ในเมื่อยังมีอุปกรณ์ที่ถูกถอดออกมากองทิ้งไว้อีกหลายชนิด
ก็เลยถือโอกาสถ่ายรูปเอามาให้ดูกัน
วันนี้ก็ขอเริ่มจากอุปกรณ์วัดความดันที่มีชื่อว่า
"Differential
pressure transmitter"
ที่ทำหน้าที่วัดผลต่างค่าความดันระหว่างตำแหน่งสองตำแหน่งและส่งค่าที่วัดได้ออกในรูปของสัญญาณไฟฟ้า
ตัวที่สองคือ "Pressure
transmitter"
ที่เป็นอุปกรณ์วัดความดันและส่งค่าที่วัดได้ออกในรูปสัญญาณไฟฟ้าเช่นกัน
และตัวที่สามคือ "Thermocouple"
ที่ใช้วัดอุณหภูมิ
อุปกรณ์ ๓ ชิ้นนี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปใน
โรงกลั่นน้ำมัน
โรงงานอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี
แถมท้ายด้วยข้อต่อท่อและชื่อเรียกประแจ
รูปที่
๑ ตัวบนคือ differential
pressure transmitter ที่วัดผลต่างความดันระหว่างสองตำแหน่ง
จากนั้นจึงแปลงค่าผลต่างความดันนั้นเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งออกไป
อุปกรณ์ตัวนี้ใช้ในการวัดอัตราไหลของของไหลโดยคำนวณจากผลต่างความดันระหว่างตำแหน่งสองตำแหน่งบนเส้นทางการไหล
(เช่นความดันด้านหน้าและด้านหลังแผ่น
orifice
โดยผลต่างความดันจะเพิ่มขึ้นตามค่าอัตราการไหลที่สูงขึ้น
แต่มีข้อแม้ว่ารูของแผ่น
orifice
จะต้องไม่อุดตันนะ)
และวัดระดับของเหลวในถังความดัน
(โดยวัดความดันเหนือผิวของเหลวและที่ก้นถัง
ผลต่างความดันระหว่างสองตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับระดับความสูงและความหนาแน่นของของเหลวในถัง
ปัญหาการวัดระดับของเหลวที่ความหนาแน่นมีการเปลี่ยนแปลงนั้นเคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๔๓ วันพุธที่ ๒
พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "เมื่อระดับตัวทำละลายใน polymerisation reactor เพิ่มสูงขึ้น")
ส่วนตัวล่างคือ
pressure
transmitter (มีจอแสดงผลในตัว)
ที่วัดความดัน
ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
แล้วแปลงค่าความดันนั้นเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งออกไป
ท่อที่เห็นขดเป็นวงกลมก็เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวระบายความร้อน
เพื่อลดความร้อนของของไหลที่ทำการวัดความดันไม่ให้ทำความเสียหายต่อตัวอุปกรณ์
รูปที่
๒ ภาพด้านข้างของอุปกรณ์ในรูปที่
๑
รูปที่
๓ name
plate ของตัว
differential
pressure transmitter บอกว่าเป็นยี่ห้อ
Yamatake-Honeywell
(ญี่ปุ่นร่วมกับสหรัฐ)
สัญญาณขาออกเป็นสัญญาณไฟฟ้าในช่วง
4-20
mA ซึ่งเป็นช่วงสัญญาณมาตรฐานที่ครอบคลุมช่วง
0-100%
ของค่าที่วัดได้
ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์นั้นวัดความดันได้ในช่วงเท่าใด
เช่นสมมุติว่าวัดความดันได้ในช่วง
0-5
kg/cm2g ที่ความดัน
0
kg/cm2g ก็จะส่งสัญญาณออกไป
4
mA และที่ความดัน
5
kg/cm2g ก็จะส่งสัญญาณออกไป
20
mA
รูปที่
๔ name
plate ของตัว
pressure
transmitter ตัวนี้เป็นยี่ห้อ
CHINO
วัดความดันได้ในช่วง
0-10
kg/cm2g และส่งสัญญาณขาออกเป็นสัญญาณไฟฟ้า
4-20
mA เช่นกัน
โดยที่ความดัน 0
kg/cm2g ก็จะส่งสัญญาณออกไป
4
mA และที่ความดัน
10
