เรื่องนี้สาวน้อยหน้าบานถามผมเอาไว้เมื่ออาทิตย์หรือสองอาทิตย์ที่แล้ว
และผมก็ได้อธิบายเขาไปแล้ว
แต่เชื่อว่าคงจะจำได้ไม่หมด
แล้วเดี๋ยวสักพักคงจะมีคนมาถามอีก
ก็เลยคิดว่าเขียนเอาไว้เลยดีกว่า
เรื่องทั้งเรื่องก็คือสาวน้อยหน้าบานเขาสงสัยว่า
ถ้าเรามีเกลือสารประกอบโลหะ
V
W และ
Mo
อยู่บน
TiO2
(anatase) (ตัวนี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาตัวไหนพวกคุณก็รู้กันอยู่แล้ว)
และเมื่อเราเอาไปเผา
calcine
โลหะ
V
W และ
Mo
จะเกิดเป็นสารประกอบออกไซด์ของมันเอง
(สารประกอบออกไซด์ที่มีโลหะเพียงชนิดเดียว)
หรือเป็นสารประกอบออกไซด์ผสม
(สารประกอบออกไซด์ที่ประกอบด้วยโลหะตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป
รวมกันเป็นผลึกใหม่ที่มีระเบียบแน่นอน)
คำถามของเขาก็คือเราควรจะใช้วิธีการไหนในการวิเคราะห์เพื่อที่จะตอบคำถามในย่อหน้าข้างบน
ผมได้ตอบคำถามของเขาโดยอิงจากเครื่องมือ
๓ ชนิดที่เรามีอยู่ในแลปคือ
XRD
FT-IR และ
H2-TPR
ดังนั้นใน
Memoir
ฉบับนี้ก็จะขอสรุปคำตอบและคำอธิบายเพิ่มเติม
๑.
X-ray diffraction (XRD)
เนื่องจาก
"ผลึก"
แต่ละชนิดให้ตำแหน่งพีคการหักเหรังสีเอ็กซ์ที่แตกต่างกัน
เสมือนกับลายนิ้วมือของคนที่ไม่ซ้ำกัน
ดังนั้นถ้าผล XRD
แตกต่างกัน
เราก็จะบอกได้ว่าเป็นผลึกต่างชนิดกัน
ในกรณีที่เป็นผลึกออกไซด์สองชนิดผสมกันโดยไม่ได้เกิดโครงสร้างออกไซด์ตัวใหม่
เช่นถ้าเราเอาผลึก V2O5
มาผสมกับผลึก
MoO3
แล้วนำไปวิเคราะห์
XRD
ผลที่ได้ก็คือสัญญาณการหักเหจากผลึก
V2O5
ซ้อนทับกับสัญญาณการหักเหจากผลึก
V2O5
แต่ถ้า
V
และ
Mo
หลอมรวมกันเป็นผลึกออกไซด์ผสมตัวใหม่
VxMoyOz
เราก็ควรจะเห็นสัญญาณการหักเหที่ไม่ใช่ของผลึก
V2O5
และ
MoO3
ปรากฏขึ้น
เราจะเห็นการหักเหรังสีเอ็กซ์ก็ต่อเมื่ออะตอมหรือไอออนนั้นมีการเรียงตัวเป็นระเบียบ
"และ"
มีจำนวนชั้นเรียงซ้อนกันมากพอ
ที่ต้องย้ำตรงนี้ก็เพราะในกรณีของ
V2O5
นั้น
V2O5
สามารถที่จะเกิดอันตรกิริยาอย่างแรง
(strong
interaction) กับพื้นผิว
TiO2
ที่เป็นเฟส
anatase
ได้
กล่าวคือ V2O5
ที่เคลือบลงไปบนพื้นผิว
TiO2
(anatase) จะแผ่ปกคลุมเป็นชั้นเคลือบหนาเพียงชั้นเดียวหรือที่เรียกว่า
monolayer
บนพื้นผิว
TiO2
(anatase) ก่อน
(ปรากฏการณ์เปียกพื้นผิว)
V2O5 ที่ลงไปหลังจากที่พื้นผิว
TiO2
(anatase) ถูกปกคลุมด้วยชั้น
V2O5
เอาไว้จนหมดแล้วจะลงไปซ้อนทับชั้น
V2O5
ที่เคลือบไปก่อนหน้าและเริ่มก่อเป็นผลึก
V2O5
ขึ้นมา
(ดูรูปที่
๑ ประกอบ)
ูรูปที่
๑ (ซ้าย)
V2O5 ในปริมาณน้อยจะแผ่เป็นชั้น
monolayer
ไปบนพื้นผิว
TiO2
(anatase) ก่อน
(ขวา)
แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินกว่าจะปกคลุมพื้นผิวได้หมด
ก็จะเริ่มก่อเป็นผลึก V2O5
ขึ้น
ปรากฏการณ์นี้ไม่เกิดขึ้นเมื่อนำ
V2O5
ไปเคลือบบนพื้นผิว
support
ตัวอื่น
(เช่น
TiO2
(rutile) SiO2 Al2O3 เป็นต้น)
เหตุการณ์นี้เราเคยสังเกตพบเมื่อทดลองเคลือบ
V2O5
ลงไปบน
support
ต่าง
ๆ และนำไปวัด XRD
โดยพบว่าที่ปริมาณ
