Memoir
ฉบับนี้เป็นตอนต่อเนื่องจากฉบับปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๕๖ วันอาทิตย์ที่
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"ChemiSorb
2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว
BET"
เนื้อหาใน
Memoir
ฉบับนี้บางส่วนไม่นำลง
blog
ใน
Memoir
ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงวิธีการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์
ฉบับนี้จะกล่าวถึงการ
"สอบเทียบ"
หรือที่เราชอบเรียกว่า
"calibrate"
ก่อนทำการวิเคราะห์
เครื่อง
ChemiSorb
2750 นั้นใช้ตัวตรวจวัดชนิด
Thermal
Conductivity Detector (TCD)
ซึ่งตัวตรวจวัดชนิดนี้มันไวต่อการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อมิอะไรหลายต่อหลายอย่างที่ทำให้ความสามารถในการระบายความร้อนจากขดลวดนั้นเปลี่ยนไป
ไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบของแก๊ส
อัตราการไหล หรืออุณหภูมิแก๊ส
(อุณหภูมิ
carrier
gas ที่เราใช้กับเครื่องนี้มันเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิห้อง)
ดังนั้นก่อนการวัดจึงควรที่ต้องทำการสอบเทียบก่อนว่า
TCD
นั้นส่งสัญญาณด้วยความแรงเท่าใดออกมา
ในคู่มือเครื่องหน้า
3-15
(เลข
1
ในกรอบสีแดง)
กล่าวไว้เลยว่าตัวเครื่องควรได้รับการสอบเทียบทุกครั้งสำหรับการวิเคราะห์เป็นช่วงเวลา
"8
ชั่วโมง"
การสอบเทียบนั้นกระทำโดยการฉีดแก๊ส
N2
100% จำนวน
1
ml เข้าไปในตัวเครื่อง
ถ้าหากใช้แก๊สผสมระหว่าง
แก๊ส N2
30% กับแก๊ส
He
70% เป็นแก๊สที่ใช้ในการพื้นที่ผิว
Single
point BET แก๊ส
N2
100% จำนวน
1
ml ที่ความดัน
760
mmHg อุณหภูมิ
22ºC
จะเทียบเท่ากับปริมาณแก๊สที่คายออกมาจากพื้นที่ผิว
2.84
m2 (เลข
2
ในกรอบสีเขียว)
ดังนั้นก่อนการวิเคราะห์ทุกครั้ง
(หรือก่อนการวิเคราะห์ในแต่ละวัน)
ควรต้องทำการสอบเทียบเครื่องก่อนด้วยการฉีดแก๊ส
N2
100% จำนวน
1
ml เข้าไปในเครื่อง
แล้วปรับให้เครื่องแสดงผลพื้นที่ผิวเป็น
2.84
m2 ก่อน
ซึ่งถ้าทำเช่นนี้แล้วเมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จก็จะสามารถคำนวณหาพื้นที่ผิว
(m2/g)
ได้จากการเอาตัวเลขที่เครื่องแสดงหน้าจอหารด้วยน้ำหนักตัวอย่างตามที่กล่าวไว้ในคู่มือหน้า
3-22
ได้เลย
(เลข
6
ในกรอบสีแดง)
แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะไม่มีการสอบเทียบดังกล่าว
ในคู่มือฉบับภาษาไทยที่ใช้กันอยู่นั้นก็ไม่มีการกล่าวถึงขั้นตอนการสอบเทียบนี้
แถมยังมีคนเอาสติ๊กเกอร์ไปแปะไว้ที่ปุ่ม
calibrate
ว่า
"ห้ามปรับ"
เสียด้วย
(รูปที่
๑)
ในช่วงบ่ายวันนี้ทางกลุ่มของเรา
(ประกอบด้วย
ผม สาวน้อยเมืองสิงห์บุรี
และสาวน้อยเมืองชลบุรี)
ก็เลยไปทดลองสอบเทียบความแรงของสัญญาณที่
TCD
วัดได้เมื่อทำการฉีดแก๊ส
N2
100% จำนวน
1
ml วิธีการก็กระทำการที่กล่าวไว้ในคู่มือตั้งแต่หน้า
3-15
ไปจนถึง
3-19
โดยเลือกใช้เส้นทาง
Short
path (ตั้งที่ปุ่ม
Delay
ดูหัวข้อ
4
หน้า
3-16)
ในขั้นตอนการฉีด
N2
นั้นจำเป็นต้องมีการปรับความดันในเข็มก่อนฉีด
วิธีการปรับความดันได้กล่าวไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๖ วันพุธที่ ๒๗
มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง "การใช้
syringe
ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส"
เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์แต่ละครั้งนั้นก็ตกประมาณ
3-5
นาทีตามที่คู่มือบอกไว้
(หน้า
3-19
เลข
3
ในกรอบสีแดง)
ก็จะได้เลขพื้นที่ผิวออกมา
รูปที่
๑ ด้านหน้าของเครื่อง TPx
1 ที่กลุ่มเราจะใช้วัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET
ถ้าว่าการตามคู่มือ
(หน้า
3-20
เลข
5
ในกรอบสีแดง)
พอได้เลขพื้นที่ผิวจากการฉีดแก๊ส
N2 30% ใน He จำนวน
1
ml แล้วก็ให้ใช้ปุ่ม
calibrate
ปรับให้ตัวเลขเป็น
2.84
ซึ่งหมายถึง
2.84
m2 ซึ่งถ้าเราทำตามขั้นตอนนี้
พอเราวัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET โดยทำตามคู่มือบอก
เมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จก็จะสามารถเอาตัวเลขที่เครื่องแสดงมาหารด้วยน้ำหนักตัวอย่างที่ใช้
ก็จะได้ค่าพื้นที่ผิว (m2/g)
ของตัวอย่างได้เลย
(คู่มือหน้า
3-22
เลข
6
ในกรอบสีแดง)
แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าไม่มีใครใส่ใจจะทำการสอบเทียบก่อนการวัด
(ดูเหมือนว่าจะไม่มีการทำมาหลายปีแล้วด้วย
คิดว่าอย่างน้อยก็ 3
ปี)
ดังนั้นตั้งแต่นี้ต่อไปเนื่องจากทางกลุ่มเราจำเป็นต้องมาใช้เครื่องดังกล่าวในการวัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET ก็ขอให้ทุกคนทำการสอบเทียบเครื่อง
ChemiSorb
2750 ตามวิธีการที่กล่าวไว้ในคู่มือเครื่อง
(ฉบับภาษาอังกฤษตัวแต่หน้า
3-15
ไปจนถึงหน้า
3-20
ซึ่งผมได้สแกนแนบมากับ
Memoir
ฉบับนี้แล้วด้วย)
อย่างน้อยทุกวันที่ทำการวิเคราะห์ตัวอย่าง
สำหรับสมาชิกกลุ่ม เนื้อหาส่วนต่อจากนี้ให้ไปอ่านในไฟล์ .pdf ต้นฉบับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น