สงครามเกาหลีเริ่มต้นในเช้าวันอาทิตย์ที่
๒๕ มิถุนายน ปึค.ศ.
๑๙๕๐
(พ.ศ.
๒๔๙๓)
เมื่อกองทัพเกาหลีเหนือยกพลข้ามเส้นขนานที่
๓๘ องศาเหนือ (38
parallel line) เข้ายึดประเทศเกาหลีใต้
กองทัพเกาหลีใต้ในขณะนั้นจัดว่าเพิ่มเริ่มจัดตั้ง
ขาดแคลนทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และประสบการณ์
โดยเฉพาอย่างยิ่งการสู้กับรถถังและอาวุธต่อสู้รถถัง
ภายในช่วงไม่กี่วันแรกของการรบ
กองทัพเกาหลีเหนือสามารถตีฝ่าและทำลายกองทัพเกาหลีใต้ที่ประจำการอยู่ตามแนวชายแดนตลอดทั้งแนวชายแดนให้ถอยร่นลงทางใต้อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในกองกำลังของกองทัพเกาหลีใต้ที่ทำหน้าที่ปกป้องชายแดนด้านติดเกาหลีเหนือคือกองพลที่
๑ ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรุงโซลทางด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ
ผู้บังคับบัญชากองพลที่ ๑
ของกองทัพบกเกาหลีใต้ในขณะนั้นคือพันเอก
Paik
Sun Yup ผู้มีอายุเพียง
๒๙ ปี (ย่างเข้า
๓๐ ปี)
กองกำลังที่พอจะทำการสู้รบกับกองทัพเกาหลีเหนือได้ในขณะนั้นคือกองทัพสหรัฐอเมริกาที่มีฐานประจำการหลักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริการีบส่งกำลังส่วนหนึ่งเข้ามาช่วยกองทัพเกาหลีใต้
แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกำลังที่เหนือกว่าของกองทัพเกาหลีเหนือได้
ดังนั้นภายในปลายเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน
(หรือเพียงเดือนเศษหลังจากเริ่มสงคราม)
ทั้งกองทัพสหรัฐอเมริกาและกองทัพเกาหลีใต้ที่ยังหลงเหลืออยู่ก็มาถูกล้อมกรอบไว้รอบ
ๆ เมืองชายทะเลที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่มีชื่อว่า
"Pusan"
ด้วยความช่วยเหลือของกำลังเสริมของสหรัฐอเมริกาและการสนับสนุนทางอากาศ
ทำให้กองกำลังสหประชาชาติสามารถรักษาที่มั่นรอบเมือง
Pusan
เอาไว้ได้
(ในขณะนั้นถือว่าสหประชาชาติได้เข้าร่วมกับฝ่ายเกาหลีใต้เพื่อสู้รบกับเกาหลีเหนือ
โดยที่กำลังรบหลักเป็นทหารสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้
ส่วนการบังคับบัญชาอยู่ภายใต้กองทัพสหรัฐอเมริกา)
จนกระทั่งวันศุกร์ที่
๑๕ กันยายน ปีค.ศ.
๑๙๕๐
ทหารสหรัฐร่วมกับทหารเกาหลีใต้ได้ยกพลขึ้นบกที่เมือง
Inchon
ที่อยู่ทางตะวันตกของเมือง
Seoul
ซึ่งถือว่าเป็นการตีตลบหลังกองทัพเกาหลีเหนือ
จากนั้นกองกำลังที่ถูกปิดล้อมอยู่รอบเมือง
Pusan
ก็ทำการผลักดันกองทัพเกาหลีเหนือให้ถอยร่นกลับไปอย่างรวดเร็ว
และในวันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม
ปีค.ศ.