V2O5
ที่เติมลงไปเท่ากัน
เราตรวจพบสัญญาณการหักเหรังสีเอ็กซ์จากผลึก
V2O5
บน
support
ตัวอื่นทั้งที่มีปริมาณ
V2O5
ที่ต่ำกว่าที่มีอยู่บน
TiO2
(anatase)
ในการเปรียบเทียบนั้นเราจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลการหักเหรังสีเอ็กซ์ของผลึกชนิดต่าง
ๆ ในกรณีที่เราไม่มีนั้นเราอาจพอจะทำขึ้นเอง
เช่นในกรณีของออกไซด์ของ
V
Mo หรือ
W
เราอาจเอาเกลือของโลหะเหล่านี้มาเผาในอากาศ
โดยต้องเลือกเกลือที่สามารถเผาแล้วกลายเป็นสารประกอบออกไซด์ได้
(เช่นเกลือไนเทรต
เกลือของกรดอินทรีย์ ไฮดรอกไซด์
เป็นต้น)
โดยต้องเผาที่อุณหภูมิสูงมากพอและให้เวลานานพอ
จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์
XRD
๒.
Fourier-transform infrared
(FT-IR)
FT-IR
นั้นจะมองเห็นเพียงแค่พันธะระหว่างอะตอม/กลุ่มอะตอม
ไม่ได้บอกว่าพันธะที่เห็นนั้นเป็นของสารประกอบตัวใด
ในกรณีของโลหะออกไซด์นั้นเราสามารถใช้
FT-IR
ในการตรวจหาการมีอยู่ของพันธะ
M=O
(พันธะคู่ระหว่างออกซิเจนกับไอออนโลหะ)
หรือ
M1-O-M2
(โดยที่
M1
และ
M2
อาจเป็นโลหะชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน)
สัญญาณของพันธะ
M=O
นั้นผมคิดว่าเราคงไม่สามารถนำมาใช้ระบุการเกิดออกไซด์ผสมระหว่างโลหะสองชนิดได้
แต่ตัวพันธะ M1-O-M2
อาจใช้ระบุได้
(ถ้ามีการเกิดพันธะนี้เกิดขึ้น)
เพราะการสั่นของพันธธ
M1-O-M1
นั้นน่าจะแตกต่างไปจากการสั่นของพันธะ
M1-O-M2
ที่ผ่านมานั้นเราได้พบว่าในกรณีของV2O5
ที่เกิดเป็นชั้น
monolayer
บนพื้นผิว
TiO2
(anatase) นั้นไม่สามารถตรวจวัดการมีอยู่ด้วย
XRD
ได้
แต่สามารถตรวจวัดได้ด้วย
FT-IR
โดยตรวจพบการมีอยู่ของพันธะ
V=O
บนพื้นผิว
TiO2
(anatase)
๓.
Temperature programmed
reduction (H2-TPR)
ผู้ที่ทำวิจัยโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นโลหะนั้น
จะต้องทำการรีดิวซ์ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นในรูปของสารประกอบออกไซด์
(เลขออกซิเดชันของโลหะมีค่าเป็นบวก)
ให้กลายเป็นโลหะก่อน
(เลขออกซิเดชันของโลหะมีค่าเป็นศูนย์)
ความยากง่ายในการรีดิวซ์สารประกอบออกไซด์นั้นจะส่งผลต่อความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วย
ที่ภาวะกากรรีดิวซ์เดียวกัน
ถ้าสามารถรีดิวซ์สารประกอบออกไซด์ของโลหะนั้นได้ง่าย
(หรือรีดิวซ์โลหะออกไซด์ได้มาก)
ก็จะได้โลหะ
(เลขออกซิเดชันมีค่าเป็นศูนย์)
มาก
ความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาก็จะสูง
แต่ถ้ารีดิวซ์สารประกอบออกไซด์ของโลหะนั้นได้ยาก
(หรือรีดิวซ์โลหะออกไซด์ได้น้อย)
ก็จะได้โลหะในปริมาณน้อย
ความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาก็จะต่ำ
แก๊สที่นิยมใช้ในการรีดิวซ์คือแก๊สไฮโดรเจน
จึงทำให้มักเรียกเทคนิคนี้ว่า
H2-TPR
ถ้าเราจะนำเอาเทคนิคนี้มาใช้ในการวิเคราะห์ว่าออกไซด์ที่เราเตรียมได้นั้นเป็นออกไซด์ชนิดไหน
เราคงต้องเตรียมออกไซด์ของโลหะแต่ละชนิดขึ้นมาก่อน
