วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566

สถานีรถไฟ Hase MO Memoir : Saturday 2 September 2566

การเดินทางเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากลงมาจากฮอกไกโดก็มาพักค้างที่เมืองหลวง และใช้เวลาหนึ่งวันไปตามรอยมังงะเรื่อง Slam Dunk ที่ลูกสาวคนโตอยากแวะไปดู (ว่าแต่การ์ตูนเรื่องนี้มันจบไปก่อนหนูเกิดอีกนะ) โดยนั่งรถไฟไปที่คามาคุระก่อนตั้งแต่เช้า หลังกินข้าวเที่ยงเสร็จก็อาศัยรถไฟท้องถิ่นไปยังสถานที่ที่ใช้เป็นฉากในการ์ตูน

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยหรือเปล่า (แถมอากาศดีอีกต่างหาก) ทั้งเมืองเลยเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งคนญึ่ปุ่นและต่างชาติ ขึ้นรถไฟท้องถิ่นที่สถานีไหนก็คนเต็มตลอดไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชานชลาหรือตัวรถ

หลังจากตามล่าหามุมที่ใช้เป็นฉากปั่นจักรยานบนสันกำแพงกั้นระหว่างถนนกับทะเลได้แล้ว จุดถัดไปคือจุดทางข้ามรถไฟ ซึ่งต้องนั่งรถไฟไปยังอีกสถานีหนึ่ง (สถานี Kamakurakokomae ที่มีฉากจุดตัดถนนกับทางรถไฟ) โดยต้องเดินกลับมาขึ้นรถที่สถานีรถไฟ Hase

ตอนเดินเลียบฝั่งทะเลมายังสถานีก็ไม่ค่อยมีคนเท่าไรนัก แต่ที่ตัวสถานีระหว่างรอรถไฟก็มีคนมาใช้บริการเยอะเหมือนกัน

ถ่ายรูปสถานีรถไฟเมืองไทยไว้หลายสถานีแล้ว วันนี้เป็นบรรยากาศสถานีรถไฟที่ประเทศญี่ปุ่นบ้าง ที่เอามาเขียนไว้ก็เพื่อจะได้ไม่ลืมว่าวันนั้นผ่านไปแถวนั้นด้วยเหตุผลอะไรแต่นั้นเอง

(หมายเหตุ : เวลาที่กล้องบันทึกในรูป ช้ากว่าเวลาท้องถิ่นสองชั่วโมงเศษ)

รูปที่ ๑ ทางเข้าอาคารสถานี

รูปที่ ๒ ตอนเดินมาสถานี มีรถสองขบวนจอดรอหลีกกันอยู่พอดี เลยขอถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกหน่อย ประแจที่เห็นข้างหน้าที่ด้านซ้ายมีตัวอักษร S บนป้ายฟ้าและมีเส้นพาดกลาง เป็นประแจแบบที่เรียกว่า spring swith หรือ spring loaded switch

รูปที่ ๓ ขบวนหนึ่งออกไปแล้ว อีกขบวนก็กำลังวิ่งออกเช่นกัน ถ้าสังเกตทิศทางที่ประแจมันเปิดอยู่ มันจะให้รถที่วิ่งจากมุมล่างของภาพออกไปทางซ้าย แต่รถที่วิ่งตรงลงมานั้นล้อมันจะดันให้ประแจเปิดให้รถวิ่งผ่านได้

รูปที่ ๔ ถ่ายรูปทักทายคนขับหน่อย

รูปที่ ๕ รถไฟผ่านไปแล้ว ทางเปิดให้คนและรถผ่านทางได้

รูปที่ ๖ เส้นทางที่รถไฟขบวนดังกล่าวมุ่งหน้าไป

รูปที่ ๗ ถ่ายรูป spring switch เก็บไว้เป็นที่ระลึกหน่อย

รูปที่ ๘ มาอยู่ในสถานีแล้ว ที่ปลายชานชลาฝั่งนี้จะมีทางให้เดินข้ามไปยังชานชลาอีกฝั่งหนึ่ง (ทางเดินที่เห็นอยู่ก่อนถนนที่มีรถวิ่ง

รูปที่ ๙ สุดปลายชานชลาอีกฟากหนึ่ง

รูปที่ ๑๐ ฝั่งนี้ก็ติดกับถนน มีรั้วกั้นเพื่อบอกไม่ให้คนใช้เป็นทางผ่านเข้า-ออก (ถ้าเป็นบ้านเราเปิดโล่งแบบนี้คงมีคนใช้เป็นทางลัดแน่ ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: