ชาวยุโรปเป็นพวกที่ชอบบันทึกเหตุการณ์
ทำให้บ่อยครั้งหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปรกติที่เหตุการณ์ต่าง
ๆ
ที่เกิดขึ้นในบ้านเราในอดีตต้องไปหาอ่านจากบันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในสมัยนั้น
ในการอ่านสิ่งที่ชาวต่างชาติเขียนนั้น
ต้องแยกเป็นสิ่งที่เขาเห็นหรือสัมผัสจริง
สิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังมาจากคนอื่นหรือผู้อื่นที่อยู่ในเหตุการณ์
และสิ่งที่เขาสรุปเอาโดยใช้ภูมิหลังทางสังคมของเขาเอง
Memoir
ฉบับนี้เลยขอย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
และมีการนำเอาสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนต์
ซึ่งก็ต้องขอบอกก่อนว่าเนื้อหาในภาพยนต์นั้นไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักสถานที่ดังกล่าว
ซึ่งก็คือสะพานข้ามแม่น้ำแควที่เคยได้เล่าไปแล้ว
คราวก่อนนั้นเป็นเรื่องของการสร้าง
(Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๔๔ วันศุกร์ที่
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่
๑๗ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแควมีสองสะพาน)
คราวนี้เป็นเรื่องของการทำลายดูบ้าง
รูปที่
๑ หนังสือเรื่อง "Burma
Road" เขียนโดย
Donovan
Webster และแผนที่เส้นทาง
Burma
Road (ในกรอบสีน้ำเงิน)
อันที่จริง
Burma
Road มี
๒ ส่วนคือส่วนจากเมือง Ledo
ในอินเดียมาจนถึงพรมแดนจีนในพม่าจะชื่อ
Ledo
Road และส่วนจากพรมแดนพม่าเข้าไปในจีนจะเรียก
Burma
Road
(รูปแผนที่เอามาจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Burma_and_Ledo_Road_1944_-_1945.jpg
ผมไปได้หนังสือเล่มข้างบนจากร้านหนังสือลดราคาที่อยู่ชั้นใต้ดินอาคารจัตุรัสจามจุรี
หลังจากอ่านประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่
๒
ภาคพื้นยุโรปตะวันออกมาหลายเล่มแล้วก็เลยลองเปลี่ยนมาอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมรภูมิที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงเท่าไรนัก
แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาก
นั่นก็คือสมรภูมิในพม่า
เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปบุกมาเลเซียและพม่าของอังกฤษนั้น
สงครามทางด้านมาเลเซียจบลงอย่างรวดเร็วเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยึดสิงคโปร์ได้
ส่วนสงครามในประเทศพม่านั้นยังยืดเยื้ออยู่เพราะกองทัพอังกฤษหลบหนีเข้าไปในเขตอินเดีย
ทำให้บริเวณป่าดงดิบบริเวณชายแดนระหว่างพม่ากับอินเดียนั้นเป็นบริเวณที่อาจเรียกได้ว่าไม่มีกองกำลังฝ่ายใดมีอำนาจยึดครองเต็มที่
สหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมรบกับอังกฤษเพื่อทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นมองไม่เห็นเหตุผลใดที่จะช่วยอังกฤษรบเอาชนะญี่ปุ่นเพื่อให้อังกฤษได้พม่าที่เป็น
"ประเทศเมืองขึ้น"
ของอังกฤษกลับไปปกครองเหมือนเดิม
เพราะจะว่าไปการกระทำของอังกฤษที่ส่งกองทัพเข้ายึดครองประเทศต่าง
ๆ
ก็ไม่ต่างอะไรกับกองทัพของฮิตเลอร์ที่ส่งกองทัพเข้ายึดครองประเทศต่าง
ๆ ในยุโรปเช่นเดียวกัน
แต่อเมริกาก็ยังจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นเข้าครอบครองพม่าเอาไว้ทั้งหมด
สาเหตุก็เพราะ ........
อันที่จริงสงครามโลกครั้งที่สองด้านเอเซียอาจเรียกได้ว่าเกิดก่อนทางยุโรปถึง
๘ ปี คือเริ่มจากการที่กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศจีนในปีค.ศ.
๑๙๓๑
(พ.ศ.
๒๔๗๔)
และเริ่มขยายอาณาเขตในประเทศจีนออกไปเรื่อย
ๆ
ผลการกระทำดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นเกิดความขัดแย้งทางการฑูตกับมหาอำนาจตะวันตกที่เคยมีบทบาทอยู่เดิมในย่านเอเซียตะวันออกว่าญี่ปุ่นจะเข้ามามีบทบาทแทน
จนนำไปสู่การปิดกั้นทางเศรษฐกิจ
ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การส่งกองเรือไปโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาเบอร์ในเดือนธันวาคมปีค.ศ.