จากนั้นจึงนำออกไซด์ของโลหะแต่ละชนิดนั้นไปทำ
H2-TPR
ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าการรีดิวซ์ออกไซด์ของโลหะแต่ละชนิดนั้นต้องใช้อุณหภูมิเท่าใด
จากนั้นจึงนำตัวเร่งปฏิกิริยาที่ประกอบด้วยออกไซด์ของโลหะสองชนิด
(หรือมากกว่า)
นั้นไปวิเคราะห์ด้วย
H2-TPR
ถ้าพบว่ามีการรีดิวซ์ออกไซด์เกิดขึ้นตามอุณหภูมิการรีดิวซ์ออกไซด์แต่ละชนิด
เราก็พอจะสรุปได้ว่าสารประกอบออกไซด์ของโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาของเรานั้นต่างเป็นสารประกอบออกไซด์ของโลหะแต่ละตัว
ไม่ได้รวมกันเป็นออกไซด์ผสมตัวใหม่
กล่าวคือสมมุติว่าเรานำออกไซด์ของโลหะ
X
ไปวัด
H2-TPR
และพบว่ามันถูกรีดิวซ์ที่อุณหภูมิ
300 C
และนำออกไซด์ของโลหะ
Z
ไปวัด
H2-TPR
และพบว่ามันถูกรีดิวซ์ที่อุณหภูมิ
450 C
ถ้าเรานำตัวเร่งปฏิกิริยาของเราที่รู้แต่ว่าเป็นออกไซด์ของโลหะ
X
และ
Z
ผสมกันอยู่นั้นไปวัด
H2-TPR
และพบว่ามีการรีดิวซ์เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ
300 C
และ
450 C
นั้นแสดงว่าโลหะ
X
นั้นก็อยู่ในรูปออกไซด์ของโลหะ
X
นั้นเอง
และโลหะ Z
นั้นก็อยู่ในรูปออกไซด์ของโลหะ
Z
นั้นเอง
แต่ถ้าเราพบว่ามีการรีดิวซ์เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ
400 C
นั่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าน่าจะมีโครงสร้างออกไซด์ตัวใหม่เกิดขึ้นที่ไม่ใช่ออกไซด์ของโลหะ
X
และ
Z
ตัวเดียวกับที่เราทดสอบในย่อหน้าก่อนหน้า
แต่การใช้การวัด
H2-TPR
เพื่อระบุชนิดสารประกอบออกไซด์นี้จะใช้ไม่ได้ถ้าหากมีอันตรกิริยา
(interaction)
เกิดขึ้นระหว่าง
support
และออกไซด์ที่เคลือบลงไปบน
support
นั้น
เพราะอันตรกิริยาระหว่าง
support
และโลหะออกไซด์ที่เราเติมเข้าไปนั้นสามารถทำให้อุณหภูมิในการรีดิวซ์โลหะออกไซด์ที่เคลือบอยู่บน
support
นั้นแตกต่างไปจากการรีดิวซ์โลหะออกไซด์ตัวนั้นเดี่ยว
ๆ ได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้พบได้กับออกไซด์หลายชนิด
ซึ่งพบว่าถ้านำโลหะออกไซด์ของโลหะชนิดเดียวกันไปเคลือบลงบน
support
ที่แตกต่างกันจะใช้อุณหภูมิในการรีดิวซ์ที่แตกต่างกัน
แต่ทั้งนี้จะต้องมั่นใจว่าความแตกต่างที่เห็นนั้นไม่ได้เกิดจากการมีความแตกต่างของการอัตราการแพร่ของไฮโดรเจนเข้าไปในรูพรุนของ
support
อีกปัญหาที่พบเห็นในแลปเราในการวัด
H2-TPR
คือ
base
line ของผลการวัดที่ได้จะมีการเลื่อนตัวตามการเปลี่ยนอุณหภูมิ
ทั้งนี้เพราะเครื่องที่แลปเราใช้นั้นใช้
TCD
(Thermal Conductivity Detector) ในการตรวจวัด
ซึ่งตัวตรวจวัดดังกล่าวไวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลและการเปลี่ยนอุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่าน
กล่าวคือให้สัญญาณที่เหมือนพีคได้เมื่อแก๊สที่ไหลผ่านนั้นมีอัตราการไหลหรืออุณหภูมิเปลี่ยนไป
โดยที่องค์ประกอบของแก๊สนั้นไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
(มีปัญหาเรื่อง
base
line เช่นเดียวกับการวัด
NH3-TPD)