สัปดาห์ที่แล้วมีนักวิจัยท่านหนึ่งถามความเห็นเรื่องเกี่ยวกับผลการวัดการกระจายขนาดรูพรุนของตัวเร่งปฏิกิริยาที่วัดด้วยเทคนิคการดูดซับแก๊สไนโตรเจนที่เรามักเรียกว่าวัด
BET
(อ่าน
บี-อี-ที)
คำถามนั้นเกี่ยวกับการวัดขนาด
micro
pore (คือรูพรุนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า
20
Å) และในส่วนของ
meso
pore (คือรูพรุนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่
20
Å ขึ้นไป)
ผมก็เลยขอดูผลการวิเคราะห์ทั้งหมดที่เครื่องมือวัดรายงานออกมา
หลังจากพิจารณาแล้วก็บอกเขาไปว่า
ในส่วนของผลที่รายงานออกมาตัวเลขนั้นผมเห็นว่ามันไม่ขัดแย้งกัน
แต่ที่ติดใจคือเส้น
Adsorption-Desorption
isotherm ว่าทำไปเส้น
Desorption
isotherm ของเขาจึงอยู่ต่ำกว่าเส้น
Adsorption
isotherm
รูปที่
๑ เส้น N2
Adsorption-Desorption isotherm ของตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
รูปนี้มีการวัดในช่วง
micro
pore เห็นได้จากการค่อย
ๆ เติม N2
ในช่วงแรกในช่วงความดันต่ำ
จนกระทั่งมีการดูดซับไปประมาณ
80
cm3 (ค่อย
ๆ เติมแก๊สเข้าไปใน micro
pore) ถัดจากช่วงนี้จะเป็นการดูดซับในช่วงของ
meso
pore
แต่ก่อนอื่น
เราลองมาทำความรู้จัก
Adsorption-Desorption
isotherm กันก่อนดีกว่าไหมครับ
ในการวัดพื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนของตัวอย่างด้วยวิธีการดูดซับแก๊สไนโตรเจนนั้น
จะต้องทำการไล่แก๊สและความชื้นออกจากตัวอย่างก่อน
ซึ่งทำได้ด้วยการทำสุญญากาศและใช้ความร้อนช่วย
(โมเลกุลที่ยึดเกาะผิวแน่นมาก
หรือแก๊สที่อยู่ใน micro
pore
การใช้สุญญากาศเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถไล่ได้หมดหรือต้องใช้เวลานาน
จึงต้องมีการใช้ความร้อนช่วย)
การไล่แก๊สที่พื้นผิวดูดซับเอาไว้ออกได้หมดหรือไม่นั้น
เครื่องจะดูที่ระดับการทำสุญญากาศที่สามารถทำได้
กล่าวคือถ้ายังไล่ได้ไม่หมด
ในระบบจะยังคงมีความดันอยู่
ก็จะทำการไล่แก๊สต่าง ๆ
ออกไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งพบว่าความดันในระบบนั้นลดต่ำลงจนถึงระดับหนึ่ง
ก็จะสามารถเริ่มทำการวิเคราะห์ได้
โดยต้องเปลี่ยนจากการให้ความร้อนแก่ตัวอย่างมาเป็นการทำให้ตัวอย่างเย็นลงมาที่อุณหภูมิ
"จุดเดือด"
ของไนโตรเจนเหลวที่ความดันบรรยากาศซึ่งเท่ากับ
-196ºC
จากนั้นก็ค่อย
ๆ เติมแก๊สไนโตรเจนให้ตัวอย่างดูดซับทีละน้อย
ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแก๊สที่เติมเข้าไปและความดันที่เกิดขึ้นในระบบจะบ่งบอกให้ทราบถึงปริมาณแก๊สที่พื้นผิวตัวอย่างดูดซับเอาไว้
กล่าวคือถ้าเติมแก๊สเข้าไปแล้วพบว่าความดันระบบไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเลยหรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก
นั่นแสดงว่าตัวอย่างสามารถดูดซับแก๊สที่เติมเข้าไปได้หมดหรือเกือบหมด
ดังนั้นในช่วงนี้จะเห็นเส้นกราฟปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้กับค่า
P/P0
นั้นตั้งฉากหรือตั้งชันมาก
(ดูรูปที่
๑ ประกอบ)
ที่แต่ละความดันนั้น
จะมีสมดุลระหว่างการดูดซับ
(adsorption)
และการคายซับ
(desorption)
ที่ความดันต่ำมาก
ๆ (P/P0
ใกล้ศูนย์)
โมเลกุลแก๊สที่เกิดการดูดซับที่
pore
ขนาดใหญ่จะเกิดการคายซับได้ง่าย
และย้ายไปเกาะยังตำแหน่งอื่นบนพื้นผิว
แต่โมเลกุลที่เข้าไปเกาะบนพื้นผิวในรูพรุนขนาดเล็กจะหลุดออกมาได้ยากกว่า
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในช่วงแรกของการดูดซับนั้นจะเกิดขึ้นในส่วนของ
micro
pore ในระหว่างการดูดซับแก๊สใน
micro
pore นี้
กราฟระหว่างปริมาตรแก๊ส
(cm3)
ที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้กับค่าความดันสัมพันธ์
(P/P0)
จะสูงชันมาก
อย่างเช่นในรูปที่ ๑
ที่ตัวอย่างนั้นดูดซับแก๊สได้เกือบ
80
cm3 ในขณะที่ความดันของระบบนั้นเพิ่มขึ้นน้อยมาก
(คือเติมแก๊สเข้าไปแล้วไม่เห็นความดันระบบเพิ่มมากขึ้น)
พอพ้นจากช่วงนี้ไปแล้วจะเป็นการดูดซับในส่วนของ
pore
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก
(meso
pore)
เส้นกราฟปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้เมื่อความดันของระบบเพิ่มขึ้นนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างช้า
ๆ ไปจนกระทั่งถึงระดับหนึ่งเมื่อค่า
P/P0
เข้าหา
1.0
ซึ่งปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากการเกิดการควบแน่นใน
meso
pore จนกระทั่งอิ่มตัวที่ค่า
P/P0
= 1.0
เส้นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้
(cm3)
เมื่อเพิ่มความดันของระบบจากค่า
P/P0
= 0.0 ไปจนถึง
1.0
นั้นเรียกว่าเส้น
Adsorption
isotherm
ทีนี้ถ้าเราค่อย
ๆ ลดความดันของระบบลงอย่างช้า
ๆ และวัดปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างคายซับออกมา
เราก็จะคำนวณหาปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างยังดูดซับเอาไว้ได้
เส้นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้
(cm3)
เมื่อลดความดันของระบบจากค่า
P/P0
= 1.0 ลงมานั้นเรียกว่าเส้น
Desorption
isotherm ในขั้นตอนนี้มักจะพบว่าที่ค่า
P/P0
เดียวกันนั้น
ปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้ที่วัดในช่วงการลดความดันจาก
P/P0
= 1.0 ลงมานั้น
จะมีค่าสูงกว่าหรือไม่ก็เท่ากับปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้ที่วัดในช่วงการเพิ่มความดันจาก
P/P0
= 0.0 ขึ้นไป
ทั้งนี้เป็นผลจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลแก๊สที่ควบแน่นอยู่ใน
pore
ที่ไม่ยอมปล่อยให้โมเลกุลแก๊สหลุดออกมาง่าย
ๆ (มีเรื่องของแรง
capillary
เข้ามายุ่ง)
ทำให้เส้น
Desorption
isotherm นั้นไม่ซ้อนทับกับเส้น
Adsorption
isotherm โดยเส้น
Desorption
isotherm จะอยู่สูงกว่าเส้น
Adsorption
isotherm พฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่าเกิด
Adsorption/Desorption
Histeresis และรูปร่างของ
Histeresis
ที่เกิดขึ้นนี้สามารถใช้บ่งบอกรูปร่างลักษณะของรูพรุน
และการกระจายขนาดรูพรุนได้
ตัวอย่างเช่นในรูปที่ ๑
นั้น Hysteresis
loop จะจำกัดอยู่เฉพาะทางด้านขวาของกราฟ
(ค่า
P/P0
> 0.8) ในขณะที่ในรูปที่
๒ นั้นจะเห็น Hysteresis
loop อยู่ในช่วงประมาณ
0.15
< P/P0 < 1.0 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นน่าจะมีรูพรุนที่มีหลากหลายรูปแบบมากกว่า
(กล้าวคือถ้าเป็นรูพรุนขนาดเดียวกัน
ก็ควรจะมีพฤติกรรมที่เหมือนกัน
กล่าวคือถ้าเกิดการคายซับที่ความดันใดก็ตาม
ก็จะเกิดพร้อม ๆ กัน
ทำให้เห็นเส้นกราฟการคายซับนั้นตกลงอย่างรวดเร็ว)
รูปที่
๒ เส้น N2
Adsorption - Desorption isotherm ของตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
(Adsorption เส้นสีน้ำเงิน
Desorption
เส้นสีส้ม)
รูปนี้ไม่มีการวัดในช่วง
micro
pore เห็นได้จากการเติมแก๊สจนเข้าไปเต็มใน
micro
pore (จุดแรกไปปรากฏที่ปริมาตรการดูดซับประมาณ
70-75
cm3) จากกราฟจะเห็นว่าจุดของเส้น
desorption
ทุกจุดนั้นอยู่สูงกว่าเส้น
adsorption
แต่ที่เห็นเส้นสีส้มลงมาต่ำกว่าเส้นสีน้ำเงินนั้นเป็นเพราะจุดของเส้น
desorption
อยู่ห่างกันมาก
พอโปรแกรมที่ใช้เขียนกราฟทำการเชื่อมต่อจุดข้อมูลและปรับเส้นกราฟให้เป็นเส้นเรียบก็เลยทำให้เห็นเส้นสีส้มลงมาต่ำกว่าเส้นสีน้ำเงิน
แต่ถ้าทำการวัดอย่างละเอียด
(เช่นในรูปที่
๑)
ด้วยการมีจุดในช่วง
desorption
มากขึ้นก็จะไม่เห็นปัญหาดังกล่าว
การวัดในช่วง
Desorption
นั้นจะไม่วัดจนกระทั่งค่า
P/P0
ลดลงเป็นศูนย์
แต่จะวัดเพียงแค่ค่า P/P0
ที่ต่ำมากพอจนสร้างเป็น
Hysteresis
loop ได้
ดังนั้นการคำนวณขนาดและพื้นที่ผิวของ
micro
pore จึงใช้ข้อมูลที่ได้จาก
Adsorption
isotherm เป็นหลัก
การวัดการดูดซับในส่วนของ
micro
pore นี้ต้องกระทำอย่างช้า
ๆ และใช้เวลานาน
ดังนั้นสำหรับตัวอย่างที่ไม่ได้สนใจข้อมูลขนาด
micro
pore นี้
ผู้ทำการวัดก็มักจะข้ามการวัดละเอียดในช่วงนี้
ดังเช่นในรูปที่ ๒
ที่จะเห็นว่าข้อมูลการวัด
Adsorption
isoterm จุดแรกนั้นไปปรากฏที่ปริมาตรการดูดซับประมาณ
70-75
cm3/g เลย
ซึ่งเป็นช่วงที่ micro
poreดูดซับแก๊สจนเต็มรูพรุนของ
micro
pore ไปหมดแล้ว
เท่าที่เคยเจอนั้น
ถ้าเป็นการส่งตัวอย่างไปให้ผู้อื่นวัดให้
และไม่ได้มีการระบุความต้องการว่าต้องการวัด
micro
pore ด้วย
เขามักจะไม่วัดให้
เพราะมันใช้เวลาวัดนานขึ้นมาก
(ตัวอย่างที่มีพื้นที่ผิวสูงมากอาจใช้เวลาถึง
๒๔ ชั่วโมงหรือมากกว่าต่อการวัดหนึ่งตัวอย่าง)
ทำให้
เวลาที่เราสงสัยว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้มานั้นมันมีปัญหา
และเราก็ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างนั้นด้วยตนเอง
แต่ใช้วิธีการส่งตัวอย่างให้ผู้อื่นวิเคราะห์ให้
โดยที่เราเองก็ไม่เคยหรือไม่มีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์การทำงานของผู้ทำการวิเคราะห์
ทำให้การวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหาค่อนข้างยาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราสงสัยว่าต้นตอของปัญหาเกิดจากวิธีการปฏิบัติหรือสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์
ในกรณีของคำถามที่ผมได้รับมานี้ก็เช่นกัน
ตัวอย่างถูกส่งไปวิเคราะห์ยังอีกหน่วยงานหนึ่ง
เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ที่เขาได้รับมานั้น
เมื่อเริ่มลดความดันให้ต่ำลง
ในช่วงแรกเส้น desorption
isotherm จะลดต่ำลงค่อนข้างเร็วโดยยังคงอยู่เหนือเส้น
adsorption
isotherm แต่พอมาถึงช่วงตอนกลางของการลดความดันที่เส้น
desorption
isotherm ลดลงอย่างช้า
ๆ (เช่นช่วง
P/P0
จาก
0.8
ถึง
0.2
ในรูปที่
๑)
จุดข้อมูลทุกจุดของเส้น
desorption
isotherm อยู่
"ต่ำกว่า"
เส้น
adsorption
isotherm และการวัดมีพฤติกรรมเช่นนี้มากกว่า
๑ ตัวอย่าง
ประเด็นแรกที่สงสัยก็คือเครื่องมีปัญหาหรือไม่
ซึ่งดูจากผลการวิเคราะห์แล้วผมก็ไม่คิดว่ามี
และเมื่อตรวจสอบผลการวัดเทียบกับตัวอย่างอื่นของผู้ใช้คนอื่น
ก็ไม่พบปัญหาดังกล่าวด้วย
ส่วนปัญหาจะมาจากตัวอย่างหรือไม่นั้น
ผมเองก็ไม่คิดว่าใช่
เพราะผมเองก็เคยให้นิสิตในที่ปรึกษาทำการวัดพื้นที่ผิวตัวอย่างที่เป็นสารประกอบตระกูลเดียวกันกับตัวอย่างที่มีปัญหานั้น
และมันก็ไม่ได้เป็นตัวอย่างที่มีพื้นที่ผิวที่มากด้วย
จากการค้นทางอินเทอร์เน็ตก็พบว่าเคยมีผู้ถามคำถามดังกล่าวเช่นกัน
(รูปที่
๓)
แต่พอได้อ่านคำตอบที่มีใครต่อใครหลายคนตอบมานั้นผมเองก็ไม่คิดว่าใช่
(เพราะมันมีหลายประเด็นซึ่งถ้ามันจะเกิดขึ้นจริงก็ควรต้องเกิดก่อนทำการวิเคราะห์
ไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดเอาตอนวิเคราะห์ไปเกินกว่าครึ่งทางแล้ว)
แต่ในคำตอบเหล่านั้นมีอยู่คำแนะนำหนึ่งที่ทำให้ผมฉุกคิดว่ามันอาจเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวหรือเปล่าคือ
"การควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างมีปัญหาหรือเปล่า"
รูปที่
๓ คำถามเกี่ยวกับปัญหาเดียวกันที่ค้นเจอ
การวัดพื้นที่ผิวด้วยการดูดซับแก๊สไนโตรเจนจะกระทำที่อุณหภูมิจุดเดือของไนโตรเจนเหลวที่ความดันบรรยากาศ
คือ -196ºC
โดยปรกติในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้ไนโตรเจนเหลวนั้นจะมีถังเก็บไนโตรเจนเหลวขนาดไม่ใหญ่นัก
(อย่างมากก็ประมาณขนาดเก้าอี้นั่งที่เข็นไปมาได้)
เวลาจะใช้งานก็จะแบ่งเอาไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บใบนี้มากรอกใส่
flask
บรรจุไนโตรเจนเหลว
(รูปร่างเหมือนถ้วยทรงกระบอกสูงไม่มีฝาด้านบน)
แล้วเอาไปสวมครอบ
(จากทางด้านล่าง)
เซลล์แก้วใส่ตัวอย่างที่ทำการวิเคราะห์
ฝาด้านบนของ flask
แม้ว่าจะมีการปิดเพื่อลดการสูญเสียไนโตรเจนเหลว
แต่ก็ไม่ได้ปิดสนิท
ทั้งนี้เพื่อให้ไนโตรเจนเหลวที่ระเหยออกมานั้นได้ระบายออกไป
ป้องกันไม่ให้ความดันใน
flask
เพิ่มสูงขึ้น
(มันไม่ได้ออกแบบมาให้รับความดันใด
ๆ)
ดังนั้นในระหว่างการวิเคราะห์นั้นปริมาณไนโตรเจนเหลวใน
flask
จะลดต่ำลงเรื่อย
ๆ
อุณหภูมิจุดเดือดของไนโตรเจนเหลวนั้นต่ำกว่าของออกซิเจน
(ออกซิเจนควบแน่นที่
-183ºC)
ดังนั้นไนโตรเจนเหลวที่สัมผัสกับ
"อากาศ"
จะมีโอกาสที่จะมีออกซิเจนละลายเข้าไปเจือปน
ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของไนโตรเจนเหลวเพิ่มสูงขึ้น
ประเด็นเรื่องการปนเปื้อนของออกซิเจนจากอากาศนี้เคยอ่านพบในคู่มือการใช้เครื่อง
Chemisorb
2750 (Memoir ปีที่
๖ ฉบับ ๖๙๔ วันศุกร์ที่ ๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET")
และผลของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในไนโตรเจนเหลวที่มีต่ออุณหภูมิจุดเดือดของไนโตรเจนเหลวก็ได้เคยบันทึกเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๐๙๘ วันพุธที่ ๑๖
ธันวาคม ๒๕๕๘ เรื่อง
"ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลว"
รูปที่
๔ ที่แนบท้ายมานี้เป็นกราฟสมดุลของระบบไนโตรเจน-ออกซิเจนที่ความดัน
1
atm, 20 psia และ
2
atm
