ต่อจาก
Memoir
ฉบับเมื่อวานซืน
วันนี้เรากลับมาเริ่มกันต่อที่คอลัมน์ซ้าย
บรรทัดที่ 18
ในหัวข้อ
contruction
หรือรายละเอียดของการสร้าง
บรรทัดที่
19
เป็นหัวข้อตาราง
nozzle
คือจุดต่อท่อด้านขาเข้าและขาออก
size
in คือขนาดท่อด้านขาเข้า
rating
คือระดับความสามารถในการรับความดันของท่อ
(ถ้าไม่รู้ว่า
rating
คืออะไร
อ่านเพิ่มเติมได้ใน Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๒๖ วันพุธที่ ๒๙
พฤษภาคม ๒๕๕๖ เรื่อง "ท่อ -Pipe - Tube") facing คือลักษณะของข้อต่อ
(เช่นเป็นหน้าแปลนรูปร่างแบบไหน
หรือเป็นข้อต่อเกลียว)
location คือตำแหน่ง
(เช่นอยู่ทางด้านหน้า
ด้านข้าง หรือด้านบน)
บรรทัดที่
20
และ
21
ก็เป็นตารางเดียวกับหัวข้อที่แสดงในบรรทัดที่
19
โดยบรรทัดที่
20
เป็นท่อด้านขาเข้า
(suction)
และบรรทัดที่
21
เป็นท่อด้านขาออกออก
(discharge)
บรรทัดที่
22
CASE MT ไม่แน่ใจว่า
MT
ย่อมาจากอะไร
(ไม่รู้ว่าย่อมาจาก
mount
ที่แปลว่าติดตั้งหรือเปล่า)
แต่ตัวเลือกที่ให้มามันเกี่ยวข้องกับตำแหน่งว่าจะเป็นแนวศูนย์กลาง
(centerline)
ที่ระดับฐาน
(foot)
ที่แท่น
(bracket)
หรือตั้งในแนวดิ่ง
(vert)
บรรทัดที่
23
คำว่า
SPLIT
น่าจะเป็นคำถามเกี่ยวกับตัวเรือนปั๊ม
(case
หรือ
housing)
ว่าให้เปิดแยกได้แบบไหน
(มันต้องเปิดได้เพื่อที่จะติดตั้งใบพัดไว้ภายในได้
(ดูรูปที่
๓,
๖
และ ๙ ประกอบ)
ว่าจะให้เป็นในแนวแกน
(AXIAL)
หรือในแนวรัศมี
(RAD)
ส่วนคำถามถัดไปเกี่ยวกับ
VOLUTE
ว่าจะให้เป็นแบบเดี่ยว
(SGL)
แบบคู่
(DBL)
หรือจะใช้
DIFFUSER
ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อย
ปั๊มหอยโข่งทำงานด้วยการเพิ่มพลังงานจลน์ให้กับของเหลว
ด้วยการดูดของเหลวเข้าตรงบริเวณตอนกลางใบพัด
และหมุนเหวี่ยงออกไป
ของเหลวพอเคลื่อนพ้นจากใบพัดจะมีพลังงานจลน์ที่สูงขึ้น
แต่ทิศทางการไหลจะไม่ค่อยเป็นระเบียบ
การจัดทิศทางการไหลของของเหลวหลังจากที่หลุดออกจากใบพัดให้มันเป็นระเบียบทำได้ด้วยการใช้โครงสร้างที่เรียกว่า
VOLUTE
(ติดตั้งอยู่ในเส้นทางก่อนออกจากตัวเรือนปั๊ม)
หรือ
DIFFUSER
(ติดตั้งอยู่รอบใบพัด)
ที่ช่วยทำให้การไหลของของเหลวที่ถูกเหวี่ยงออกมานั้นมีความเป็นระเบียบมากขึ้น
และมีพื้นที่หน้าตัดการไหลที่ค่อย
ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้พลังงานจลน์ของของเหลว
(velocity
head) ที่ถูกเหวี่ยงออกมานั้นเปลี่ยนไปเป็นความดัน
(pressure
head) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การมี volute
หรือ
diffuser
ที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปั๊ม
บรรทัดที่
24
เป็นคำถามเกี่ยวกับความดันสูงสุดที่ยอมให้ได้
(MAX
ALLOW) กับความดันที่ใช้ในการทดสอบความแข็งแรงด้วยการใช้น้ำ
(HYDRO
TEST)
บรรทัดที่
25
ถามว่าจะให้มีจุดเชื่อมต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง
VENT
คือจุดระบายอากาศ
(ก่อนเริ่มทำงานต้องเติมของเหลวให้เต็มตัวปั๊ม
ดังนั้นต้องมีการไล่อากาศออกจากตัวปั๊มให้หมด
ในกรณีของปั๊มที่ท่อทางออกอยู่ทางด้านบนสุด
อากาศจะออกไปทางท่อทางออกนั้น
แต่ถ้าท่อทางออกอยู่ทางด้านข้างหรืออยู่ทางด้านบนแต่เฉียงออกมาทางด้านข้าง
ก็จะต้องมีท่อ vent
อยู่ที่ตำแหน่งสูงสุด
ไม่เช่นนั้นอากาศที่ตกค้างอยู่ในปั๊มจะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของปั๊ม)
ส่วน
DRAIN
คือจุดระบายของเหลวที่ค้างอยู่ในปั๊มออกจากปั๊ม
GAUGE
คือจุดสำหรับติดตั้งเกจวัดความดัน
STEAM
JACKET คือต้องมีการให้ไอน้ำให้ความร้อนกับปั๊ม
(จากภายนอก)
ด้วยหรือไม่
เช่นปั๊มที่ทำหน้าที่สูบจ่ายของเหลวที่หนืดอาจต้องให้ความร้อนกับตัวปั๊มเพื่อให้ของเหลวไม่แข็งตัวภายในตัวปั๊ม
หรือปั๊มสำรองของหน่วยที่สูบของเหลวที่ร้อน
อาจต้องให้ความร้อนแก่ปั๊มสำรองตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมใช้งาน
(เพื่อให้เนื้อโลหะขยายตัวรอเอาไว้
ถ้าเริ่มสูบของเหลวร้อนในขณะที่ปั๊มเย็นอยู่
โลหะอาจขยายตัวไม่ทัน
อาจทำให้ปั๊มเสียหายได้)
รูปที่ ๑ ตัวอย่าง Data sheet สำหรับปั๊มหอยโข่ง (centrifugal pump)
รูปที่ ๑ ตัวอย่าง Data sheet สำหรับปั๊มหอยโข่ง (centrifugal pump)
รูปที่
๒ Jogging
pump (ปั๊มรักษาความดันในท่อน้ำดับเพลิงในอาคาร)
ตัวนี้ท่อน้ำเข้าอยู่ทางด้านหลัง
(ด้านมอเตอร์)
ส่วนท่อน้ำออกอยู่ทางด้านหน้า
การต่อท่อเข้ากับตัวปั๊มใช้ข้อต่อเกลียว
บรรทัดที่
26
เกี่ยวข้องกับขนาดของใบพัดว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าใด
(IMPELLER
DIA) ขนาดที่ใช้
(RATED)
ขนาดสูงสุด
(MAX)
และขนาดเล็กสุด
(MIN)
ที่ติดตั้งได้
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่าขนาดของใบพัดที่ติดตั้งอยู่ในตัวเรือนของปั๊มหอยโข่งนั้นไม่จำเป็นต้องใหญ่จนเต็มที่ว่างข้างใน
การปรับเปลี่ยนขนาดใบพัดภายในส่งผลถึงความสามารถในการส่งของเหลวของปั๊ม
ถ้าใบพัดมีขนาดใหญ่ก็จะส่งของเหลวไปได้มากกว่าใบพัดที่เล็กกว่า
แต่ก็กินพลังงานมากกว่าด้วย
ในการเลือกขนาดปั๊มนั้นมักจะคำนึงถึงโอกาสที่จะขยายกำลังการผลิตในอนาคต
ดังนั้นถ้าตอนแรกที่สร้างนั้นเลือกให้ใบพัดมีขนาดใหญ่จนเต็มตัวเรือน
เมื่อถึงเวลาที่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตก็ต้องเปลี่ยนตัวปั๊มทั้งตัว
(คือเปลี่ยนทั้งตัวเรือนและใบพัด)
แต่ถ้าทำการเผื่อไว้ก่อนคือใช้ตัวเรือนที่มีขนาดใหญ่กว่าใบพัดที่ใช้
เมื่อต้องการเพิ่มกำลังการผลิตก็ทำเพียงแค่ถอดใบพัดเก่าออกแล้วติดตั้งใบพัดใหม่ที่ใหญ่กว่าเข้าไป
แต่ถ้าเผื่อไว้มากเกินไป
ประสิทธิภาพของปั๊มก็จะต่ำเกินไป
่ในทางกลับกันถ้าพบว่าปั๊มนั้นมีกำลังมากเกินไป
ก็ลดกำลังได้ด้วยการเปลี่ยนไปใช้ใบพัดที่เล็กลง
อีกวิธีการหนึ่งในการปรับเปลี่ยนความสามารถในการทำงานของปั๊มก็คือเปลี่ยนความเร็วรอบการหมุน
สำหรับโรงงานทั่วไปที่ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำ
(induction
motor) เป็นตัวหมุนปั๊ม
การเปลี่ยนความเร็วรอบการหมุนมักจะหมายถึงการเปลี่ยนตัวมอเตอร์เลย
(ดู
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๕๖ วันจันทร์ที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"เก็บตกฝึกงานภาคฤดูร้อน๒๕๕๕"
เพิ่มเติม)
บรรทัดที่
27
MOUNT เป็นคำถามเกี่ยวกับการติดตั้ง
ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับการติดตั้งใบพัด
(impeller)
หรือเปล่า
เดาว่า between
BRG น่าจะย่อมาจาก
between
bearing คืออยู่ระหว่างรองลื่นสองตัว
(เช่นในรูปที่
๓,
๔
และ ๑๐)
หรืออยู่ที่ปลายเพลา
(over
hung ดังเช่นปั๊มในรูปที่
๗)
รูปที่
๓ ปั๊มน้ำดับเพลิงสำหรับอาคารสูงตัวนี้เป็นปั๊มหอยโข่ง
2
stages (มีใบพัดสองใบในตัวเรือนเดียวกัน)
ในรูปนี้ท่อน้ำเข้าอยู่ทางด้านซ้ายและท่อน้ำออกอยู่ทางด้านขวา
การต่อท่อใช้หน้าแปลน
(flange)
ส่วนตัวเรือนปั๊มนั้นเปิดแบบฝาบนกับตัวเรือนด้านล่าง
บรรทัดที่
28
เป็นคำถามเกี่ยวกับรองลื่น
(bearing)
สำหรับเพลาที่วางในแนวนอนจะมีตัวรองลื่นสำหรับรับแรงในสองทิศทางด้วยกัน
คือตัวที่รองรับแรงในแนวรัศมี
(radial)
ซึ่งรองรับน้ำหนักของเพลาและสิ่งต่าง
ๆ ที่ติดอยู่กับตัวเพลา
และตัวที่รับแรงในแนวแกน
(เรียกว่า
thrust
bearing หรือบางทีเรียกรองลื่นกันรุน)
ที่ป้องกันไม่ให้เพลามีการเคลื่อนตัวในแนวนอน
สำหรับเพลาที่วางนอนนั้นตัว
thrust
bearing ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักของเพลา
แต่ถ้าเป็นเพลาที่อยู่ในแนวดิ่ง
ตัว thrust
bearing จะต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเพลาด้วย
บรรทัดที่
29
ถามถึงรูปแบบการหล่อลื่นว่าจะใช้แบบไหน
ปั๊มบางแบบก็ใช้ของเหลวที่มันสูบทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นไปด้วยในตัว
อาจจะด้วยการยอมให้มีของเหลวรั่วซึมผ่านได้เล็กน้อย
หรือต่อท่อจากด้านขาออกของปั๊ม
ดึงของเหลวจากด้านขาออกมาเล็กน้อยและอัดเข้าไปยังบริเวณที่ต้องการหล่อลื่น
หรือบางแบบนั้นอาจจะมีของเหลวหล่อลื่นต่างหาก
(มีระบบหล่อลื่นแยกต่างหากที่ทำหน้าที่จ่ายของเหลวหล่อลื่นไปยังปั๊มต่าง
ๆ ที่ต้องการ)
อัดเข้าไปยังตำแหน่งชิ้นส่วนที่ต้องการการหล่อลื่น
ในกรณีหลังนี้ต้องมั่นใจว่าของเหลวที่ทำการหล่อลื่นนั้นสามารถผสมรวมเข้ากับของเหลวในตัวปั๊มได้
เพราะของเหลวทั้งสองชนิดมีโอกาสที่จะพบกันอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่นของเหลวที่ปั๊มทำการสูบนั้นมีของแข็งแขวนลอยอยู่
ในกรณีนี้ไม่สามารถใช้ของเหลวที่ปั๊มทำการสูบนั้นมาใช้หล่อลื่นได้
แต่สามารถใช้ของเหลวชนิดเดียวกับที่ปั๊มสูบ
แต่เป็นของเหลวที่สะอาด
ไม่มีของแข็งแขวนลอยปนอยู่นั้น
ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นได้
ในกรณีนี้จำเป็นต้องมีระบบจ่ายสารหล่อลื่นต่างหากแยกออกมา
รูปที่
๔ อีกด้านหนึ่งของปั๊มที่แสดงในรูปที่
๓ จะเห็นว่า ณ จุดสูงสุดของตัวเรือนปั๊ม
stage
จะมี
vent
valve อยู่
