คงต้องอำลา
font
เด็กหญิงมะลิ
ป.
๖
แม้ว่าตัวอักษรมันจะดูน่ารักดี
เพราะการแสดงผลบนจอไม่ชัดเจนเลย
เห็นเป็นเพียงเส้นสีเทาจาง
ๆ คราวนี้เลยต้องขอลองเปลี่ยนมาเล่นตัวใหม่ที่เป็นตัวที่แก้ไขมาจาก
font
มาตรฐานของราชการ
(
TH Sarabun PSK) คือ
TH
Sarabun New
เช้านี้สาวน้อยจากเมืองริมทะเลตะวันออกมาถามผมเรื่องจะเอาสารไปเผาในเตาเผา
ว่าควรใช้เตาตัวไหนดี
ระหว่างtube
furnace (ที่แลปเราใช้เป็นเตา
calcineที่วางสารในท่อแก้วที่สอดไว้ในเตาในแนวนอน
แล้วให้แก๊สไหลผ่านท่อแก้วนั้น)
กับ
box
furnace (ตัวรูปทรงสี่เหลี่ยมมีประตูเปิด-ปิดอยู่ด้านหน้า
ไม่มีการไหลหมุนเวียนอากาศภายในเตา)
ซึ่งผมก็ได้อธิบายให้ฟังไปแล้ว
ก็เลยถือโอกาสบันทึกแจกจ่ายให้ใหม่กับทุกคนก็แล้วกัน
สิ่งที่ผมถามเขาก่อนก็คือ
ในการเผานั้นต้องการให้แก๊สเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารที่นำไปเผาหรือไม่
หรือเป็นเพียงแค่การเผาให้สารนั้นสลายตัวเอง
ถ้าเป็นการเผาให้สารนั้นสลายตัวเอง
(เช่นการเผาเพื่อไล่น้ำ
หรือเปลี่ยนจากโครงสร้างไฮดรอกไซด์ไปเป็นโครงสร้างออกไซด์)
จะเผาในเตาแบบไหนก็มักจะพบว่าให้ผลเหมือนกัน
(ถ้าคุมอุณหภูมิให้เหมือนกันได้นะ)
แต่ถ้าเป็นการเผาโดยต้องการใช้แก๊สเข้าไปทำปฏิกิริยาด้วย
เช่นการเผาเพื่อกำจัดสารอินทรีย์ที่เรามักทำเป็นประจำในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
(ตัวอย่างสารอินทรีย์เหล่านี้ได้แก่
template
ที่ใช้ในการเตรียมซีโอไลต์
หรือโครงสร้างส่วนที่เป็นสารอินทรีย์เช่น
iso-proproxide
ที่พวกที่ทำ
sol-gel
ใช้กัน
ไอออนลบที่เป็นสารอินทรีย์เช่น
H3CCOO-
ที่อยู่ในเกลือโลหะบางชนิด
ที่เราต้องการให้ออกซิเจนในอากาศเผาสารพวกนี้ให้กลายเป็น
CO2
และไอน้ำ)
ความยากง่ายของแก๊สที่จะเข้าไปถึงทุกอนุภาคของสารที่ต้องการเผาจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการเผา
เพื่อให้เห็นภาพจะขอยกตัวอย่างกรณีของการเผาโมเลกุลส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ด้วยอากาศที่กลุ่มเรามักจะทำอยู่เป็นประจำ
ลองดูรูปที่ ๑ ข้างล่างประกอบไปด้วยนะ
การเผาตัวเร่งปฏิกิริยาใน
tube
furnace นั้นอาจเป็นการเผาใน
tube
furnace ที่วางในแนวดิ่งหรือที่วางในแนวนอน
การเผาใน
tube
furnace ที่วางในแนวดิ่ง
(รูปที่
๑ (ก))
ทางกลุ่มเราไม่ค่อยทำกันเท่าไรนัก
มีบ้างในกรณีที่ต้องการทำการเผาและนำตัวเร่งปฏิกิริยาไปใช้เลย
ซึ่งก็เป็นการเผาใน fixed-bed
reactor นั่นเอง
การเผาแบบนี้เป็นแบบที่ดีที่สุดเพราะอากาศจะเข้าไปถึงทุกอนุภาคตัวเร่งปฏิกิริยาที่บรรจุอยู่ในเบด
ทำให้เผาไหม้ได้สมบูรณ์ถ้าใช้อุณหภูมิที่สูงพอและให้เวลานานพอ