๑๙๕๐
กองทัพเกาหลีใต้กองพลที่
๑ ที่นำโดยนายพล Paik
Sun Yup ก็สามารถเข้ายึดเมือง
Pyongyang
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาหลีเหนือเอาไว้ได้
การรบจากเขตเมือง
Pusan
จนถึงวันที่ยึดเมือง
Pyongyang
นั้นกินเวลาไม่ถึงเดือน
ทำให้ทหารผ่ายกองกำลังสหประชาชาติ
(โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้)
คาดหวังว่าน่าจะใช้โอกาสนี้ในการรวมประเทศเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
ดังนั้นการรบจึงดำเนินต่อไปโดยการไล่ต้อนทหารเกาหลีขึ้นไปทางทิศเหนือ
ไปจนใกล้ถึงแม่น้ำ Yalu
ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างเกาหลีเหนือกับประเทศจีน
และในวันพุธที่ ๒๕ ตุลาคมปีค.ศ.
๑๙๕๐
หรือเพียงสัปดาห์เดียวหลังจากที่
กองทัพเกาหลีใต้กองพลที่
๑ ที่นำโดยนายพล Paik
Sun Yup สามารถเข้ายึดเมือง
Pyongyang
ได้
ทหารกองกำลังดังกล่าวก็ได้กับดักที่สร้างเอาไว้บริเวณเมือง
Unsanโดยกองกำลังทหารขนาดใหญ่ที่มีเหนือกว่า
โดยที่กองทัพสหประชาชาติไม่ทราบว่ามีกองกำลังขนาดนี้ตั้งมั่นอยู่ในบริเวณดังกล่าว
กองทัพดังกล่าวคือกองทหารจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์
และนั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้โลกได้รับรู้ว่าจีนคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลีแล้ว
สงครามเกาหลีจึงกลายเป็นสงครามการต่อสู้ระหว่างกองทัพสหรัฐที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในด้าน
conventional
warfare (การรบตามแบบ)
ในขณะนั้น
และกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ที่ถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งในด้าน
guerrilla
warfare (การรบนอกแบบหรือการรบแบบกองโจร)
รูปที่
๑ แผนที่คาบสมุทรเกาหลีในปัจจุบัน
(1)
กรุง
Seoul
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาหลีใต้
(2)
เมือง
Pusan
อันเป็นที่มั่นสุดท้ายของการล่าถอย
(3)
เมือง
Inchon
ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพสหรัฐอเมริกายกพลขึ้นบกเพื่อตีโอบหลังทัพเกาหลีเหนือ
(4)
เมือง
Pyongyang
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาหลีเหนือ
(5)
แม่น้ำ
Yalu
ซึ่งเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีนคอมมิวนิสต์
(6)
เมือง
Unsan
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กองพลที่
๑ ของกองทัพเกาหลีใต้ปะทะกับกองทัพจีนคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรก
(ภาพจาก
http://mag.longdo.com)
ผมเกิดและเติบโตขึ้นมาในช่วงที่ประเทศยังบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ซึ่งเราไปลอกแบบมาจากสหรัฐอเมริกา
กล่าวคือการเป็นหรือมีส่วนร่วมกับคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
แต่เมื่อได้เดินทางไปศึกษาที่อังกฤษในยุคที่สงครามเย็นยังดำเนินอยู่
(ผมไปอยู่ที่นั่นก่อนเกิดเหตุการณ์การทำลายกำแพงเบอร์ลิน
และอยู่ในยุโรปขณะที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว)
ผมกลับพบว่าที่ประเทศอังกฤษมีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์
และก็มีการส่งตัวแทนลงเลือกตั้งด้วย
และไม่ใช่เพียงประเทศอังกฤษเท่านั้น
อีกหลายประเทศในยุโรปตะวันตก
(ที่เรียกตัวเองว่าเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตย)
ก็มีพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย
รูปที่
๒ หน้าปกหนังสือ "From
Pusan to Punmunjom" เขียนโดยนายพล
Paik
Sun Yup ซึ่งได้เป็นนายทหารยศพลเอกคนแรกของกองทัพเกาหลีใต้
(ตอนอายุเพียงแค่
๓๐ ต้น ๆ เท่านั้นเอง)
หนังสือฉบับนี้ดูเหมือนจะพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ.
