ในประเทศไทยคงไม่มีแม่น้ำช่วงไหนที่จะมีสะพานข้ามหนาแน่นถึง
๕ สะพานเท่ากับถนนสายบางนา-ตราดช่วงกิโลเมตรที่
๕๐ ที่เป็นจุดข้ามแม่น้ำบางปะกงที่
ต.
ท่าข้าม
อ.
บางปะกง
จ.
ฉะเชิงเทรา
ที่เป็นสะพานของถนนพื้นราบซะ
๔ สะพาน และของทางด่วนบูรพาวิถีอีก
๑ สะพาน
(อันที่จริงทางด่วนนี้มันก็เหมือนกับเป็นสะพานทั้งเส้นอยู่แล้ว)
รูปที่ ๑ แผนที่ประเทศไทยจัดทำโดยกองทัพอังกฤษ เป็นแผนที่ในปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ให้รายละเอียดไว้ว่า Great Britain. Army. Indian Field Survey Company. Siam 1 inch to 1 mile [cartographic material] 1945 - 9999. MAP G8025 s63. Part 43. นำมาจาก http://www.nla.gov.au/apps/cdview/?pi=nla.map-vn2018580
แผนที่ทหารของกองทัพอังกฤษ
(รูปที่
๑)
ที่จัดทำในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ และจัดพิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๔๘๘
(นำมาจาก
http://www.nla.gov.au)
ระบุว่าตรงบ้านท่าข้ามนั้นใช้เรือเฟอรี่
(หรือแพขนานยนต์)
ข้ามฟากมายังอีกฝั่งหนึ่ง
แต่ในหน้าเว็บของต.ท่าข้าม
บอกว่ามีการสร้างสะพานตั้งแต่ปีพ.ศ.
๒๔๘๔
(http://www.thakam.go.th/data.php?menu_id=1
หน้าเว็บ
ณ วันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม
๒๕๕๗)
แต่จากวารสารทางหลวงออนไลน์ที่นำเอาข้อมูลจากวารสารทางหลวงปีที่
๔๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์
๒๕๕๒ ระบุไว้ว่าสะพานดังกล่าวเริ่มสร้างเมื่อวันที่
28
ตุลาคม
2492
แล้วเสร็จบริบูรณ์
เมื่อวันที่ 12เมษายน
2494
บริษัทสง่าพาณิชย์เป็นผู้รับจ้าง
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
6,124,000.00
บาท
ความยาวทั้งสิ้น 340
เมตร
ทางจราจรกว้าง 6.00
เมตร
มีทางเท้า 2
ข้าง
กว้างข้างละ 0.040
เมตร
มีเสาตอม่อรองรับสะพาน 25
ตัน
(ในหน้าเว็บใช้
"
ั
"
ไม่ได้ใช้
"
้
"
(จาก
http://it-programmer.doh.go.th:8080/Highways_Journal/index.php?option=com_content&task=view&id=29&Itemid=93 หน้าเว็บ
ณ วันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม
๒๕๕๗)
และให้ชื่อสะพานดังกล่าวว่า
"สะพานเทพหัสดิน"
ในอดีตนั้นการเดินทางจากกรุงเทพไปยังจังหวัดชลบุรีด้วยรถยนต์นั้นต้องเดินทางอ้อมเป็นทางไกล
รถยนต์ต้องเดินทางมาตามถนนสุขุมวิทปัจจุบันมายังบ้านท่าข้าม
แล้วต้องมุ่งไปยังจังหวัดฉะเชิงเทราก่อน
แล้วจึงค่อยเข้าชลบุรีทางอำเภอพนัสนิคม
ประวัติการสร้างทางเชื่อมจากบ้านท่าข้ามไปยังตัวเมืองชลบุรีนั้นมีปรากฏในบันทึกของพลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ
(จำรัส
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่
๒๐ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๐๔
(รูปที่
๒ และ ๓)
ซึ่งได้กล่าวถึงปัญหาการตัดถนนในบริเวณดังกล่าวเนื่องจากสภาพพื้นดิน
ซึ่งในแผนที่ทหารฉบับปีพ.ศ.
