เมื่อวันพฤหัสบดีที่
๑๕ ที่ผ่านมา
ทางกลุ่มได้มีการฝึกการใช้เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ
(Gas
Chromatograph - GC)ให้กับสมาชิกปี
๑ (นิสิตป.โท
จำนวน ๕ ราย)
เครื่องที่ใช้คือ
Shimadzu
GC-8A ติดตั้งตัวตรวจวัดชนิด
Flame
Ionisation Detector (FID) และบันทึกผลด้วยเครื่องอินทิเกรเตอร์
Shimadzu
CR-8A โดยให้ทดลองวัดปริมาณความเข้มข้นอิ่มตัวของโทลูอีน
(Toluene
C6H5-CH3) ที่ละลายในน้ำ
ในช่วงเช้าเริ่มจากการนำโทลูอีนบริสุทธิ์มาฉีดเพื่อหาตำแหน่งพีค
(เวลาที่โทลูอีนออกมาจากคอลัมน์)
จากนั้นก็ปล่อยให้ทดลองหาภาวะที่เหมาะสมในการตั้งเครื่อง
GC
และอินทิเกรเตอร์
(พวก
Range,
Attenuation) เพื่อให้ได้รูปพีคโทลูอีนที่มีขนาดที่เหมาะสมบนกระดาษ
และสัญญาณจาก FID
ไม่เกิดการอิ่มตัว
จากนั้นในช่วงบ่ายก็เป็นการฝึกฝีมือในการฉีดตัวอย่างของสมาชิกกลุ่มแต่ละคน
เพื่อทดสอบว่าด้วยการใช้อุปกรณ์ตัวเดียวกัน
ตัวอย่างตัวเดียวกัน
ผลการวิเคราะห์ที่ได้นั้นจะออกมาอย่างไร
ในตอนแรกก็พบว่าฝีมือการฉีดแต่ละรายนั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้
(เรื่องปรกติของมือใหม่)
ไม่ว่าคนเดิมจะทำการฉีดซ้ำหรือเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างแต่ละคน
แต่บ่ายวันนั้นมันก็มีอะไรที่น่าสนใจหลายอย่าง
ตัวอย่างเช่นผลการทดลองฉีดตัวอย่าง
๓ ครั้งที่เอามาให้ดูในรูปที่
๑ ในหน้าถัดไป พีคที่เวลา
2.2-2.3
นาทีคือพีคของโทลูอีน
ส่วนพีคเล็ก ๆ ก่อนหน้าหน้า
(ที่เวลาประมาณ
1.2-1.3
นาที)
นั้นค่อยว่ากันต่อในฉบับหน้า
(มันมีเรื่องของพีคนี้โดยเฉพาะว่ามันมาจากไหน)
ตรงนี้อยากให้สังเกตตรงค่าพื้นที่พีคและความสูงที่เครื่องอินทิเกรเตอร์วัดได้ดังนี้
ครั้งที่
๑ พื้นที่พีค 795880
ความสูง
18323
ครั้งที่
๒ พื้นที่พีค 938411
ความสูง
18186
ครั้งที่
๓ พื้นที่พีค 734722
ความสูง
18928
ปรกตินั้นเราชอบที่จะใช้พื้นที่พีคมากกว่าที่จะใช้ความสูงของพีคในการบ่งบอกปริมาณสาร
เพราะถ้า carrier
gas ไหลไม่นิ่ง
จะทำให้รูปความสูงของพีคนั้นเปลี่ยนไปตามอัตราการไหลของ
carrier
gas กล่าวคือถ้าไหลเร็วก็จะได้พีคแคบและสูง
ถ้าไหลช้าก็จะได้พีคที่เตี้ยและกว้าง
แต่พื้นที่จะประมาณเดิม
ในกรณีของตัวอย่างที่ยกมานั้น
จะเห็นว่าพื้นที่ของการฉีดครั้งที่
๒ นั้นมากกว่าพื้นที่ของการฉีดครั้งที่
๓ อยู่ 1.28
เท่า
(938411/734722)
และพื้นที่ของการฉีดครั้งที่
๑ นั้นมากกว่าพื้นที่ของการฉีดครั้งที่
๓ อยู่ 1.08
เท่า
(795882/734722)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฉีดครั้งที่