และมีเกจวัดความดันติดตั้งอยู่ทางด้านขาเข้าของ
stage
ที่สอง
บรรทัดที่
30
ถามถึงตัว
coupling
คือตัวที่ใช้เชื่อมต่อเพลามอเตอร์เข้ากับเพลาขับใบพัดว่าจะใช้ของผู้ผลิตรายใด
(MFR
- manufacturer) และใช้รุ่น
(MODEL)
ไหน
บรรทัดที่
31
ถามถึงอุปกรณ์ที่ใช้ขับเคลื่อนปั๊ม
(DRIVER)
แต่ผมเองก็ไม่แน่ใจตัวย่อถัดมาที่เขียนว่า
MTD
BY หมายถึงอะไร
แต่เดาว่าน่าจะเป็น MOUNTED
BY หรือติดตั้งโดย
เพราะมันสอดรับกับตัวเลือกถัดไปคือ
โดยผู้ผลิตปั๊ม (PUMP
MFR) หรือผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ขับเคลื่อน
(DRIVER
MFR)
บรรทัดที่
32
ถามเรื่องระบบกันรั่วซึมที่เพลา
(SEAL)
ว่าจะใช้
mechanical
seal (MECH SEAL) หรือ
packing
และต้องการมีระบบกันรั่วซึมเสริมหรือไม่
(AUX)
และหลังจากตอบบรรทัดที่
32
แล้วก็ต้องมาตอบบรรทัดที่
33
และ
34
คือจะใช้
seal
รูปแบบไหน
รุ่นอะไร เลขรหัสของผู้ผลิต
(MFR
CODE) หรือเลขรหัส
API
(API CODE) (API ย่อมาจาก
American
Petroleum Institute เป็นหน่วยงานที่ออกมาตรฐานต่าง
ๆ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม
และเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ ที่มีการใช้ไฮโดรคาร์บอน)
บรรทัดที่
35
เกี่ยวข้องกับการให้ความร้อน/ระบายความร้อนออกจากตัวปั๊ม
ว่าต้องมีการสร้าง jacketted
box หรือไม่
และในกรณีที่เป็นการใช้น้ำหล่อเย็น
(CW
- cooling water) จำเป็นต้องมี
sight
flow indicator เพื่อให้สามารถตรวจได้ว่ามีการไหลของน้ำหล่อเย็นหรือไม่
รูปที่
๕ ปั๊มหอยโข่งชนิด Self
priming (ล่อน้ำได้เอง)
ท่อน้ำเข้าอยู่ทางด้านหน้า
ส่วนท่อน้ำออกอยู่ทางด้านบนแต่เยื้องออกมาทางด้านข้าง
ข้อต่อท่อเข้ากับปั๊มนั้นใช้ข้อต่อเกลียว
ในรูปนี้เขาใช้ท่อที่ทำเกลียวที่ปลายข้างหนึ่งขันเข้ากับปั๊มก่อน
ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของท่อก็ใช้หน้าแปลนเชื่อมต่อ
คำว่า
Jacket
เมื่อปรากฏในอุตสาหกรรมเคมีหมายถึงการมีชั้นนอกห่อหุ้มผนังชั้นในเอาไว้
(ตัวผนังชั้นในอาจเป็นผนังของ
pressure
vessel ท่อในโรงงาน
หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นปั๊ม)
โดยมีช่องว่างระหว่างผนั้งชั้นใน
และผนังชั้นนอก (เรียกว่า
jacket)
ในช่องว่างนี้อาจทำการป้อนของไหลเข้าไปเพื่อดึงเอาความร้อนออกจากผนังชั้นใน
หรือเพื่อให้ความร้อนกับสิ่งที่ผนังชั้นในห่อหุ้มอยู่
บรรทัดที่
36
ถามเกี่ยวกับ
GLAND
TAP ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเรียกว่าอะไรดี
เพราะ gland
ในที่นี้มันควรแปลว่าปะเก็น
ส่วน tap
ในที่นี้ก็คือก๊อกหรือวาล์ว
รวม ๆ กันก็ขอเดาว่าน่าจะเป็นวาล์วสำหรับประเก็น
(หรือ
mechanical
seal ที่อยู่ใน
stuffing
box) โดยมีตัวเลือกให้ก็คือมีไว้เพื่อ
ลดความร้อนลงอย่างรวดเร็ว
(QUENCH)
ระบายของเหลวออก
(DRAIN)
ชะล้าง
(FLUSH)
และระบายแก๊ส
(VENT)
ถัดไปขอย้อนไปยังบรรทัดที่
27
คอลัมน์ด้านขวา
INT.
