะโควาเลนซ์นั้นเป็นพันธะที่อะตอมสองอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
ส่วนพันธะไอออนิกนั้นเป็นพันธะที่เกิดจากการที่อะตอมหนึ่งสูญเสียอิเล็กตรอนของมันเองไปให้อีกอะตอมหนึ่ง
ทำให้อะตอมที่สูญเสียอิเล็กตรอนมีประจุบวกกลายเป็นไอออนบวก
และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมีประจุลบกลายเป็นไอออนลบ
และยึดเหนี่ยวเข้าด้วยกันด้วยแรงดึงดูดทางไฟฟ้า
ที่เรียนมานั้นก็ไม่ผิดหรอก
เพียงแต่ว่าเรามักจะถูกสอนจนทำให้เรามองกันว่าพันธะโควาเลนซ์กับพันธะไอออนิกนั้น
มันเป็นคนละเรื่องกันและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งตรงนี้มันทำให้เกิดปัญหาในการทำความเข้าใจในหลาย
ๆ เรื่อง
ถ้าเราปรับมุมมองสักนิด
โดยพิจารณาว่าอะตอมของแต่ละธาตุนั้นต่างมีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่นเข้าหาตัวมันเอง
ดังนั้นเมื่ออะตอมของธาตุสองธาตุเข้ามาสร้างพันธะทางเคมีเข้าด้วยกัน
อิเล็กตรอนที่เป็นตัวสร้างพันธะก็จะมีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างอะตอมทั้งสอง
ส่วนจะไปอยู่ที่อะตอมไหนนานกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับค่า
En
ของธาตุนั้น
ถ้าธาตุสองธาตุมีค่า En
ใกล้เคียงกัน
เวลาที่อิเล็กตรอนตัวที่สร้างพันธะอยู่กับอะตอมใดอะตอมหนึ่งจะเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าธาตุสองธาตุนั้นมีค่า
En
แตกต่างกันมาก
อิเล็กตรอนตัวที่สร้างพันธะก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่อะตอมที่มีค่า
En
สูง
และใช้เวลาเพียงส่วนน้อยอยู่ที่อะตอมที่มีค่า
En
ต่ำกว่า
ดังนั้นถ้ามองตามมุมมองนี้
ความเป็นไอออนิก 100%
ก็จะไม่มี
Linus
Pauling
ได้ให้สมการสำหรับคำนวณความเป็นไอออนิกของพันธะทางเคมีระหว่างอะตอมสองอะตอม
หรือที่เรียกว่า %
ionic character โดยใช้ค่า
En
(ตามนิยามของ
Pauling)
ดังนี้
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(Xa - Xb)2]}
x 100
เมื่อ
Xa
และ
Xb
คือค่า
En
ของธาตุแต่ละธาตุที่มาสร้างพันธะเข้าด้วยกัน
ถ้าว่ากันตามนิยามนี้พันธะใดที่มีค่า
%
ionic character น้อยกว่า
50%
ก็จะถือว่าเป็นพันธะโควาเลนซ์
และพันธะใดที่มีค่า %
ionic character มากกว่า
50%
ก็จะถือว่าเป็นพันธะไอออนิก
แต่พอเอาเข้าจริง
ๆ แล้วจะพบว่าพวกที่มีค่า
%
ionic character อยู่ประมาณช่วงกลาง
ๆ (เอาเป็นว่าสักประมาณ
40%
- 60%) อาจมองได้ว่าเป็นได้ทั้งพันธะไอออนิกหรือพันธะโควาเลนซ์ก็ได้
ขึ้นอยู่กับว่าสารประกอบนั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร
ตัวอย่างเช่น
พันธะระหว่างอะตอม
Na
(En = 0.93) กับ
Cl
(En = 3.16)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.16 - 0.93)2]} x 100 =
71.15%
พันธะระหว่างอะตอม
C
(En = 2.55) กับ
Cl
(En = 3.16)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.16 - 2.55)2]} x 100 =
8.88%
พันธะระหว่างอะตอม
Ti
(En = 1.54) กับ
Cl
(En = 3.16)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.16 - 1.54)2]} x 100 =
48.11%
พันธะระหว่างอะตอม
Al
(En = 1.61) กับ
Cl
(En = 3.16)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.16 - 1.61)2]} x 100 =
54.85%
พันธะระหว่างอะตอม
Cu
(En = 1.90) กับ
Cl
(En = 3.16)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.16 - 1.90)2]} x 100 =
32.76%
จากค่าที่คำนวณได้จะเห็นว่าพันธะระหว่าง
Na
กับ
Cl
จะเป็นมีความเป็นพันธะไอออนิกที่โดยเด่น
ในขณะที่พันธะระหว่าง C
กับ
Cl
จะเป็นพันธะโควาเลนซ์
โดยมีพันธะระหว่าง Cu
กับ
Cl
มีความเป็นโควาเลนซ์ที่เด่นรองลงมา
ส่วนพันธะระหว่าง
Ti
กับ
Cl
(เช่นใน
TiCl4)
ที่มีค่า
%
ionic character 48.11% และพันธะระหว่าง
Al
กับ
Cl
(เช่นใน
AlCl3)
ที่มีค่า
%
ionic character 54.85%
นั้นบ่อยครั้งที่เรามองว่าสารประกอบดังกล่าวเป็นสารประกอบโควาเลนซ์
และก็มีเหมือนกันในบางกรณีที่ต้องมองเป็นสารประกอบไอออนิก
ทีนี้ลองพิจารณาพันธะระหว่าง
Si
กับ
O
และ
Al
กับ
O
บ้างว่าเป็นอย่างไร
พันธะระหว่างอะตอม
Si
(En = 1.90) กับ
O
(En = 3.44)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.44 - 1.90)2]} x 100 =
44.73%
พันธะระหว่างอะตอม
Al
(En = 1.61) กับ
O
(En = 3.44)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.44 - 1.61)2]} x 100 =
56.71%
จะเห็นว่าพันธะระหว่าง
Si
กับ
O
นั้นและพันธะระหว่าง
Al
กับ
O
นั้นต่างก็อยู่ในบริเวณที่อาจมองได้ว่าเป็นทั้งโควาเลนซ์และไอออนิก
โดยพันธะระหว่าง Si
กับ
O
นั้นจะมีความเป็นโควาเลนซ์มากกว่าพันธะระหว่าง
Al
กับ
O
ทีนี้ลองดูพันธะระหว่าง
H
กับ
O
ดูบ้าง
พันธะระหว่างอะตอม
H
(En = 2.20) กับ
O
(En = 3.44)
%
ionic character = {1- exp[-(0.25)(3.44 - 2.20)2]} x 100 =
31.91%
จะเห็นว่าพันธะระหว่าง
H
กับ
O
มีความเป็นไอออนิกต่ำกว่ากว่าพันธะระหว่าง
Al
กับ
O
หรือ
Si
กับ
O
เสียอีก
ที่นี้ถ้าเราลองพิจารณาโครงสร้าง
Si-O-H
กับ
Al-O-H
สารประกอบไอออนิกนั้นจะแตกตัวเป็นไอออนเมื่อของเหลวที่มาล้อมรอบมีความเป็นขั้วที่แรงมากพอที่จะกระชากเอาไอออนของผลึกออกมา