การเผาใน
tube
furnace ที่วางในแนวนอนเป็นวิธีการที่กลุ่มเราและกลุ่มอื่นใช้กันมากกว่า
(เตาเผาตัวนี้คือตัวที่พวกคุณเรียกว่าเตา
calcine)
ตัวเตาประกอบด้วยท่อควอทซ
(quartz)
ที่สอดอยู่ใน
tube
furnace ที่วางนอนอยู่
เวลาที่จะเผาสารจะนำเอาสารที่จะเผาใส่ในถ้วยกระเบื้อง
(ที่อาจเป็น
boat
หรือ
crucible)
แล้วนำไปวาง
ณ ตำแหน่งอุณหภูมิคงที่ของเตา
จากนั้นจึงเปิดให้อากาศไหลผ่านและเริ่มทำการเผา
การเผาใน
tube
furnace
ที่วางในแนวนอนนี้จะเผาได้สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ขึ้นอยู่กับรูปทรงของภาชนะที่ใช้บรรจุสารที่ต้องการเผา
และรูปแบบการใส่สารลงในภาชนะนั้น
จากรูปที่
๑ (ข)
และ
(ค)
จะเห็นว่าในกรณีของเตาที่วางในแนวนอน
อากาศไม่ได้ไหลผ่านเบดของแข็งโดยตรง
แต่เป็นการไหลผ่าน "ขอบบนสุด"
ของภาชนะที่บรรจุสาร
ซึ่งรูปร่างของภาชนะบรรจุ
(ได้แก่ระยะห่างระหว่างขอบบนสุดและผิวบนสุดของสารที่บรรจุอยู่
และความกว้าง-ยาวของภาชนะนั้น)
ส่งผลถึงโอกาสที่อากาศที่ไหลผ่านขอบด้านบนจะแพร่ไปยังผิวบนสุดของสารที่บรรจุอยู่
ถ้าระยะห่างระหว่างขอบบนสุดของภาชนะบรรจุและผิวบนสุดของสารที่บรรจุอยู่มีค่าไม่มาก
(รูปที่
๑ (ข))
อากาศที่อยู่บริเวณผิวบนสุดก็จะมีการไหลเวียนได้ดี
CO2
ที่เกิดจากการเผาไหม้จะถูกพัดพาออกไป
อากาศใหม่จะเข้ามาแทนที่
ทำให้การเผาไหม้เกิดขึ้นได้ดี
แต่ถ้าระยะห่างระหว่างขอบบนสุดของภาชนะบรรจุและผิวบนสุดของสารที่บรรจุอยู่มีค่ามาก
(รูปที่
๑ (ค))
อากาศที่อยู่บริเวณผิวบนสุดก็จะไม่มีการไหลเวียนที่ดี
CO2
ที่เกิดจากการเผาไหม้จะสะสมอยู่เหนือผิวสารที่บรรจุอยู่
แก๊สที่อยู่เหนือผิวสารที่บรรจุอยู่นั้นจะมีความเข้มข้นออกซิเจนต่ำ
(หรืออาจไม่มีเลยก็ได้)
ทำให้การเผาไหม้เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์
อีกปัญหาหนึ่งที่พบกันเป็นประจำจากการเผาในแนวนอนคือ
สารที่อยู่บริเวณก้นภาชนะบรรจุเผาไหม้ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกเผาไหม้
สาเหตุเป็นเพราะอากาศที่อยู่เหนือผิวไม่สามารถแพร่ลงไปถึงสารที่อยู่ด้านล่างได้เนื่องจากสารที่ใส่นั้นมีความหนามากเกินไป
การแก้ปัญหาทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิว
เช่นพยายามเกลี่ยให้สารที่ใส่ลงไปนั้นกระจายออกไปให้มากที่สุด
บางรายเห็นใช้วิธีขีดลงไปบนผิวหน้าของชั้นสารที่บรรจุให้เป็นรอยเส้น
(พวกที่ใช้
boat)
เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวด้านบน
หรือไม่ก็แบ่งสารใส่ภาชนะบรรจุหลายใบ
แทนที่จะใช้เพียงใบเดียว
เพื่อให้ชั้นสารในแต่ละภาชนะบรรจุไม่หนามากเกินไป