WEAR PARTS (ชิ้นส่วนสึกหรอภายใน)
เวลาที่ชิ้นส่วนสองชิ้นมีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กัน
จะเกิดการเสียดสีและสึกหรอ
ในการออกแบบนั้นจึงมักจะกำหนดให้ชิ้นส่วนที่ซ่อมแซมได้ง่ายกว่าและมีราคาถูกกว่าให้เป็นชิ้นส่วนที่สึกหรอ
(ทำจากโลหะที่อ่อนกว่า)
เช่นในกรณีของเพลากับ
journal
bearing จะให้โลหะที่พื้นผิวของ
journal
bearing ที่เสียดสีกับเพลานั้นมีความแข็งน้อยกว่าพื้นผิวเพลา
เพราะการซ่อม (หรือเปลี่ยน)
journal bearing นั้นมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและทำได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนเพลา
รูปที่
๖ ปั๊มของระบบ cooling
tower ตัวหนึ่ง
มองจากทางด้านมอเตอร์
ท่อน้ำเข้าอยู่ทางด้านหน้า
เข้าตรงกลางใบพัด
ท่อน้ำออกอยู่ทางด้านบนแต่เยื้องออกไปทางด้านข้าง
ข้อต่อท่อเข้ากับตัวปั๊มเป็นชนิดเกลียว
ปั๊มตัวนี้เปิดแบบฝาหน้า-ฝาหลัง
บรรทัดที่
28-31
เป็นคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของชิ้นส่วนที่จะยอมให้สึกหรอ
(ขนาด
-
diameter และระยะห่าง
-
clearance) คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเรือนปั๊ม
(casing)
และใบพัด
(impeller)
และตัวบุชชิ่งสำหรับเพลา
(interstage
bushing) ในกรณีที่ปั๊มนั้นมีหลาย
stage
(คือมีหลายใบพัดติดตั้งอยู่บนเพลาเดียวกัน
ดังนั้นระหว่างเพลาช่วงที่อยู่ระหว่างใบพัดจะจะมีรองลื่นรองรับ
และจะมีบุชชิ่งรองเพลาเอาไว้
ณ ตำแหน่งนี้
เมื่อใช้งานไปตัวบุชชิ่งก็จะสึกหรอแทนที่เพลาจะเป็นตัวสึกหรอ
และต้องมีการเปลี่ยนตัวบุชชิ่งใหม่
คำว่า
"บุชชิ่ง
-
bushing" นี้ในทางวิศวกรรมมีหลายความหมาย
ขึ้นอยู่กับว่าเป็นทางด้านสาขาไหน
ดังนั้นถ้าได้ยินคำว่าบุชชิ่งก็ควรพิจารณาด้วยว่าเขากำลังพูดเรื่องเกี่ยวกับอะไรอยู่
เพราะถ้าเป็นระบบท่อหรือการเดินสายไฟฟ้า
มันก็จะมีความหมายอีกแบบหนึ่ง
บรรทัดที่
32
คอลัมน์ด้านขวา
เป็นหัวข้อเกี่ยวกับขนาดและมิติของปั๊ม
รายละเอียดในบรรทัดที่
33-36
เกี่ยวกับน้ำหนักของปั๊มและแท่นติดตั้ง
(บรรทัดที่
33)
น้ำหนักของมอเตอร์หรือเทอร์ไบน์
(บรรทัดที่
34)
ที่ใช้ขับเคลื่อนปั๊ม
มิติของแท่นติดตั้งปั๊ม
(base
plate dimension) และใช้แท่นติดตั้งเบอร์อะไร
ตามมาตรฐาน ANSI
หรือ
API
ตัวแท่นสำหรับติดตั้งปั๊มจะเป็นโครงเหล็กที่มีการกำหนดตำแหน่งสำหรับยึดปั๊มและมอเตอร์ขับเคลื่อน
โดยตัวแท่นนี้จะถูกยึดเข้ากับฐานคอนกรีตอีกทีหนึ่ง
ตัวแท่นนี้จะมีมาตรฐานอยู่ว่าจะมีการทำตำแหน่งรูไว้ที่ใดบ้าง
โดยผู้ผลิตมอเตอร์และผลิตปั๊มก็จะออกแบบตัวอุปกรณ์ให้มีรูสำหรับยึดที่ตรงกับตำแหน่งรูของแท่น
ทำให้ผู้ใช้สามารถทำการเปลี่ยนผู้ผลิตมอเตอร์หรือผู้ผลิตปั๊มได้โดยไม่ต้องไปทำการปรับเปลี่ยนแท่นติดตั้งปั๊มหรือระบบท่อเดิมที่วางเอาไว้
ตรงนี้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
ANSI/APISTANDARD 610 Centrifugal Pumps for Petroleum, Petrochemical andNatural Gas Industries, 11th edition, September 2010
รูปที่
๗ ปั๊มหอยโข่งตัวนี้ท่อน้ำเข้าอยู่ทางด้านหน้าเข้าตรงกลางใบพัด
ท่อน้ำออกอยู่ทางด้านบนโดยอยู่ตรงกลง
ตัวเรือนปั๊มจะมีจุดสำหรับเติมน้ำเพื่อล่อน้ำ
(ในกรอบสี่เหลี่ยม)
รูปที่
๘ ภาพร่างโครงสร้างตรงบริเวณห้องซีล
(ภาษาอังกฤษคือ
stuffing
box) ที่ใช้ติดตั้ง
gland
packing (ปะเก็นเชือก)
หรือ
mechanical
seal (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรูปที่
๙)
เพื่อลดการรั่วซึมของของเหลวออกมาภายนอกตัวปั๊ม
บริเวณนี้อาจจะยอมให้มีการอัดของเหลวบางชนิดเข้าไปเพื่อช่วยหล่อลื่น
ระบายความร้อน
หรือป้องกันตัวซีลจากสิ่งสกปรกก็ได้
รูปที่
๙ ทางด้านหลังของปั๊มที่แสดงในรูปที่
๗ ขณะที่ไปถ่ายรูปนั้นปั๊มตัวนี้กำลังทำงานอยู่พอดี
ก็เลยได้ภาพน้ำที่รั่วซึมออกมาจากห้องซีล
(ภาษาอังกฤษเรียก
stuffing
box คือบริเวณที่ใช้ติดตั้ง
gland
packing หรือ
mechanical
seal ที่ใช้ป้องกันการรั่วซึมตรงจุดที่เพลาของปั๊มสอดผ่านตัวเรือนปั๊ม)
เนื่องจากปั๊มตัวนี้เป็นปั๊มน้ำ
ก็เลยเดาว่าน่าจะใช้ปะเก็นเชือก
(gland
packing) พันรอบเพลาในการลดการรั่วซึมของน้ำ
ปรกติแล้วถ้าใช้ gland
packing แล้วมีน้ำรั่วซึมออกมาเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ
อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นด้วยซ้ำ
เพราะน้ำที่รั่วซึมออกมานี้ทำหน้าที่ในการช่วยหล่อลื่นและระบายออกร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างตัวเพลากับ
gland
packing (แม้ว่าปรกติตัว
galnd
packing จะมีกราไฟต์เป็นส่วนผสมเพื่อช่วยให้มีพื้นผิวลื่นแล้วก็ตาม)
ดังนั้นการขัดนอตอัดตัว
stuffing
box ให้แน่นเกินไปจนน้ำซึมผ่านออกมาไม่ได้จึงไม่ใช่สิ่งที่ดี
แต่ถ้าเป็นกรณีของปั๊มที่ใช้สำหรับสารเคมีที่อันตรายที่ไม่ต้องการให้เกิดการรั่วซึม
การใช้ mechanical
seal จะดีกว่า
กลับมาที่บรรทัดที่
37
คอลัมน์ซ้ายในหัวข้อ
AUXILIARY
PIPING หรือระบบท่อสนับสนุนการทำงาน
(ไม่เกี่ยวข้องกับระบบท่อด้านรับของเหลวหรือจ่ายของเหลว)
เริ่มด้วยบรรทัดที่
38
ว่าจะมีท่อน้ำหล่อเย็นหรือไม่
จะเป็นท่อทองแดง (Cu
- copper ตัวย่อโลหะทองแดงมันใช้สัญลักษณ์ทางเคมี
ไม่ได้ย่อตรงมาจากภาษาอังกฤษ)
ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม
(SS
- stainless steel) หรือท่อเหล็กกล้าคาร์บอน
(CS
- carbon steel) จะใช้เป็นท่อชนิด
tube
หรือ
pipe
(สองอันนี้ไม่เหมือนกันนะ
