สมาชิกใหม่กลุ่มเราบางคนอาจจะแปลกใจว่าทำไมเวลาที่กลุ่มเราวิเคราะห์ผลด้วยเครื่อง
GC
ผมมักจะย้ำให้ทำการบันทึกข้อมูลโครมาโทแกรมลงแผ่นดิสก์เอาไว้เสมอ
และบ่อยครั้งที่จะพบว่ากลุ่มเราจะนำเอาโครมาโทแกรมที่ได้นั้นมาทำการวิเคราะห์เพื่อคำนวณพื้นที่พีคที่ได้
แทนที่จะอ่านค่าตัวเลขที่เครื่อง
integrator
คำนวณให้หรืออ่านจากโปรแกรมที่มากับคอมพิวเตอร์ตัวที่ควบคุม
GC
เหตุผลก็คือจากประสบการณ์ของกลุ่มเรานั้น
ค่าตัวเลขพื้นที่พีคที่เครื่อง
integrator
หรือโปรแกรมที่มากับตัวเครื่องคำนวณให้นั้นมันจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อ
(ก)
เส้น
base
line นั้นไม่มีปัญหา
เช่นอยู่ต่ำเกินไป
หรือพีคอยู่บริเวณที่เส้น
base
line มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ราบเรียบ
(ข)
พีคออกมาปรกติ
ไม่มีรูปร่างหัวตัด
ซึ่งพีคหัวตัดนี้เกิดจากการที่ขนาดตัวอย่างที่ฉีดเข้าไปนั้นมากเกินกว่าที่
detector
จะวัดได้
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ detector
อิ่มตัวนั่นเอง
และ
(ค)
พีคไม่มีการเหลื่อมซ้อน
ในบันทึกฉบับนี้จะขอยกตัวอย่างปัญหาพีคเหลื่อมซ้อน
โดยจะมาดูกันว่าโปรแกรมที่มากับตัวเครื่อง
GC
นั้นมันแบ่งพีคอย่างไร
ทำไมมันจึงไม่เหมาะสม
รูปที่
๑
ภาพโดยรวมของโครมาโทแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างหนึ่งด้วย
capillary
column เส้นสีม่วงคือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคอลัมน์
โครมาโทแกรมที่นำมาแสดงในรูปที่
๑ และภาพขยายในรูปที่ ๒
ผมไปเอามาจากเครื่อง GC
เครื่องหนึ่ง
ผมเห็นช่างเขามาทำการติดตั้งและสอนการใช้งาน
ทั้งวิธีการใช้เครื่องและการประมวลผล
อันที่จริงซอร์ฟแวร์ที่เขาใช้ก็เป็นตัวเดียวกันกับซอร์ฟแวร์ที่กลุ่มเราใช้ในการควบคุมเครื่อง
GC-2014
FPD และ
GC-2014
ECD & PDD
แต่โครมาโทแกรมตัวอย่างที่เอามาให้ดูนั้นมันมีอะไรหลายต่อหลายอย่างให้ดูในกราฟรูปเดียว
ถ้าทำการวิเคราะห์ที่อุณหภูมิคอลัมน์คงที่
รูปร่างของพีคที่เราจะเห็นคือด้านขาขึ้นของพีคนั้นจะชันกว่าด้านขาลง
(เห็นได้ชัดในกรณีของ
packed
column แต่ในกรณีของ
capillary
column จะดูยาก
ถ้าสังเกตตำแหน่งที่พีคกลับมายัง
base
line จะดูง่ายกว่า)
ถ้าพีคที่ได้มีลักษณะที่ด้านขาขึ้นมีความชันน้อยกว่าด้านขาลง
เป็นไปได้ว่าขนาดของตัวอย่างมากเกินกว่าที่คอลัมน์จะรับได้
(คอลัมน์ท่วม)
โครมาโทแกรมที่เอามาให้ดูนั้นสัญญาณพีคด้านขาขึ้นมีความชันน้อยกว่าสัญญาณด้านขาลงอยู่เล็กน้อย
(ดูยากอยู่เหมือนกัน)
สาเหตุเป็นเพราะมีการเพิ่มอุณหภูมิคอลัมน์ให้สูงขึ้นอย่างช้า
ๆ ในระหว่างทำการวิเคราะห์
(ตามเส้นสีม่วงในรูปที่
๑)
สัญญาณทางด้านหน้าของพีคนั้นเป็นของสารตัวอย่างที่หลุดออกมาที่อุณหภูมิคอลัมน์ที่ต่ำกว่าทางสารตัวอย่างที่หลุดออกจากคอลัมน์ทีหลัง
ซึ่งหลุดออกมาที่อุณหภูมิที่สูงกว่า
(อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้การดูดซับแย่ลง
สารจะหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น)
เดิมนั้น
การหาพื้นที่พีคจะใช้วิธีการ
"ตัดกระดาษแล้วนำไปชั่งน้ำหนัก"
เพราะผลการวิเคราะห์ออกมาในรูปเส้นกราฟที่วาดลงบนกระดาษ
(ด้วยเครื่อง
recorder)
ดังนั้นจึงสามารถใช้น้ำหนักกระดาษที่ตัดเป็นรูปพีคออกมาแทนพื้นที่พีคได้
เช่นถ้าพีคมีขนาดใหญ่
เมื่อตัดกระดาษรูปพีคนั้นออกมา
น้ำหนักกระดาษที่ตัดออกมาก็จะมากตามไปด้วย
เทคนิคนี้ใช้ได้ดีกับพีคที่ไม่มีการเหลื่อมซ้อนกัน
แต่ถ้าพีคมีการเหลื่อมซ้อนกันก็จะเปิดปัญหาเรื่องความถูกต้อง
ในยุคถัดมาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง
แต่ก็ยังเห็นโปรแกรมที่มากับตัวเครื่องยังหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมซ้อนโดยใช้เทคนิคอิงจากการตัดกระดาษอยู่
แทนที่จะใช้การทำ peak
deconvolution ที่จะให้พื้นที่พีคที่ถูกต้องมากกว่า
เราลองมาดูภาพขยายโครมาโทแกรมของรูปที่
๑ ในช่วงเวลา18.0-25.0
นาทีที่นำมาแสดงในรูปที่
๒ กัน
ตำแหน่งที่
(1)
เป็นลักษณะของพีคเล็กอยู่บนส่วนหางของพีคที่ใหญ่กว่ามาก
โดยจุดเริ่มเกิดพีคเล็กและจุดสิ้นสุดของพีคเล็กนั้นอยู่ในช่วงที่สัญญาณพีคใหญ่ยังลดลงอย่างรวดเร็ว
ในกรณีนี้การสร้าง base
line
สำหรับคำนวณพื้นที่พีคเล็กด้วยการลากเส้นตรงเชื่อมจุดเริ่มเกิดพีคเล็กกับจุดสิ้นสุดพีคเล็กเข้าด้วยกันจะให้ผลการคำนวณพื้นที่พีคเล็กที่เข้าได้กับการใช้การทำ
peak
deconvolution
กรณีนี้แตกต่างไปจากกรณีของพีค
NO
บนส่วนหางของพีค
O2
ที่เคยกล่าวไว้
(๑)
ซึ่งในกรณีนั้นพีค
NO
เกิดในช่วงที่พีค
O2
กำลังลดต่ำลงก็จริง
แต่การสิ้นสุดพีค NO
นั้นเกิดหลังการสิ้นสุดพีค
O2
ทำให้การลากเส้น
base
line ต้องทำด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป
ตำแหน่งที่
(2)
เป็นลักษณะของพีคเล็กเกิดคร่อมส่วนหางของพีคใหญ่
ซึ่งเป็นลักษณะทำนองเดียวกันกับกรณีของพีค
NO
บนส่วนหางของพีค
O2
ที่เคยกล่าวไว้
(๑)
แต่จากรูปที่
๒ จะเห็นว่าการลากเส้น base
line สำหรับการคำนวณพื้นที่พีคนั้น
โปรแกรมใช้วิธีเริ่มลากเส้นจากจุดที่สัญญาณมีการวกกลับ
(ลูกศรสีแดง)
ไปจนถึงจุดที่สัญญาณกลับคืนมายังระดับเดียวกันกับระดับที่เริ่มเกิดพีคใหญ่
(ลูกศรสีเขียว)
ซึ่งจะเห็นว่ามีพื้นที่พีคส่วนหนึ่ง
(ตรงปลายหัวลูกศรสีน้ำเงิน)
ที่ไม่ถูกนำมาคิดคำนวณ
พื้นที่ตรงส่วนนี้จะไม่ปรากฏในการคำนวณพื้นที่พีคใหญ่ก่อนหน้า
และไม่ปรากฏในการคำนวณพื้นที่พีคที่คร่อมจุดสิ้นสุดพีคใหญ่นี้ด้วย
ทำให้ผลการคำนวณดุลมวลสารออกมาต่ำกว่าความเป็นจริง
ตำแหน่งที่
(3)
เป็นลักษณะของพีคที่เกิดก่อนมีขนาดเล็กกว่าพีคที่เกิดทีหลัง
พีคใหญ่ที่เกิดทีหลังนั้นเกิดหลังจากสัญญาณพีคเล็กที่เกิดก่อนนั้นเริ่มลดลง
