Memoir
ฉบับนี้เป็นการแนะนำให้ผู้เรียนทางวิศวกรรมเคมีให้มีความรู้เกี่ยวกับงานไฟฟ้ากำลังบ้าง
เผื่อต้องไปฟังวิศวกรไฟฟ้ากำลังเขาพูดคุยกัน
จะได้จับความได้บ้างว่าเขาพูดกันเรื่องอะไรอยู่
พลังงานไฟฟ้า
(P)
นั้นเป็นผลคูณระหว่างกระแส
(I)
และความต่างศักย์
(V)
หรือ
P
= IV ส่วนพลังงานที่สูญเสีย
ในรูปความร้อน)
ที่จากความต้านทาน
(R)
ของสายส่งนั้นจะแปรผันกับความต้านทานของสายส่งบกำลัง
1
และปริมาณกระแสยกกำลัง
2
หรือเป็นไปตามสมการ
Ploss
= I2R
ดังนั้นจะเห็นว่าการส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยความต่างศักย์ที่สูง
จะทำให้ปริมาณกระแสในสายส่งนั้นต่ำกว่าการส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยความต่างศักย์ที่ต่ำกว่า
ระบบสายส่งไฟฟ้าของบ้านเรานั้น
จากโรงไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่าง
ๆ ก็จะส่งด้วยความต่างศักย์
230
kV (สองแสนสามหมื่นโวลต์)
เป็นหลัก
เว้นแต่บางเส้นทางที่มีการส่งที่ระดับความต่างศักย์สูงถึง
500
kV (ห้าแสนโวลต์)
ถ้าเป็นระยะทางที่ใกล้หน่อยก็จะใช้สายส่งที่ระดับความต่างศักย์
115
kV (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันโวลต์)
รูปที่ ๑ เสาของสายส่งขนาด 69 kV
รูปที่ ๑ เสาของสายส่งขนาด 69 kV
เคยเห็นบางโรงงานที่มีขนาดใหญ่ใช้ไฟฟ้ามาก
จะรับไฟฟ้าที่ระดับแรงดัน
115
kV เข้าโรงงาน
แล้วนำไปแปลงเป็นไฟแรงต่ำอีกที
ส่วนระบบจ่ายไฟฟ้านั้นยังมีระดับความต่างศักย์
69
kV (หกหมื่นเก้าพันโวลต์)
ที่เห็นกันได้ทั่วไปในตัวเมือง
ในบริเวณรอบ ๆ มหาวิทยาลัยของเราก็มี
เสาส่งของสาย 69
kV นี้จะมีความสูงที่ระดับดังแสดงในรูปที่
๑ ในพื้นที่ที่มีอาคารพาณิชย์อยู่ขนาดใหญ่หรืออยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก
ก็อาจรับไฟฟ้าที่ระดับ 69
kV นี้เข้ามาก่อน
แล้วค่อยแปลงไฟให้ลดระดับลงอีกที
จากระดับ
69
kVแล้วแปลงให้ลดต่ำลงมาเหลือเท่าใดนั้น
ตอนนี้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแล้ว
ถ้าเป็นการไฟฟ้านครหลวงก็จะแปลงเป็นระดับ
12
kV หรือ
24
kV (หนึ่งหมื่นสองพันโวลต์หรือสองหมื่นสี่พันโวลต์)
แต่ถ้าเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาพจะแปลงเป็นระดับ
22
kV (สองหมื่นสองพันโวลต์)
ยกเว้นบางจังหวัดเช่นระนองจะแปลงเป็น
33
kV (สามหมื่นสามพันโวลต์)
เหตุผลที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ความต่างศักย์ที่สูงกว่าเพราะผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่กระจายกันมากกว่า
ทำให้ต้องเดินสายส่งที่ยาวไกลกว่า
ดังนั้นถ้าใช้ความต่างศักย์ที่ต่ำก็จะทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้น
รูปที่ ๓ เสาของสายส่งก่อนลดระดับลงเหลือ 220V/380V ถ้าเป็นการไฟฟ้านครหลวงจะเป็นความต่างศักย์ 12kV หรือ 24 kV แต่ถ้าเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นความต่างศักย์ 22 kV หรือ 33 kV ในรูปนี้ (1) คือสายส่งที่มาจากการไฟฟ้านครหลวง จะมีฟิวส์ (ก) แยกระหว่างส่วนการไฟฟ้านครหลวงและส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า ผ่านฟิวส์ (ก) แล้วก็เป็นสายส่งด้านฝั่งผู้ใช้ไฟฟ้า (2) พอผู้ใช้ไฟฟ้ามีการดึงไฟจากสายส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ก็จะมีการติดตั้งฟิวส์ (ข) และ (ค) เอาไว้ด้วย
สายส่งขนาด
12/24
kV หรือ
22/33
kV ที่เห็นทั่วไปในกรุงเทพคือสายส่งที่มีอยู่
๓ เส้นที่พาดบนเสาริมที่มีแขนกางออกไปดังรูปที่
๓ เวลาจะจ่ายไฟเข้าบ้านเรือนก็จะต้องแปลงไฟให้เหลือ
220
V (แรงดันสาย
คือวัดเทียบกันดิน)
หรือ
380
V (แรงดันเฟส
คือวัดเทียบกันระหว่างเฟส)
โดยใช้หม้อแปลงที่เราเห็นแขวนอยู่ตามเสาไฟฟ้าต่าง
ๆ โดยอาจเป็นหม้อแปลงเฟสเดียวหรือหม้อแปลงสามเฟส
แต่ถ้าเป็นการเดินสายไฟยังบริเวณที่มีบ้านคนอยู่ไม่มาก
(เช่นตามหมู่บ้านหรือชุมชนต่าง
ๆ ในชนบท)
เขาก็อาจจะเดินสาย
12/24
kV หรือ
22/33
kV เข้าไปเพียงเฟสเดียวหรือสองเฟส
รูปที่ ๓ หน้าตาฟิวส์ที่ติดตั้งอยู่บนเสาที่แสดงในรูปที่ ๒ ภายในแท่งทางกระบอกที่มีลูกศรสีเหลืองชี้จะมีเส้นลวดฟิวส์อยู่ภายใน ถ้าเส้นลวดนี้ขาดแท่งทรงกระบอกก็จะตกลงดังรูปขวา หรือถ้าต้องการตัดไฟก็กระชากห่วงที่อยู่ด้านบนของแท่งทรงกระบอกให้แท่งฟิวส์แยกตัวออกมา ไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาจะเข้าทางด้านบน และออกทางด้านล่าง
รูปที่ ๓ หน้าตาฟิวส์ที่ติดตั้งอยู่บนเสาที่แสดงในรูปที่ ๒ ภายในแท่งทางกระบอกที่มีลูกศรสีเหลืองชี้จะมีเส้นลวดฟิวส์อยู่ภายใน ถ้าเส้นลวดนี้ขาดแท่งทรงกระบอกก็จะตกลงดังรูปขวา หรือถ้าต้องการตัดไฟก็กระชากห่วงที่อยู่ด้านบนของแท่งทรงกระบอกให้แท่งฟิวส์แยกตัวออกมา ไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาจะเข้าทางด้านบน และออกทางด้านล่าง
รูปที่
๓ เป็นหน้าตาของฟิวส์
(และยังทำหน้าที่เป็นสะพานไฟด้วย)
สำหรับระบบไฟ
12/24
kV หรือ
22/33
kV ฟิวส์ตัวนี้เรามักเห็นตรงจุดรอยต่อความรับผิดชอบระหว่างผู้ให้บริการ
(การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
กับผู้ซื้อไฟฟ้า
(เช่นมหาวิทยาลัยของเรา)
และยังเห็นได้ตามจุดที่ดึงไฟเข้าหม้อแปลงเพื่อแปลงเป็นไฟ
220/380
V ด้านบนจะเป็นจุดต่อเข้า
ด้านล่างจะเป็นจุดขาออก
ภายในท่อทรงกระบอกจะมีลวดฟิวส์อยู่
ถ้ามีการดึงกระแสเกินกว่าที่ฟิวส์จะรับไว้ได้
ฟิวส์ก็จะขาดและแท่งทรงกระบอกก็จะหลุดร่วงลงมา
หรือถ้าอยากจะตัดไฟก็สามารถใช้การเกี่ยวห่วงที่อยู่ด้านบนแล้วดึงลงมา
ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้แปลงไฟจาก
12/24
kV หรือ
22/33
kV ลงเหลือ
220/380
V กันบ้าง
ที่เคยเห็นก็เห็นมีอยู่ ๓
แบบคือ
แบบแรกคือหม้อแปลงที่บรรจุน้ำมัน
(พวกปิโตรเลียม)
เอาไว้ข้างใน
(รูปที่
๔ ๕ และ ๗)
น้ำมันนี้ทำหน้าที่ช่วยในการระบายความร้อนออกจากขดลวด
ป้องกันไม่ให้ขดลวดภายในหม้อแปลงเจอกับความชื้น
และยังทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
คือป้องกันการเกิดประกายไฟ
(spark)
กระโดดข้ามระหว่างจุดสองจุดที่มีความต่างศักย์ต่างกันมาก
ซึ่งถ้าระหว่างจุดสองจุดนี้เป็นอากาศคั่นกลางก็อาจเกิดประกายไฟกระโดดข้ามได้
แต่ถ้าเป็นน้ำมันคั่นกลางจะต้องใช้ความต่างศักย์ที่สูงขึ้นไปอีก
แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจนทำให้หม้อแปลงระเบิด
เราก็จะเห็นมีไฟไหม้ที่หม้อแปลงนี้ได้
ดังนั้นจึงมีข้อกำหนด
"ไม่ให้"
ติดตั้งหม้อแปลงชนิดใช้น้ำมันนี้ภายในอาคาร
ด้วยเหตุนี้หม้อแปลงชนิดนี้จึงเป็นแบบที่เราพบเห็นกันทั่วไปมากที่สุดที่เห็นติดตั้งอยู่ตามเสาไฟฟ้าหรือข้างอาคารต่าง
ๆ
ในบางอาคารนั้นไม่มีพื้นที่สำหรับตั้งหม้อแปลงข้างอาคาร
ก็จะทำการติดตั้งภายในอาคารหรือห้องใต้ถุนอาคารแทน
หม้อแปลงแบบที่สองนี้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง
เป็นแบบที่เรามักจะไม่ได้พบเห็นกัน
เพราะมันซ่อนอยู่ในอาคาร
หม้อแปลงแบบที่สามคือแบบที่บรรจุแก๊ส
SF6
(sulfur hexafluoride) เอาไว้ข้างใน
แก๊สตัวนี้มีความเป็นฉนวนที่สูงและไม่ติดไฟ
จึงสามารถใช้หม้อแปลงชนิดนี้ในอาคารได้
แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเท่าใดนัก
คงเป็นเพราะราคาที่สูงกว่าแบบอื่น
รูปที่ ๖ หม้อแปลงขนาด 1600 kVA ชนิดใช้แก๊ส SF6 ใช้สำหรับแปลงไฟ 12/24 kV ลงมาเป็น 240/416 V เนื่องจากออกแบบหม้อแปลงเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม แต่อัดแก๊ส SF6 ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศ ก็เลยต้องมีการเสริมความแข็งแรงด้วยปลอกเหล็กรัดรอบลำตัว ไม่งั้นลำตัวก็จะโป่งออก
รูปที่ ๗ หม้อแปลงแบบใช้น้ำมันขนาด 160 kVA ใช้สำหรับแปลงไฟ 33 kV ลงมาเป็น 230/400 V
ท้ายสุดต้องขอขอบพระคุณพี่ถาวร ที่ได้นำพาชมพื้นที่เก็บของและให้ความรู้ต่าง ๆ ที่นำมาเล่าสู่กันฟังใน Memoir ฉบับนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น