จากสมการของ
Ideal
gas law ที่ถือว่าโมเลกุลของแก๊สนั้นไม่มีขนาด
(ทำให้ปริมาตรลดลงเป็นศูนย์ได้)
และไม่มีแรงกระทำกันระหว่างโมเลกุล
ได้รับการดัดแปลงให้อธิบายให้ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นโดย
van
der Waals ด้วยการเพิ่มพจน์ที่บ่งบอกถึงการมีตัวตนอยู่ของโมเลกุลแก๊ส
(โมเลกุลมีปริมาตรจำเพาะค่าหนึ่ง
หรือค่า b
ในสมการ)
และการมีแรงกระทำกันระหว่างโมเลกุล
(แรงดึงดูดหรือค่า
a
ในสมการ)
กลายเป็นสมการในตระกูลที่เรียกว่า
"Cubic
equation of state" ที่อาศัยค่าคุณสมบัติต่าง
ๆ ของแกีสที่จุดวิกฤตเป็นหลัก
(ค่า
Tc
และ
Pc)
สมการของ
van
der Waals ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งโดย
Redlich-Kwong
ด้วยการกำหนดให้พจน์แรงกระทำกันระหว่างโมเลกุลนั้นเป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิด้วย
(สมการของ
van
der Waals ไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้)
แนวความคิดเรื่อง
Acentric
factor ที่นำเสนอโดย
Pitzer
และคณะในปีค.ศ.
๑๙๕๕
(พ.ศ.
๒๔๙๘)
นั้นนำมาสู่พารามิเตอร์ตัวใหม่สำหรับบ่งบอกคุณสมบัติของแรงกระทำระหว่างกันของโมเลกุล
ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปร่างโมเลกุลและความเป็นขั้วของโมเลกุล
ด้วยคุณสมบัติตัวใหม่นี้
(acentric
factor) ทำให้สมการของ
Redlich-Kwong
ได้รับการพัฒนาออกไปอีกหลายแบบ
ที่สำคัญคือการพัฒนาโดย
Soave
ในปีค.ศ.
๑๙๗๒
(พ.ศ.
๒๕๑๕)
และโดย
Peng
และ
Robinson
ในปีค.ศ.
๑๙๗๖
(พ.ศ.
๒๕๑๙)
Giorgio
Soave ส่งบทความเกี่ยวกับการดัดแปลง
Redlich-Kwong
equation of state เพื่อการตีพิมพ์ในปีค.ศ.
๑๙๗๑
(พ.ศ.
๒๕๑๔)
ก่อนที่จะได้รับการตีพิมพ์ในปีค.ศ.
๑๙๗๒
(พ.ศ.
๒๕๑๕)
สมการของ
Redlich-Kwong
ที่ได้รับการดัดแปลงโดย
Soave
นั้นกลายเป็นสมการที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า
Soave-Redlich-Kwong
equation of sate หรือสมการ
SRK
นั่นเอง(๑)
SRK equation of sate นี้ยังได้รับการพัฒนาต่อโดย Graboski และ Daubert โดยปรับแต่งพารามิเตอร์บางตัวที่ Soave เสนอไว้เดิมนั้น เพื่อให้การทำนายค่าถูกต้องมากขึ้น และขยายไปยังระบบที่ประกอบด้วยสารอื่นนอกเหนือไปจากไฮโดรคาร์บอน เช่น ไฮโดรเจน ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนออกไซด์(๒-๔)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น