แต่ระดับสัญญาณยังห่างจาก
ในกรณีนี้แทนที่โปรแกรมจะทำการแบ่งพีคด้วยการลากเส้น
base
line ในทำนองเดียวกันกับตำแหน่งที่
(2)
โปรแกรมกลับใช้วิธีการลากเส้นดิ่ง
(ลูกศรสีน้ำเงิน)
ลงมาจากจุดที่สัญญาณวกกลับลงมายังเส้น
base
line ที่เป็นเส้นที่ลากเชื่อมระหว่างจุดเริ่มเกิดพีคที่อยู่หน้า
(ลูกศรสีแดง)
และจุดสิ้นสุดของพีคที่ตามหลังมาก
(ลูกศรสีเขียว)
อันที่จริงการในกรณีของพีคที่เหลื่อมซ้อนกันนั้น
โปรแกรมจะลากเส้น base
line แบบตำแหน่งที่
(2)
หรือตำแหน่งที่
(3)
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของพีคที่เกิดก่อนหรือหลังว่าใครมีขนาดใหญ่กว่ากัน
แต่ขึ้นอยู่กับการกำหนดพารามิเตอร์ต่าง
ๆ ในการระบุ จุดเกิดพีค
จุดสิ้นสุดพีค และแนวเส้น
base
line มากกว่า
ตำแหน่งที่
(4)
เป็นรูปแบบที่ดูแล้วอยู่ก้ำกึ่งระหว่างรูปแบบของตำแหน่งที่
(2)
และตำแหน่งที่
(3)
ในกรณีนี้โปรแกรมกำหนดให้เส้น
base
line นั้นลากจากจุดสิ้นสุดของพีคใหญ่ที่เกิดก่อนหน้า
ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของพีคตำแหน่งที่
(4)
(ตามแนวเส้นสีม่วง)
จากนั้นทำการแบ่งพีคตำแหน่งที่
(4)
ออกจากพีคเล็กที่อยู่ก่อนหน้าด้วยการลากเส้นในแนวดิ่งจากตำแหน่งที่สัญญาณเริ่มเกิดการวกกลับ
(ปลายลูกศรสีแดง)
จนมาถึงระดับเส้น
base
line ที่ลากเอาไว้
จะเห็นว่ารูปแบบต่าง
ๆ ในการแยกพีคที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นรูปแบบที่อิงจากเทคนิค
"ตัดกระดาษแล้วนำไปชั่งน้ำหนัก"
ถ้าจะถามว่าใช้ได้ไหม
ก็คงต้องตอบว่าในกรณีที่อุปกรณ์ที่ใช้นั้นไม่สามารถบันทึกผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นจุดข้อมูล
(เวลา,ความแรงของสัญญาณ)
ได้
ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้
แต่ก็ต้องยอมรับว่าด้วยว่ามันมี
"ความคลาดเคลื่อน"
อยู่ในระดับหนึ่ง
ทางที่ดีคือพยายามปรับแต่งภาวะการทำงานของเครื่อง
GC
เพื่อให้พีคเกิดการเหลื่อมซ้อนกันน้อยที่สุดก่อน
แต่ถ้าสามารถบันทึกผลการวิเคราะห์ในรูปไฟล์
(เวลา,ความแรงของสัญญาณ)
ได้
ก็ควรที่จะนำเอาข้อมูลที่ได้ไปทำการ
deconvolution
พีคที่ซ้อนทับกันอยู่
ซึ่งจะทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องมากกว่า
โปรแกรมที่ใช้ในการแยกพีคที่ซ้อนทับกันที่กลุ่มเราใช้อยู่ในขณะคือ
fityk
เวอร์ชั่น
0.9.7
(เป็น
freeware
ใช้งานฟรี)
หมายเหตุ
(๑)
ดู
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๔๘๕ วันเสาร์ที่
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๓๓ การหาพื้นที่พีค NO
รูปที่
๒ ภาพขยายของโครมาโทแกรมในรูปที่
๑ ในช่วงเวลา 18.0-25.0
นาที
แสดงการลากเส้น base
line (เส้นสีน้ำตาล)
และการแบ่งพีค
(ตรงลูกศรสีน้ำตาลเล็ก
ๆ ในรูป)
เพื่อคำนวณพื้นที่พีคด้วยโปรแกรมที่มากับตัวเครื่อง