ปั๊มตระกูล
positive
displacement ทำงานด้วยการดึงของเหลวเข้ามาในที่ว่างระหว่างตัวเรือนปั๊ม
(ที่เป็นส่วนที่อยู่กับที่)
กับชิ้นส่วนเคลื่อนที่
(เช่นในกรณีของปั๊มลูกสูบ
ตัวเรือนปั๊มที่เป็นส่วนที่อยู่กับที่ก็คือกระบอกสูบ
(cylinder)
และชิ้นส่วนเคลื่อนที่ก็คือลูกสูบ
(piston))
จากนั้นก็ทำการผลักดันของเหลวที่ดึงเข้ามานั้นออกไปทางช่องทางไหลออก
แต่การที่จะผลักดันของเหลวให้ไปข้างหน้าได้ดีนั้นจำเป็นที่
"ช่องว่าง
(หรือ
clearance)"
ระหว่างชิ้นส่วนที่อยู่กับที่กับชิ้นส่วนเคลื่อนที่นั้นต้องมีขนาดเล็ก
(ไม่มีเลยก็ยิ่งดี
แต่จะไปมีปัญหาเรื่องการเสียดสีและการหล่อลื่นแทน)
ข้อดีข้อหนึ่งของปั๊มตระกูลนี้ก็คือให้อัตราการไหลที่ค่อนข้างคงที่แม้ว่าความดันด้านขาออกจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก
ปั๊มโรตารี
(rotary
pump) เป็นรูปแบบหนึ่งของปั๊มตระกูล
positive
displacement
ปั๊มตระกูลนี้ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ที่ทำหน้าที่ผลักดันของเหลวนั้นเคลื่อนที่ด้วยการหมุน
และด้วยรูปแบบและจำนวนของชิ้นส่วนที่หมุน
(rotor)
นี้ทำให้ปั๊มตระกูลนี้แบ่งออกไปเป็นหลายรูปแบบ
เช่น gear
pump, screw pump, peristaltic pump, vane pump หรือ
lobe
pump เป็นต้น
อย่างเช่นในกรณีของ gear
pump (ภาษาไทยมีการเรียกทับศัพท์โดยตรงว่า
เกียร์ปั๊ม หรือแปลว่า
ปั๊มเฟือง)
ที่ประกอบด้วยเฟืองที่หมุนได้สองตัวขบกันอยู่
เฟืองตัวหนึ่งได้รับการขับเคลื่อนจากมอเตอร์โดยตรง
และเฟืองอีกตัวหนึ่งจะหมุนตามเฟืองขับเคลื่อนนี้
ของเหลวจะถูกดึงเข้ามาอย่างต่อเนื่องเข้าไปในช่องว่างระหว่างฟันเฟืองกับผนังตัวเรือน
(casing
หรือ
housing)
และถูกผลักออกไปอย่างต่อเนื่องทางด้านขาออก
ด้วยโครงสร้างที่ไม่จำเป็นต้องมีวาล์วกันการไหลย้อนกลับในการป้องกันไม่ให้ของเหลวที่ถูกดึงเข้ามาในช่องว่างระหว่างฟันเฟืองนั้นไหลย้อนออกไป
ทำให้การติดตั้งปั๊มชนิดนี้จำเป็นต้องมีการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับด้านขาออก
(รูปที่
๑ และ ๒)
จุดเด่นจุดหนึ่งของปั๊มเฟืองที่เหนือกว่าปั๊มลูกสูบก็คือมันทำงานได้ดีกับของเหลวที่มีความหนืดสูง
ซึ่งถ้าเป็นกรณีของปั๊มลูกสูบแล้วของเหลวที่หนืดจะไหลผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับเข้ามาในช่องว่างภายในกระบอกสูบได้ยาก
ของเหลวบางพวกเช่นน้ำมันปิโตรเลียมหนักนั้น
เมื่อร้อนจะมีความหนืดลดลง
