หลังจากเขียนเรื่องวิชาการติดต่อกันมาหลายฉบับ ก็ได้เวลาเปลี่ยนบรรยากาศเสียบ้าง
รูปสถานีรถไฟตอนที่ไปสัมมนาภาควิชาที่หัวหินเมื่อกลางเดือนมิถุนายนปีที่แล้วยังมีอีกหลายสถานี เอาไว้เมื่อมีเวลาว่างและไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรค่อยเอามาลงก็แล้วกัน เพราะมันเขียนง่ายดี ไม่เหมือนเขียนพวกเนื้อหาวิชาการ ที่ต้องวางโครงเรื่องว่าจะเล่าอย่างไร ตรวจสอบความถูกต้องและข้อขัดแย้งต่าง ๆ ก่อนที่จะเขียนออกมา ซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควร (ปรกติก็เป็นสัปดาห์)
ปลายเดือนที่แล้วมีโอกาสได้ไปฟังการบรรยายเชิญชวนให้บรรดาอาจารย์เขียนบทความลงแพลตฟอร์มหนึ่ง (โดยเพื่อร่วมรุ่นวิศวของผมเองเป็นผู้บรรยาย) ที่เข้าไปนั่งฟังก็เพื่ออยากรู้ว่าแฟลตฟอร์มที่เขาแนะนำนั้นมันเป็นอย่างไร ซึ่งผลสรุปที่ตัวเองได้ก็คืออยู่ที่เดิมนั่นแหละดีแล้ว เพราะมันตอบสนองความต้องการต่าง ๆ และเหมาะสำหรับการสืบค้นย้อนหลังเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้เขียนไปมากกว่า
ในระหว่างการบรรยายก็มีการถามว่าผู้เข้าฟังอยากเขียนบนทความด้วยเหตุผลอะไร ก็มีจำนวนไม่น้อยที่บอกว่าอยากให้เป็นที่รู้จักในโลกโซเชียล ส่วนคำตอบของผมเอง (ซึ่งมีอยู่คำตอบเดียว) คือเพราะขี้เกียจสอนเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ สู้เสียเวลาเขียนเพียงแค่ครั้งเดียว พอนิสิตรุ่นใหม่มาก็บอกให้ไปอ่านที่เขียนอธิบายไว้ให้แล้ว ผมเองจะได้ไม่เหนื่อย
จะว่าไป เมื่อคิดจะเขียนบทความอะไรสักอย่างให้คนอ่านในโลกออนไลน์ได้เนี่ย คนเขียนต่างคนต่างก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน
บ้างก็อยากให้พอโพสปุ๊บก็คนเข้ามากดไลค์กดแชร์กันเยอะ ๆ (แต่ต่อจากนั้นจะเป็นยังไงก็ไม่สน)
บ้างก็อยากให้เป็นการเผยแพร่ความรู้ (คงจะคาดหวังให้มีคนเข้ามาอ่านมาก ๆ ในเวลาอันสั้นคงไม่ได้ แต่จะมีคนเข้ามาอ่านเรื่อย ๆ)
บ้างก็อยากให้เป็นการบันทึกความทรงจำของตัวเอง (ใครจะมาอ่านหรือไม่ก็ไม่สนใจ)
บ้างก็เป็นการเขียนเพื่อเป็นที่ระลึกให้กับใครบางคน
บ้างก็เป็นการเขียนทิ้งเอาไว้เผื่อว่าจะมีใครสักคนมาเจอ
หรือด้วยเหตุผลอื่นต่าง ๆ นานา (ตอนนี้ผมเองก็คิดไม่ออกแล้ว)
แต่จากการเขียนบันทึกมาจะถึงปีที่ ๑๕ โดยนำลง blog มา ๑๓ ปีพบว่า หลายบทความนั้นต้องใช้เวลา กว่าที่จะมีใครสักคนมาพบเจอ และเห็นคุณค่าของมัน
และเช่นเดิม ฉบับนี้ก็เป็นการบันทึกภาพสถานที่ธรรมดา ๆ แห่งหนึ่ง ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
รูปที่ ๑ ป้ายบอกสถานีที่อยู่ถัดไป
รูปที่ ๒ อาคารสถานีเก่ายังไม่ถูกรื้อ ภาพนี้มองไปยังทิศเหนือหรือมุ่งหน้าไปชะอำ
รูปที่ ๓ มองย้อนไปยังเส้นทางล่องใต้ มุ่งหน้าไปห้วยทรายใต้
รูปที่ ๔ ตัวอาคารสถานีและเสารับส่งห่วงทางสะดวก
รูปที่ ๕ ตารางเวลารถไฟเข้าจอดที่สถานี
รูปที่ ๖ ตารางเวลารถไฟหยุดที่สถานี อันนี้เป็นแบบเก่า
รูปที่ ๗ สุดชานชาลาด้านทิศใต้
รูปที่ ๘ อาคารเก่าสำหรับพนักงานรถไฟ กำลังจะถูกรื้อถอน
รูปที่ ๙ อาคารสถานี มองย้อนขึ้นไปยังทิศเหนือ
รูปที่ ๑๐ ตัวอาคารสถานี โชคดีไปถึงก่อนที่จะหายไป
รูปที่ ๑๑ ตัวอาคารสถานีใหม่ สร้างขึ้นเหนือขึ้นไปจากตำแหน่งตัวอาคารเดิม
รูปที่ ๑๒ ออกมายืนถ่ายรูปตรงชานชาลาชั่วคราว
รูปที่ ๑๓ เสาไฟส่องสว่างที่ใช้เหล็กรางเก่ามาทำ
รูปที่ ๑๔ รางที่เอามาใช้พอจะแกะได้ว่าผลิตในปีค.ศ. ๑๙๑๔ (พ.ศ. ๒๔๕๗) หรือว่าร้อยปีแล้ว ก็ประมาณช่วงต้นรัชกาลที่ ๖
รูปที่ ๑๕ อาคารสถานีเก่าอีกหลังที่กำลังจะถูกรื้อถอน
รูปที่ ๑๖ ถ่ายจากด้านหลังของตัวอาคารสถานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น