วาล์วที่ต้องมีการใช้งานเป็นประจำ
ก็ต้องออกแบบให้วาล์วดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งที่พนักงานฝ่ายผลิต
(หรือที่เราเรียกกันว่าโอเปอร์เรเตอร์)
สามารถเข้าถึงเพื่อไปเปิด-ปิดมันได้ง่าย
ในกรณีที่แนวท่ออยู่บน pipe
rack ก็อาจใช้การเดินท่อเป็นรูปตัว
U
ลงมาที่ระดับพื้นและติดตั้งวาล์วในส่วนของท่อรูปตัว
U
นี้ในตำแหน่งที่สามารถยืนเปิด-ปิดได้สะดวก
หรือถ้ายังต้องติดตั้งวาล์วอยู่ที่ระดับ
pipe
rack ก็อาจใช้วาล์วพวก
chain
wheel valve ที่ตัว
hand
wheel ของวาล์วนั้นมีโซ่คล้องและใช้การชักรอกโซ่นั้นเพื่อหมุน
hand
wheel หรือไม่ก็สร้าง
platform
พร้อมทางขึ้น-ลงถาวรไปยังวาล์วตัวนั้นเลย
แต่สำหรับวาล์วที่นาน
ๆ ใช้ที (ประเภทใช้ปีละครั้งหรือนานกว่านั้น)
หรือเป็นวาล์วที่ไม่ต้องการให้ใครไปยุ่งโดยไม่ต้องการ
พอมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเปิดหรือปิดวาล์วทีก็จะใช้การสร้างนั่งร้านชั่วคราวเพื่อให้เข้าถึงวาล์วตัวนั้นได้
พอเสร็จงานเรียบร้อยก็รื้อนั่งร้านออก
gate
vale ขนาด
30
นิ้วของท่อ
flare
ของโรงกลั่นน้ำมัน
BP
ที่เมือง
Grangemouth
ก็เป็นแบบนี้
พอมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปปิดหรือเปิดวาล์วตัวไหน
ก็จะใช้การสร้างนั่งร้านชั่วคราวที่มีบันไดปีนขึ้นลง
รูปที่
๕ ภาพร่างนั่งร้านที่สร้างเพื่อให้สามารถเข้าถึงวาล์ว
V17
(ภาพนี้เพื่อให้มองเห็นภาพ
ไม่ได้กะวาดให้เหมือนจริง)
ในย่อหน้าที่
๑๙ ของรายงานอุบัติเหตุกล่าวไว้ว่า
หลายเดือนก่อนเกิดอุบัติเหตุ
(ไม่ได้มีการระบุเวลาที่แน่ชัด)
ได้มีการสร้างนั่งร้านเพื่อเข้าถึงวาล์ว
V17
โดยนั่งร้านดังกล่าวมีบันไดขึ้นลง
"เพียงฟากเดียว"
(รูปที่ ๕)
การที่พนักงานจะข้ามไปยังอีกฟากหนึ่งของตัววาล์ว
(เพื่อการถอดนอต)
จำเป็นที่ต้องมุดลอดหรือปีนข้ามตัววาล์ว
และข้อจำกัดนี้ก็มีส่วนทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ทางด้านที่ไม่มีบันได้นั้นไม่สามารถหนีออกมาได้ทันเมื่อเกิดการรั่วไหล
เรื่องเปิด-ปิดวาล์วตัวใหญ่
ๆ เนี่ย มีปีหนึ่งไปตรวจนิสิตฝึกงานที่ระยอง
พบกับศิษย์เก่าของภาควิชาที่ทำงานอยู่ที่นั่น
เชามาเล่าให้ฟังว่าเข้าใจแล้วว่าที่อาจารย์เคยบอกว่าของจริงมันไม่เหมือนกับในตำรา
เวลาเปิด-ปิดวาล์วตัวใหญ่ทีก็ต้องไปกันสองคน
พอคนแรกหมุนจนเหนื่อยก็ให้คนที่สองสลับมาทำหน้าที่แทน
เรียกว่าก็ได้เหงื่อกว่าจะเปิด-ปิดวาล์วเสร็จ
รูปที่
๖ แผนผังระบบ flare
ตัดมาเฉพาะส่วนที่ทำการตัดแยกระบบ
(เส้นประ)
รูปสามเหลี่ยมแสดงทิศทางการลาดเอียงของท่อ
flare
(คือมันต้องลาดเอียงลงไปหา
Knock
out drum) จุด
"A"
เป็นจุดแยกที่มีการลาดเอียงต่างทิศทางกัน
ทางด้านซ้ายจะลาดเอียงไปยัง
Knock
out drum 1 ส่วนทางด้านขวาจะลาดเอียงไปยัง
Knock
out drum 2 ก่อนหน้าวาล์ว
V6
มี
drain
valve อยู่ตัวหนึ่งตรงที่เขียนว่า
stub
connection
(เป็นวาล์วที่ใช้ในการทดสอบที่ตกค้างมาจากสมัยการสร้างระบบท่อ)
วาล์วตัวนี้สามารถใช้ทดสอบได้ว่ามีของเหลวค้างในท่อ
flare
ช่วงที่ได้ทำการตัดแยกระบบหรือไม่
แต่ด้วยการที่มันอยู่สูงจากพื้น
และการตรวจสอบที่ drain
valve ของ
Knock
out drum 1 ไม่พบว่ามีของเหลวไหล
ก็เลยไม่มีการตรวจสอบที่นี่
ทีนี้ลองมาดูกันว่าก่อนเกิดอุบัติเหตุนั้นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง
(ในที่นี้จะขอเลือกมาเฉพาะบางเหตุการณ์เท่านั้น)
ปลายเดือนมกราคม
๒๕๓๐ หน่วย Crude
Oil Distillation Unit 3 (COD3) หยุดเดินเครื่องเพื่อการซ่อมบำรุง
จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์
หน่วย Alkylation
Unit และ
Catalytic
Cracker ก็หยุดเดินเครื่อง
ในช่วงจังหวะเวลานี้ก็เลยมีการเตรียมการปรับเส้นทางการไหลของแก๊สที่เดิมส่งออกมายัง
Flare
1 ให้ส่งออกไปทางอื่น
ท่อ flare
จากสองหน่วยนี้ที่ส่งมายัง
Flare
1 ได้รับการใส่
"Blank
spade" เอาไว้
(ทำให้มั่นใจได้ว่าแม้ว่าวาล์วจะรั่ว
แต่การรั่วไหลนั้นก็ไม่สามารถผ่านเข้าระบบท่อ
flare
ที่ส่งตรงไปยัง
Flare
1 ได้)
พอวันจันทร์ที่
๙ มีนาคม ๒๕๓๐ หน่วย COD3
ก็พร้อมที่จะเดินเครื่องใหม่อีกครั้ง
ในการนี้จำเป็นต้องมีการปิดวาล์ว
V10
เพื่อปิดกั้นไม่ให้แก๊สไหลเข้าระบบท่อที่ส่งไปยัง
Flare
1 โดยให้ไหลผ่านวาล์ว
V12
ไปยังระบบ
Flare
2 แทน
ในงานนี้โอเปอร์เรเตอร์พบว่าเป็นการยากที่จะหมุน
hand
wheel ของ
gate
valve V10 และเมื่อพบว่าไม่สามารถที่จะหมุน
hand
wheel ต่อไปได้อีกแม้ว่าจะมีการใช้
wheel
key และมีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นเพื่อช่วยในการหมุนแล้วก็ตาม
โอเปอร์เรเตอร์ที่ทำหน้าที่ปิดวาล์ว
V10
ก็คิดว่าวาล์ว
V10
ปิดสนิทแล้ว
แม้ว่า valve
spindle ยังโผล่ยื่นเลย
hand
wheel ออกมาประมาณ
75-100
mm
ตรงนี้ผมว่าก็น่าเห็นใจโอเปอร์เรเตอร์ที่ทำหน้าที่ปิดวาล์วตัวดังกล่าวเหมือนกัน