ถ้าไม่รู้ว่ามันต่างกันอย่างไรไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๒๕ วันพุธที่ ๒๙
พฤษภาคม ๒๕๕๖ เรื่อง "ท่อ
-
Pipe - Tube") บรรทัดที่
39
ถามถึงอัตราการไหลน้ำหล่อเย็นที่ต้องการ
(gpm
- แกลลอนต่อนาที)
และคำถามว่าต้องการอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบด้วยสายตาว่ามีน้ำหล่อเย็นไหลผ่านด้วยหรือไม่
(Sight
flow indicator required) บรรทัดที่
40
ถามว่าต้องการการหล่อเย็นที่
packing
ด้วยหรือไม่
ด้วยอัตราการไหลเท่าใด
และความดันเท่าใด
(ทำได้โดยฉีดอัดเข้าไปภายใน
stuffing
box) เพราะต้องสู้กับความดันภายในตัวปั๊ม
รูปที่
๑๐ ตัวนี้เป็นปั๊มน้ำดับเพลิงเช่นกันแต่มีเพียง
stage
เดียว
เนื่องจากใบพัดมีน้ำหนักมาก
ตัวเพลาที่ติดตั้งใบพัดจึงต้องมีจุดรับน้ำหนักที่ปลายทั้งสองด้าน
กรณีนี้ใบพัดจะอยู่ระหว่างจุดรับน้ำหนัก
(คือ
bearing
ที่ภาษาไทยแปลว่า
"รองลื่น"
ส่วนจะเป็นรองลื่นแบบตลับลูกปืนหรือ
journal
bearing นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
ไม่เหมือนกับปั๊มในรูปที่
๕-๗
ที่ใบพัดติดตั้งอยู่ที่ปลายเพลา
ในภาพนี้จะเห็นท่อ (tube)
ทองแดงเล็ก
ๆ นำน้ำจากด้านขาออกของปั๊มส่งกลับมายังบริเวณ
packing
ของเพลาที่อยู่ทางด้านขาเข้าปั๊ม
เพื่อให้น้ำนั้นทำหน้าที่ช่วยหล่อลื่นและระบายความร้อน
อันที่จริงปั๊มที่แสดงในรูปที่
๓ และ ๔ ก็มีท่อนี้เช่นกัน
แต่อยู่ในมุมที่ไม่สามารถเข้าไปถ่ายรูปได้
บรรทัดที่
41-44
เป็นคำถามเกี่ยวกับระบบท่อสำหรับ
flushing
(การชะล้าง)
หรือการ
seal
(ป้องกันการรั่วซึม)
ซึ่งก็ทำตรงบริเวณ
stuffing
box วัตถุประสงค์ตรงนี้แตกต่างไปการหล่อเย็นก่อนหน้า
เช่นในกรณีที่ของเหลวนั้นมีของแข็งแขวนลอยปะปนอยู่
และด้วยความดันภายในตัวปั๊มที่สูงกว่าภายนอก
ทำให้ของเหลวเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะรั่วผ่าน
packing
หรือ
mechanical
seal ออกมาภายนอก
ของแข็งที่ตกค้างอยู่ตรงผิวสัมผัสของระบบ
seal
จะก่อปัญหาเรื่องการสึกหรอและการทำงานของ
seal
วิธีป้องกันวิธีการหนึ่งก็คือการใช้ของเหลวจากภายนอกอัดกลับเข้าไปในตัวปั๊มด้วยความดันที่สูงกว่าความดันภายในตัวปั๊ม
(แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าของเหลวที่อัดกลับเข้าไปนั้นสามารถผสมรวมกับของเหลวภายในปั๊มได้)
เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวในตัวปั๊มซึมออกผ่านทางตัว
seal
ได้
แต่ถ้าเป็น seal
fluid นั้นเน้นที่การป้องกันการรั่วซึมมากกว่า
เช่นของเหลวในปั๊มนั้นอาจมีสารที่มีอันตรายสูงละลายปนอยู่
ถ้ารั่วไหลผ่าน seal
อาจกลายเป็นไอระเหยที่เป็นอันตรายต่อการหายใจ
เลยต้องมีการอัดของเหลวที่สะอาดเข้าไปเพื่อยันไม่ให้ของเหลวในปั๊มรั่วไหลออกมาได้
ในบางระบบนั้นอาจมีการติดตั้ง
