เป็นเช้าวันอาทิตย์ที่ฝนตกลงมาแต่เช้ามืด
และกระต่ายที่ชื่อ "เจ้าชาเขียว"
ก็หายตัวไปช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
เหลืออยู่แต่เจ้า "หิมะ"
ตัวเดียว
ท่าทางเรื่องบทความชื่อว่า
"โพรงกระต่าย"
จะมีอาถรรพ์
เพราะเขียนครั้งแรกกระต่ายก็หายหมด
พอเขียนครั้งที่สองมันก็หายไปอีกตัว
(โชคดีที่ยังเหลืออยู่หนึ่ง)
โน๊ตเพลง
"ตัดใจไม่ลง"
ต้นฉบับเป็นโน๊ตเปียนโนจากหนังสือ
"Easy
popular for piano" เล่ม
๓ โดยผู้ที่ใช้นามว่า Ottava
ผมไปได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือ
Kinokuniyaที่สยามพารากอนมาเมื่อวานซืน
ซื้อโน๊ตเปียนโนเล่มอื่น
ๆ ของผูเขียนผู้เดียวกันนี้ด้วยกลับมาด้วยรวมทั้งสิ้น
๔ เล่ม (ทั้ง
ๆ ที่ตัวเองเล่นเปียนโนไม่เป็น)
ในหนังสือนี้บอกว่าเป็นเพลงจากภาพยนต์เรื่อง
"ปลื้ม"
โน๊ตต้นฉบับนั้นเสียงต่ำเกินไป
เครื่องเป่าเล่นไม่ได้
ก็เลยต้องนำมาปรับบันไดเสียงให้สูงขึ้นหน่อย
(แต่ผมไม่ได้ใส่ท่อนที่เป็นการบรรเลงเข้าไปด้วย)
เพลงนี้ที่ขับร้องโดยคุณส้มโอ
"เพ็ญ
พิสุทธิ์"
จัดว่าเป็นเพลงที่นิ่มนวล
ฟังเศร้า ๆ (ภาพยนต์เรื่อง
"ปลื้ม"
ฉายในปีพ.ศ.
๒๕๒๙
เป็นตอนต่อจากภาพยนต์เรื่อง
"ซึมน้อยหน่อย
กะล่อนมากหน่อย"
ที่ฉายในปีพ.ศ.
๒๕๒๘
ส่วนเพลง "ตัดใจไม่ลงนี้"
บางเว็บบอกว่าเป็นเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง
"ปลื้ม"
แต่บางเว็บก็บอกว่าเป็นเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง
"ซึมน้อยหน่อย
กะล่อนมากหน่อย"
ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีความขัดแย้งกันอยู่)
เพลงนี้ถ้าอยากจะฟังทาง
YouTube
อยากจะขอแนะนำให้ฟังต้นฉบับที่ขับร้องโดยคุณเพ็ญ
พิสุทธิ์
ผมว่าเพลงนี้เป็นเพลงหนึ่งที่เหมาะมากสำหรับการเกากีต้าร์เล่นโน๊ตไปทีละตัว
ชีวิตดั้งเดิมของคนไทยส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ
ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าจะมีเพลงที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำสายต่าง
ๆส่วนจะเป็นแม่น้ำสายใดนั้นไม่รู้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะพื้นเพของผู้ประพันธ์บทเพลงด้วยหรือเปล่าว่าเติบโตหรือได้ไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งกับแม่น้ำสายใดมา
โน๊ตเพลง "ลาสาวแม่กลอง"
ที่ร้องโดย
พนม นพพร นำโน๊ตตัวเลขต้นฉบับมาจากหนังสือ
"โน๊ตขลุ่ย"
เล่ม
๓ โดย สิงขร สอนขัน ฉบับพิมพ์ปีพ.ศ.
๒๕๓๘
โดยสำนักพิมพ์ทอแสง
(ซึ่งก็ได้มาเมื่อประมาณ
๒๐ ปีที่แล้ว)
นำมาเขียนแบบโน๊ตสากลเล่น
ๆ ดู หนังสือโน๊ตเพลงรูปแบบตัวเลขของ
สิงขร สอนขัน
นี้ปัจจุบันก็ยังเห็นมีทำออกมาเรื่อย
ๆ
แต่ที่เห็นล่าสุดมีทั้งโน๊ตคีย์บอร์ดและคอร์ดสำหรับอูคูเลเล่เพิ่มเติมเข้ามา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น