๑๙๔๑
(พ.ศ.
๒๔๘๔)
พร้อม
ๆ กับการส่งกำลังเข้ายึดดินแดนต่าง
ๆ ทางเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ในปีค.ศ.
๑๙๔๑
นี้
ผู้แสดงนำของสงครามโลกครั้งที่สองถ้าเป็นภาพพื้นยุโรปก็มีการเปลี่ยนผู้แสดงหลักจากระหว่างเยอรมันกับอังกฤษเป็นระหว่างเยอรมันกับสหภาพโซเวียตแทน
(เมื่อเยอรมันบุกรัสเซียในเดือนมิถุนายนในยุทธการ
Barbarossa)
และด้านภาพพื้นเอเซียก็มีการเปลี่ยนจากญี่ปุ่นกับจีนเป็นญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาแทน
ในการรบกับญี่ปุ่นนั้น
สหรัฐอเมริการู้ดีว่าสงครามจะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อกองทัพสหรัฐฯ
สามารถยกพลขึ้นบกได้ที่ประเทศญี่ปุ่น
แต่การจะยกพลขึ้นบกได้นั้นจำเป็นต้องมีฐานที่มั่นที่อยู่ใกล้กับเกาะญี่ปุ่นก่อน
ซึ่งก็มีทางเลือกอยู่ ๒
แนวทางคือ ผ่านทางเกาะต่าง
ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
หรือไม่ก็ใช้จีนแผ่นดินใหญ่เป็นฐาน
ในช่วงแรกนั้นเมื่อยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะเลือกเส้นทางใด
สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นบนแผ่นดินใหญ่จึงมีความสำคัญต่อการทำสงครามของสหรัฐอเมริกา
เพราะตราบเท่าที่จีนอยู่ในสงคราม
กองทัพญี่ปุ่นก็ต้องคงกองกำลังจำนวนมากเอาไว้ในจีน
ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกองกำลังเหล่านี้ไปรบกับสหรัฐอเมริกาในสมรภูมิภาคพื้นแปซิฟิก
และถ้าหากกองทัพจีนสามารถเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นได้
สหรัฐอเมริกาก็จะสามารถใช้จีนแผ่นดินใหญ่เป็นฐานเพื่อบุกประเทศญี่ปุ่นได้
เพื่อให้กองทัพจีนสามารถยันกองทัพญี่ปุ่นเอาไว้ได้
จึงจำเป็นต้องมีการลำเลียงยุทโธปกรณ์ต่าง
ๆ ไปให้จีนโดยใช้ฐานที่มั่นของอังกฤษในอินเดีย
ขนส่งทางเครื่องบินบินข้ามภูเขาหิมาลัย
ซึ่งเรียกว่าแทบจะเกินความสามารถของเครื่องบินในยุคนั้น
(นักบินพวกนี้เรียกตัวเองว่า
Hump
pilot) อีกแนวความคิดหนึ่งก็คือการสร้างถนนจากอินเดีย
ตัดผ่านบริเวณภูเขาตอนเหนือของประเทศพม่า
และเข้าไปยังจีนตอนใต้
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม
"Burma
Road"
(ตอนนั้นญี่ปุ่นยึดเมืองท่าต่าง
ๆ
ของจีนและแนวฝั่งทะเลจากญี่ปุ่นลงมาถึงอินโดนีเซียก็ถูกญี่ปุ่นคุมเอาไว้หมด
เส้นทางไปอินเดียจากสหรัฐต้องเริ่มจากสหรัฐอเมริกา
ลงไปทางอเมริกาใต้
แล้วจึงเข้าแอฟริกา
จากนั้นจึงมายังตะวันออกกลางและเข้าสู่อินเดียอีกที)
ถึงแม้ว่าในช่วงถัดมาทางสหรัฐอเมริกาจะตัดสินใจเลือกว่าจะบุกประเทศญี่ปุ่นโดยการเข้ายึดเกาะต่าง
ๆ ที่อยู่รอบประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นสำหรับยกพลขึ้นบก
(น่าจะเป็นเพราะทนไม่ไหวกับการคอรัปชั่นของผู้นำทัพจีน
เพราะไม่ยอมส่งสิ่งของให้ลูกน้องสู้รบ
ด้วยกลัวว่าลูกน้องจะมีกำลังเหนือตน)
แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องคงความสามารถของกองทัพจีนให้รบกับกองทัพญี่ปุ่นได้เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายกองกำลังในจีนไปรบกับสหรัฐ
ในขณะเดียวกันกองทัพสหรัฐอเมริการ่วมกับกองทัพจีนก็ช่วยกันกดดันกองทัพญี่ปุ่นลงมาจากทางเหนือของประเทศพม่า
ในขณะที่กองทัพอังกฤษซึ่งใช้ทหารอินเดียเป็นหลักก็กดดันกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า
บรรยากาศการถอยหนีของกองทัพญี่ปุ่นนั้นเรียกว่าสยดสยองมาก
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก็จะถูกปล่อยทิ้งเอาไว้หรือไม่ก็ฉีดยาให้ตายเพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเชลย
หรือไม่ก็ได้รับแจกลูกระเบิดมือเพื่อให้ฆ่าตัวตาย
(วิธีที่นิยมทำกันคือนั่งกอดคอหรือล้อมวงกันแล้วดึงสลักลูกระเบิดที่ถือเอาไว้กลางวง)
ในขณะเดียวกันก็มีการตัดการส่งกำลังบำรุงของกองทัพญี่ปุ่นด้วยการทิ้งระเบิดทำลายสะพานข้ามแม่น้ำต่าง
ๆ ในประเทศพม่า
รวมถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นไม่มีสินแร่เหล็กที่เป็นวัตถุดิบ
ในการสร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำแควนั้นจึงต้องใช้วิธีรื้อเอารางและโครงสร้างเหล็กจากเส้นทางรถไฟที่ไม่ใช้ประโยชน์หรือเห็นว่าไม่ประโยชน์สำหรับทางทหารมาใช้
ในการทิ้งระเบิดถล่มสะพานข้ามแม่น้ำแควนั้นทางกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาใช้วิธีบินจากฐานทัพในอินเดีย
เลียบตามชายฝั่งทะเล
(หลบปืนต่อสู้อากาศยาน)
เพื่อมาทิ้งระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำแคว
จากนั้นก็บินกลับ
สะพานข้ามแม่น้ำแควคงจะถูกทิ้งระเบิดทำลายหลายครั้ง
ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่ากี่ครั้ง
แต่เมื่อถูกทำลายลงไปก็ถูกซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมทุกครั้ง
จนกระทั่งครั้งสุดท้ายในวันจันทร์ที่
๒ เมษายนปีค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
ที่เครื่องบินทิ้งระเบิด
B-24
บินโดยนักบินอายุ
๒๐ ต้น ๆ ชื่อ Charles
F. Linamen นำเครื่องบินทิ้งระเบิดสะพานเหล็กขาดไปสองช่วงสะพาน
ซึ่งทำให้สะพานเหล็กต้องปิดการถาวรอย่างสิ้นเชิงเพราะญี่ปุ่นไม่มีเหล็กที่จะนำมาซ่อมสะพาน
(ดูมุมบนซ้ายหน้า
302
ของหนังสือ)
แต่ก็ยังมีสะพานไม้ที่อยู่ห่างออกจากสะพานเหล็กไปเพียง
๑๐๐ เมตรยังคงอยู่
ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นในวันอังคารที่
๓ เมษายนปีค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
ด้วยเครื่องบินลำเดิมและนักบินชุดเดิมก็ได้รับหน้าที่ให้กลับไปทำลายสะพานไม้อีก
ตามแผนการนั้นจะมีการบินวนทิ้งระเบิดหลายรอบ
โชคดีที่การบินวนทิ้งในรอบแรกนั้นลูกระเบิดลงเป้าหมายพอดี
(ในหนังสือบอกว่าเข้าตรงกลางเป้า
คือระหว่างกลางรางรถไฟสองรางบนสะพาน)
ทำให้สะพานไม้ใช้งานไม่ได้ไปอีกสะพาน
(ดูมุมล่างซ้ายหน้า
303
ของหนังสือ)
การบินวนทิ้งในรอบที่สองและสามนั้นไม่เข้าเป้าหมาย
แถมเครื่องบินถูกยิงได้รับความเสียหายในการวนรอบที่สามเสียอีก
ความเสียหายดังกล่าวทำให้เครื่องบินไม่สามารถบินกลับฐานได้
ต้องร่อนลงฉุกเฉิน
แต่ก็โชคดีที่เป็นการร่อนลงในเขตที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพอังกฤษ
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสแวะไปที่ร้านหนังสือดังกล่าว
ปรากฏว่าหนังสือเล่มนี้ที่เคยเห็นวางขายเอาไว้หลายเล่มกลับไม่มีเหลือแล้ว
ก็เลยถือโอกาสสแกนเอาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เล่ามาข้างต้นมาให้อ่านกันเล่น
ๆ เป็นตัวอย่าง
เกรงว่าถ้าทำมากกว่านี้จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ไป
รูปที่
๒ ประวัติของนักบินเล่าไว้ในหน้าที่
299
รูปที่
๓ ในหน้า 301
กล่าวถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควที่เป็นสะพานไม้และสะพานเหล็กทั้งสองสะพาน
รูปที่
๔ เหตุการณ์ช่วงทิ้งระเบิดสะพานเหล็ก
(หน้า
302)
และทิ้งระเบิดสะพานไม้
(หน้า
303)