ปฏิกิริยา
Hydration
คือปฏิกิริยาการเติมน้ำเข้าไปในโมเลกุล
ปฏิกิริยานี้ถ้าเกิดที่ตำแหน่งพันธะคู่ของอะตอมคาร์บอน
(-C=C-) ก็จะได้หมู่ไฮดรอกซิล
(-C-C(OH)-)
แต่ถ้าเกิดที่วงอีพอกไซด์
(Epoxide) ก็จะได้ไกลคอล
(-C(OH)-C(OH)-)
ในทางกลับกัน
ปฏิกิริยา Dehydration
คือปฏิกิริยาการดึงน้ำออกจากโมเลกุล
ปฏิกิริยานี้ถ้าเกิดกับหมู่ไฮดรอกซิลที่อยู่โดดเดี่ยวบนสายโซ่คาร์บอนก็จะได้พันธะคู่
(-C=C-)
ที่เกิดจากหมู่
-OH
และอะตอมไฮโดรเจนจากอะตอมคาร์บอนที่อยู่เคียงข้างอะตอมคาร์บอนที่มีหมู่
-OH
เกาะอยู่
แต่ถ้าเกิดระหว่างหมู่ -OH
2 หมู่ที่อยู่บนอะตอมคาร์บอนที่อยู่เคียงข้างกัน
ก็จะได้วงอีพอกไซด์
ปฏิกิริยา
Hydration
และ
Dehydration
นี้บางทีก็หมายความรวมถึงเติม/ดึงโมเลกุล
H2O
เข้า/ออกจากโมเลกุลสาร
ในกรณีนี้น้ำที่เติมเข้าไปหรือดึงออกมานั้นเป็นน้ำในรูป
H2O
ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือทำลายหมู่
-OH
อาจเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนโมเลกุลของน้ำที่อยู่รวมกับสารตั้งต้นก็ได้
ปฏิกิริยา
Hydroxylation
คือปฏิกิริยาการเติมหมู่
-OH
เข้าไปในโมเลกุล
ความแตกต่างระหว่างปฏิกิริยานี้กับปฏิกิริยา
Hydration
คือในปฏิกิริยา
Hydration
นั้นทำการเติม
H-OH
กล่าวคือมีการเติมอะตอม
H
และ
หมู่ -OH
เข้าไปโมเลกุลสารตั้งต้น
ซึ่งทำให้ได้สารใหม่ที่มีหมู่
-OH
แต่ปฏิกิริยา
Hydroxylation
นั้นเป็นการทำให้สารตั้งต้นมีหมู่
-OH
เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีการเติมอะตอม
H
เข้าไปเพิ่ม
เช่นในการเปลี่ยนเบนซีน
(C6H6)
ไปเป็นฟีนอล
(C6H5OH) ด้วย
H2O2
นั้นจะเห็นว่ามีจำนวนอะตอมไฮโดรเจนของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ยังคงเท่าเดิม
แต่มีอะตอมออกซิเจนเพิ่มขึ้น
1
อะตอม
(อันที่จริงเป็นการดึง
H
ออก
1
อะตอมและใส่
-OH
เข้าไปแทน)
ในทางกลับกัน
ปฏิกิริยา Dehydroxylation
ก็คือปฏิกิริยาการกำจัดหมู่
-OH
ออกจากโมเลกุลสารตั้งต้น
ซึ่งมักจะเป็นการเปลี่ยน
-OH
ให้กลายเป็น
-H
โดยที่ไม่มีการทำให้เกิดพันธะคู่
(-C=C-)
Stereoisomer
เป็นไอโซเมอร์ที่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมในสามมิติที่แตกต่างกัน
(คือเป็นสารที่มีสูตรทางเคมีและรูปร่างของโมเลกุลเหมือนกัน
แต่ตำแหน่งที่เกาะของโมเลกุลแตกต่างกัน) สารที่เป็น
stereoisomer
ที่ไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างอย่างรวดเร็วจะมีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแยกออกจากกันได้
ไอโซเมอร์ชนิดนี้เรียกว่า
configuration
isomer ในขณะที่
stereoisomer
ที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างกลับไปกลับมาได้อย่างรวดเร็วโดยการหมุนของพันธะโควาเลนซ์จะเรียกว่า
conformational
isomer (ดูรูปที่
๑ และ ๒)
Chiral
isomer เป็น
configurational
isomer ที่มี
chiral
หรือ
disymmetric
molecule ถ้าหากโมเลกุลสองโมเลกุลเหมือนกันทุกประการ
ทั้งสองโมเลกุลนั้นจะต้องสามารถวางซ้อนทับกันได้ทุกๆจุด
แต่ในกรณีของ chiral
molecule แล้วจะมีลักษณะเป็นภาพเงาในกระจกของกันและกัน
ซึ่งเรียกกันว่า enantiomer
ซึ่งไม่สามารถซ้อนทับกันได้
ในกรณีของสารประกอบคาร์บอน
Chiral
isomer จะเกิดขึ้นเมื่ออะตอมคาร์บอนมีหมู่ที่มาเกาะ
4
หมู่นั้นไม่เหมือนกันเลย
เช่นในกรณีของ 2-Butanol
H3C-CH2-C(OH)H-CH3
จะเห็นว่าอะตอม
C
ตัวที่เน้นสีน้ำเงินนั้นมีหมู่มาเกาะ
4
หมู่ที่ไม่เหมือนกันคือ
