วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สถานีรถไฟคลองบางพระ MO Memoir : Sunday 9 June 2567

"ในเดือนเก้าได้รับงานบ่าวสาวที่คลองบางพระ เป็นการเล่นวงเดียวไม่ใช่ประชันเพราะไม่มีใครกล้าประชัน ..."

ประโยคข้างต้นอยุ๋ในนิยายเรื่อง "คู่กรรม" ของ เหม เวชกร ที่ใช้บรรยากาศคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับคลองท่าถั่วหรือคลองประเวศบุรีรมย์ในปัจจุบันไปจนถึงประตูน้ำท่าถั่วด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเรื่องนี้เคยเล่าไว้ในบทความเรื่อง "คลองท่าถั่ว" (MO Memoir ฉบับวันอังคารที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓) ที่เป็นการเดินทางตามรอยสถานที่ต่าง ๆ ที่ เหม เวชกร ใช้เป็นฉากของเนื้อเรื่อง ถ้าดูจากแผนที่ปัจจุบัน คลองบางพระนี้ก็จะอยู่ระหว่างสถานีคลองบางพระที่อยู่ทางด้านเหนือ และคลองประเวศบุรีรมย์ที่อยู่ทางด้านใต้ ถ้าเป็นแนวทางรถไฟ ปัจจุบันสถานีนี้อยู่ระหว่างสถานีคลองแขวงกลั่นและบางเตย (รูปที่ ๑) แต่ในอดีตนั้นอยู่ระหว่าง สะเตชั่นคลองเปร็ง (อีกชื่อคือสะเตชั่นคลองพระยาเดโช) และสะเตชั่นแปดริ้ว (รูปที่ ๒) ดังนั้นจึงจัดได้ว่าสถานีนี้เป็นสถานีเก่า เพราะมีปรากฏในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อคราวรัชกาลที่ ๕ เสด็จเปิดทางรถไฟสายตะวันออก (รูปที่ ๒)

การไปตระเวณถ่ายรูปในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการตามรอยนิยายเหมือนครั้งที่แล้ว แต่เป็นการไปเก็บบรรยากาศสถานีรถไฟสายตะวันออกช่วงก่อนถึงฉะเขิงเทรา สถานีต่าง ๆ ที่แวะไปก็ได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารรูปแบบใหม่ แม้ว่าหลายสถานีจะเป็นสถานีร้างที่คล้ายกับไม่มีการดูแล Memoir ฉบับนี้ก็ถือว่าเป็นบันทึกความทรงจำสถานที่ธรรมดา ๆ อีกแห่งหนึ่งเช่นเคย

รูปที่ ๑ ปัจจุบันสถานีนี้อยู่ระหว่างสถานีคลองแขวนกลั่น (ด้านตะวันตก) และบางเตย (ด้านตะวันออก) 

รูปที่ ๒ จากราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖ เรื่อง "การเปิดรถไฟสายตวันออกและสายเหนือ กับข่าวเสด็จพระราชดำเนิรประพาศ" (สะกดตามต้นฉบับ) มีการกล่าวถึง "สะเตชั่นคลองบางพระ" (ที่หน้าเว็บของราชกิจจาฯ จะบอกว่าเป็นฉบับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐)

 

รูปที่ ๓ ป้ายตารางเวลาขบวนรถไฟที่จอดที่สถานีนี้

รูปที่ ๔ สุดสถานีทางด้านทิศตะวันออก

รูปที่ ๕ ตัวอาคารที่ทำการสถานี
 
รูปที่ ๖ บรรยากาศบนชานชาลาเมื่อมองไปทางทิศตะวันออก

รูปที่ ๗ มองย้อนไปทางทิศตะวันตก

รูปที่ ๘ ถึงตัวอาคารจะเปลี่ยนไป แต่ป้ายเก่ายังคงถูกเก็บรักษาเอาไว้

รูปที่ ๙ เสาโทรเลขทำจากรางรถไฟเก่าก็มีอดีตของมัน

รูปที่ ๑๐ รางที่ใช้ค้ำยันเสา ผลิตในปีค.ศ. ๑๙๓๘

รูปที่ ๑๑ แต่รางที่ใช้ทำตัวเสา ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. ๑๙๑๙ (ช่วงรัชกาลที่ ๖)
 
รูปที่ ๑๒ ระหว่างที่ถ่ายรูปอยู่ก็มีรถไฟแวะเข้ามาจอดพอดี

รูปที่ ๑๓ เป็นขบวนสายกรุงเทพ-กบินทร์บุรี

รูปที่ ๑๔ ผู้โดยสารกำลังจะขึ้นรถ

รูปที่ ๑๕ นายสถานีตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนปล่อยขบวนรถ

รูปที่ ๑๖ ขบวนรถกำลังจะเคลื่อนพ้นสถานี

ไม่มีความคิดเห็น: