ปั๊มหอยโข่งส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันนั้นจะมีช่องทางให้ของเหลวไหลเข้า
(suction
eye) อยู่ตรงทางด้านหนึ่งของใบพัด
(impeller)
ของเหลวที่ไหลเข้ามาในช่องทางนี้จะถูกเหวี่ยงออกไปในแนวรัศมี
(ตั้งฉากกับทิศทางการไหลเข้า)
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบโครงสร้างปั๊มที่เรียบง่ายที่สุดเรียกว่า
end
suction
แต่ก็มีข้อเสียอยู่หน่อยตรงที่การไหลเข้ามาของของเหลวนั้นทำให้เกิดแรงกระทำในแนวแกนของเพลา
(ที่เรียกว่า
hydraulic
trust)
ใบพัดปั๊มหอยโข่งอีกรูปแบบหนึ่งนั้นมีช่องทางให้ของเหลวไหลเข้าสองช่องทางอยู่คนละด้านของใบพัด
(เรียกว่า
double
impeller) ของเหลวที่ไหลเข้าปั๊มจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
(ควรที่จะในปริมาณที่เท่า
ๆ กันด้วย)
ให้ไหลเข้าใบพัดในทิศทางตามแนวแกนจากสองฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกัน
ก่อนถูกเหวี่ยงออกไปในแนวรัศมีตรงกลาง
การที่มีของเหลวในปริมาณที่เท่ากันไหลเข้าจากทิศทางที่ตรงข้ามกัน
ทำให้เกิดแรงกระทำในแนวแกนเพลาสองแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่ตรงข้ามกัน
แรงที่กระทำต่อเพลาจจึงถูกหักล้างไป
ปั๊มแบบนี้เรียกว่า double
suction pump ตัวอย่างแผนผังการวางท่อของปั๊มชนิดนี้แสดงไว้ในรูปที่
๑
สิ่งสำคัญในการวางท่อให้กับปั๊มชนิดนี้คือโปรไฟล์ความเร็วการไหลของของเหลวที่ไหลเข้าปั๊มนั้นต้องมีความสมมาตร
โดยของเหลวจะไหลเข้าในแนวรัศมีของใบพัดก่อนถูกแบ่งแยกออกไปทางซ้ายและขวาอย่างละครึ่ง
แล้วเลี้ยวเข้าหาตรงกลางใบพัดตามแนวแกนเพลา
ถ้าหากโปรไฟล์การไหลที่ไหลเข้าปั๊มนั้นไม่สมมาตร
จะทำให้ของเหลวนั้นไหลเข้าด้านใดด้านหนึ่งของใบพัดมากกว่าอีกด้านหนึ่ง
ดังนั้นถ้าท่อจ่ายของเหลวให้ปั๊มนั้นอยู่ในระนาบเดียวกับระนาบในแนวรัศมีของใบพัด
ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ
ในการต่อท่อเข้าปั๊ม
แต่ถ้าหากท่อนั้นไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกับระนาบในแนวรัศมีของใบพัด
ก็ควรที่จะมีส่วนของท่อตรงที่มีความยาวอย่างน้อย
3
เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อที่เป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับปั๊ม
ทั้งนี้เพื่อให้โปรไฟล์การไหลหลังจากผ่านข้องอข้อสุดท้ายมาแล้วนั้นมีความสมมาตรก่อนเข้าสู่ตัวปั๊ม
และเนื่องจากของเหลวที่ไหลเข้าใบพัดนั้นถูกแบ่งครึ่งให้ลดลง
จึงทำให้ป๊มชนิดนี้ต้องการ
net
positive suction head (NPSH) ลดลงด้วย
รูปที่
๑ ตัวอย่างการวางท่อรับของเหลวเข้าสำหรับ
double
impeller pump