๑ และ ๓ นั้นให้ผลที่ใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าพิจารณาความสูงแล้วจะพบว่าการฉีดครั้งที่
๒ ที่ให้พื้นที่มากที่สุดนั้นกลับให้ค่าความสูงพีคที่น้อยที่สุด
แต่ถ้าพิจารณาจากความสูงจะพบว่าความสูงของพีคของการฉีดครั้งที่
๓ มากกว่าของการฉีดครั้งที่
๒ อยู่ 1.04
เท่า
(18928/18186)
และความสูงของพีคของการฉีดครั้งที่
๑ มากกว่าของการฉีดครั้งที่
๒ อยู่ 1.01
เท่า
(18323/18186)
ซึ่งจะเห็นว่าพีคความสูงของการฉีดทั้ง
๓ ครั้งใกล้เคียงกันมาก
และถ้าพิจารณาจากรูปร่างของพีคที่ได้แล้วจะเห็นว่าขนาดของพีคทั้งสามใกล้เคียงกันมาก
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดคำถามว่าถ้าเช่นนั้นอะไรทำให้การคำนวณพื้นที่พีคของการฉีดครั้งที่
๒ นั้นได้มากกว่าของการฉีดครั้งแรกกับครั้งที่
๓ ถึง 20%
คำตอบของคำถามดังกล่าวอยู่ที่ผลที่เครื่องพิมพ์ออกมาคือช่อง
MK
(ย่อมากจา
Marks
หรือหมายเหตุ)
ซึ่งจะเห็นว่าในกรณีของการฉีดครั้งที่
๑ และ ๓ นั้นมีการพิมพ์สัญญลักษณ์
V
ที่ตำแหน่งพีคประมาณ
1.25
และ
2.2-2.3
นาที
ในขณะที่การฉีดครั้งที่ ๒
นั้นมีการพิมพ์สัญญลักษณ์
V
ที่ตำแหน่งพีค2.2-2.3
นาทีเพียงที่เดียว
รูปที่
๑ โครมาโทแกรมที่ได้มาจากการฉีดน้ำที่มีโทลูอีนละลายอยู่
รูปที่ ๒ และ ๓ ข้างล่างเป็นคำอธิบายความหมายของสัญญลักษณ์ที่ปรากฏในช่อง MK ผมนำมาจากคู่มือของเครื่องอินทิเกรเตอร์ Shimadzu CR-5A แต่ของเครื่อง CR-8A ก็เหมือนกัน
รูปที่ ๒ และ ๓ ข้างล่างเป็นคำอธิบายความหมายของสัญญลักษณ์ที่ปรากฏในช่อง MK ผมนำมาจากคู่มือของเครื่องอินทิเกรเตอร์ Shimadzu CR-5A แต่ของเครื่อง CR-8A ก็เหมือนกัน
รูปที่
๓ สำหรับพีคที่เหลื่อมซ้อนกัน
ด้วยค่า Drift
ที่แตกต่างกันจะทำให้คำนวณพื้นที่พีคได้แตกต่างกันเนื่องจากมีการลาก
base
line ที่แตกต่างกัน
ขอให้พิจารณาวิธีการลาก
base
line ที่อยู่ในกรอบสีแดงของรูปที่
๓ ในกรณีของการฉีดครั้งที
่๑ และ ๓ นั้นเครื่องอินทิเกรเตอร์ทำการลาก
base
line ตามแบบที่
(2)
คือลากจากจุดเริ่มเกิดพีคแรกไปจนถึงจุดที่สัญญาณเกิดการวกกลับที่เป็นจุดที่เครื่องระบุว่าเป็นตำแหน่งเริ่มเกิดพีคที่สอง
และใช้เส้นนี้เป็นฐานในการคำนวณพื้นที่พีคแรก
และลากเส้นจากจุดที่สัญญาณเริ่มวกกลับไปจนถึงตำแหน่ง
base
line เดิมที่เป็นจุดที่พีคที่สองสิ้นสุด
และใช้เส้นนี้เป็นฐานในการคำนวณพื้นที่พีคที่สอง
ในขณะที่ในการฉีดครั้งที่
๒ นั้นเครื่องทำการลาก base
line ตามแบบที่
(1)
กล่าวคือเริ่มจากจุดเริ่มต้นเกิดพีคแรกไปจนถึงจุดสิ้นสุดพีคที่สอง
และลากเส้นในแนวดิ่งจากตำแหน่งสัญญาณเริ่มวกกลับลงมาตัด
base
line ที่ลากขึ้น
และใช้เส้นนี้เป็นตัวแบ่งพื้นที่ที่จะใช้ในการคำนวณพื้นที่พีคแรกและพื้นที่พีคที่สอง
