ตอนเรียนอยู่ต่างประเทศ
เวลาที่ต้องทำความเข้าใจทฤษฎีใหม่
คำถามหนึ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาของผมถามผมมาก็คือ
"ได้ไปอ่านบทความต้นฉบับแล้วหรือยัง"
บทความต้นฉบับในที่นี้คือบทความแรกที่มีการนำเสนอแนวความคิดใหม่นั้น
ความสำคัญของการอ่านบทความนี้ก็คือทำให้ทราบว่าในครั้งแรกที่มีการนำเสนอแนวความคิดใหม่นี้
ผู้เขียนบทความดังกล่าวได้กล่าวอะไรไว้บ้าง
เพราะเมื่อบทความดังกล่าวถูกอ้างอิงต่อมาเรื่อย
ๆ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือความผิดเพี้ยน
ไม่ว่าจะเป็นด้วยการแปลหรือการตีความหมายคำ
ความผิดเพี้ยนหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ผมเห็นว่าน่ากังวลก็คือเมื่อมีการนำทฤษฎีดังกล่าวไปตีความเพื่อรองรับกับเหตุการณ์หนึ่ง
แต่กลับมีการนำไปขยายความจนทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าทฤษฎีนั้นใช้ได้กับเหตุการณ์ทั่วไป
หรือเกิดการบิดเบือนความหมายดั้งเดิมที่มีการนำเสนอครั้งแรกนั้นไปเป็นอย่างอื่น
รูปที่
๑ ผลการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค
XRD
นำมาจากบทความของ
สุกัญญา แก้วแสง,
อภิชัย
เทอดเทียนวงษ์ และสุภาภรณ์
เทอดเทียนวงษ์,
"การปรับปรุงสมรรถนะตัวเร่งปฏิกิริยาทอง-นิกเกิลบนคาร์บอน
(AuNi/C)
สำหรับปฏิกิริยาอิเล็กโทรออกซิเดชันของกลูโคสในด่าง"
ผลงานนำเสนอในการประฃุมวิชาการทางวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย
ครั้งที่ ๒๔ ณ โรงแรมฟูรามา
จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่
๑๘ และวันศุกร์ที่ ๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๗
ในกรณีของ
Scherrer's
equation ที่มักมีการนำมาใช้ในการคำนวณหา
"ขนาดของผลึก"
นั้น
ผมก็สงสัยว่ามันเกิดปัญหาดังกล่าวเช่นกัน
ผลึกเป็นรูปทรงสามมิติ
เกิดจากการที่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมมีการจัดเรียงตัวกันเป็นรูปแบบเฉพาะที่แน่นอนที่ซ้ำไปมาต่อเนื่องกัน
แต่ละพีคการหักเหที่เห็นจากผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
x-ray
diffraction หรือ
XRD
นั้นเป็นสัญญาณที่เกิดจากการหักเหของ
"ระนาบ"
ใดระนาบหนึ่งของผลึกนั้น
ถ้าตำแหน่งมุมที่เกิดการหักเหเป็นตัวบอกระยะห่างระหว่างชั้นอะตอมหรือกลุ่มอะตอมของระนาบนั้น
การแผ่กว้างของพีคการหักเหก็เป็นตัวบ่งบอกถึงขนาดความหนาของชั้นระนาบนั้นว่ามีซ้อนกันอยู่กี่มากน้อยเท่าใด
ดังนั้นถ้าจะว่ากันตามนี้ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าการคำนวณหา
"ขนาดผลึก"
ด้วยการใช้พีค
XRD
เพียงแค่ไม่กี่ตำแหน่ง
(เช่นเพียงหนึ่งหรือสองตำแหน่ง)
โดยใช้
Scherrer's
equation นั้น
เป็นวิธีการที่เหมาะสมหรือไม่
เรื่องของ
Scherrer's
equation นั้นผมเคยกล่าวเอาไว้บ้างแล้ว
สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักสามารถอ่านได้ที่
memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๙๙ วันพฤหัสบดีที่
๑๔ มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง "Scherrer'sequation"
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๔ วันพฤหัสบดีที่
๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง "Scherrer'sequation (ตอนที่๒)"
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๘๑ วันพฤหัสบดีที่
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ เรื่อง "Scherrer'sequation (ตอนที่๓)"