รูปที่ ๒ นั้นแสดงโครงสร้างของ multistage centrifugal pump (มีอยู่ด้วยกัน 5 stage พอมองออกไหมครับ) โดยใบพัดของ stage แรกเป็นชนิด double impeller (จากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่ 1,912,452) ของเหลวจะไหลออกจาก stage ที่ 1 ตามลูกศรสีน้ำเงินไปยัง stage ที่ 2 จากนั้นจะไหลออกจาก stage ที่ 2 ตามลูกศรสีแดงไปยัง stage ที่ 3 จาก stage ที่ 3 นี้จะไหลตามลูกศรสีส้มไปยัง stage ที่ 4 และตามลูกศรีสีเขียวไปยัง stage ที่ 5 ก่อนไหลออกจากตัวปั๊ม
รูปที่ ๒ นั้นแสดงโครงสร้างของ multistage centrifugal pump (มีอยู่ด้วยกัน 5 stage พอมองออกไหมครับ) โดยใบพัดของ stage แรกเป็นชนิด double impeller (จากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่ 1,912,452) ของเหลวจะไหลออกจาก stage ที่ 1 ตามลูกศรสีน้ำเงินไปยัง stage ที่ 2 จากนั้นจะไหลออกจาก stage ที่ 2 ตามลูกศรสีแดงไปยัง stage ที่ 3 จาก stage ที่ 3 นี้จะไหลตามลูกศรสีส้มไปยัง stage ที่ 4 และตามลูกศรีสีเขียวไปยัง stage ที่ 5 ก่อนไหลออกจากตัวปั๊ม
รูปที่
๒ ตัวอย่างโครงสร้างของ
multistage
centrifugal pump ที่ใบพัด
stage
แรกเป็นชนิด
double
impeller
รูปที่ ๓ เป็นตัวอย่างการติดตั้ง eccentric reducer ที่ท่อด้านขาเข้าปั๊ม และการติดตั้ง pipe support และตำแหน่งสำหรับใส่ temporary strainer ทางด้านขาเข้าปั๊มโดยอยู่ถัดจาก block valve ด้านขาเข้า temporary strainer หรือตัวกรองชั่วคราวนี้ใช้เมื่อเริ่มต้นเดินเครื่องปั๊มหลังการก่อสร้างโรงงานหรือเมื่อมีการซ่อมบำรุงที่มีการทำงานเกี่ยวกับท่อ (เช่นเชื่อมต่อท่อใหม่) ตัวกรองนี้ทำหน้าที่ดักสิ่งสกปรกที่เป็นของแข็งที่ตกค้างอยู่ในท่อไม่ให้หลุดเข้าไปทำความเสียหายให้กับตัวใบพัดของปั๊ม โดยปรกติแล้วโรงงานที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ ๆ สิ่งแรกที่ต้องทำกันก็คือการทำความสะอาดท่อ เพราะเราไม่รู้ว่ามันการก่อสร้างนั้นมันทำให้มีอะไรตกค้างอยู่ในเส้นท่อบ้าง การทำความสะอาดก็อาจเริ่มได้จากการใช้ลมเป่าไล่ไปจนถึงการใช้น้ำ (ที่มักจะทำการเติมตอนทำ hydraulic test อยู่แล้ว) ชะล้างเอาเศษสิ่งของออก การเจอเศษลวดเชื่อมถูกชะออกมาก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ วิศวกรรุ่นพี่เคยเล่าให้ฟังว่าเคยเจอเศษไม้เป็นท่อน ๆ กับเสื้อที่คนงานก่อสร้างซุกเอาไว้ในท่อ (ทำนองว่าไม่พอใจคนคุมงาน ก็แกล้งด้วยการเอาอะไรต่อมิอะไรไปซุกไว้ในท่อก่อนประกอบท่อเข้าไป)
รูปที่ ๓ เป็นตัวอย่างการติดตั้ง eccentric reducer ที่ท่อด้านขาเข้าปั๊ม และการติดตั้ง pipe support และตำแหน่งสำหรับใส่ temporary strainer ทางด้านขาเข้าปั๊มโดยอยู่ถัดจาก block valve ด้านขาเข้า temporary strainer หรือตัวกรองชั่วคราวนี้ใช้เมื่อเริ่มต้นเดินเครื่องปั๊มหลังการก่อสร้างโรงงานหรือเมื่อมีการซ่อมบำรุงที่มีการทำงานเกี่ยวกับท่อ (เช่นเชื่อมต่อท่อใหม่) ตัวกรองนี้ทำหน้าที่ดักสิ่งสกปรกที่เป็นของแข็งที่ตกค้างอยู่ในท่อไม่ให้หลุดเข้าไปทำความเสียหายให้กับตัวใบพัดของปั๊ม โดยปรกติแล้วโรงงานที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ ๆ สิ่งแรกที่ต้องทำกันก็คือการทำความสะอาดท่อ เพราะเราไม่รู้ว่ามันการก่อสร้างนั้นมันทำให้มีอะไรตกค้างอยู่ในเส้นท่อบ้าง การทำความสะอาดก็อาจเริ่มได้จากการใช้ลมเป่าไล่ไปจนถึงการใช้น้ำ (ที่มักจะทำการเติมตอนทำ hydraulic test อยู่แล้ว) ชะล้างเอาเศษสิ่งของออก การเจอเศษลวดเชื่อมถูกชะออกมาก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ วิศวกรรุ่นพี่เคยเล่าให้ฟังว่าเคยเจอเศษไม้เป็นท่อน ๆ กับเสื้อที่คนงานก่อสร้างซุกเอาไว้ในท่อ (ทำนองว่าไม่พอใจคนคุมงาน ก็แกล้งด้วยการเอาอะไรต่อมิอะไรไปซุกไว้ในท่อก่อนประกอบท่อเข้าไป)
รูปที่
๓ ตัวอย่างการติดตั้ง
reducer,
pipe support และ
temporary
strainer ที่ท่อทางเข้าปั๊ม
รูปที่
๔ และ ๕ เป็นตัวอย่างแผนผังการวางท่อสำหรับระบบ
common
spare pump ต่างกันที่รูปที่
๕ เป็นกรณีของปั๊มขนาดใหญ่
(ขนาดท่อตั้งแต่
8
นิ้วขึ้นไป)
โดยปรกติในโรงงานที่เดินต่อเนื่อง
24
ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพักจนกว่าจะถึงระยะเวลาการซ่อมบำรุงใหญ่ประจำปีนั้น
ปั๊มที่ใช้ในกระบวนการผลิตจะมีการติดตั้งปั๊มสำรองควบคู่เสมอ
(เพราะตัวปั๊มมีชิ้นส่วนที่ต้องทำการเปลี่ยนและ/หรือซ่อมบำรุง
ที่ไม่สามารถรอจนการหยุดซ่อมใหญ่ประจำปีได้)
แต่สำหรับปั๊มหลักสองตัวที่เหมือนกัน
ที่ใช้สูบของเหลวชนิดเดียวกัน
ทำงานภายใต้สภาวะเดียวกัน
ถ้าสามารถติดตั้งปั๊มหลักสองตัวนั้นให้อยู่ใกล้กันได้
ดังนั้นแทนที่จะทำมีปั๊มสำรองให้กับปั๊มหลักแต่ละตัว
(คือมีปั๊มทั้งหมด
๔ ตัว เป็นปั๊มหลัก ๒ ตัว
ปั๊มสำรอง ๒ ตัว)
ก็มีปั๊มสำรองเพียงแค่ตัวเดียวพอที่วางไว้ระหว่างปั๊มหลักทั้งสอง
(คือมีปั๊มเพียงแค่
๓ ตัว เป็นปั๊มหลัก ๒ ตัว
ปั๊มสำรอง ๑ ตัว)
ปั๊มสำรองที่ติดตั้งในรูปแบบนี้เรียกว่า
common
spare pump
ตัวอย่างบริเวณหนึ่งที่เคยเห็นมีการติดตั้งปั๊มรูปแบบดังกล่าวคือบริเวณ
cooling
tower ที่ใช้ปั๊มหลายตัวในการสูบน้ำจากบ่อน้ำใต้
cooling
tower จ่ายไปยังส่วนต่าง
ๆ ของโรงงาน
รูปที่ ๔ ตัวอย่างการวางท่อสำหรับระบบ common spare pump (ใช้งาน ๒ ตัว สำรองร่วม ๑ ตัว) สำหรับท่อขนาดต่ำกว่า 8 นิ้วลงมา
รูปที่
๕ ตัวอย่างการวางท่อสำหรับระบบ
common
spare pump แบบเดียวกับรูปที่
๔ แต่เป็นกรณีของท่อขนาดตั้งแต่
8
นิ้วขึ้นไป
รูปที่
๖ เป็นตัวอย่างแผนผังการวางท่อสำหรับ
vertical
pump ตรงนี้ถ้านึกภาพไม่ออกว่า
vertical
pump หน้าตาเป็นอย่างไร
สามารถอ่านได้ใน Memoir
ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๓๐๙ วันพุธที่ ๑๑
มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง "Piping and Instrumentation Diagram (P&ID) ของอุปกรณ์ตอน Vertical can pump (ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง)"
รูปที่
๖ ตัวอย่างแผนผังการวางท่อสำหรับ
vertical
pump
๑.