๑๙๙๒
(พ.ศ.
๒๕๓๕)
แต่ฉบับที่ผมซื้อมาเป็นฉบับที่พิมพ์ในปีค.ศ.
๒๐๐๗
(พ.ศ.
๒๕๕๐)
ผมซื้อมาจากร้านขายหนังสือลดราคาที่ชั้นใต้ดินของอาคารจามจุรีสแควร์
ผู้นำทัพของกองกำลังสหประชาชาติไม่ได้คาดว่าจีนคอมมิวนิสต์จะเข้าแทรกแซงการรบในคาบสมุทรเกาหลี
เมื่อต้องเผชิญกับกองกำลังที่มีจำนวนพลมากกว่าหลายเท่า
กองกำลังสหประชาชาติถึงกับต้องถอยร่นลงมาใต้เส้นขนานที่
๓๘ องศาเหนืออีกครั้ง
กองทัพจีนคอมมิวนิสต์นั้นเลือกที่จะโจมตีทหารเกาหลีใต้ที่มีความหวาดกลัวทหารจีนเป็นทุนเดิม
(จากความเชื่อของพวกเขาว่าทหารจีนนั้นเหนือกว่า)
และขาดแคลนการสนับสนุนอาวุธหนัก
โดยหลีกเลี่ยงการปะทะกับทหารสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจการยิงสนับสนุนที่สูงกว่า
และภายในต้นเดือนมกราคมปีค.ศ.
๑๙๕๑
(พ.ศ.
๒๔๙๔)
กองกำลังสหประชาชาติก็ต้องละทิ้งกรุง
Seoul
อีกครั้ง
แต่การล่าถอยครั้งนี้ก็เป็นเพียงแค่การตั้งหลักเพื่อรอจังหวะการตีโต้กลับ
โดยที่ยังคงรักษาความต่อเนื่องของแนวรบจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกจนถึงชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเอาไว้ได้
พอถึงปลายเดือนมกราคมปีค.ศ.
๑๙๕๑
กองกำลงสหประชาชาติก็เริ่มทำการรุกกลับขึ้นเหนืออย่างเป็นระบบ
และภายใน ๓ เดือน (เดือนเมษายนปีค.ศ.
๑๙๕๑)
ก็สามารถกลับไปวางแนวตั้งรับที่บริเวณเส้นขนานที่
๓๘ องศาเหนือได้ใหม่อีกครั้ง
ซึ่งเปรียบเสมือนกับการรบที่ดำเนินมา
๑๐ เดือนนั้นได้กลับมายังจุดเริ่มต้นของมันอีก
รูปที่
๓ จากหนังสือหน้า ๒๓๔
ซึ่งได้กล่าวถึงแผนการยึดอำนาจรัฐบาลเกาหลีใต้ของกองทัพสหรัฐ
ตามความเข้าใจของผม
ในประเทศทางยุโรปตะวันตกนั้นแยกกันระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเศรษฐกิจ
นิยามของระบอบประชาธิปไตยของยุโรปตะวันตก
(ตามความเข้าใจของผม)
คือการมีสิทธิในการเลือกระบอบการปกครองและระบอบเศรษฐกิจ
และการมีสิทธิในการนำเสนอทางเลือกระบอบการปกครองและระบอบเศรษฐกิจ
ใครก็ตามสามารถตั้งพรรคการเมืองหรือลงสมัครอย่างอิสระ
และนำเสนอระบอบเศรษฐกิจที่จะนำมาบังคับใช้ถ้าเขาได้คุมเสียงข้างมาก
(จะเสรีนิยม
สังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์
ก็ได้)
แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
(สภาหมดวาระ)
ก็ต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเลือกตั้งกันใหม่
และเปิดโอกาสให้คู่แข่งผู้อื่นนำเสนอทางเลือกอื่นด้วย
และการนำเสนอนั้นต้องอยู่บนเหตุผลและพื้นฐานความเป็นจริง
ไม่ใช่เป็นการใส่ร้ายป้ายสี
ดังนั้นในบางช่วงเวลาประเทศเขาก็อาจมีระบอบเศรษฐกิจเป็นแบบสังคมนิยม
(รัฐเป็นเจ้าของและจัดการระบบสาธารณูปโภคต่าง
ๆ เองหมด ถ้าของเดิมเอกชนดำเนินการอยู่
รัฐก็ต้องหาเงินมาซื้อหุ้นจากเอกชน)
