หายหน้าไปอบรม
Process
Safety Management (PSM) ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเสีย
๓ วัน
ก็ต้องนับว่าได้รับความรู้มากมายจากวิทยากรผู้รู้จริงในการทำงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านมีประสบการณ์การทำงานด้านปฏิบัติการมาก่อน
จึงทำให้เข้าใจสภาพการทำงานของผู้ที่ต้องปฏิบัติงานจริง
มุมมองทางด้านความปลอดภัยของท่านจึงแตกต่างไปจากผู้ที่ไม่เคยได้ลงมาทำงานจริงในกระบวนการผลิต
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่ท่านวิทยากรยกมาเล่าให้ฟัง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
ผมก็เลยขอรวบรวมนำมาเขียนบันทึกไว้
แต่เนื่องจากท่านเล่าโดยไม่ได้วาดรูปอะไร
เพียงแค่ทำไม้ทำมือประกอบ
แต่ก็เห็นภาพได้ชัดเจนมาก
ดังนั้นรูปต่าง ๆ
ที่ผมวาดในที่นี้จึงเป็นการวาดขึ้นมาเอง
โดยอิงจากเหตุการณ์ที่ได้รับฟังมา
เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่ได้รับฟังข้อมูลโดยตรงนั้นเข้าใจได้มากขึ้น
รูปที่ ๑ ส่วนหนึ่งของหนังสือเกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงงานที่ผมสะสมไว้ ที่ชอบมากที่สุดคือหนังสือที่เขียนโดย Trevor Kletz ผู้เขียนท่านนี้ทำหน้าที่เป็นวิศวกรด้านความปลอดภัยของบริษัท ICI แห่งสหราชอาณาจักรมาก่อน หลังเกษียณแล้วก็ได้รับเชิญให้ไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ Loughborough University ของอังกฤษ เพิ่งจะถึงแก่กรรมเมื่อไม่นานนี้ ผมต้องยอมรับว่าหนังสือเหล่านี้ส่งผลต่อความคิดของผมในด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานมาก
ระหว่างที่ฟังบรรยายไปผมก็นึกถึงเรื่องราวต่าง
ๆ ในหนังสือต่าง ๆ ที่เขียนโดย
Trevor
Kletz มุมมองของ
Trevor
Kletz นั้นมองว่าเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ทุกส่วนขององค์กร
ตั้งแต่ชั้นบนสุดคือผู้บริหารลงไปจนถึงชั้นล่างสุดคือผู้ปฏิบัติการ
ต่างต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง
บุคคลนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกยุคแรก
ๆ
ที่เรียกร้องให้มีการนำเหตุการณ์การเกิดอุบัติเหตุมาเผยแพร่เพื่อไม่ให้ผู้อื่นทำผิดซ้ำเดิมอีก
เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ PSM ที่ผมได้รับฟังจากการอบรมต่างก็ปรากฏอยู่ในหนังสือของ Trevor Kletz นี้ไม่เล่มใดก็เล่มหนึ่ง เพียงแต่ว่าอาจใช้ภาษากันคนละรูปแบบ เพราะหนังสือเล่มแรกของ Trevor Kletz ที่เขียนเผยแพร่นั้นก็ออกมาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ก่อนจะมีระบบ PSM ออกมาเสียอีก
เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ PSM ที่ผมได้รับฟังจากการอบรมต่างก็ปรากฏอยู่ในหนังสือของ Trevor Kletz นี้ไม่เล่มใดก็เล่มหนึ่ง เพียงแต่ว่าอาจใช้ภาษากันคนละรูปแบบ เพราะหนังสือเล่มแรกของ Trevor Kletz ที่เขียนเผยแพร่นั้นก็ออกมาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ก่อนจะมีระบบ PSM ออกมาเสียอีก
ผมเห็นด้วยที่ว่าหากเราได้เคยเรียนรู้ความผิดพลาดของบุคคลในอดีต
และไม่ลืมความผิดพลาดนั้น
โอกาสที่เราจะทำผิดพลาดซ้ำเดิมอีกก็จะลดน้อยลงไป
ใน Memoir
ฉบับนี้ก็เลยขอนำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ๓ เรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
ที่วิทยากรนำมาเล่าให้ฟัง
ส่วนมันจะเกิดที่บริษัทไหนคือใครเป็นคนทำคงไม่สำคัญหรอก
เพราะกระบวนการหรือวิธปฏิบัติการทำนองเดียวกันกับระบบที่เกิดอุบัติเหตุที่จะเล่าให้ฟังมันก็มีอยู่ในหลายโรงงานเช่นกัน
และเนื่องจากในการบรรยายนั้นทางวิศวกรจะบรรยายเสมือนกับผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการอยู่แล้ว
แต่ Memoir
ฉบับนี้ตั้งใจจะเขียนให้คนที่ยังไม่มีประสบการณ์สามารถอ่านเข้าใจได้
ดังนั้นในบางจุดผมจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมตรงตัวอักษรที่เป็นสีน้ำตาล
๑.
Pipe rupture
เนื่องจากความเย็นจัด
ในโรงงานแห่งหนึ่ง
หลังเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงก็เริ่มเตรียมการเริ่มเดินเครื่องหรือ
Start
up โดยขั้นแรกก็คือการไล่อากาศออกจากระบบท่อและถังต่าง
ๆ โดยใช้แก๊สไนโตรเจน
ในกรณีของโรงงานนี้แก๊สไนโตรเจนที่ใช้ได้มาจากไนโตรเจนเหลว
(อุณหภูมิ
-196ºC)
จากถังเก็บ
โดยจะต้องระเหยไนโตรเจนเหลวนี้ให้กลายเป็นไอก่อนด้วยเครื่อง
Vaporiser
ที่ใช้อากาศเป็นตัวให้ความร้อนในการระเหย
แก๊สไนโตรเจนที่ได้
(มีความดันประมาณ
7
barg) จะถูกส่งต่อเข้า
nitrogen
header เพื่อที่จะต่อท่อนำไปใช้ยังส่วนต่าง
ๆ ของโรงงาน ตามแผนผังดังแสดงในรูปที่
๒
โรงงานที่มีเกี่ยวข้องกับสารเคมีไวไฟเช่นโรงกลั่นน้ำมันหรือปิโตรเคมี
ก่อนที่จะปล่อยสารเคมีไวไฟเหล่านี้เข้าสู่ระบบ
(จะเป็นท่อ
ถัง หรืออะไรก็ตามแต่)
จำเป็นต้องมีการไล่อากาศออกจากระบบก่อนเพื่อกำจัดออกซิเจนในระบบ
การไล่อากาศนั้นส่วนใหญ่จะกระทำโดยใช้แก๊สไนโตรเจนหรือไอน้ำ
(ขึ้นอยู่กับระบบ)
vessel ขนาดใหญ่ที่ปรกติในระหว่างการทำงานมีการฉีดไอน้ำเข้าไป
(เช่นหอกลั่น)
หรือยอมให้มีน้ำเข้าไปได้
ก็อาจทำการไล่อากาศด้วยไอน้ำก่อนเพื่อประหยัดไนโตรเจน
พอไล่อากาศออกหมดแล้วก็ต้องป้อนไนโตรเจนเข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้ความดันใน
vessel
ลดต่ำลงเนื่องจากการควบแน่นของไอน้ำ
ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือเป็นโรงงานที่อยู่เป็นกลุ่ม
และมีการใช้แก๊สไนโตรเจนจำนวนมาก
ก็มักมีการติดตั้งหอกลั่นแยกอากาศ
(เรียกว่า
cold
box) โดยโรงงานอาจซื้อมาติดตั้งเอง
หรือบริษัทผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตแก๊สมาทำการติดตั้งให้
และส่งขายโรงงานต่าง ๆ
ผ่านทางระบบท่อ (ขายเหมือนน้ำประปา)
สำหรับโรงงานที่ใช้ไม่มาก็อาจใช้การติดตั้งอุปกรณ์แยกอากาศที่เรียกว่า
Pressure
Swing Adsorption (PSA) หรือไม่ก็ซื้อมาในรูปของไนโตรเจนเหลว
แต่เนื่องจากในขณะหนึ่งมีความต้องการใช้แก๊สไนโตรเจนจำนวนมากเกินคาด
ทำให้ vaporiser
ไม่สามารถระเหยไนโตรเจนให้กลายเป็นแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงพอได้ทันเวลา
จึงทำให้ไนโตรเจนเหลวและ/หรือแก๊สเย็นจัดหลุดรอดออกมาจาก
vaporiser
เข้าสู่ระบบท่อ
downstream
ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทนอุณหภูมิเย็นจัด
ผลจากอุณหภูมิเย็นจัดทำให้โลหะที่ใช้ทำท่อ
carbon
steel ขนาด
4
นิ้วเส้นหนึ่งสูญเสียความเหนียวและเปราะมากขึ้นเรื่อย
ๆ (พูดง่าย
ๆ ก็คือเริ่มเปลี่ยนเป็นมีคุณสมบัติคล้ายแก้ว)
จนถึงจุด
ๆ หนึ่งท่อเส้นนั้นก็แตกออก
ส่งเศษโลหะกระจายออกไป
อุปกรณ์ที่สารด้านขาเข้าและขาออกมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก
เช่นในกรณีของ vaporiser
ที่กล่าวมาที่สารด้านขาเข้ามีอุณหภูมิต่ำมากในขณะที่สารด้านขาออกมีอุณหภูมิที่สูงกว่ามาก
(เมื่อเทียบกับด้านขาเข้า)
หรือในกรณีของการลดความร้อนที่สารด้านขาเข้ามีอุณหภูมิสูง
ส่วนด้านขาออกมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า
บ่อยครั้งที่ระบบท่อที่ใช้ทางด้านขาเข้าและขาออกจะทำจากโลหะต่างชนิดกัน
เช่นท่อด้านขาเข้าเป็นด้านที่มีอุณหภูมิสูง
จำเป็นต้องใช้โลหะที่ทนความร้อนได้สูง
แต่เมื่อด้านขาออกมีอุณหภูมิต่ำกว่า
ก็ใช้โลหะที่มีราคาถูกกว่าที่รับอุณหภูมิด้านขาออกนั้นได้
(แต่ไม่สามารถรับอุณหภูมิระดับด้านขาเข้าได้)
ในการออกแบบและ/หรือใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ต้องคำนึงถึงโอกาสที่อุณหภูมิด้านขาออกไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
เช่นต่ำเกินกว่าที่โลหะที่ใช้ทำท่อด้านขาออกจะรับได้
(เช่นในกรณีที่เล่ามานี้)
หรือสูงเกินกว่าที่โลหะที่ใช้ทำท่อด้านขาออกจะรับได้
เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะทำให้ท่อด้านขาออกเกิดความเสียหายได้
๒.
Flash fire จากแก๊ส
LPG
รั่วออกทางท่อระบายน้ำออกจาก
vessel
ระบบกำจัดแก๊สกรดออกจาก
LPG
(Liquified Petroleum Gas หรือแก๊สปิโตรเลียมเหลว)
ประกอบด้วยหอสองหอที่มีขนาดไม่เท่ากัน
โดยหอหนึ่งเตี้ยและอีกหอหนึ่งสูง
และมีท่อเชื่อมต่อกันระหว่างหอทั้งสอง
(แผนผังระบบดังกล่าวแสดงในรูปที่
๓ ในหน้าถัดไป)
หอหนึ่งเป็นหอที่ทำหน้าที่สัมผัสแก๊ส
LPG
ที่มีแก๊สกรดปะปนอยู่กับสารละลายด่าง
ส่วนอีกหอหนึ่งเป็นหอที่ให้ความร้อนแก่สารละลายด่างที่มีแก๊สกรดละลายอยู่
เพื่อไล่แก๊สกรดออกจากสารละลายด่าง
และนำสารละลายด่างกลับไปใช้งานใหม่
แก๊สกรด
(sour
gas) ก่อปัญหาให้เกิดการกัดกร่อนในระบบ
ดังนั้นจึงมักต้องกำจัดออกจากสารก่อนที่จะส่งไปยังหน่วยการผลิตอื่น
สำหรับอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันหรือปิโตรเคมี
แก๊สกรดที่พบในระบบมักเป็น
H2S
หรือ
CO2
ซึ่งถ้ามีความเข้มข้นสูงมักกำจัดด้วยการให้แก๊สไหลผ่านสารละลายเบส
แต่ถ้ามีความเข้มข้นต่ำและ/หรือแก๊สมีปริมาณไม่มากก็อาจใช้การดูดซับด้วยเบสที่เป็นของแข็งแทน
หลังการหยุดเดินเครื่อง
(Shut
down) จำเป็นต้องทำการไล่แก๊สเชื้อเพลิง
(รวมทั้งสารที่ติดไฟได้ที่อาจค้างอยู่ในระบบในรูปของของเหลวหรือของแข็ง)
ในระบบออกให้หมดก่อน
ในคืนหนึ่ง operator
ผู้หนึ่งได้รับมอบหมายให้ทำ
hydrocarbon
free (คือกำจัดไฮโดรคาร์บอน)
ออกจากหอทั้งสอง
ในกรณีนี้ทางโรงงานใช้วิธีการเติมน้ำผสมผงซักฟอก
(ต้องเป็นผงซักฟอกชนิดใช้กับเครื่องซัก
เพราะมีฟองไม่มาก
ใช้ผงซักฟอกชนิดซักมือไม่ได้
เพราะมีฟองมากเกินไป)
เข้าทางด้านล่างของหอหนึ่ง
โดยเปิดวาล์วทางด้านบนของหอเอาไว้
เพื่อให้แก๊สที่ค้างอยู่ในหอระบายออกทางยอดหอในขณะที่ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
ซึ่งเป็นวิธีการที่ปฏิบัติที่โรงงานนี้ใช้กันตามปรกติและเคยใช้มาก่อนหน้านี้
น้ำที่เติมเข้าไปจะไหลเข้าสู่หออีกหอหนึ่งผ่านทางท่อเชื่อมต่อระหว่างหอทั้งสอง
ผงซักฟอกที่ผสมเข้าไปในน้ำก็เพื่อทำการล้างคราบน้ำมันต่าง
ๆ ที่อาจติดอยู่ภายในออกมาด้วย
รูปที่ ๓ แผนผังระบบกำจัดแก๊สกรดออกจากแก๊ส LPG
รูปที่ ๓ แผนผังระบบกำจัดแก๊สกรดออกจากแก๊ส LPG
ในระหว่างการทำงานซึ่งเป็นกะกลางคืนนั้น
operator
ผู้หนึ่งรับอาสาขึ้นไปเฝ้าดู
High
point vent (จุด
Vent
บนยอดหอสูง)
ว่าเติมน้ำเต็มหรือยัง
หลังจากเติมน้ำเข้าไปสองคันรถ