ไนโตรเจนเหลวไม่ว่าจะอยู่ในถังเก็บหรือที่บรรจุอยู่ใน
flask
ในระหว่างการวิเคราะห์นั้น
จะมีไอระเหยเกิดขึ้นตลอดเวลา
ดังนั้นในส่วนของตัว flask
จึงคิดว่าโอกาสที่จะออกซิเจนในอากาศจะเข้าไปปนเปื้อนจนทำให้จุดเดือดเปลี่ยนไปได้นั้นไม่น่าจะเกิด
เพราะว่าถ้ามันเกิดได้จริงก็ควรต้องเกิดขึ้นเป็นประจำ
ในกรณีของถังเก็บขนาดเล็กที่ใช้วิธีการยกเทใส่นั้น
เมื่อเปิดฝาถังก็มักจะมีไอระเหยของไนโตรเจนดันออกมา
ซึ่งเป็นการผลักดันไม่ให้มีอากาศไหลย้อนเข้าไปในถัง
แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีอากาศเข้าไปปนเปื้อนได้หลังการเท
โดยเฉพาะเมื่อมีไนโตรเจนเหลวอยู่น้อย
หรือถังนั้นเป็นถังเปล่าที่มีอากาศอยู่ข้างในก่อนการบรรจุไนโตรเจนเหลว
(เกิดขึ้นได้หลังจากที่ใช้ไนโตรเจนเหลวหมดถัง)
สิ่งที่ผมสงสัยว่าอาจเป็นต้นตอของปัญหาที่ทำให้เห็นเขาเห็นว่าเส้น
desorption
isotherm นั้นอยู่ต่ำกว่าเส้น
adsorption
isotherm
คือการที่ไนโตรเจนเหลวที่ผู้ทำการวิเคราะห์ใช้ควบคุมอุณหภูมิตัวอย่างนั้นมีออกซิเจนละลายปะปนอยู่
ในกรณีของไนโตรเจนเหลวบริสุทธ์นั้น
จะระเหยที่อุณหภูมิคงที่
ไม่ขึ้นกับปริมาณที่ระเหยไป
แต่ในกรณีของไนโตรเจนเหลวที่มีออกซิเจนละลายปนอยู่นั้น
ไนโตรเจนจะระเหยออกมามากกว่า
ทำให้สัดส่วนของออกซิเจนในไนโตรเจนเหลวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคืออุณหภูมิจุดเดือดของไนโตรเจนเหลวใน
flask
ก็เพิ่มขึ้นอย่างช้า
ๆ ตามไปด้วย
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้แก๊สไนโตรเจนที่อยู่ในูพรุนของตัวอย่างระเหยออกมาจากตัวอย่างได้มากขึ้น
ในกรณีของตัวอย่างที่เส้น
desorption
isotherm นั้นอยู่สูงกว่าเส้น
adsorption
isotherm มาก
ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิดังกล่าวแม้ว่าจะทำให้เส้น
desorption
isotherm นั้นต่ำกว่าที่ควรเป็น
แต่การลดต่ำลงนี้ก็ยังไม่ส่งผลให้ระดับเส้น
desorption
isotherm ลงต่ำกว่าระดับเส้น
adsorption
isotherm
แต่ในกรณีของตัวอย่างที่พื้นที่ผิวส่วนใหญ่เป็นของรูพรุนในส่วน
micro
pore เส้น
desorption
isotherm ในช่วง
meso
pore นั้นจะซ้อนทับหรือเกือบซ้อนทับกับเส้น
adsorption
isotherm ดังนั้นที่ค่า
P/P0
เดียวกัน
เนื่องจากอุณหภูมิตัวอย่างในช่วงการคายซับนั้นสูงกว่าอุณหภูมิในช่วงการดูดซับ
จึงทำให้เห็นปริมาณแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับไว้ได้ในช่วงการคายซับนั้นต่ำกว่าช่วงการดูดซับ
จึงทำให้เห็นระดับเส้น
desorption
isotherm นั้นอยู่ต่ำกว่าเส้น
adsorption
isotherm
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสมมุติฐานว่าอาจเป็นตัวการที่ทำให้ผลการวิเคราะห์ของเขาเป็นอย่างนั้น
ตัวผมเองก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสมมุติฐานดังกล่าวได้
คงต้องฝากให้เขาไปดำเนินการต่อไป
รูปที่
๔ กราฟสมดุลของระบบไนโตรเจน-ออกซิเจนที่ความดัน
1
atm, 20 psia และ
2
atm (จากเอกสาร
"Vapor-liquid
equilibrium for the system oxygen-nitrogen-argon" ของ
National
defense research committe of the office of scientific research and
development)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น