จะว่าไปแล้วปัญหาเรื่องการบรรจุสารลงภาชนะแล้วนำไปเผาผมเองก็เคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๗๗ วันศุกร์ที่ ๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง
"น้ำหนักหายได้อย่างไร"
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาสารด้วยเครื่อง
Thermogravimetric
analysis (TGA) ซึ่งนับถึงตอนวันนี้ก็เกือบ
๒ ปีแล้ว ลองไปหาอ่านย้อนหลังกันเองก็แล้วกัน
box
furnace ปรกติที่เราใช้กันนั้นไม่มีการถ่ายเทอากาศจากภายนอกเข้าไปภายใน
ดังนั้นจะมีโอกาสสูงกว่าที่จะเกิดปัญหาเรื่องการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
ผมทำการเผากระดาษกรองที่บรรจุอยู่ใน
crucible
ด้วย
box
furnace ที่
800-850ºC
เป็นประจำ
สิ่งที่พบคือถ้าไม่ทำให้อากาศใหม่เข้าไปแทนที่ใน
crucible
และ
ใน box
furnace แล้วจะไม่สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์
(เพราะไม่มีออกซิเจนเหลือ)
วิธีการช่วยก็คือทำการเปิดประตู
box
furnace เป็นระยะ
ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้อากาศที่มีออกซิเจนเข้าไปแทนที่อากาศเดิมใน
box
furnace ที่ออกซิเจนถูกใช้หมดไป
และยังใช้ crucible
tongs คีบเอา
crucible
ที่วางอยู่ใน
furnace
ออกมาข้างนอก
แล้ววางกลับเข้าไปใหม่
ซึ่งการทำเช่นนี้ช่วยทำให้อากาศใหม่ที่มีออกซิเจนเข้าไปแทนที่อากาศเดิมที่ค้างอยู่ในถ้วย
crucible
ที่ไม่มีออกซิเจนเหลือสำหรับการเผาไหม้แล้ว
ผมบอกสาวน้อยจากเมืองริมทะเลตะวันออกไปว่า
ในกรณีของเขานั้นถ้าเป็นผม
ผมเลือกที่จะเผาใน box
furnace มากกว่า
เพราะการเผาของเขานั้นใช้เวลาไม่นาน
(แค่
2
ชั่วโมง)
อุณหภูมิก็ไม่สูง
(แค่
300-400ºC)
ปริมาณออกซิเจนที่ต้องการใช้เพื่อเผาสารอินทรีย์ก็ไม่ได้ต้องการมาก
(น้อยกว่ากระดาษกรองที่ผมเคยใช้เยอะ)
และก็ไม่ได้มีการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วย
การทำให้สารที่อยู่ก้น
crucuble
ถูกเผาไหม้ได้สมบูรณ์ก็ทำได้ง่าย
เพียงแต่หยิบ crucible
ออกมา
แล้วเอาแท่งแก้วกวนสารที่อยู่ใน
crucible
เพื่อคลุกเข้าสารที่อยู่ข้างล่างให้ขึ้นมาอยู่บนผิวบนบ้างก็น่าจะใช้ได้แล้ว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่เขาจะตัดสินใจเอาเองว่าจะทำแบบไหน
ที่สำคัญคือต้องเผาไหม้ได้สมบูรณ์
อันที่จริงเขียนเรื่องเกี่ยวกับอุบัติเหตุหนึ่งเอาไว้แล้วที่เกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่บังเอิญต้องขอเลื่อนเรื่องดังกล่าวออกไปชั่วคราว
เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
และด้วยเหตุผลจำเป็นบางประการ
คิดว่าฉบับต่อไปคงเป็นเรื่องนี้
(ที่ได้เกริ่นเอาไว้ในการประชุมกันช่วงบ่ายวันนี้)
คอยติดตามอ่านก็แล้วกัน