ผมถ่ายรูปหัวรถจักรนี้
ที่จอดอยู่หน้าเทศบาล อ.
ศรีราชา
เอาไว้ครั้งแรกเมื่อมิถุนายน
๒๕๕๔ ซึ่งเป็นตอนที่เขาเตรียมจัดงานครบรอบ
๘๐ ปีการถึงแก่อนิจกรรมของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
ผู้ทำให้ศรีราชากลายเป็นชุมชนใหญ่จนเป็นอำเภอขึ้นมาเหนือบางพระ
เวลานั้นน่าจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่หัวรถจักรดังกล่าวสวยที่สุด
เพราะมีการตกแต่งทาสี
จัดสถานที่ตั้งแสดงไว้เป็นอย่างดี
(ดู
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๓๒๖ วันศุกร์ที่
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง
"ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๒ รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา)")
และยังได้ถ่ายรูป
(ซาก)
หัวรถจักรอีกคันหนึ่ง
ที่ไปจอดไว้ริมคลองระบายน้ำออกทะเล
เยื้องกับสถานีสูบน้ำ
ผ่านไปอีก
๔ ปีครึ่ง ก่อนจะสิ้นปี ๒๕๕๘
ก็มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปหัวรถจักรคันที่จอดอยู่หน้าเทศบาลนี้อีก
แต่ครั้งนั้นพบว่าดูทรุดโทรมลงไปมาก
เหมือนกับว่านับตั้งแต่ปี
๒๕๕๔ แล้วก็ไม่ได้รับการดูแลอะไรอีกเลย
(ดู
Memoir
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๑๐๕ วันอาทิตย์ที่
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
"รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา) ภาค๘ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๙๗)")
ถัดจากครั้งที่แล้วอีก
๒ ปีครึ่ง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
ขากลับจากตรวจเยี่ยมนิสิตฝึกงาน
ก็เลยถือโอกาสแวะถ่ายรูปหัวรถจักรคันนี้อีกครั้ง
ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
และก็เลยไปแวะถ่ายรูปคันที่จอดทิ้งไว้ริมคลองใกล้กับสถานีสูบน้ำด้วย
สภาพปัจจุบันของหัวรถจักรทั้งสองคันเป็นอย่างไรนั้น
เชิญดูได้จากรูปที่นำมาแสดง
หลายชุมชน
เริ่มเห็นความสำคัญของการบันทึกประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นที่ตัวเองอาศัยอยู่
เพื่อที่จะบันทึกเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ว่ากว่าจะมาถึงวันนี้นั้น
ชุมชนนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
คนในชุมชนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างไรมาบ้าง
อาชีพใดที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้น
ฯลฯ และเมื่อเห็นความสำคัญดังกล่าว
ก็มักประสบกับปัญหาเรื่องผู้ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้นต่างสูญสิ้นไปแล้ว
ทำให้ได้เรื่องราวอย่างมากก็จากสิ่งที่ลูกหลานของคนเหล่านั้นได้ยินได้ฟังกันมา
ซึ่งก็มักจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความทรงจำของแต่ละคน
และอีกปัญหาหนึ่งที่ประสบก็คือสิ่งของต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนในยุคนั้น
ที่หลายสิ่งนั้นไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว
ทราบมาว่า
เรื่องราวของรถไฟลากไม้สายนี้
ที่ทำให้เมืองศรีราชาเกิดขึ้นมา
เริ่มมีกลุ่มบุคคลในชุมชนให้ความสนใจ
ที่จะรวมรวบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเอาไว้
แต่นอกเหนือจากเรื่องราวแล้ว
ก็ยังมีวัตถุที่เกี่ยวข้อง
อย่างน้อยสองชิ้นก็ได้แก่หัวรถจักรสองคันนี้
ที่ยังพออยู่ในสภาพที่จะบูรณะได้ในระดับหนึ่ง
เพื่อให้คงอยู่ยาวนาวขึ้น
และน่าที่จะหาทางดำเนินการ
ก่อนที่มันจะเสื่อมสภาพจนไม่เหลือเค้าโครงเดิมให้เห็นอีก
รูปที่
๒ ด้านซ้ายของหัวรถจักร
รูปที่
๓ ด้านขวาของหัวรถจักร
รูปที่
๔ มองเฉียงจากทางด้านหลังซ้าย
รูปที่
๕ มองเฉียงจากทางด้านหลังขวา
รูปที่
๖ ช่องใส่ฟืนสำหรับต้มน้ำ
เมื่อมองเฉียงจากทางด้านหลังซ้าย
รูปที่
๗ ช่องใส่ฟืนสำหรับต้มน้ำ
เมื่อมองเฉียงจากทางด้านหลังขวา
รูปที่
๙ มุมทางด้านขวา
รูปที่
๑๐ เมื่อมองจากทางด้านหน้า
รูปที่
๑๑ เมื่อมองจากทางด้านหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น