การละลายของสารประกอบไอออนิกในตัวทำละลายมีขั้วนั้นตัวทำละลายมีขั้วจะดึงเอาไอออนบวกและลบออกจากกันและหุ้มไอออนเหล่านั้นเอาไว้
ถ้าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกและไอออนลบนั้นสูงกว่าแรงระหว่างตัวทำละลายกับไอออน
สารประกอบไอออนิกนั้นก็จะไม่ละลายในตัวทำละลายนั้น
ส่วนการละลายของโมเลกุลโควาเลนซ์มีขั้วนั้นจะเป็นการที่ตัวทำละลายมีขั้วเข้าไปล้อมรอบโมเลกุลโควาเลนซ์มีขั้วนั้น
และแยกโมเลกุลโควาเลนซ์มีขั้วนั้นออกจากโมเลกุลโควาเลนซ์มีขั้วที่อยู่เคียงข้างกัน
ส่วนหมู่
O-H
นั้นจะจ่ายโปรตอนเมื่อมีเบสที่แรงมากพอมาดึง
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่า
ตัวทำละลายที่มีขั้วแรงกับตัวทำละลายที่เป็นเบสแรงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน
H2O
เป็นตัวทำละลายที่มีความเป็นขั้วแรง
(มันมีพันธะไฮโดรเจน)
แต่มันไม่ได้เป็นเบสที่แรง
NH3
(เหลว)
เป็นตัวทำละลายที่เป็นเบสที่แรง
แต่มันไม่ได้เป็นตัวทำละลายที่มีขั้วแรง
(H2O
มีน้ำหนักโมเลกุล
18
มีจุดเดือด
100ºC
ส่วน
NH3
มีน้ำหนักโมเลกุล
17
มีจุดเดือด
-33.34ºC
ทั้งนี้เพราะโมเลกุลของ
มีความเป็นขั้วที่แรงกว่า
โมเลกุลH2O
จึงยึดเหนี่ยวกันแน่นหนากว่าโมเลกุล
NH3)
O-H
ที่อยู่บนพื้นผิว
Al2O3
เรียกว่าเป็น
surface
hydroxyl ไม่ใช่
aluminium
hydroxide - Al(OH)3
Al(OH)3
เป็นสารประกอบ
amphoteric
คือแสดงได้ว่าเป็นทั้งกรดและเบส
การเป็นได้ทั้งกรดและเบสไม่ได้หมายความว่ามันแสดงความเป็นกรดและเบสพร้อม
ๆ กัน
แต่หมายความว่าถ้ามันเจอกับกรดมันจะทำตัวเหมือนกับว่ามันเป็นเบส
คือจะสะเทินกรดด้วยการปลดปล่อย
OH-
ออกมา
และถ้าเจอกับเบสมันจะสะเทินเบสด้วยการจับ
OH-
เข้าไปกลายเป็น
Al(OH)4-
ทีนี้ถ้าเราเอา
Si-O-H
มาแช่น้ำ
หมู่นี้ก็ไม่น่าจะแตกตัวให้
OH-
ออกมา
เพราะพันธะ Si-O
นั้นเน้นไปทางเป็นโควาเลนซ์
ส่วนพันธะ O-H
นั้นก็มีความเป็นโควาเลนซ์ที่สูงกว่าอีก
แต่ถ้าเราให้ Si-O-H
พบกับเบส
เบสนั้นก็จะสามารถกระชาก
H+
ออกมาได้
คำถามของสาวน้อยจากเมืองสุโขทัยเรื่องปฏิกิริยาระหว่างหมู่
Si-O-H
กับสารละลาย
CuCl2
นั้นผมไม่แน่ใจว่าคำตอบของเขาจะเกี่ยวข้องกับความเป็นกรด-เบสอย่างที่เขามาถามหรือไม่
เพราะหมู่ Si-O-H
(Silanol - ไซลานอล)
สามารถเกิดปฏิกิริยา
dehydration
ได้ง่ายในภาวะที่มีกรด
เบส หรือแม้แต่เพียงความร้อน
ส่วน
CuCl2
นั้นเมื่อละลายน้ำจะกลายเป็นไอออนเชิงซ้อน
[Cu(H2O)6]2+
และ
[CuCl2+x]x−
(๑)
สมมุติฐาน/แนวพิจารณาที่ผมพอจะตั้งได้ตามข้อมูลที่จำกัดที่เขาสามารถให้ผมได้คือ
๑.