พอเลือกตั้งใหม่ก็อาจเปลี่ยนมาเป็นแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมก็ได้
(ถ้าของเดิมเป็นของรัฐ
รัฐก็จะขายกิจการทุกอย่างของรัฐให้เอกชนดำเนินการหมด)
หรือชาวบ้านอยากจะเปลี่ยนบรรยากาศไปใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็ได้ถ้าต้องการ
(เพราะเขาก็มีตัวเลือกให้)
แต่ที่สำคัญก็คือ
เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
จะต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นนำเสนอตัวเลือกอื่นได้อย่างเสรี
และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เลือกตั้งใหม่ด้วย
รูปที่
๔ แนวรบในวันที่มีการลงนามในสนธิสัญญาหยุดยิง
และการวางกำลังรบของแต่ละฝ่าย
ในกรอบสี่เหลี่ยมประสีเขียวทางด้านซ้ายของรูปคือ
Panmunjom
ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการลงนามในสนธิสัญญาหยุดยิง
(หมายเหตุ
ROK
- กองทหารเกาหลีใต้
CCF
- กองทหารจีนคอมมิวนิสต์
NK
- กองทหารเกาหลีเหนือ
ส่วนที่เหลือที่ไม่ระบุคือกองทหารสหรัฐอเมริกา)
รูปนี้ผมนำมาจาก
(http://www.flickr.com/photos/dmclean2009/3693403779/sizes/o/in/photostream/)
การที่แนวรบกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่เป็นครั้งที่สองนี้ทำให้เกิดความแตกแยกทางแนวความคิดของผู้นำเกาหลีใต้และผู้นำสหรัฐอเมริกา
ฝ่ายผู้นำเกาหลีใต้และผู้บังคับบัญชาทหารของเกาหลีใต้มองว่าถ้าหากจะรุกคืบขึ้นเหนือขึ้นไปอีกครั้ง
ความฝันของชาวเกาหลีที่จะรวมประเทศเกาหลีเข้าเป็นหนึ่งเดียวก็จะเป็นความจริง
แต่สำหรับผู้นำสหรัฐนั้นกลับมองว่า
ตอนนี้ทุกอย่างก็กลับมาที่ตำแหน่งเดิมแล้ว
ทำไมเขาต้องให้คนของเขาเสียสละชีวิตเพื่อคนประเทศอื่น
ดังนั้นหลังจากที่แนวรบกลับมาที่เส้นขนานที่
๓๘ องศาเหนืออีกครั้ง
การรบของกองทัพสหประชาชาติจึงเป็นการรบในรูปแบบตั้งรับเพื่อรักษาพื้นที่
หรือทำการรุกเฉพาะตำแหน่งเพื่อให้ได้พื้นที่ที่ได้เปรียบกว่าในการตั้งรับ
ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเปิดช่องทางลับในการเจรจายุติการหยุดยิงระหว่างกองกำลังสหประชาชาติและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์
นายพล
Paik
Sun Yup ได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้น
(Syngman
Rhee) ให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์การเจรจาในช่วงแรก
ๆ
สหรัฐอเมริกาเองก็รู้ดีว่าปัญหาของการหยุดยิงนั้นอยู่ที่ผู้นำประเทศเกาหลีใต้
ถ้าหากไม่สามารถทำให้ผู้นำประเทศเกาหลีใต้ยอมรับเงื่อนไขการหยุดยิงได้
การสู้รบก็จะไม่ยุติ
นายพล
Paik
Sun Yup ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา
(ฉบับที่ผมมีคือหน้า
๒๓๔ ที่แสดงในรูปที่ ๓
แต่ถ้าเป็นของสำนักพิมพ์อื่นผมก็ไม่รู้นะว่าจะเป็นหน้าเดียวกันหรือเปล่า)
โดยอ้างถึงเอกสารของสหรัฐอเมริกาว่า
ในปีค.ศ.