ดังนั้นของเหลวพวกนี้ก็สามารถในปั๊มลูกสูบได้ถ้าหากว่ามันมีอุณหภูมิสูงพอและไม่มีปัญหาเรื่องการสลายตัวเนื่องจากความร้อน
แต่ถ้าเป็นกรณีของของเหลวที่หนืดและไม่ต้องการให้ได้รับความร้อน
(ด้วยเกรงว่ามันจะสลายตัวหรือไม่อยากมีหน่วยให้ความร้อนของเหลวเพิ่มเติมเข้ามาให้ยุ่งยาก)
ปั๊มเฟืองก็เป็นตัวเลือกตัวหนึ่ง
ผมเองเคยมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมโรงงานรับผลิตผลิตภัณฑ์สุขอนามัยใช้กับร่างกาย
(พวก
แชมพู สบู่เหลว ยาสีฟัน โลชัน
ครีมทาผิว อะไรทำนองนี้)
โรงหนึ่ง
ก็เห็นเขาใช้ปั๊มเฟืองในการสูบส่วนผสมที่เป็นของเหลวหนืดจากถังเก็บเข้าสู่ถังผสม
ข้อควรคำนึงข้อหนึ่งในการใช้งานปั๊มที่ทำหน้าที่สูบจ่ายของเหลวหลากหลายชนิดคือ
การปนเปื้อนจากของเหลวที่ทำการสูบจ่ายก่อนหน้าที่ค้างอยู่ในตัวปั๊ม
(เช่นในโรงงานรับผสมสารตามสั่งที่กล่าวมาข้างต้น)
ถ้าเป็นของเหลวที่ไม่หนืดมันก็ล้างออกง่ายหน่อย
แต่ถ้าเป็นของเหลวที่หนืดก็คงต้องมีการล้างกันน่าดู
ดังนั้นในกรณีนี้การติดตั้งปั๊มก็ควรคำนึงถึงขั้นตอนการล้างภายในตัวปั๊มซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนการทำงานปรกติที่ต้องทำเป็นประจำด้วย
ว่าต้องมีท่อระบบสาธารณูปโภคใดเพิ่มเติมเข้ามาอีกนอกเหนือจากท่อของเหลวที่ต้องการสูบจ่าย
รูปที่
๑ ตัวอย่าง P&ID
ของปั๊มโรตารี
(สัญลักษณ์ในรูปเหมือนจะเป็นปั๊มเฟือง)
รูปบนและล่างเป็นรูปเดียวกันเพียงแต่สลับซ้าย-ขวา
พึงสังเกตว่าแม้ว่าจะเป็นปั๊มชนิด
positive
displacement เหมือนปั๊มลูกสูบ
แต่ในกรณีนี้จำเป็นต้องมีวาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับด้านขาออก
(ในรูปเป็นชนิด
swing
check valve)
เพราะด้วยโครงสร้างของตัวปั๊มนั้นมันไม่จำเป็นต้องใช้วาล์วกันการไหลย้อนกลับในการผลักดันให้ของเหลวไหลไปข้างหน้า
ในรูปนี้ไม่มีเกจวัดความดันแสดงเอาไว้
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องมี
รูปที่
๒ ตัวอย่าง P&ID
ของปั๊มโรตารีสองตัว
ที่ตัวหนึ่งเป็นตัวทำงานหลักในขณะที่อีกตัวหนึ่งเป็นตัวสำรอง
ของเหลวที่ออกทางวาล์วระบายความดันจะถูกส่งกลับไปยังท่อด้านขาเข้าหรือถังจ่ายของเหลวให้ปั๊ม
รูปบนและล่างเป็นรูปเดียวกันเพียงแต่สลับซ้าย-ขวา
พึงสังเกตตำแหน่งติดตั้งเกจวัดความดัน
ที่อยู่ระหว่างด้านขาออกจากปั๊มกับวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
ในตำแหน่งเดียวกับกรณีของปั๊มหอยโข่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น