Memoir
ฉบับก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
memoir
ฉบับนี้มี
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๙๙ วันพฤหัสบดีที่
๑๔ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "Scherrer's equation"
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๔ วันพฤหัสบดีที่
๒๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "Scherrer's equation (ตอนที่ ๒)"
Scherrer's
equation เป็นสมการที่มีการนำมาใช้ในการ
"ประมาณ"
ขนาดผลึกโดยใช้ปรากฏการ
x-ray
diffraction lind broadening สมการ
Scherrer's
equation ที่นำเสนอเอาไว้ตั้งแต่ปีค.ศ.
1918 มีรูปแบบสมการดังนี้
เมื่อ d - ขนาดความหนาของระนาบ (ที่มักเอามาตีความเป็นขนาดผลึก)
λ
- ความยาวคลื่นของรังสีที่หักเห
สำหรับ Cu
Kα
λ =
1.5418 อังสตรอม
θ
- ตำแหน่งมุมหักเหของพีค
(กราฟ
XRD
จะให้ค่ามุมเป็น
2θ)
K
- Shape factor
B
- ความกว้างของพีคที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความสูง
(เรเดียน)
แต่ก่อนอื่นเรามาลองทำความเข้าใจก่อนว่า
ขนาดผลึกที่ได้จาก Scherrer's
equationนั้น
เป็นผลึก "แบบไหน"
สมมุติว่าเราเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาของโลหะ
M
บนตัวรองรับ
และได้ตัวเร่งปฏิกิริยามา
๓ รูปแบบดังแสดงในรูปที่ ๑
รูปแบบแรก (แถวบนสุดของรูปที่
๑)
นั้นประกอบด้วย
"ผลึก
(crystal)"
๑๖
ผลึกที่มีขนาดเท่ากัน
(แทนที่ด้วยก้อนสี่เหลี่ยม)
เพียงแต่แต่ละผลึกนั้นมีการเรียงตัวของอะตอมโลหะในแนวที่แตกต่างกัน
(ตามแนวเส้นในกรอบสี่เหลี่ยม)
ในกรณีนี้เราจะได้
"อนุภาค
(particle)"
จำนวน
๑๖ อนุภาค
ที่แต่ละอนุภาคประกอบด้วยผลึกที่สมบูรณ์เพียงผลึกเดียว
และทุกผลึกสามารถมีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยา
ในรูปแบบที่สอง
(แถวกลางของรูปที่
๑)
นั้น
เราได้ "ผลึก
(crystal)"
๑๖
ผลึกที่มีขนาดเท่ากัน
แต่ผลึกเหล่านั้นไม่ได้กระจายตัวเป็นอิสระออกจากกัน
มีการจับกลุ่มรวมตัวกันเป็น
"อนุภาค
(particle)"
จำนวน
๕ อนุภาค ที่แต่ละอนุภาคนั้นประกอบด้วยผลึกย่อยจำนวน
๓ หรือ ๔ ผลึก
(ขอบเขตของผลึกแต่ก้อนดูได้จากทิศทางการเรียงตัวของอะตอมของผลึกนั้น)
อนุภาคแบบนี้เรียกว่า
"พหุผลึก
(polycrystalline)"
ในกรณีนี้แม้ว่าเราจะมีจำนวนผลึก
๑๖ ผลึกเหมือนรูปแบบแรก
และผลึกทั้ง ๑๖
ผลึกนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยา
(คือมีพื้นผิวที่เปิดที่สารตั้งต้นสามารถลงมาดูดซับบนพื้นผิวได้)
แต่พื้นผิวที่สามารถมีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยาของผลึกนั้นลดลง
เพราะบริเวณรอยต่อระหว่างผลึกนั้นไม่สามารถใช้ในการทำปฏิกิริยาได้
(สารตั้งต้นแพร่เข้ามาดูดซับไม่ได้)
รูปที่
๑ แบบจำลองผลึกโดยสมมุติก้อนสี่เหลี่ยมแต่ละก้อนคือผลึกแต่ละผลึก
(crystal)
เส้นแต่ละเส้นแสดงแนวการเรียงตัวของอะตอม/ไอออนในผลึก
แถวบนเป็นผลึกที่อยู่อย่างเป็นอิสระต่อกัน
แถวกลางแสดงผลึกที่มีการรวมตัวกันเป็นอนุภาค
(particle
หรือ
polycrystalline
crystal) แถวล่างแสดงการที่ผลึกรวมกันเป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก
รูปแบบที่สาม
(แถวล่างสุดของรูปที่
๑)
เรายังคงมี
"ผลึก
(crystal)"
๑๖
ผลึกที่มีขนาดเท่ากัน
แต่มีการเกาะกลุ่มรวมตัวกันมากกว่ารูปแบบที่สอง
โดยเหลือเพียงแค่ ๒ "อนุภาค
(particle)"
ในกรณีนี้แม้ว่าเราจะมีจำนวนผลึก
๑๖ ผลึกเหมือนในรูปแบบแรก
แต่จะมีเฉพาะผลึกที่อยู่รอบนอกจำนวน
๑๒ ผลึกเท่านั้นที่สามารถมีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยา
อีก ๔
ผลึกที่โดยผลึกอื่นล้อมเอาไว้หมดจะไม่มีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยา
ปรากฏการณ์
x-ray
diffraction line broadening จะขึ้นอยู่กับขนาดของ
"ผลึก
(crystal)"
แต่ละผลึก
ในกรณีที่อนุภาคนั้นประกอบด้วยผลึกเพียงผลึกเดียว
ขนาดของผลึกที่คำนวณได้จาก
Scherrer's
equation คือขนาดอนุภาค
แต่ถ้าผลึกนั้นมีการรวมตัวกันเป็นอนุภาคที่เป็น
"พหุผลึก
(polycrystalline)"
ขนาดของผลึกที่คำนวณได้จาก
Scherrer's
equation ก็ยังคงเป็นขนาดของผลึกแต่ละ
"ผลึก"
ไม่ใช่ขนาดของ
"พหุผลึก"
(ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า)
และขนาดของอนุภาคที่มีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยานั้นควรจะต้องเป็นขนาดของ
"พหุผลึก"
ไม่ใช่ขนาดของ
"ผลึก"
ดังนั้นถ้าใช้ปรากฏการณ์
x-ray
diffraction line broadening มาคำนวณขนาดผลึกด้วย
Scherrer's
equation จะพบว่าทั้งสามรูปแบบที่แสดงในรูปที่
๑ นั้นจะให้ขนาดของผลึกที่
"เท่ากัน"
ทั้ง
ๆ ที่พารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อการทำปฏิกิริยานั้นคือขนาดของ
"อนุภาค"
(ซึ่งอาจเป็นขนาดของผลึกตามรูปแบบแรก
หรือขนาดของพหุผลึกตามรูปแบบที่สองและสาม)
อีกประเด็นที่ต้องระวังในการแปลผลคือ
การที่เรามองเห็นผลึกขนาดเล็กในตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่ง
ไม่ได้หมายความว่าทุก ๆ
จุดของตัวอย่างนั้น
อะตอมหรือไอออนมีการเรียงตัวที่เป็นระเบียบจนเป็นผลึก
แต่อาจเป็นผลึกขนาดเล็กที่ก่อตัวขึ้นในโครงสร้างอสัณฐาน
(amorphous)
โดยที่โครงสร้างส่วนใหญ่ของตัวอย่างยังคงเป็นอสัณฐานอยู่ก็ได้
นอกจากนี้ใน
memoir
ฉบับที่
๙๙ และ ๑๐๔ นั้นผมยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับค่า
K
และ
B
ที่ใช้ในการคำนวณ
เพราะมันส่งผลต่อขนาดผลึกที่คำนวณได้
ตอนนี้พอจะมีหนังสือที่คิดว่าใช้เป็นหลักอ้างอิงได้
(มันอยู่ในชั้นหนังสือที่ผมมีอยู่นานแล้ว
แต่ไม่ได้หยิบมาอ่าน)
ก็เลยขอเอามาเล่าสู่กันฟัง
เรื่องแรกที่ค้างอยู่คือค่า
K
ควรมีค่าเป็นเท่าใด
ในหนังสือ
"Introduction
to characterization and testing of catalysis" โดย
J.R.
Anderson และ
K.C.
Pratt สำนักพิมพ์
Academic
Press ปีค.ศ.
๑๙๘๕
ใน Chapter
2 Particle size หน้า
๖๕ กล่าวไว้ว่า สำหรับผลึกที่มีขนาดเล็กกว่า
100
nm พบว่าพีคการหักเหนั้นจะแผ่กว้างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทำให้เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ประมาณขนาดผลึกที่อยู่ในช่วง
3-50
nm ได้
ถ้าผลึกมีขนาดเล็กกว่า 3
nm พีคนั้นจะกว้างมาก
และเมื่อผลึกมีขนาดใหญ่กว่า
50
nm พีคจะมีขนาดที่แคบทำให้เทคนิคนี้ไม่ว่องไวต่อการวัด
และในหน้า
๖๗ ของหนังสือเล่มเดียวกันยังกล่าวไว้ว่า
ค่า K
นั้นมีค่าเป็น
0.90
ถ้าหากวัดความกว้างของพีคที่ระยะครึ่งหนึ่งของค่าความสูงที่สูงที่สุดของพีค
และมีค่าเป็น 1.05
ถ้าหาความกว้างของพีคด้วย
การใช้ค่าพื้นที่ใต้พีคแล้วหารด้วยค่าความสูงของพีค
(B
= Peak area/Peak height)
แต่ในหนังสือ
"Chemical
Reaction and Reactor Engineering" ที่มี
J.J.
Carberry และ
A.
Varma เป็นบรรณาธิการ
พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Marcel
Dekker ปีค.ศ.
๑๙๘๗
ในบทที่ ๓ เรื่อง "Catalytic
Surfaces and Catalyst Characterization Methods" เขียนโดย
W.
Nicholas Delgass หน้า
๑๖๐ กล่าวเอาไว้ว่าค่า K
นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง
0.98-1.39
แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนของการทดลองบ่อยครั้งจึงกำหนดให้ค่า
K
มีค่าเป็น
1.0
แต่ในหนังสือนี้กล่าวว่าค่า
B
คือค่า
"integral
breadth" ซึ่งน่าจะหมายถึง
peak
area/peak height
ตรงนี้จะเห็นนะว่าถ้าอิงหนังสือต่างกันสองเล่ม
จะทำให้ได้ขนาดผลึกแตกต่างกันได้
10%
ประเด็นถัดมาคือค่า
B
ที่จะนำมาแทนในสมการนั้นควรได้รับการปรับแก้โดยหักการแผ่กว้างที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของตัวเครื่องออกก่อน
ซึ่งตรงนี้นำไปสู่สมการสำหรับปรับแก้ค่า
B
2 สมการด้วยกันคือ
B2
= Bobs2 - Binst2
(2)
B
= Bobs - Binst (3)
เมื่อ
Bobs
คือความกว้างที่ได้จากพีคของการวัดสารตัวอย่าง
ส่วน Binst
คือความกว้างของพีคที่ได้จากสารมาตรฐาน
โดยตำแหน่งพีคที่นำมาหาค่า
Binst
นั้นควรจะอยู่ในตำแหน่งเดียวหรือใกล้กันกับตำแหน่งพีค
Bobs
(ถ้าเป็นการทำ
internal
standard ตำแหน่งพีค
Binst
ไม่ควรที่จะทับซ้อนกับตำแหน่งพีค
Bobs
แต่ถ้าเป็นการทำ
external
standard จะสามารถใช้การประมาณค่าหาค่า
Binst
ที่ตำแหน่ง
2θ
ใด
ๆ จากค่า B
ที่วัดได้ของสารมาตรฐานที่ตำแหน่งต่าง
ๆ ได้)
ในกรณีที่พีคที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีการทับซ้อน
ค่า B
ก็จะหาได้จากข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยตรง
แต่ในกรณีที่พีคที่เกิดขึ้นนั้นมีการทับซ้อน
ควรที่จะต้องทำการแยกพีค
(peak
deconvolution) พีคที่ทับซ้อนนั้นออกจากกันก่อน
จากนั้นจึงค่อยพิจารณาพีคที่ได้จากการแยกพีคนั้นว่าแต่ละพีคมีค่า
B
(ความกว้างของพีคที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความสูง
(เรเดียน))
เท่าใด
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือในการทำการแยกพีคนั้น
ควรใช้ฟังก์ชันใดในการสร้างพีคย่อยแต่ละพีค
ตรงนี้ขอยกยอดเป็นเรื่องถัดไปที่จะเขียนคือ
XRD
- peak fitting (ตอนที่
๒)
เพราะตอนนี้จากการหาค่า
Binst
ของเครื่อง
x-ray
เครื่องใหม่พบว่าแต่ละพีคประกอบด้วย
๒ พีคที่เกิดจากการหักของเส้น
Cu
Kα1
และ
Cu
Kα2
ซ้อนทับกันอยู่ดังรูปที่เอามาให้ดูใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๗๗ วันพุธที่ ๒
ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง "เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น (การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติ ตอนที่ ๕๒"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น