๑๙๕๓
(พ.ศ.
๒๔๙๖)
ทางสหรัฐอเมริกาจึงได้มีการวางแผนการ
๓ ขั้นตอนด้วยกันเพื่อให้เกิดการลงนามหยุดยิงดังนี้
๑.
สหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนในการป้องกันประเทศในระยะยาว
การจัดตั้งกองทัพ
การให้ความช่วยเหลือทางด้านทหารและเศรษฐกิจ
๒.
ถ้าเงื่อนไขแรกไม่ได้รับการยอมรับ
ก็จะยื่นเงื่อนไขว่าจะถอนทหารออกจากเกาหลีใต้
๓.
และถ้าเงื่อนไขที่สองไม่ได้รับการยอมรับอีก
ก็จะหนุนการทำ
"coup
d'état"
เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดี
Syngman
Rhee และให้นายกรัฐมนตรี
Chang
Taek-sang จัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศ
ผลสรุปที่ออกมาคือประธานาธิบดี
Syngman
Rhee ต้องยอมรับเงื่อนไขในข้อที่
๑.
แต่ที่อยากให้พวกคุณสังเกตแผนการขั้นตอนที่
๓.
ที่มีการวางเอาไว้
การลงนามในสนธิสัญญาหยุดยิงกระทำในตอนเช้าวันจันทร์ที่
๒๗ กรกฎาคม ปีค.ศ.
๑๙๕๓
(พ.ศ.
๒๔๙๖)
ณ
สถานที่ที่มีชื่อว่า Panmunjom
ต่อมาในภายหลังนายพล
Mark
Wayne Clark
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังสหประชาชาติและกองทัพสหรัฐอเมริกาในขณะที่มีการลงนามหยุดยิงนั้นได้กล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนเอาไว้ว่า
เขาได้กลายเป็น "the
first American commander not to accept surrender from the enemy"
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมเชื่อว่าถ้าใครได้ศึกษาประวัติศาสตร์โลกที่มีสหรัฐอเมริกาเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วง
๑๐๐ ปีที่ผ่านมาก็จะพอมองเห็นได้ว่า
อันที่จริงแล้วสหรัฐอเมริกานั้นไม่ได้สนใจว่าประเทศอื่นจะมีการปกครองในรูปแบบใด
ไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลของประเทศนั้นจะกระทำอย่างไรกับประชาชนของตน
สนแต่เพียงว่าคนของตน
(กล่าวคือกลุ่มธุรกิจต่าง
ๆ)
สามารถเข้าไปหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเหล่านั้นได้หรือไม่
ถ้าหากยังทำได้อยู่
ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา(ผ่านทางสื่อต่าง
ๆ)
ก็จะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้น
แต่ถ้าหากไม่สามารถเข้าไปหาผลประโยชน์ได้
ก็จะหาข้ออ้างโจมตีรัฐบาลประเทศเหล่านั้นและพร้อมที่จะหนุนใครก็ได้
ที่ประกาศตัวกับสหรัฐอเมริกาแต่ไม่ให้ประชาชนของประเทศตัวเองรับทราบว่า
พร้อมที่จะให้สหรัฐอเมริกาและพรรคพวกของสหรัฐอเมริกาเข้าไปหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศของตัวเอง
โดยใช้ชื่อว่าเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยบ้าง
เรียกร้องให้มีการเปิดตลาดเสรีบ้าง
เรียกร้องให้มีการขายระบบสาธารณูปโภคให้เอกชนดำเนินการทั้งหมดบ้าง
ผมอยากเรียกระบอบการปกครองเดียวที่ทางสหรัฐอเมริกาสนับสนุนมาตลอดให้จัดตั้งในประเทศต่าง
ๆ นี้ว่า "ระบบเผด็จการทุนนิยม"