๒๔๘๘
(รูปที่
๑)
หรือฉบับปีพ.ศ.
๒๕๐๓
ก็แสดงให้เห็นพื้นที่บริเวณบ้านท่าข้ามยาวมาถึงคลองตำหรุดังกล่าวเป็นพื้นที่ของป่าชายเลน
ภายหลังจากมีการตัดถนนสายบางนา-ตราดเพิ่มขึ้นและมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงเพิ่มเติมขนานไปกับสะพานเทพหัสดิน
ก็ได้มีการรื้อสะพานเทพหัสดินช่วงกลางสะพานเดิมออก
จำได้ว่าเมื่อช่วงปีพ.ศ.
๒๕๓๑
ที่ขับรถผ่านเส้นทางสายนี้ไปยังจังหวัดระยอง
สมัยนั้นถนนสายบางนา-ตราดจะมีด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง
๓ บาทที่บางสมัคร (ประมาณกิโลเมตรที่
๔๐ หรือ ๔๑ ในปัจจุบัน)
ถนนสายนี้เป็นถนน
๔ ช่องทางจราจร (ไปสองกลับสอง)
เวลาขับรถข้ามแม่น้ำบางปะกง
(กิโลเมตรที่
๕๐)
ก็จะเห็นสะพานเทพหัสดินส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่โดยมีคนมายืนตกปลาอยู่ที่ปลายสะพาน
เช้าวันวานระหว่างขับรถเข้ากรุงเทพก็เพิ่งจะมีโอกาสหยุดรถแวะถ่ายรูปเอาไว้ไปที่ระลึกหน่อย
(รูปที่
๕ และ ๖)
หลังจากที่ใช้เส้นทางสายนี้เป็นประจำมาร่วม
๓๐ ปีแล้ว
ถนนสายนี้ตอนที่เขาขยายช่องจราจรมันก็แปลกดี
คือฝั่งด้านขาออก (กรุงเทพ-ชลบุรี)
นั้น
ด้านช่องทางด่วนมี ๒
ช่องจราจรตามแนวถนนเดิมที่วางเอาไว้
และสะพานข้ามแม่น้ำของช่องทางด่วนก็เป็นสะพานเดิมที่มี
๒ ช่องจราจร แต่สะพานของช่องทางคู่ขนานที่มี
๒ ช่องทางจราจรนั้นเป็นสะพานที่สร้างขึ้นมาใหม่
มี ๓ ช่องจราจร แต่พอมาเป็นด้านฝั่งขาเข้า
(ชลบุรี-กรุงเทพ)
แนวถนนเดิมช่วงข้ามแม่น้ำนั้นกลายเป็นช่องทางคู่ขนาน
ส่วนช่องทางด่วนนั้นเป็นแนวถนนที่ตัดขึ้นมาใหม่มี
๓ ช่องทางจราจร
ทำให้สะพานที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ก็มี
๓ ช่องทางจราจรด้วย
ถ้าอยากทราบว่าบรรยากาศถนนสายนี้ในอดีตเป็นอย่างไร
ขอแนะนำให้ไปดูคลิป
"บางละมุง-ศรีราชา-ชลบุรี
ปี 2495"
ที่มีผู้ใจดีเอามาลงเผยแพร่ไว้ใน
youtube
ที่
http://www.youtube.com/watch?v=2C2sRjwYXBc
ในคลิปนี้ไม่เพียงแต่จะมีภาพของสะพานเทพหัสดินในอดีต
(ดังภาพที่จับจากคลิปในรูปที่
๗-๙)
แต่ยังมีภาพรถไฟเล็กลากไม้ของบริษัททำไม้ที่ศรีราชา
ที่มีเส้นทางรถไฟไปลงทะเลที่เกาะลอย
และภาพของบ่อน้ำร้อนที่บางพระ
ที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำไปแล้ว
รูปที่ ๒ หน้า ๘๖ ของหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔)
รูปที่
๓ หน้า ๘๗ ของหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ
(จำรัส
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
(๒๐
ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๐๔)
รูปที่ ๔ แผนที่รหัส L509 จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐกับกรมแผนที่ทหารของไทย มีการระบุว่ามุมระหว่างทิศเหนือจริงกับทิศเหนือแม่เหล็กเป็นมุมในปีค.ศ. ๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๕๐๓) (พิมพ์ครั้งที่ ๒) ดังนั้นข้อมูลในแผนที่จึงควรเป็นข้อมูลก่อนปีพ.ศ. ๒๕๐๓ รายละเอียดของแผนที่ดังกล่าวระบุว่าจัดพิมพ์ปีค.ศ. ๑๙๕๗ (พ.ศ. ๒๕๐๐) (สงสัยว่าเป็นการพิมพ์ครั้งแรก) จะเห็นว่าถ้าไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงที่ท่าข้าม การเดินทางโดยรถยนต์ถ้าต้องไปฉะเชิงเทราก่อน จากนั้นลงมาพนัสนิมคม แล้วค่อยเข้าชลบุรีอีกครั้ง จะเป็นระยะทางที่อ้อมมาก และบริเวณท่าข้ามยังเป็นป่าชายเลนทั้งหมด
รูปที่ ๔ แผนที่รหัส L509 จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐกับกรมแผนที่ทหารของไทย มีการระบุว่ามุมระหว่างทิศเหนือจริงกับทิศเหนือแม่เหล็กเป็นมุมในปีค.ศ. ๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๕๐๓) (พิมพ์ครั้งที่ ๒) ดังนั้นข้อมูลในแผนที่จึงควรเป็นข้อมูลก่อนปีพ.ศ. ๒๕๐๓ รายละเอียดของแผนที่ดังกล่าวระบุว่าจัดพิมพ์ปีค.ศ. ๑๙๕๗ (พ.ศ. ๒๕๐๐) (สงสัยว่าเป็นการพิมพ์ครั้งแรก) จะเห็นว่าถ้าไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงที่ท่าข้าม การเดินทางโดยรถยนต์ถ้าต้องไปฉะเชิงเทราก่อน จากนั้นลงมาพนัสนิมคม แล้วค่อยเข้าชลบุรีอีกครั้ง จะเป็นระยะทางที่อ้อมมาก และบริเวณท่าข้ามยังเป็นป่าชายเลนทั้งหมด
รูปที่
๖ ถ่ายรูปจากแพตกปลาใต้สะพาน
มองออกไปทางปากน้ำบางปะกง
ที่โผล่ออกมาทางด้านซ้ายคือสะพานเทพหัสดินเดิม
รูปที่ ๘ รถวิ่งข้ามสะพานเทพหัสดิน จากรูปนี้ที่พอรถวิ่งพ้นสะพานแล้วต้องเลี้ยวขวาแสดงว่าเป็นการข้ามจากฝั่งด้านทิศเหนือไปทิศใต้ (มุ่งหน้าไปยังชลบุรี) คลิปต้นฉบับดูที่ http://www.youtube.com/watch?v=2C2sRjwYXBc
รูปที่ ๙ รถวิ่งข้ามสะพานเทพหัสดินเช่นกัน รูปนี้รถมาจากทางด้านซ้ายก่อนวิ่งขึ้นสะพานแสดงว่าเป็นการข้ามจากฝั่งด้านทิศเหนือไปทิศใต้ (ในรูปเป็นการมองไปยังเส้นทางกลับกรุงเทพ) คลิปต้นฉบับดูที่ http://www.youtube.com/watch?v=2C2sRjwYXBc
แต่ก่อนเคยได้ยินคนเล่าว่าเวลานั่งรถข้ามแม่น้ำบางปะกงถ้าจะอธิฐานขออะไรก็ให้กลั้นหายใจก่อนที่รถจะขึ้นสะพาน
และต้องกลั้นหายใจให้ตลอดจนกว่ารถจะวิ่งพ้นสะพาน
ถ้าทำได้คำอธิฐานก็จะเป็นจริง
ถ้าใครอยากรู้ว่าจริงเท็จหรือไม่อย่างไร
ผ่านไปทางนั้นเมื่อไร
ก็เชิญทดลองเอาเอง