H3C-CH2-,
-H, -OH และ
-CH3
ดังนั้น
2-Butanol
จึงมี
2 ไอโซเมอร์ดังแสดงในรูปที่
๓
อะตอมที่มีหมู่มาเกาะ
4
หมู่ไม่เหมือนกันนี้จะเรียกว่าเป็น
chiral
centre
รูปที่
๑ การหมุนรอบพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมที่
2
และ
3
ของโมเลกุลบิวเทน
(C4H10)
และการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของโมเลกุล
รูปที่
๒ การบิดโครงสร้างวงแหวนของโมเลกุล
cyclohexane
(C6H12)
รูปที่
๓ Chiral
isomer ของโมเลกุล
2-butanol
จะเห็นว่าโมเลกุล
(ก)
และ
(ข)
จะเป็นภาพในกระจกเงาของกันและกัน
ทั้งสองโมเลกุลมีหมู่ฟังก์ชันที่เหมือนกัน
และมีโครงสร้างโมเลกุลแบบเดียวกัน
แต่ถ้าทำการบิดโมเลกุล (ก)
ให้หมู่
-CH2CH3
หมู่
-H
และอะตอม
C
ตัวที่มีหมู่มาเกาะ
4
หมู่นั้นให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน
(จะได้รูป
(ค))
จะเห็นว่าหมู่
-OH
และ
-CH3
จะอยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน
กล่าวคือโมเลกุลไม่สามารถซ้อนทับกันได้
เปรียบเสมือนมือซ้ายและมือขวา
(ในการอ่านรูปนี้
พันธะที่เป็นเส้นตรงทึบให้ถือว่าอยู่บนระนาบของกระดาษ
พันธะที่เป็นสามเหลี่ยมทึบให้ถือว่ายื่นออกมาจากระนาบกระดาษ
และพันธะที่เป็นสามเหลี่ยมประให้ถือว่ายื่นไปทางด้านหลังระนาบกระดาษ
ส่วนโมเลกุลที่ภาพเงาของมันนั้นเหมือนกับตัวมันเองจะเรียกว่ามีคุณสมบัติ
achiral
(reflection symmestry) โมเลกุลประเภทนี้จะไม่มี
enantiomer
เมื่อโมเลกุลสารอินทรีย์เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
จำนวนของ chiral
centre ในแต่ละโมเลกุลก็มีสิทธิ์ที่จะเพิ่มมากตามไปด้วย
ที่เห็นเป็นประจำตอนเรียนเคมีหรือชีววิทยาคือกรณีโมเลกุลน้ำตาล
เช่นน้ำตาล C6 ที่แสดงในรูปที่
๔ ข้างล่าง
รูปที่
๔ (ซ้าย) โมเลกุลของน้ำตาล
D-Glucose
แตกต่างจาก
(ขวา) โมเลกุลของน้ำตาล
D-Galactose
ตรงการสลับตำแหน่งหมู่
-OH
ที่ตีกรอบเอาไว้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
โมเลกุลของน้ำตาล C6 ดังกล่าวมี
chiral
centre 4 ตำแหน่ง
Pseudo- แปลว่าเทียม
มักใช้ประกอบคำเพื่อให้มีความหมายว่าลอกเลียนแบบ
ตัวอย่างเช่น Ephedrine
และ
Pseudoephedrine
ทั้งสองเป็นโมเลกุลที่สามารถพบได้ในธรรมชาติในพืชบางชนิด
แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันจะได้มาจากการสังเคราะห์
สารเคมีทั้งสองตัวนี้ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์เป็นยาแก้แพ้และลดน้ำมูกในยาแก้หวัด
โครงสร้างโมเลกุลของสารทั้งสองแสดงในรูปที่
๕ ข้างล่าง
รูปที่
๕ (คู่บน) Ephedrine และ
(คู่ล่าง) pseudoephedrine ต่างมี
chicral
centre 2 อะตอมต่อโมเลกุล
(ตรงเลข 1 และ 2 ที่กำกับอยู่ในรูป) ดังนั้นแต่ละโมเลกุลจึงมีไอโซเมอร์ได้
2
แบบ
(ภาพจาก
www.en.wikipedia.org)
ที่น่าสนใจคือ
ถ้ากำจัดหมู่ -OH
ที่วงกลมแดงด้วยปฏิกิริยา
dehydroxylation
ให้กลายเป็น
-H
ได้จะเกิดอะไรขึ้น
คำตอบอยู่ในรูปที่ ๖ ในหน้าถัดไป
รูปที่
๖ โครงสร้างโมเลกุลของ
(บน) pseudoephedrine นำมาแสดงเพื่อเปรียบเทียบกับ
(ล่างซ้าย)
amphetamine และ
(ล่างขวา) methamphetamine จะเห็นว่า
methamphetamine
แตกต่างจาก
pseudoephedrine
ตรงที่ไม่มีหมู่
-OH
และถ้าเปลี่ยนหมู่
-CH3
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
N
ให้กลายเป็น
-H
ก็จะได้
amphetamine
ตอนนี้คงเห็นภาพแล้วนะว่า
ทำไมถึงมีการหายไปของยาแก้หวัดที่ผสม
pseudoephedrine
จากโรงพยาบาล