คือทุกคนต้องทำทุกอย่างเพื่อ
"เงิน"
เท่านั้น
วิธีการหนึ่งในการเข้าไปครอบงำทางการเมืองในประเทศต่าง
ๆ
ก็คือการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรของประเทศเหล่านั้นให้ไปศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
และพยายามสอนให้คิดว่าวิถีชีวิตแบบอเมริกาเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง
โดยไม่สนใจว่าคนที่มานั้นมีพื้นเพทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร
ผลที่ตามมาก็คือเราเองก็ได้นักวิชาการจำนวนไม่น้อย
(หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ก็ได้)
ที่เมื่อจบการศึกษาจากต่างประเทศแล้ว
สิ่งเดียวที่ทำได้คือลอกแบบสิ่งที่ตัวเองไปประสบพบเห็นมา
โดยไม่มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศของตัวเอง
คิดอย่างเดียวว่าถ้าอยากเจริญเหมือนฝรั่ง
ก็ต้องทำแบบฝรั่ง
ใครที่ไม่ทำตามก็เป็นพวกขวางโลก
ไม่ยอมรับความเจริญ
ถ้ายังสงสัยอยู่ก็ลองวกกลับมาดูระบบการศึกษาที่พวกคุณเรียนอยู่
ว่ามันตอบสนองความต้องการของประเทศหรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกันแน่
ผมคิดว่านักวิชาการไทยนั้นตีความหมายคำว่า
"เผด็จการ"
แคบไปหน่อย
จริงอยู่ที่ว่าการปกครองระบอบเผด็จการนั้นผู้มีอำนาจปกครองใช้อำนาจกดขี่ผู้อื่นไม่ให้มาเป็นคู่แข่ง
ใช้อำนาจที่มีอยู่นั้นหาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
ใช้อำนาจที่มีอยู่นั้นบิดเบือนไม่ให้มีการตรวจสอบการกระทำของตนเอง
วิธีการที่เห็นกันทั่วไปคือการใช้กำลังอาวุธและสื่อที่ควบคุมด้วยรัฐ
แต่ในความเป็นจริงนั้นการกระทำที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นยังสามารถกระทำได้โดยการใช้อำนาจผ่านทางรัฐสภา
(ที่มาจากการเลือกตั้งซะด้วย)
โดยการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องและกำจัดคู่แข่ง
นี่คือสิ่งที่มีการเรียกกันว่า
"เผด็จการรัฐสภา"
ดังนั้นประเทศที่มีรัฐสภาที่มีตัวแทนมาจากการเลือกตั้งก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศนั้นมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
กรณีตัวอย่างของเผด็จการรัฐสภาพที่เห็นได้ชัดคือกรณีของอดีตผู้นำเยอรมัน
Adolf
Hitler
ซึ่งเข้าสู่อำนาจด้วยการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยจนสามารถกุมเสียงข้างมากในรัฐสภาเอาไว้ได้
แล้วหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นในประเทศเยอรมันและยุโรป
พวกคุณก็คงจะพอทราบกันอยู่แล้ว
เอาไว้วันหลังจะหาโอกาสเล่าให้ฟัง
ผมพอมีหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมันช่วงนี้อยู่
๒-๓
เล่มด้วยกัน
แม้ว่ามันจะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์
แต่อ่านช่วงแรก ๆ
มันให้ความรู้สึกเหมือนว่ากำลังอ่านหนังสือพิมพ์ที่บรรยายเหตุการณ์บ้านเมืองเราในปัจจุบัน