ตัวอย่าง
piping
layout
สำหรับปั๊มทั้งหมดที่นำมาแสดงในที่นี้มีเป็นกรณีที่ระดับของเหลวนั้นอยู่สูงกว่าระดับตัวปั๊ม
ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาในการเติมของเหลวเข้าปั๊มหรือไล่แก๊สออกจากระบบก่อนจะเริ่มเดินเครื่องปั๊ม
(เพราะเพียงแค่เปิดวาล์วขาเข้า
ของเหลวก็ไหลเข้าปั๊มแล้ว)
แต่ถ้าเป็นปั๊มที่สูบของเหลวขึ้นมาจากระดับที่ต่ำกว่าตัวปั๊ม
เช่นการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของหอทำน้ำเย็น
รูปแบบท่อด้านขาเข้าจะแตกต่างออกไป
คือจะมีการติดตั้ง foot
valve (วาล์วกันการไหลย้อนกลับที่ติดตั้งที่ปลายท่อ)
และในกรณีของปั๊มขนาดใหญ่
มักจะมีระบบสำหรับทำการล่อน้ำต่อเข้ากับท่อด้านขาเข้าด้วย
เพื่อให้สามารถเริ่มเดินเครื่องปั๊มได้
(คือมีการเดินท่อน้ำพร้อมกับวาล์วเปิดปิดติดตั้งถาวรเข้ากับท่อด้านขาเข้า
เพื่อช่วยในการเติมน้ำเข้าท่อด้านขาเข้าให้เต็มก่อนเริ่มเดินเครื่องปั๊ม
-
รูปที่
๗)
ก่อนจะจบเรื่อง
piping
layout ของปั๊มในตอนนี้ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย
มีบางเรื่องที่ต้องขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
รูปที่
๗ ปั๊มขนาดใหญ่ที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ต่ำกว่าตัวปั๊ม
(เช่นปั๊มสูงน้ำจากบ่อน้ำของ
cooling
tower ที่มีขนาดท่อได้ถึง
20
นิ้วหรือใหญ่กว่า)
นอกจากจะติดตั้ง
foot
valve ไว้ที่ปลายท่อด้านจุ่มอยู่ในน้ำแล้ว
ยังควรมีท่อเติมน้ำให้กับท่อด้านขาเข้า
เพื่อช่วยในการล่อน้ำก่อนการเดินเครื่องปั๊ม
แต่ถ้าเป็นปั๊มตัวเล็ก ๆ
ก็จะใช้การกรอกน้ำที่จุดเติมน้ำของตัวปั๊ม
๔.
ท้ายสุดนี้ขอทบทวนนิดนึง
คำว่า "block
valve"
ที่ใช้ในที่นี้หมายถึงวาล์วที่ทำหน้าหลักคือปิดกั้นระบบท่อเพื่อแยกตัวอุปกรณ์
(isolation)
ออกจากระบบ
การใช้งานวาล์วชนิดนี้จะใช้เพียงแค่ปิดสนิทและเปิดเต็มที่
ส่วนจะเป็นวาล์วชนิดใด
(gate,
globe, ball หรือ
butterfly)
นั้นขึ้นอยู่กับระบบ
๒.
นอกจากนี้ยังมีท่อที่ไม่ปรากฏในแบบต่าง
ๆ ที่นำมาให้ดูคือท่อ minimum
flow line หรือ
kick
back line
ที่ใช้ในตอนเริ่มเดินเครื่องปั๊มหรือป้องกันไม่ให้ไม่มีของเหลวไหลผ่านปั๊มถ้าวาวล์ควบคุมปิดสนิท
ความจำเป็นของการมีท่อเส้นนี้ต้องพิจารณาเป็นราย
ๆ ไปจากรูปแบบการทำงานของปั๊มและอุณหภูมิของของเหลวที่ทำการสูบ
๓.
ปรกติหลังการก่อสร้างหรือถอดปั๊มออกมาเพื่อซ่อมบำรุง
ในระบบท่อและตัวปั๊มจะมีอากาศอยู่ภายใน
สำหรับปั๊มที่ทำงานกับสารไวไฟ
หลังการประกอบกลับคืน
จำเป็นต้องมีการไล่อากาศออกจากระบบท่อต่าง
ๆ ก่อนป้อนของเหลวไวไฟเข้าระบบ
และแก๊สที่ใช้กันทั่วไปในการไล่อากาศออกจากระบบคือไนโตรเจน
ดังนั้นในบทความนี้จึงมีการใช้คำว่า
"แก๊ส"
ในบางเรื่องเพื่อสื่อว่าไม่ใช่
"อากาศ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น