Deethanizer
secion จะรับผลิตภัณฑ์ก้นหอของหอ
demethanizer
โดยทำการกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ออกเป็น
๒ ส่วนหลัก คือผลิตภัณฑ์ยอดหอ
(overhead
product) ที่ประกอบด้วย
อีเทน เอทิลีน และอะเซทิลีน
(C2's)
และผลิตภัณฑ์ก้นหอ
(bottom
product) ที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอน
C3's
และที่หนักกว่า
ผลิตภัณฑ์ที่มาจากก้นหอ
demethanizer
ที่เป็นของเหลวนั้นจะถูกแยกออกเป็น
๒ ส่วน ส่วนแรกนั้นจะถูกป้อนเข้าสู่
tray
ที่
๒๒ ของหอ deethanizer
ส่วนที่สองถูกแบ่งไปเพื่อใช้ลดอุณหภูมิให้กับ
charge
gas ในขั้นตอนที่
๕ ของของระบบทำความเย็นหน่วยที่สอง
จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยัง
tray
ที่
๓๔ ของหอ deethanizer
สายป้อนที่เป็นของเหลวที่ป้อนเข้าไปในหอ
deethanizer
จะไหลลงด้านล่างของหอโดยสวนทางกับไอร้อนที่มาจากหม้อต้มซ้ำ
(reboiler)
ที่ก้นหอ
ความร้อนจากไอที่ระเหยขึ้นมาทำให้ไฮโดรคาร์บอน
C2
ระเหยออกจากของเหลวมาอยู่ในไอ
ทำให้ไอที่ลอยขึ้นสู่ยอดหอนั้นมีความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C2
เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ของเหลวที่ไหลลงสู่ก้นหอนั้นมีความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C2
ลดลด
หม้อต้มซ้ำที่ก้นหอ
deethanizer
ได้รับความร้อนจากไอน้ำความดันต่ำที่ควบคุมอัตราการไหลด้วยการใช้อุณหภูมิของ
tray
ที่
๓๘ เป็นตัวควบคุม
ถ้าหากอุณหภูมิที่ตำแหน่ง
tray
ที่
๓๘
ต่ำเกินไปแสดงว่าของเหลวที่ไหลลงสู่ก้นหอนั้นมีปริมาณไฮโดรคาร์บอน
C2
เพิ่มมากขึ้น
ก็จะทำการแก้ไขด้วยการเพิ่มอัตราการไหลของไอน้ำที่ป้อนให้กับหม้อต้มซ้ำ
ผลิตภัณฑ์ที่ออกทางก้นหอ
deethanizer
จะถูกส่งต่อไปยังหน่วย
depropanizer
เพื่อทำการแยกไฮโดรคาร์บอน
C3's
ออกจากไฮโดรคาร์บอนหนักที่เหลือ
ไอที่ไหลออกทางยอดหอ
deethanizer
จะถูกควบแน่นให้เป็นของเหลวส่วนหนึ่งด้วยการใช้
propylene
refrigerant ส่วนที่ยังเป็นไออยู่จะส่งตรงไปยังหน่วยกำจัดอะเซทิลีน
(acetylene
converter) ของเหลวที่ควบแน่นออกมาจะไหลไปรวมอยู่ใน
reflux
drum ของเหลวที่รวบรวมไว้ใน
reflux
drum จะถูกป้อนกลับไปยัง
tray
ที่
๑ ของหอ deethanizer
ด้วยการใช้
reflux
pump โดยมีบางส่วนถูกป้อนให้ไหลย้อนกลับไปยัง
reflux
drum
เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับปั๊มถ้าหากปริมาณของเหลวที่ส่งไปยัง
tray
ที่
๑ นั้นน้อยเกินไป (คือเป็น
minimum
flow line หรือ
kick
back line ของ
reflux
pump - ดูรูปที่
๑)
การควบคุมความดันของหอ
deethanizer
นั้นสัมพันธ์กับการทำงานและความปลอดภัยของหน่วย
acetylene
converter รายละเอียดตรงนี้จะไปกล่าวถึงโดยละเอียดในเรื่อง
acetylene
converter อีกที
ผลิตภัณฑ์ที่ควบแน่นได้ที่เครื่องควบแน่นยอดหอควรมีไฮโดรคาร์บอน
C3's
ปนอยู่ไม่เกิน
0.2
mol% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ก้นหอนั้นควรมีไฮโดรคาร์บอน
C2's
ละลายปนอยู่ไม่เกิน
0.85
mol%
ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว
จึงควรที่จะควบคุมสภาวะการทำงานของหอ
deethanizer
ไว้ดังนี้
อุณหภูมิที่
reflux
drum -16ºC
อุณหภูมิก้นหอ
deethanizer 73ºC
ความดันที่ก้นหอ
deethanizer 370
pisg
ความดันแตกต่าง
(differential
pressure) ระหว่างยอดหอและก้นหอ 8
psi
เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามสภาวะดังที่กล่าวมาข้างต้น
จึงควรที่ต้องเฝ้าตรวจและปรับแต่งพารามิเตอร์ต่าง
ๆ ดังนี้
(ก)
ถ้าความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C3's
ในผลิตภัณฑ์ยอดหอมีมากเกินไป
ในขณะที่ความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C2's
ในผลิตภัณฑ์ก้นหอยังเป็นไปตามข้อกำหนด
ให้เพิ่มอัตราการไหลของสาย
reflux
เพื่อลดปริมาณโดรคาร์บอน
C3's
ที่จะติดออกมากับผลิตภัณฑ์ยอดหอ
(ข)
ถ้าความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C2's
ในผลิตภัณฑ์ก้นหอมีมากเกินไป
ในขณะที่ความเข้มข้นไฮโดรคาร์บอน
C3's
ในผลิตภัณฑ์ยอดหอยังเป็นไปตามข้อกำหนด
ให้เพิ่มอัตราการการป้อนไอน้ำไปยังหม้อต้มซ้ำเพื่อลดปริมาณโดรคาร์บอน
C2's
ที่ละลายปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ก้นหอ
(ค)
ควรควบคุมความดันภายในหอกลั่นให้อยู่ใกล้เคียงกับ
370
psig ให้มากที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจากความดันนี้ไปสัมพันธ์กับการทำงานและความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยกำจัดอะเซทิลีน
(acetylene
converter) ที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป
(ง)
ผลต่างความดันระหว่างยอดหอและก้นหอบ่งบอกให้ทราบถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นภายในหอกลั่น
ค่าผลต่างความดันนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อหอกลั่นทำงานหนักมากขึ้น
(เช่นเมื่ออัตราการไหลของสายป้อนไหลเข้าหอกลั่นเพิ่มมากขึ้น)
และจะลดลงเมื่อหอกลั่นทำงานน้อยลง
(เช่นเมื่ออัตราการไหลของสายป้อนเข้าหอกลั่นลดต่ำลง)
ค่าผลต่างความดันที่สูงมากเกินไปแสดงว่าเกิดการท่วม
(flooding)
ในหอกลั่น
ซึ่งถ้าระดับของเหลวที่ก้นหอกลั่นมีค่าสูงในเวลาเดียวกัน
จะส่งผลให้มีไฮโดรคาร์บอน
C3's
หลุดออกไปกับผลิตภัณฑ์ยอดหอมากขึ้น
ในทางกลับกันถ้าค่าผลต่างความดันนี้มีค่าน้อยเกินไป
ร่วมกับระดับของเหลวที่ก้นหอกลั่นต่ำเกินไป
แสดงว่าระดับของเหลวบน tray
หอกลั่นนั้นต่ำเกินไป
ส่งผลให้มีไฮโดรคาร์บอน
C2's
คงค้างอยู่ในของเหลวที่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ก้นหอเพิ่มมากขึ้น
ในส่วนของหน่วย
deethanizer
คงจะจบลงเพียงแค่นี้
รูปที่
๑ แผนผังของหน่วย Deethanizer
section
รูปที่
๒ Processs
flow diagram ของหน่วย
Deethanizer
section แสดงส่วนของหอกลั่นแยก
C2's
ออกจากไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่า
รูปที่
๓ Processs
flow diagram ของหน่วย
Deethanizer
section แสดงส่วนของ
Acetylene
hydrogenation ที่รับเอาผลิตภัณฑ์ยอดหอของหอ
deethanizer
(ในรูปของไอ)
มากำจัดอะเซทิลีนด้วยการเติมไฮโดรเจน
(hydrogenation)
เพื่อเปลี่ยนอะเซทิลีนให้กลายเป็นเอทิลีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น