ซึ่งจะเห็นว่าถ้าลาก
base
line ตามแบบที่
(2)
จะมีพื้นที่พีคหายไปส่วนหนึ่ง
ในกรณีของการฉีดครั้งที่
๑ และ ๓
ที่พื้นที่พีคที่สองหายไปมากก็เพราะตำแหน่งจุดสัญญาณเริ่มวกกลับนั้นอยู่ค่อนข้างสูงและตำแหน่งสิ้นสุดของพีคที่สองนั้นอยู่ห่างออกมาจากตำแหน่งจุดสัญญาณวกกลับค่อนข้างมาก
จึงทำให้เห็นพื้นที่พีคที่สองจากการฉีดครั้งที่
๑ และครั้งที่ ๓
นั้นน้อยกว่าที่ได้จากการฉีดครั้งที่
๒ มาก
กรณีนี้เกิดค่าของคำสั่ง
DRIFT
(อัตราการเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่ถือว่าสัญญาณกลับมาที่
base
line แล้ว)
ถ้าเกิดกรณีที่พีคซ้อนกันดังรูป
ที่ DRIFT
มีค่าต่ำนั้นเครื่องจะลากแนว
base
line ตามแบบที่
(1)
แต่ถ้า
DRIFT
มีค่าสูงเครื่องจะลากแนว
base
line ตามแบบที่
(2)
ในการทดลองเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมานั้นได้กำหนดให้เครื่อง
CR-8A
เลือกค่า
DRIFT
อย่างอัตโนมัติ
แต่จากตัวอย่างที่ยกมาให้นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ว่าในกรณีใดก็ควรจะต้องตั้งค่า
DRIFT
ไว้ต่ำ
มันขึ้นอยู่กับรูปแบบการเหลื่อมซ้อนทับกันของพีค
ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไปว่าการเหลื่อมซ้อนทับกันของพีคนั้นเกิดที่ไหน
ตัวคู่มือเองก็ระบุเอาไว้เช่นนั้นด้วย
ด้วยเหตุนี้ตัวเครื่องอินทิเกรเตอร์จึงบันทึกข้อมูลเอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลนั้นมาทำการคำนวณใหม่ได้
ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ
แต่เนื่องจากเครื่องอินทิเกรเตอร์ที่เราใช้มันจะเก็บข้อมูลได้เพียงแค่การวัดครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียว
พอทำการวัดครั้งต่อไปข้อมูลเก่าจะถูกลบทิ้ง
และเวลาใช้นั้นเรามักต้องทำการวัดต่อเนื่องกันหลายครั้ง
ทางผมจึงมักจะแนะนำให้บันทึกข้อมูลตัวเลขของโครมาโทแกรมลงแผ่นดิสก์เอาไว้
เพื่อนำมาประมวลผลใหม่ด้วยโปรแกรมสำหรับใช้แยกพีค
(เช่น
fityk
ที่กลุ่มเราใช้เป็นประจำ)
ที่ใช้หาพื้นที่พีคของแต่ละพีคที่เหลื่อมซ้อนทับกันได้ดีกว่า
ในกรณีของตัวอย่างที่ยกมานี้โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือผลที่ได้จากการฉีดครั้งที่
๒ ในขณะที่ผลที่ได้จากการฉีดครั้งที่
๑ และ ๓ นั้นแม้ว่าจะได้ค่าใกล้เคียงกัน
แต่ก็เป็นค่าที่มีความคลาดเคลื่อนสูงทั้งคู่
ตัวอย่างที่ยกมาในวันนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า
เสียงข้างมากก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป
เพราะมันอาจเกิดจากการทำผิดซ้ำเดิม
ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น