เพราะวาล์วที่นาน ๆ
(คือแบบนานเป็นปี)
ใช้งานทีและคงไม่ได้มีวาล์วแบบเดียวกันนี้ที่ใช้ในระบบอื่นที่มีการปิด-เปิดบ่อย
จึงทำให้โอเปอร์เรเตอร์ไม่รู้ว่าเมื่อวาล์วปิดสนิทนั้นตัว
valve
spindle ควรโผล่ยื่นออกมาไม่เกินเท่าไร
สิ่งเดียวที่เขาทำได้ก็คือหมุนไปเรื่อย
ๆ จนพบว่าไม่สามารถหมุนได้อีก
(คือไม่สามารถเคลื่อนตัวแผ่น
gate
ให้ลดต่ำลงได้อีก)
ก็จะถือว่าวาล์วตัวนั้นปิดสนิทแล้ว
แต่การที่มีอะไรบางอย่างมาขวางกั้นการเคลื่อนที่ของแผ่น
gate
ทำให้แผ่น
gate
ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้สุด
ก็ทำให้ไม่สามารถหมุน hand
wheel ได้เช่นกัน
ดังนั้นระยะการโผล่ยื่นออกมาของ
valve
spindle จะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่บอกให้รู้ว่าการที่ไม่สามารถหมุน
hand
wheel
ได้อีกนั้นเป็นเพราะว่าวาล์วปิดสนิทแล้วหรือมีอะไรบางอย่างมาขวางกั้นการเคลื่อนที่ของแผ่น
gate
และที่สำคัญคือการปิดกั้นแก๊สที่ไหลออกมาจาก
COD3
ไปยัง
Flare
2 ไม่ให้รั่วไหลผ่านวาล์ว
V10
เข้าสู่ระบบท่อไปยัง
Flare
1 นั้นอาศัยการพึ่งการปิดวาล์ว
V10
เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการใส่
"blank
spade" (หรือ
blind
plate) เหตุผลตรงนี้ในรายงานไม่ได้กล่าวไว้
(ในขณะที่แก๊สที่มาจากหน่วยอื่นมีการใส่
blank
spade) แต่อาจเป็นไปได้ว่าตรงวาล์ว
V10
ไม่มีที่ว่างสำหรับให้ใส่
blank
spade (คือไม่มีการใส่
ring
spacer เอาไว้)
วาล์ว
V6
V10 V12 และ
V17
ของท่อ
Flare
ติดตั้งในรูปแบบที่แสดงในรูปที่ ๕ คือให้ตัว valve
spindle ขนานไปกับพื้นทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตัว
hand
wheel นั้นอยู่สูงเกินไป
ในรายงานไม่ได้มีการกล่าวถึงวาล์ว
V11
แต่เชื่อว่าน่าจะมีรูปแบบการติดตั้งแบบเดียวกัน
การติดตั้งวาล์วเข้ากับท่อในแนวนอนทำให้ตัวแผ่น
gate
นั้นวางตั้งในแนวดิ่ง
ในรายงานเรียกว่าเป็นการติดตั้งแบบ
"mounted
horizontally with wedge gate in the vertical position"
การติดตั้งวาล์ว
gate
valve
รูปแบบนี้มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือสิ่งสกปรกที่เป็นของแข็งภายในท่อสามารถสะสมอยู่ที่ร่องของตัววาล์ว
(ที่เป็นช่องทางให้แผ่น
gate
เลื่อนตัว)
ได้ง่าย
และถ้าสิ่งสกปรกสะสมในร่องนี้มากพอก็จะทำให้ไม่สามารถเลื่อนแผ่น
gate
เพื่อปิดวาล์วได้สุด
ความชื้นและออกซิเจนเป็นตัวการทำให้เหล็ก
(Fe)
เป็นสนิม
(FeO)
สนิมเหล็กบนผิวนอกของท่อสามารถกำจัดได้ด้วยการพ่นทราย
(sandblasting
หรือที่บ้านเราเรียกกันย่อ
ๆ ว่า sandblast)
แต่สำหรับผิวด้านในของท่อนั้นไม่สามารถใช้การพ่นทรายได้
แต่กำจัดได้ด้วยการผ่านไอน้ำเข้าไปในท่อ
ความร้อนจากไอน้ำทำให้ท่อเหล็กขยายตัว
แต่โลหะเหล็กและสนิมเหล็กมีค่าการขยายตัวที่แตกต่างกัน
ทำให้สนิมเหล็กหลุดร่อนออกจากผิวท่อ
ท่อ flare
เองก็เป็นเสมือนกับท่อน้ำทิ้งที่รับเอาแก๊สทิ้งสารพัดอย่างจากสารพัดหน่วย
ดังนั้นการเกิดสนิมเหล็กภายในท่อจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
และด้วยการที่ท่อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเสมอ
จึงเป็นไปได้ที่จะมีสนิมเหล็กหลุดร่อนออกมาจากผิวท่อและไปค้างที่ตัววาล์ว
รูปที่ ๗ อันนี้เป็นตัวอย่าง wheel
key ที่ใช้สำหรับขันปิดฝา
autoclave
ให้แน่น
wheel
key ที่ใช้สำหรับหมุน
hand
wheel ของวาล์วตัวใหญ่ก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน
รูปนี้ถ่ายเอาไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม
๒๕๕๕
ตอนที่เดินทางไปตรวจรับครุภัณฑ์ที่สระบุรีและเคยนำมาลงไว้ครั้งหนึ่งใน
Memoir
เรื่อง
"การเปิดวาล์วหัวถังแก๊สที่ปิดแน่น (วิธีที่ ๒)"
gate
valve ที่ติดตั้งเข้ากับท่อในแนวดิ่งโดยที่ตัวแผ่น
gate
อยู่ในแนวนอน
(รูปที่ ๘)
มีโอกาสน้อยกว่าที่จะมีสิ่งสกปรกไปตกค้างอยู่ที่ร่องที่เป็นที่เคลื่อนตัวของแผ่น
gate
แต่ตรงนี้ก็คงต้องดูที่อัตราการไหลภายในท่อด้วย
ท่อที่มีของไหลไหลด้วยความเร็วสูงผ่านตลอดเวลา
ของแข็งภายในท่อก็มีโอกาสสูงที่จะถูกพัดพาไปกับการไหลจนกว่าจะไปพบกับมุมอับหรือทางตัน
ในขณะท่อที่มีการไหลไม่สม่ำเสมอนั้นมีโอกาสสูงกว่าที่ของแข็งนั้นจะสะสมอยู่ตามเส้นท่อในแนวนอน
และถ้าของแข็งนั้นเกาะรวมตัวกันเป็นก้อนที่ใหญ่ขึ้น
ก็ยากที่จะถูกพัดพาไปกับการไหล
เป็นเรื่องปรกติของโรงกลั่นน้ำมันที่น้ำมันดิบที่นำมากลั่นมักจะมีสารประกอบกำมะถันปะปนอยู่ในรูปของสารประกอบกำมะถันอินทรีย์
ในระหว่างกระบวนการผลิตนั้นสารประกอบกำมะถันบางส่วนจะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์
(Hydrogen
sulphide H2S)
แก๊ส
H2S
นี้สามารถทำปฏิกิริยากับสนิมเหล็ก
(FeO)
ทำให้สนิมเหล็กกลายเป็นสารประกอบเหล็กซัลไฟด์ต่าง
เช่น FeS
สารประกอบเหล็กซัลไฟด์นี้จัดเป็นสาร
pyrophoric