พอเติม
SiO2
เข้าไปใน
Al2O3
ก็จะเกิดหมู่ไซลานอลขึ้น
ดังนั้นเป็นไปได้ไหมที่การแทนที่ด้วยไอออนลบ
[CuCl2+x]x−
ของสารละลาย
CuCl2
เกิดที่หมู่
Si-OH
ได้ดีกว่าการเกิดที่หมู่
Al-OH
และ
OH-
ที่หลุดออกมาจากหมู่
Si-OH
ที่ถูกแทนที่ด้วยไอออนลบ
[CuCl2+x]x−
นั้นแทนที่จะไปรับ
H+
จากหมู่
Si-OH
ที่อยู่เคียงข้าง
กลับไปจับกับไอออนบวก
[Cu(H2O)6]2+
ที่จับกับหมู่
Si-OH
ตรงอะตอม
O
ของหมู่
Si-OH
อีกหมู่หนึ่งที่อยู่เคียงข้าง
และทำให้เกิดการตกตะกอน
copper
oxide
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ตัวรองรับเป็นออกไซด์ผสมระหว่าง
SiO2
+ Al2O3
แตกต่างไปจากตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้
Al2O3
เพียงอย่างเดียวเป็นตัวรองรับ
๒.
CuCl2
เมื่อละลายน้ำแล้วจะกลายเป็นไอออนอะไรนั้นยังขึ้นอยู่กับว่าน้ำที่ใช้เป็นตัวทำละลายนั้นมีอะไรอยู่ด้วย
เช่นในภาวะที่มีกรดเกลือ
HCl
หรือแหล่งให้
Cl-
CuCl2
จะกลายเป็นไอออนลบ
CuCl3-
และ
CuCl42-
๓.
Si-OH (ไซลานอล)
นั้นอาจมองได้ว่าเป็นพวกที่อุปมาเหมือนกับ
C-OH
(แอลกอฮอล์)
ที่
C
ในแอลกอฮอล์ถูกแทนที่ด้วย
Si
(ทำนองเดียวกับพวกไซเลนที่คล้ายคลึงกับอัลเคน)
ดังนั้นอาจใช้แนวทางปฏิกิริยาของหมู่ไฮดรอกซิลในหนังสือเคมีอินทรีย์เรื่องแอลกอฮอล์มาช่วยพิจารณาว่ามันสามารถทำปฏิกิริยาอะไรได้บ้าง
เพียงแต่มันอาจมีความว่องไวแตกต่างไปจากแอลกอฮอล์บ้าง
๔.
หมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์
(C-OH)
นั้นสามารถถูกแทนที่ด้วยเฮไลด์ได้
(ดูปฏิกิริยา
Lucas
test เป็นตัวอย่าง
ลองไปค้นดูตำราเคมีอินทรีย์เอาเองก็แล้วกัน)
กลายเป็นสารโครงสร้าง
C-Cl
และปลดปล่อย
-OH
ออกมา
ถ้าพิจารณาตามนี้ก็น่าจะลองตั้งสมมุติฐานดูว่าในภาวะการทำปฏิกิริยานั้น
สารละลาย CuCl2
ที่เตรียมขึ้นมานั้นอาจทำให้
Cu
อยู่ในรูปของ
CuCl3-
และ
CuCl42-
ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยน
Cl
กับ
OH
ของหมู่
Si-OH
ได้
ทำให้เกิดสารประกอบ Cu(OH)2
ตกตะกอนออกมากระจายตัวตามตำแหน่งพื้นผิวที่มีหมู่
Si-OH
อยู่
และเนื่องจากหมู่ Si-OH
ของ
SiO2
ทำปฏิกิริยาไม่เหมือนกับหมู่
Al-OH
ของ
Al2O3
จึงทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้นั้นมีความแตกต่างกัน
ผมฝากทฤษฎีไว้เท่านี้ก่อนก็แล้วกัน
ส่วนที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องให้สาวน้อยจากเมืองสุโขทัยที่มีรายละเอียดการทดลองมากกว่านี้ลองไปพิจารณาดูเอาเองก็แล้วกัน
หมายเหตุ
(๑)
http://en.wikipedia.org/wiki/Copper_%28II%29_chloride