คำว่า
pipe
และ
tube
ในภาษาอังกฤษ
ถ้าแปลเป็นไทยก็คือ "ท่อ"
และในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะท่อที่ทำจากโลหะ
ในทางวิศวกรรม
pipe
และ
tube
นั้นแม้ว่าจะเป็นท่อ
แต่ก็สร้างขึ้นตามข้อกำหนดที่แตกต่างกัน
มันมีความแตกต่างกันอยู่
ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการผลิต
การระบุขนาด วิธีการเชื่อมต่อ
ฯลฯ
tube
นั้นผลิตขึ้นโดยมีข้อกำหนดเรื่องความคลาดเคลื่อนที่เข้มงวดมากกว่า
pipe
และตัว
tube
เองก็จะมีความอ่อนตัวมากกว่า
pipe
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปรกติที่เราจะทำการดัด
tube
ให้โค้งเพื่อเปลี่ยนทิศทางการวางท่อได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการใช้ข้องอหรือข้อต่อโค้งต่าง
ๆ ช่วย
ตัวอย่างการใช้
tube
ที่เห็นได้ชัดตามบ้านเรือนคือท่อน้ำยาแอร์
จะเห็นว่าช่างสามารถดัดท่อทองแดงดังกล่าวให้โค้งไปมาตามแนวผนังอาคารได้โดยไม่ต้องใช้ข้อต่อช่วย
ท่อแก๊ส CNG
ในรถยนต์ที่เคยเห็นก็ใช้
tube
ทำจาก
stainless
สำหรับ
pipe
ถ้าถามว่าสามารถดัดมันให้โค้งได้ไหม
คำตอบก็คือพอทำได้เช่นท่อไอเสียรถยนต์ที่ทำจากท่อผนังบาง
แต่รัศมีความโค้งต้องมากหน่อย
แต่โดยปรกติก็จะไม่ทำกัน
จะนิยมใช้ข้องอแบบต่าง ๆ
ช่วยในการเปลี่ยนทิศทางการวางท่อมากกว่า
เช่นท่อประปาที่เป็นท่อผนังหนา
การระบุขนาดนั้นถ้าเป็น
tube
จะใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
(Outside
diameter - OD) และความหนา
กล่าวคือถ้าบอกว่า tube
ขนาด
1/2
นิ้ว
ถ้าเอาเวอร์เนียร์มาวัด OD
ของ
tube
นี้ก็จะได้
1/2
นิ้ว
ส่วนจะมีความหนาเท่าไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับว่าจะให้มันรับความดันเท่าใดที่อุณหภูมิเท่าใด
การระบุความหนาของ tube
จะระบุไปเลยว่าหนากี่นิ้วหรือกี่มิลลิเมตร
ตัวอย่างขนาด tube
และความหนาดูได้จากรูปที่
๑
การระบุขนาดของ
pipe
นั้นจะใช้
Nominal
pipe size (NPS) ตัวเลขนี้มักทำให้ใครหลายต่อหลายคนสับสน
ค่า
NPS
เป็นค่าประมาณของเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน
(Inside
diameter - ID) ของ
pipe
ที่ผนังท่อมีความหนามาตรฐาน
(Schedule
number 40 เดี๋ยวจะอธิบายอีกทีว่ามันคืออะไร)
ค่า
ID
= OD - (2 x t) เมื่อ
t
คือความหนาของผนังท่อ
ถ้าลองเอาตัวเลขขนาด NPS
ของ
pipe
ในรูปที่
2
มาคำนวณดูโดยใช้ช่องความหนาตรงช่อง
Schedule
40 หรือ
40S/STD
สำหรับ
pipe
ขนาด
NPS
ตั้งแต่
1
ถึง
12
นิ้วก็จะพบว่าเป็นไปตามนี้
สำหรับ pipe
ขนาดตั้งแต่
14
นิ้วขึ้นไป
ตัวเลข NPS
จะเท่ากับขนาด
OD
ของ
pipe
นั้น
การระบุความหนาของ
pipe
นั้นไม่ได้บอกออกมาตรง
ๆ แต่จะใช้ตัวเลขที่เรียกว่า
Schedule
number (Sch. no.) ค่า
Schedule
number คือค่าประมาณที่คำนวณได้จากสมการ
Sch.
no. = 1000(P/S)
เมื่อ P
= ความดันใช้งานภายใน
(internal
working pressure หน่วยเป็นแรงต่อพื้นที่
เช่น psig
kg/cm2g)
S
= ความเค้นสูงสุดที่ยอมให้ได้สำหรับวัสดุที่ใช้ทำ
ณ ภาวะที่ใช้งาน (allowable
stress for the material of construction at the conditions of use มีหน่วยเดียวกันค่า
P
รูปที่
๑ ตารางแสดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกและความหนาของ
tube
(จากคู่มือของ
Swagelok)
พึงสังเกตอย่างหนึ่งนะว่าไม่มีการผลิต
tube
ขนาดใหญ่มากเหมือน
pipe
(ขนาด
pipe
ดูในรูปที่
๒ ถัดไป)
รูปที่
๒ ตารางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกและเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของ
steel
pipe ขนาดต่าง
ๆ และน้ำหนักต่อหน่วยความยาว
จะเห็นว่าสำหรับ pipe
ขนาด
OD
ตั้งแต่
14
นิ้วขึ้นไป
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกจะเท่ากับขนาดท่อที่เรียก
แต่สำหรับ pipe
ขนาดตั้งแต่
12
นิ้วลงมา
ขนาด OD
จะใหญ่กว่าขนาดท่อที่เรียก
แต่ขนาดท่อที่เรียกนั้นจะประมาณใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน
(ID)
ของท่อที่มีความหนา
Sch.
40 (ID = OD - (2 x ความหนา))
ยกเว้นพวก
pipe
ขนาดเล็กกว่า
2
นิ้ว
จะมีความแตกต่างกันมากหน่อย
ตามมาตรฐาน
ANSI
(The American National Standards Institute) แบ่ง
Sch.
no. เอาไว้
11
ค่าด้วยกันคือ
5,
10, 20, 30, 40, 60, 80, 100, 120, 140, และ
160
ที่ผมเคยเจอนั้นสำหรับท่อที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากส่วนใหญ่จะเริ่มใช้ที่
Sch.
no. 40 (บางทีเขาเรียกท่อสเก็ต
40)
แม้ว่าจะสามารถใช้ท่อที่บางกว่านี้ได้ก็ตาม
และถ้าต้องรับความดันมากขึ้นก็จะขยับไปใช้ท่อที่
Sch.
no. 80 หรือ
160
เลย
เหตุผลหนึ่งก็เป็นเพราะจะได้ลดความวุ่นวายในการก่อสร้างและเก็บสำรอง
ชื่อเดิมสำหรับท่อที่มีความหนา
Sch.
no. 40 คือ
"standard"
สำหรับท่อที่มีความหนา
Sch.
no. 80 จะเรียกว่า
"strong" และสำหรับท่อที่มีความหนา
Sch.
no. 160 จะเรียกว่า
"extra
strong"
ข้อต่อของ
pipe
และ
tube
นั้นมีทั้งที่เหมือนกัน
(เช่นเชื่อม
หน้าแปลน)
และที่แตกต่างกัน
แต่โดยทั่วไปแล้วข้อต่อของ
tube
จะไม่ไปยุ่งอะไรกับผนังของ
tube
มากนั้น
เราพอจะประมาณได้ว่าความหนาของผนังท่อที่ทำหน้าที่รับแรงก็คือความหนาของ
tube
นั่นเอง
แต่สำหรับ pipe
นั้นถ้ามีการใช้ข้อต่อเกลียว
ที่ตัวข้อต่อเป็นเกลียวตัวเมีย
และต้องมาขึ้นรูปเกลียวตัวผู้บนตัว
pipe
การขึ้นรูปเกลียวตัวผู้จะทำให้ผนังของ
pipe
บางลงตรงตำแหน่งร่องเกลียว
ดังนั้นความหนาของผนังตรงตำแหน่งร่องเกลียวนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า
pipe
นั้นจะรับความดันได้ไม่เกินเท่าใด
(รูปที่
๓)
รูปที่
๓ ในกรณีของ pipe
ถ้าใช้ข่อต่อเกลียว
จะมีการทำเกลียวบนผิวนอกของ
pipe
ความหนาของผนัง
pipe
ส่วนที่รับความดันนั้นต้องหักความลึกของเกลียวออกไปก่อน
ดังนั้นความหนาที่เป็นตัวกำหนดความดันที่รับได้จะน้อยกว่าความหนาที่แท้จริงของ
pipe
สำหรับผู้ที่ผ่านวิชา
mechanics
of materials
มาแล้วคงจะได้เรียนมาแล้วว่าเวลาที่ภาชนะทรงกระบอกนั้นต้องรับความดัน
จะเกิดความเค้น (stress)
บนพื้นผิวในสองทิศทางด้วยกัน
คือในทิศทางเส้นรอบวงหรือที่เรียกว่า
Hoop
stress และในทิศทางความยาวหรือที่เรียกว่า
Longitudinal
stress ที่ค่าความดันภายในใด
ๆ นั้น Hoop
stress จะมีค่าเป็นสองเท่าของค่า
Longitudinal
stress ดังนั้นถ้าภาชนะทรงกระบอก
(เช่นท่อ)
รับความดันไม่ได้
ผนังก็จะฉีกออกตามแนวยาวก่อน
(เพราะ
Hoop
stress ดึงให้ผนังแยกออกจากกัน)
ไม่ได้ขาดเป็นสองท่อนออกจากกันตามแนวเส้นรอบวง
รอยเชื่อมนั้นจะมีความแข็งแรงต่ำกว่าผิวโลหะปรกติ
ดังนั้นถ้าต้องการรับความดันสูงก็มักจะใช้ท่อที่ไม่มีรอยเชื่อมที่เรียกว่า
seamless
ที่จะรับความดันได้ดีกว่าท่อที่ขึ้นรูปจากการนำเอาแผ่นโลหะมาม้วนเป็นรูปท่อแล้วใช้การเชื่อมไฟฟ้าเชื่อมต่อรอยชนของแผ่นโลหะนั้น
รูปที่
๔ ความเค้นที่เกิดขึ้นในภาชนะทรงกระบอกเมื่อมีความดันอยู่ภายใน
เมื่อพูดถึงpipe
แล้วก็มีอีกคำหนึ่งที่ก่อความวุ่นวายคือ
rating
หรือ
class
ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับความดันของหน้าแปลน
(flange)
pipe