กล่าวคือเมื่อพบกับออกซิเจนจากอากาศก็สามารถที่จะลุกติดไฟได้เอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยู่ในรูปของผงละเอียดเช่นเกิดจากผงสนิมเหล็กที่อยู่ในระบบท่อและอุปกรณ์ต่าง
ๆ ของกระบวนการผลิต
กลายเป็นสารประกอบเหล็กออกไซด์และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(sulphur
dioxide SO2)
และความกังวลที่ว่าจะมี
FeS
อยู่ในระบบท่อ
flare
ซึ่ง
FeS
นี้อาจลุกติดไฟได้เองถ้าหากมีอากาศรั่วไหลเข้าไปในระบบท่อ
flare
ในขณะที่ทำการถอดวาล์วออก
ก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งประกอบการตัดสินใจทำงานที่ส่งผลต่อการพิจารณาถึงเรื่อง
"ความเสี่ยงที่ยอมรับได้"
ในขณะทำงาน
รูปที่ ๘ gate
valve ตัวนี้ติดตั้งเข้ากับท่อในแนวดิ่ง
ตัวแผ่น gate
จะอยู่ในแนวนอน
เวลาที่วาล์วเปิด
โอกาสที่สิ่งสกปรกจะเข้าไปสะสมในร่องที่เป็นที่เคลื่อนตัวของแผ่น
gate
จะน้อยกว่าการติดตั้งวาล์วเข้ากับท่อในแนวนอน
ในเช้าวันพุธที่
๑๑ มีนาคม มีการเตรียมการถอดวาล์ว
V17
โดยได้มีการถอดนอตที่หน้าแปลนยึดวาล์วแบบตัวเว้นตัว
และทำการหล่อลื่นนอตส่วนที่เหลือ
(เรียกว่าถอดออกให้ก่อนครึ่งหนึ่ง
พวกที่จะมาทำการถอดวาล์วจะได้ทำงานน้อยลงและถอดนอตส่วนที่เหลือได้ง่ายขึ้น)
เนื่องจากในวันนี้ยังไม่ได้มีแผนการที่จะถอดวาล์ว
V17
ออกและนอตส่วนที่เหลือก็ยังสามารถปิดหน้าแปลนได้สนิทโดยไม่มีการรั่วไหล
(นอตตัวที่เหลืออยู่ยังขันตึงเหมือนเดิม
ไม่ได้มีการคลายออก)
จึงยังไม่ได้มีการตรวจสอบสภาพภายในท่อว่ามีแก๊สหรือของเหลวค้างอยู่หรือไม่
เนื่องจากวาล์ว
V17
มีขนาดใหญ่
(ท่อ
30
นิ้ว)
และอยู่บนที่สูง
จึงได้มีการเตรียมรถเครนเอาไว้สำหรับยกวาล์วและ
ring
spacer
และด้วยความกังวลว่าจะมีแก๊สพิษที่ตกค้างอยู่ในระบบท่อจะรั่วไหลออกมาทำอันตรายให้กับผู้ทำงาน
จึงได้กำหนดให้ผู้ทำงานต้องสวมหน้ากากออกซิเจนในระหว่างการทำงาน
แต่บริเวณดังกล่าวไม่มีท่อจ่ายอากาศไปถึง
จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องอัดอากาศที่เดินเครื่องด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อจ่ายอากาศให้กับผู้ทำการถอดวาล์ว
ในช่วงเช้าของวันเกิดเหตุ
ฉากสถานที่เกิดเหตุก็เป็นดังแสดงในรูปที่ ๙ ข้างล่าง
ตอนนี้ฉากก็พร้อมแล้ว
เหลือเพียงแค่ผู้แสดงที่จะมาเข้าฉากตามเวลาที่กำหนด
รูปที่
๙ แผนผังบริเวณสถานที่ทำงานก่อนเกิดอุบัติเหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น