interlock
ที่กำหนดให้ต้องเปิดระบบ
flushing
fluid หรือ
sealing
fluid ให้ทำงานก่อน
จึงจะสามารถเริ่มเดินเครื่องตัวปั๊มได้
ส่วนบรรทัดที่
45
นั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับรูปแบบข้อต่อของท่อว่าจะเป็นแบบเกลียว
เชื่อม หรือหน้าแปลน
บรรทัดที่
37
ถึง
44
ของคอลัมน์ด้านขวาเป็นคำถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของตำแหน่งที่ตั้งปั๊ม
ว่าอยู่ที่ระดับความสูงเท่าใด
(น่าจะเทียบจากระดับอ้างอิงของพื้นโรงงาน)
มีฝุ่นหรือไอระเหยใด
ๆ หรือไม่ อุณหภูมิอากาศต่ำสุด/สูงสุดในรอบปี
ความดันและอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น
และระบบไฟฟ้า
บรรทัดที่
45
ถึง
51
ของคอลัมน์ทางด้านขวาเป็นคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานว่าจะให้ใช้มาตรฐานของใคร
มีให้เลือกระหว่าง ANSI
หรือ
API
หรือเป็นมาตรฐานของตัวโรงงานเอง
ส่วนบรรทัดที่ 52
ก็เป็นคำถามว่าปั๊มดังกล่าวติดตั้งในร่ม
(indoor
คือไม่ตากแดด
ตากฝน ตากหิมะ)
หรือกลางแจ้ง
(outdoor
คือต้องทนได้ทุกสภาพอากาศ)
กลับมาที่คอลัมน์ด้านซ้ายบรรทัดที่
46
ถึง
52
เป็นคำถามเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ทำปั๊มและตัวแท่นวาง
ว่าตัวเรือนปั๊มนั้นอยู่ใน
API
class ไหน
วัสดุที่ใช้ทำต้วเรือน
(casing)
ระดับการสึกหรอที่ยอมรับได้
(CORR
ALL - corrosion allowance) วัสดุที่ใช้ทำใบพัด
(impeller)
แหวนที่เป็นตัวสึกหรอ
(wear
rings) เพลา
(shaft)
ปลอก
(sleeve(s))
การเคลือบผิวภายในตัวเรือนหรือการบุผิว
(เช่นเพื่อป้องกันการกัดกร่อน)
(case internal coating/lining) และตัว
gland
ส่วนบรรทัดที่
52
ก็เป็นรูปแบบการติดตั้งแท่นปั๊ม
สุดท้ายบรรทัดที่
53
เป็นช่องให้ลงรายละเอียดว่าใครเป็นผู้จัดเตรียม
ให้ความเห็นชอบโดยใคร เมื่อใด
และเป็นฉบับแก้ไขครั้งที่เท่าใด
เรื่องของ
Data
Sheet สำหรับ
Centrifugal
pump ก็คงจะจบลงเพียงแต่นี้
แม้ว่าเอกสารที่เอามาให้ดูนี้จะมีอายุกว่า
๓๐ ปีแล้ว แต่ก็ยังเห็นปั๊มมันหน้าตาแบบเดิม
ๆ อยู่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร
สิ่งหนึ่งที่ต้องขอย้ำอีกครั้งคือ
"คำย่อ"
ต่าง
ๆ ที่ปรากฏในเอกสาร
ที่ควรต้องมีการตกลงและทำความเข้าใจกันว่ามีความหมายอย่างไร
โดยเฉพาะคำย่อที่ไม่ใช่หน่วยวัด
ตรงนี้ผมเองก็ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าตัวผมเองก็ไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวปั๊มมานานแล้ว
ดังนั้นรายละเอียดบางอย่างอาจจะมีผิดพลาดไปได้
ก็ต้องขออภัยเอาไว้ด้วย
ใครจะนำไปใช้ก็ควรตรวจสอบความถูกต้องกับแหล่งข้อมูลเฉพาะทางอื่นก่อนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น