ส่วนใหญ่ที่ใช้กันในโรงงาน
(ยกเว้นพวก
pipe
ขนาดเล็กหรือสำหรับสารไม่อันตราย
เช่น น้ำ อากาศ)
มักจะต่อด้วยข้อต่อชนิดเชื่อม
และเพื่อให้สามารถถอดแยกจากกันได้ก็จะใช้ข้อต่อชนิดหน้าแปลน
(flange)
ซึ่งมีหลายแบบ
ระบบท่อแบบนี้ถ้าจะเกิดปัญหาการรั่วไหลที่ความดันสูงก็มักจะเกิดตรงตำแหน่งหน้าแปลนที่ประกบกันอยู่ก่อนที่ท่อจะฉีกขาด
ดังนั้นจึงมีการกำหนดตัวเลขที่เป็นตัวบ่งบอกว่าหน้าแปลนนั้นรับความดันได้สูงสุดเท่าใด
ตัวเลขนี้คือ flange
rating
flange
rating มีหน่วยเป็น
"ปอนด์"
ที่เห็นกันทั่วไปคือ
150
ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุด
ถัดไปก็เป็น 300
400 600 900 1500 และ
2500
ปอนด์
ที่มันเกิดปัญหาก็คือคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าตัวเลข
rating
นี้บอกว่ามันรับความดันได้สูงสุดเท่าใด
ซึ่งไม่ใช่
เพราะในความเป็นจริงนั้นมันมีเรื่องของอุณหภูมิและวัสดุที่ใช้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
รูปที่
๕ Pressure-Temperature
rating สำหรับ
Carbon
steel และ
Stainless
steel flange class ต่าง
ๆ
มีคนให้นิยมของ
flange
rating ไว้ว่า
"maximum
allowable non-shock pressure at the tabulated temperatures"
ซึ่งก็บอกไว้ชัดเจนว่าค่า
flange
rating หนึ่งนั้นจะรับความดันได้เท่าใดให้ไปดูค่าในตารางที่อุณหภูมิต่าง
ๆ ตัวอย่างของตารางนี้แสดงไว้ในรูปที่
๕ จะเห็นว่าสำหรับค่า flange
rating เดียวกัน
โลหะต่างชนิดกันก็รับความดันได้ไม่เท่ากัน
และที่อุณหภูมิสูงขึ้นความดันที่รับได้ก็จะลดลง
ส่วนจะใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงเท่าใดนั้นก็ขึ้นกับชนิดของโลหะ
ลองพิจารณาค่า
flange
rating ค่าใดค่าหนึ่งในรูปที่
๕ จะเห็นว่าในช่วงอุณหภูมิต่ำนั้น
carbon
steel จะรับความดันได้สูงกว่า
stainless
steel แต่พอเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้นกลับพบว่าตัวเลขความดันของ
carbon
steel หายไปดื้อ
ๆ แต่ของ stainless
steel ยังคงมีอยู่
นั่นแสดงว่าที่อุณหภูมิสูงขึ้นไม่ควรใช้
carbon
steel (เป็นเรื่องปรกติที่โลหะจะอ่อนตัวที่อุณหภูมิสูง
แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ)
วิศวกรรุ่นพี่คนหนึ่งอธิบายผมเอาไว้ว่า
flange
rating คือความดันสูงสุดที่หน้าแปลนยังรับเอาไว้ได้
ณ อุณหภูมิสูงสุดที่มันยังคงใช้งานได้
ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็เข้าเค้าอยู่
แต่ถ้าดูจากตัวเลขในตารางแล้วก็จะเห็นว่าแสดงว่ามีการใช้งานที่อุณหภูมิที่สูงจนกระทั่งความดันที่หน้าแปลนรับได้นั้นมีค่าต่ำกว่าตัวเลข
ratinge
ของหน้าแปลน
ที่เขียนมานี้ก็หวังว่าผู้ที่เป็นวิศวกรเคมีที่จะเข้าไปทำงานเกี่ยวกับงานท่อต่าง
ๆ
ของโรงงานจะได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพื้นฐานบางเรื่องของงานท่อบ้าง
เว็บหนึ่งที่เห็นว่าอธิบายเรื่องระบบ
piping
ไว้ง่าย
ๆ และอ่านเข้าใจได้ดีคือ
http://www.wermac.org
ใครสนใจก็ลองไปอ่านต่อเอาเองก็แล้วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น