operator
ที่เฝ้าดู
High
point vent เห็นน้ำล้นออกทางท่อ
vent
ที่อยู่ยอดหอสูงก็แจ้งลงมาทางด้านล่างว่าให้หยุดเติมน้ำเข้าหอได้
จากนั้นก็เริ่มทำการระบายน้ำทิ้งออกทางด้านล่างของหอโดยใช้
fire
hose (สายยางดับเพลิง
ที่ใช้สายยางดับเพลิงเพราะมันมีขนาดใหญ่)
ต่อเข้ากับท่อ
draine
เพื่อระบายน้ำทิ้ง
การระบายน้ำในหอทิ้งเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานจน
๘ โมงเช้าก็มีการเปลี่ยนกะมาเป็นช่วงกลางวัน
เริ่มมีผู้รับเหมาเขามาทำงานในโรงงาน
ประมาณ ๑๐ โมงเช้าเริ่มมีแก๊ส
LPG
รั่วตามน้ำออกมา
(ตรงนี้พึงระลึกว่าการระบายน้ำใช้เวลานาน
จึงไม่มีใครไปเฝ้าท่อระบาย
ได้แต่เปิดวาล์วทิ้งเอาไว้ให้น้ำไหลออกจากหอทั้งสองจนหมดเอง)
เกิดเป็น
vapour
cloud (กลุ่มหมอกแก๊ส)
unit supervisor ของบริเวณดังกล่าวพยายามที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา
แต่ในขณะที่เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีแก๊ส
LPG
ปกคลุม
ก็เกิด flash
fire เกินขึ้น
ทำให้ Shift
supervisor ดังกล่าวได้รับบาดเจ็บสาหัสจากไฟคลอก
LPG
ที่รั่วออกมานั้นเป็นส่วนที่ตกค้างอยู่ในหอเล็กที่เตี้ยกว่าหอสูง
เนื่องจากไม่ได้เปิด High
point vent ด้านบนของหอเล็กเอาไว้
ดังนั้นพอเติมน้ำเข้าไปน้ำจึงไม่เข้าไปเต็มหอเล็ก
LPG
ที่ค้างอยู่ในทางด้านบนของหอเล็กจะถูกอัดด้วยแรงดันน้ำที่เติมเข้าไป
และน้ำที่เติมเข้าไปจะล้นออกทางหอสูงแทน
ในกรณีนี้ผมสงสัยว่าทำไมเขาไม่ไล่
LPG
ที่เป็นแก๊สในหอทั้งสองออกก่อน
จากนั้นจึงค่อยเติมน้ำเข้าไป
เพราะถ้าไม่ไล่ LPG
ออกก่อนที่จะเติมน้ำ
LPG
ที่ค้างอยู่ในหอมันก็จะรั่วออกทาง
High
point vent ที่อยู่บนยอดหออยู่ดี
หรืออาจเป็นว่าหอสูงเป็นหอที่ทำการไล่แก๊สกรดออกจากสารละลายด่าง
จึงเป็นหอที่คาดว่าไม่ควรจะมี
LPG
อยู่ในหอ
แต่หอเล็กที่เป็นหอสัมผัสแก๊ส
LPG
กับสารละลายด่างนั้นไม่ใช่
นอกจากนี้ก่อนการเติมน้ำเข้าจนเต็ม
vessel
นั้นต้องมั่นใจว่าโครงสร้างฐานรองรับ
vessel
นั้นสามารถรับน้ำหนัก
vessel
ที่มีน้ำบรรจุเต็มได้
เพราะหลาย vessel
นั้นในขณะใช้งานปรกติอาจมีของเหลวอยู่เพียงเล็กน้อยหรือไม่มี
แต่พอเติมน้ำเข้าไปจนเต็มจะทำให้น้ำหนักของ
vessel
+ น้ำ
นั้นเพิ่มมากขึ้น ถ้าฐานรองรับ
vessel
นั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักดังกล่าว
ก็อาจเกิดความเสียหายได้
๓.
Flash fire
เนื่องจากเปลี่ยนกำหนดการซ่อมบำรุง
ในโรงงานแห่งหนึ่ง
(ซึ่งไม่ใช่ทั้งโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี)
มีกำหนดการซ่อมถัง
(Tank)
เก็บสารเคมีใบหนึ่งในวันเสาร์หลังการหยุดเดินเครื่อง
แต่ภายในเย็นวันศุกร์นั้นได้มีการดำเนินการของ
work
permit (ใบอนุมัติให้เข้าทำงาน)
จากบุคคลต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องของโรงงานจนได้รับลายเซนต์ต่าง
ๆ จนครบ
เรื่องความหมายของคำว่า
"ถัง"
ในภาษาไทย
เวลาแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษต้องระวัง
เพราะคำภาษาอังกฤษที่ใช้แทนภาชนะเก็บของเหลวที่มีรูปทรง
ขนาด และเก็บที่ความดันต่าง
ๆ กันนั้น มีหลายคำ
แต่พอแปลมาเป็นภาษาไทยเรากลับแปลแทนว่า
"ถัง"
เหมือนกันหมด
เรื่องนี้เคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๔๗ วันพฤหัสบดีที่
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "ถัง"
เนื่องจากในเหตุการณ์นี้ "ถัง"
ที่เกี่ยวข้องตรงกับคำว่า
"Tank"
ในภาษาอังกฤษ
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดก็จะขอใช้คำว่าว่า
"Tank"
ในที่นี้
แต่ในช่วงคืนวันศุกร์นั้นเอง
ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่
โดยได้เลื่อนกำหนดการหยุดเดินเครื่องไปเป็นวันพุธ
ดังนั้นในวันเสาร์โรงงานยังมีการเดินเครื่องตามปรกติ
แต่ work
permit
ที่ได้ออกไปแล้วว่าอนุญาตให้ทำงานในวันเสาร์ได้นั้นไม่มีการถอนออก
เช้าวันเสาร์ผู้รับเหมาก็เข้ามารับงานซ่อม
Tank
ดังกล่าว
แต่เนื่องจากพบว่าโรงงานยังไม่หยุดเดินเครื่องผู้รับเหมาก็เลยขออนุญาตเข้าไปเตรียมการสิ่งอื่นที่ยังไม่เกี่ยวกับตัว
Tank
โดยตรงเอาไว้ก่อน
โดยใช้พื้นที่บริเวณข้าง
Tank
ที่จะซ่อมดังกล่าว
สงสัยว่าคงใช้
work
permit ที่ออกให้ในเย็นวันศุกร์
ที่ให้ทำงานกับตัว Tank
โดยตรง
โดย work
permit
ดังกล่าวออกบนข้อสมมุติที่ว่าเช้าวันเสาร์โรงงานจะหยุดเดินเครื่อง
แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่
ผู้รับเหมาจึงคิดว่าการเตรียมการทำงานอยู่ข้าง
Tank
โดยที่ไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับ
Tank
โดยตรง
จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
รูปที่
๔ แผนผังแสดง Tank
ที่เกิดเหตุ
(วาดขึ้นเองจากคำบรรยายที่ได้รับฟังมา)
Tank
ดังกล่าวเป็นถังเก็บสารเคมีที่ติดไฟ
แต่มีจุดเดือดไม่ต่ำมาก
ด้านบนของฝาถังจะมีท่อ vent
แบบงอเป็นรูปตัว
J
คว่ำเพื่อใช้ในการปรับความดันภายในถังเวลาที่ระดับของเหลวในถังเปลี่ยนไป
แต่เนื่องจากไอสารเคมีที่อยู่ในถังเมื่อระเหยออกมาทางท่อ
vent
ดังกล่าวจะเกิดการควบแน่น
หยดลงบนฝาถัง ทำให้ฝาถังเปรอะเปื้อน
ทางโรงงานจึงได้ทำการต่อท่อสายยางจากท่อ
vent
ดังกล่าวลงมายังท่อ
drain
ที่อยู่ที่ระดับพื้นดินข้างถัง
(ดูรูปที่
๔ ประกอบ)
ในกรณีนี้แสดงว่าของเหลวที่อยู่ในถังนั้นเป็นของเหลวที่มี
flash
point สูงกว่าอุณหภูมิห้อง
เพราะถ้าเป็นสารที่มี flash
point ต่ำกว่าอุณหภูมิห้องนั้นสารเหล่านั้นจะมีจุดเดือดต่ำ
ระเหยออกมาได้ง่าย
ถ้าปล่อยให้ระเหยผ่านท่อ
vent
ออกมาตลอดเวลาก็จะเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย
เรื่องรูปแบบหลังคาของ Tank