รูปที่
๒ คำอธิบายผลการหาขนาดผลึกด้วยการคำนวณโดยใช้
Scherrer's
equation (จากกราฟ
XRD
ในรูปที่
๑)
และจากการวัดขนาดโดยตรงจากรูปถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน
(Transmission
electron microscope - TEM) ในรูปที่
๓
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
บังเอิญได้ไปเป็นบทความหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้
Scherrer's
equation ในการคำนวณหาขนาดของผลึก
โดยผมได้คัดลอกเอาผลการทดลองบางส่วนและข้อสรุปที่เกี่ยวข้องที่บทความฉบับนี้ได้กล่าวไว้มาลงไว้ในรูปที่
๑-๓
สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายคือบทความดังกล่าวไม่ได้ให้รายละเอียดของวิธีการคำนวณ
ไม่ว่าจะเป็น ค่า shape
factor K ที่ใช้
การปรับแก้ค่าความกว้างของพีคที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความสูง
(B)
ว่ามีการกระทำหรือไม่อย่างไรและด้วยวิธีการไหน
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกพีคที่นำมาทำการคำนวณ
(ดูเหมือนว่าจะใช้เพียงแค่พีคเดียว)
และมีการทำ
peak
deconvolution หรือไม่
โดยเฉพาค่า shape
factor K1 และความกว้างของพีค
(B)
ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อขนาดผลึกที่คำนวณได้
(กล่าวคือจะทำให้ได้ผลึกเล็กหรือผลึกใหญ่ก็ได้)
แต่บทความนี้ได้ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีมากอันหนึ่งก็คือ
ภาพถ่าย "ผลึก"
โลหะด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
และการวัดขนาด "ผลึก"
โลหะนั้นจากภาพถ่ายที่ได้
ที่แสดงให้เห็นชัดว่าขนาดผลึกที่แท้จริงที่มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนั้น
(รูปที่
๓)
มัน
"ใหญ่"
กว่าค่าที่คำนวณได้จาก
Scherrer's
equation อยู่มาก
(รูปที่
๒)
รูปที่ ๓ ภาพถ่าย TEM แผนภูมิการกระจายขนาดอนุภาคที่วัดได้ (จากจำนวน ๔๐๐ อนุภาค) จากบทความของ สุกัญญา แก้วแสง และคณะ ที่เห็นเป็นจุดสีดำเข้มในรูปคือผลึกโลหะแต่ละผลึก
บ่อยครั้งที่พบว่ามีการคำนวณ
"ขนาดผลึก"
ด้วยการใช้
Scherrer's
equation
โดยไม่มีการหักผลที่เกิดจากตัวเครื่องมือออกจากค่าความกว้างของพีค
(B)
ที่วัดได้
ทั้งนี้คงเป็นเพราะค่าดังกล่าวเป็น
"ตัวหาร"
ในสมการคำนวณ
"ความหนาของระนาบ"
การหักผลที่เกิดจากตัวเครื่องมือออกจากค่า
B
ที่วัดได้นั้นจะทำให้ตัวหารนี้มีค่าลดลง
ซึ่งจะส่งผลให้ "ขนาดผลึก"
ที่คำนวณได้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ซึ่งก็ทำให้ค่าที่คำนวณได้นั้นมันใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น
แต่มันไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มวิจัยหลายต่อหลายกลุ่มต้องการที่ต้องการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าผลึกที่ตนเตรียมได้นั้นเป็นผลึก
"นาโนขนาดเล็ก"
ผลการวิเคราะห์ของบทความที่นำมาให้ดูนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าค่าที่คำนวณได้จาก
Scherrer's
equation
และค่าที่ได้จากการวัดจากภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก
โดยเฉพาะค่า 2.42
nm ที่คำนวณได้จาก
Scherrer's
equation
นั้นดูเหมือนว่าจะมีค่าที่ต่ำกว่าค่าที่เล็กที่สุดที่ยังสามารถนำเอา
Scherrer's
equation ไปประยุกต์ใช้งานได้
คือประมาณ 3
nm เรื่องนี้เคยกล่าวไว้ใน
memoirฉบับที่๖๘๑ แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น