kg/cm2g ก็จะส่งสัญญาณออกไป
20
mA ที่ต้องตั้งสัญญาณขาออกขั้นต่ำไม่ให้เป็น
0
mA ก็เพื่อจะได้รู้ว่าอุปกรณ์นั้นเสียหรือไม่
คือถ้าค่าที่วัดได้คือ 0
kg/cm2g และอุปกรณ์ยังทำหน้าที่ปรกติ
ต้องจะสัญญาณออกมา 4
mA) แต่ถ้าพบว่าสัญญาณขาออกมีค่าเป็น
0
mA แสดงว่าอุปกรณ์วัดมีปัญหา
รูปที่
๕ ตัวนี้เป็นเทอร์โมคัปเปิล
ขาที่เห็นด้านล่างเป็นด้านต่อสายสัญญาณ
ส่วนขาที่เห็นทางด้านขวาเป็นด้านสำหรับสอดขันเข้าไปในระบบเพื่อวัดอุณหภูมิ
รูปที่
๖
ภาพฝาปิดด้านบนที่ระบุว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้คือเทอร์โมคับเปิล
(thermocouple)
ชนิด
type
K
ที่ต้องระบุว่าเป็นเทอร์โมคับเปิลก็เพราะยังมีอุปกรณ์แบบอื่นที่หน้าตาคล้ายกันคือ
resistance
temperature detector หรือ
RTD
(ตัวที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือ
PT100
ที่อาศัยหลักการที่ว่าความต้านทานโลหะพลาทินัมจะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน)
และที่ต้องระบุว่าเป็นชนิด
type
K ก็เพราะคู่โลหะที่นำมาทำเป็นเทอร์โมคับเปิลมีหลายคู่
แต่ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดจะเป็น
type
K
รูปที่
๗ เปิดฝาอุปกรณ์ออกมาดูพบว่ามีขั้วต่อสายสัญญาณเรียบร้อย
พึงสังเกตว่าตรงขั้วต่อมีเครื่องหมาย
+
และ
-
ดังนั้นการต่อสายจึงต้องต่อให้ถูกขั้วด้วย
รูปที่
๘ ถอดแยกชิ้นส่วน ตัวบนคือ
thermowell
มีลักษณะเป็นท่อปลายตัน
เป็นส่วนที่สัมผัสกับของไหลโดยตรง
ที่เห็นเป็นสายไฟตัวล่างคือเทอร์โมคับเปิล
ปลายด้านที่เห็นไหม้ดำคือปลายด้านวัดอุณหภูมิ
รูปที่
๙ รูปนี้เป็นข้องอชนิด
butt
weld fitting (เชื่อมด้วยการต่อชน)
ขนาด
1/2
นิ้ว
(หรือท่อ
4
หุน)
ความหนา
schedule
no 10 (ที่เขียนย่อว่า
SCH
10) ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม
316L
ตัว
L
ที่ต่อท้ายตัวเลขหมายถึงมีปริมาณคาร์บอนต่ำ
ปรกติเหล็กกล้าไร้สนิมหรือที่เราเรียกว่าเหล็กสแตนเลสนั้นจะมีคาร์บอนผสมอยู่ในปริมาณหนึ่ง
ในขณะการเฃื่อมเหล็กด้วยความร้อนสูงนั้น
คาร์บอนในเนื้อโลหะจะไปดึงเอาโครเมียมออกมาให้อยู่ในรูปสารประกอบคาร์ไบด์
เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
carbide
precipitation
ทำให้โลหะตรงรอยเชื่อมนั้นสูญเสียความเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมไป
การใช้เหล็กกล้าไร้สนิมที่มีปริมาณคาร์บอนปนอยู่ต่ำก็เป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันปัญหาดังกล่าว
รูปที่
๑๐ แถมท้ายด้วยเครื่องมือช่างธรรมดาที่พักหลัง
ๆ พบว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนวิศวกรรมศาสตร์
(รวมทั้งผู้สอนส่วนหนึ่งด้วย)
เรียกชื่อภาษาไทยไม่ถูก
บอกชื่อภาษาอังกฤษไม่ได้
ตัวบนคือประแจเลื่อน
(adjustable
wrench) ส่วนตัวล่างคือประแจคอม้า
(pipe
wrench) หรือที่ช่างบางคนเรียกประแจแป๊ป
ตัวล่างเนี่ยถ้าเจออาจารย์วิศวใหม่
ๆ ไม่รู้จักหรือใช้ไม่เป็นก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับ
ความหนาแน่นของของไหลเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความถูกต้องของค่าที่วัดได้ของอุปกรณ์วัดอัตราการไหลของของไหล
แม้ว่าจะเป็นกรณีของการใช้
rotameter
ที่ใช้ลูกลอยก็ตาม
เพราะแรงลอยตัวที่ทำให้ลูกลอยลอยสูงเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของของไหลที่ไหลผ่านลูกลอยนั้น
ในกรณีของของเหลวนั้นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของของเหลวคืออุณหภูมิ
แต่ถ้าอุณหภูมิไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักก็จะไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าเป็นแก๊ส
จะมีเรื่องของความดันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ประสบการณ์หนึ่งที่เคยเจอในการใช้
rotameter
วัดอัตราการไหลของอากาศคือ
เมื่อ back
pressure ด้านปลายทางเพิ่มขึ้น
ลูกลอยของ rotameter
แสดงอัตราการไหลที่ต่ำลง
แม้ว่าตัวแหล่งจ่ายนั้นจะจ่ายออกมาคงที่
แต่เมื่อนำเอาค่าความดันแก๊สที่ไหลผ่านตัว
rotameter
ที่พบว่าเพิ่มขึ้นด้วยนั้นมาทำการปรับแก้
พบว่าเมื่อปรับค่ามาที่ความดันเดียวกันแล้วจะได้ค่าเดียวกัน
ในกรณีของการวัดระดับของเหลวในถังความดันบรรยากาศที่ใช้การวัดความดันที่ก้นถังเพียงตำแหน่งเดียวก็เคยพบปัญหาระดับของเหลวในถังมีการเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าจะไม่มีการถ่ายเทของเหลวเข้า-ออกถังก็ตาม
การตรวจสอบสาเหตุพบว่าเป็นเพราะถังดังกล่าวตั้งตากแดด
และมีการใช้ breather
valve ลดการรั่วไหลของไอของเหลว
(จุดเดือดต่ำกว่าน้ำ)
ออกจากถังและลดการรั่วไหลของอากาศภายนอกเข้ามาในถัง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อของเหลวในถังร้อนขึ้น
ความดันในถังจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าความดันบรรยากาศภายนอกจนถึงระดับหนึ่งก่อนที่
breather
valve จะเปิด
ทำให้เห็นระดับของเหลวเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกันเมื่อของเหลวในถังเย็นลง
ความดันในถังจะต้องลดต่ำลงจนต่ำกว่าความดันบรรยากาศระดับหนึ่งก่อน
breather
valve จึงจะเปิดให้อากาศภายนอกไหลเข้ามาในถังได้
และในกรณีของถังเก็บที่เป็น
drum
หรือ
vessel
ที่วางตั้ง
ก็ควรต้องทำความเข้าใจด้วยว่าระดับของเหลวที่เป็น
"ศูนย์"
นั้นอยู่ตรงไหน
เพราะปรากฏว่าเคยเจอนิยามของตำแหน่ง
"ศูยน์"
ว่าเป็นก้นถัง
และเป็นตรงตำแหน่งส่วนล่างสุดของลำตัวทรงกระบอก
(คือฝาก้นถังและหัวถังเป็นฝาโค้ง)
ในกรณีหลังนี้เมื่ออุปกรณ์บอกว่าระดับของเหลวในถังเป็นศูนย์
จะยังคงมีของเหลวเหลืออยู่ในถังในส่วนของฝาก้นถังที่อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์
เหตุผลหนึ่งที่ทำการติดตั้งรูปแบบหลังนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มสูบของเหลวออกจนแห้งหมดถัง
เพราะจะทำให้ปั๊มพังได้อันเป็นผลของการ
run
dry (ดูปัญหาเรื่องปั๊มหอยโข่ง
run
dry นี้เพิ่มเติมได้ใน
Memoir
ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๒๒๐ วันจันทร์ที่
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง "ผิดที่ Installation หรือ Operation")
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น