เก็บของเหลวที่ความดันบรรยากาศ
และเทคนิคการลดการระเหยของของเหลวใน
Tank
รวมทั้งการควบคุมความดันภายใน
Tank
เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๓๐๑ วันศุกร์ที่
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรื่อง "การควบคุมความดันในถังบรรยากาศ (Atmospheric tank)"
ปลายของท่อสายยางที่ต่อจาก
high
vent ของ
tank
นั้น
ปล่อยลงสู่รางระบายน้ำที่อยู่บริเวณด้านล่างของ
Tank
ซึ่งใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ช่างเชื่อมทำงานอยู่
เมื่อช่างเชื่อมทำงาน
เกิดมีประกายไฟตกลงไปในรางระบายน้ำนั้น
ทำให้เกิด flash
fire ขึ้น
หัวหน้างานที่กำลังปีนขึ้น
Tank
อยู่ในขณะนั้นจึงพลัดตกลงมา
และเสียชีวิตจากการตกกระแทกพื้น
เรื่องการที่เชื้อเพลิงเหลวที่ไม่ละลายน้ำและมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ
แม้ว่าเชื้อเพลิงนั้นโดยปรกติจะมีจุดวาบไฟสูง
แต่เมื่อลอยเป็นชั้นบาง ๆ
อยู่บนผิวน้ำกลับสามารถจุดติดไฟได้ง่ายนั้น
เคยเล่าเอาไว้แล้วเมื่อไม่นานมานี้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๘๑๔ วันพฤหัสบดีที่
๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ เรื่อง "Flooded drain"
การหามาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังตัวอย่างที่ยกมานี้คงจะขึ้นอยู่กับว่าในการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุนั้น
ผู้สอบสวนมองหาว่า
"ความผิดพลาดของระบบงานอยู่ตรงไหน"
หรือ
"ใครเป็นคนผิด"
เพราะด้วยมุมมองที่แตกต่างกันนั้นจะทำให้ได้ข้อสรุปที่แตกต่างกันไป
การมองหาตัวผู้กระทำความผิดมักจะเป็นวิธีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองนิยมใช้กัน
แต่นั่นมันไม่ได้ช่วยในการป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุเกิดซ้ำอีก
วิธีการที่ดีกว่าคือการมองหาว่า
"ความผิดพลาดของระบบงานอยู่ตรงไหน"
ตรงประเด็นนี้เราอาจลองเอาตัวอย่างที่
๓ มาพิจารณาก็ได้ว่า
ในความเห็นของคุณนั้นถ้าจะหาผู้กระทำความผิด
ใครควรเป็นคนผิด
(จะคนเดียวหรือหลายคนก็ได้)
ผมลองยกตัวอย่างมาบางตัวอย่าง
เช่น
-
หัวหน้างาน
ที่ขอเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่ยังไม่ได้เตรียมความพร้อม
-
พนักงานโรงงาน
ที่ปล่อยให้ผู้รับเหมาเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่ยังไม่ได้เตรียมความพร้อม
-
ช่างเชื่อม
เพราะเป็นผู้ทำให้เกิดประกายไฟ
-
พนักงานโรงงาน
(ใครก็ไม่รู้)
ที่เป็นคนต่อท่อสายยางลงมาที่รางระบายน้ำข้าง
Tank
-
พนักงานโรงงาน
(ใครก็ไม่รู้)
ที่เป็นคนสั่งการให้ต่อท่อสายยางลงมาที่รางระบายน้ำข้าง
Tank
-
พนักงานโรงงาน
(ใครก็ไม่รู้)
ที่เป็นคนต้นคิดเรื่องต่อท่อสายยางลงมาที่รางระบายน้ำข้าง
Tank
-
เจ้าของโรงงาน
ที่ปล่อยให้เกิดการทำงานโดยไม่ปลอดภัย
-
ฯลฯ
โดยความเห็นส่วนตัวแล้วผมคิดว่าคำตอบของคำถามที่ถามมานั้นคงขึ้นอยู่กับว่า
สังคมนั้นมีแนวความคิดเรื่อง
"ความปลอดภัย"
ในการทำงานอย่างไร
ซึ่งมุมมองของสังคมตรงนี้ส่งผลให้ข้อสรุปที่ผู้สอบสวนอุบัติเหตุ
(โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นฝ่ายปกครอง)
ต้องหาให้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น