เมื่อช่วงลอยกระทงปลายปีที่แล้วที่กลุ่มเราได้มีโอกาสไปนำเสนอผลงานวิชาการที่หาดใหญ่
ก็มีการถือโอกาสหลบฉากจากการประชุมเพื่อไปทำความรู้จักสถานที่ต่าง
ๆ ที่อยู่รอบ ๆ หาดใหญ่
สถานที่หนึ่งที่เราได้แวะไปกันก็คือปาดังเบซาร์ซึ่งเป็นด่านชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย
ตอนขากลับก็เลยมีการแวะถ่ายรูปเล่นกันนิดหน่อยที่สถานีรถไฟคลองแงะ
รูปที่
๑ ป้ายที่สถานีรถไฟคลองแงะ
สถานีนี้อยู่ระหว่างสถานีชุมทางหาดใหญ่และสถานีปาดังเบซาร์ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าไปยังประเทศมาเลเซีย
(รถไฟสายกรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ)
ที่คลองแงะเนี่ยผมเคยมาเที่ยวตอนเด็ก
ๆ เพราะมีญาติผู้ใหญ่บางท่านอาศัยอยู่ที่นั่น
สถานีรถไฟคลองแงะก็ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมพอดี
บังเอิญจังหวะที่เราแวะเข้าไปถ่ายรูปเล่นกันนั้น
กำลังจะมีขบวนรถไฟจากปาดังเบซาร์ขบวนหนึ่งวิ่งผ่านสถานีพอดี
ผมก็ชี้ให้ดูเสาต้นหนึ่งที่อยู่ที่ชานชาลาแล้วถามพวกที่ไปด้วยว่ารู้ไหมว่าเสาต้นนั้นมีไว้ทำไม
ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีใครรู้จักเลย
ผมก็บอกว่านั่นเป็นเสาสำหรับรับ-ส่งห่วงทางสะดวก
เดี๋ยวคอยดูซิว่าเขารับส่งห่วงทางสะดวกอย่างไร
รถไฟขบวนดังกล่าววิ่งเข้าสถานีคลองแงะแบบไม่มีการเบาเครื่อง
และพนักงานประจำรถไฟคนหนึ่งก็โผล่ออกมาจากหน้าต่างหัวรถจักร
แล้วยื่นแขนคว้าเอาห่วงทางสะดวกที่นายสถานีนำมาติดไว้ที่เสา
โดยไม่จำเป็นต้องมีการเบาเครื่องเลย
เชื่อว่าวันนั้นคงเป็นครั้งแรกของพวกที่ไปด้วยกัน
๕ คน ที่ได้เห็นการปฏิบัติงานดังกล่าวของเจ้าพนักงานรถไฟ
การเดินรถไฟในบ้านเรานั้นในท้องที่ที่ห่างไกลจากกรุงเทพยังใช้ระบบรางเดี่ยวอยู่
คือรถวิ่งไป-กลับบนรางเดียวกัน
ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันไม่ให้มีขบวนรถสองขบวนวิ่งสวนทางกันบนรางเดียวกัน
ระบบที่บ้านเราใช้คือการใช้
"ห่วงตราทางสะดวก"
หรือ
"เครื่องทางสะดวก"
หรือ
"ห่วงทางสะดวก"
"ห่วงทางสะดวก"
เป็นเสมือนสัญญลักษณ์ที่รถไฟที่จะวิ่งในรางระหว่างสถานี
ก และสถานี ข ต้องมี
ถ้ารถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งมาถึงสถานี
ก เพื่อไปยังสถานี ข
และได้รับห่วงทางสะดวกที่สถานี
ก รถไฟขบวนนี้ก็จะวิ่งไปยังสถานี
ข ได้ ในขณะเดียวกันถ้ามีรถไฟขบวนที่สองวิ่งจากสถานี
ค มายังสถานี ข เพื่อจะไปยังสถานี
ก รถไฟขบวนที่สองนี้ก็จะนำห่วงทางสะดวก(สำหรับช่วงระหว่างสถานี
ข และสถานี ค)
ที่รับมาจากสถานี
ค มาส่งให้ที่สถานี ข
แต่จะออกจากสถานี ข ไปยังสถานี
ก ไม่ได้ เพราะไม่มีห่วงทางสะดวกสำหรับช่วงระหว่างสถานี
ข และสถานี ก
เพราะห่วงทางสะดวกสำหรับช่วงนี้มันมีอยู่ชิ้นเดียวและอยู่ในขบวนรถขบวนที่หนึ่งที่กำลังวิ่งจากสถานี
ก มายังสถานี ข
ดังนั้นรถไฟขบวนที่สองจึงต้องหยุดรอที่สถานี
ข ก่อน ที่เรียกกันทั่วไปว่ารอหลีก
พอรถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งเข้ามาถึงสถานี
ข รถไฟขบวนนี้ก็จะนำเอาห่วงทางสะดวกที่รับมาจากสถานี
ก มาคล้องที่เสารับห่วงทางสะดวก
(ดูรูปที่
๑ ด้านซ้าย))
เสานี้จะมีอยู่สองต้น
อยู่คนละปลายของชานชาลาสถานีรถไฟ
พอรถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งจะพ้นจากสถานีรถไฟ
พนักงานประจำรถก็จะคว้าเอาห่วงทางสะดวกอีกห่วงหนึ่ง
(สำหรับใช้ระหว่างสถานี
ข และสถานี ค ที่อยู่ถัดไป)
ที่นายสถานีรับมาจากรถไฟขบวนที่สองที่จอรอหลีกอยู่
และเอาไปติดเอาไว้ที่เสาอีกต้นหนึ่งที่อยู่ที่อีกปลายด้านหนึ่งของชานชาลา
รูปที่
๒ รูปซ้ายคือเสาคล้องห่วงทางสะดวก
แขนที่ยื่นออกมา (วงสีเหลือง)
มีไว้สำหรับให้พนักงานในขบวนรถที่วิ่งเข้าสถานีเอาห่วงทางสะดวกที่รับมาจากสถานีก่อนหน้ามาส่งให้ที่สถานีนี้
ส่วนกล่องสีแดงที่อยู่เหนือขึ้นไป
(วงส้ม)
เป็นที่สำหรับนายสถานีเอาห่วงทางสะดวกมากเสียบเอาไว้
เพื่อให้ขบวนรถที่ออกจากสถานีคว้าเอาไปส่งให้กับสถานีถัดไป
ที่อยู่บนยอดเสาคือโคมไฟส่องสว่าง
ส่วนรูปขวาคือเครื่องทางสะดวก
(ที่สถานีคลองแงะ)
ที่พนักงานจะต้องเอาตราที่อยู่ในกระเป๋าที่อยู่ที่ห่วงทางสะดวกมาใส่ในเครื่องนี้
ห่วงทางสะดวกนั้นจะมีกระเป๋าหนังติดอยู่
ในกระเป๋าจะใส่ตรา
(ไม่รู้ว่าเรียกถูกหรือเปล่า)
ที่เป็นสัญญลักษณ์ประจำเส้นทางระหว่างสถานีสองสถานีเอาไว้
นายสถานีจะต้องเอาตราที่รับมามาใส่ในเครื่องทางสะดวก
(รูปที่
๑ ด้านขวา)
เพื่อบอกว่าเส้นทางระหว่างสถานี
ก และสถานี ข เปิดให้รถไฟขบวนที่สองวิ่งไปได้
เมื่อนายสถานี
ข ได้รับห่วงทางสะดวกจากสถานี
ก ที่ขบวนรถขบวนที่หนึ่งนำมาให้
นายสถานีก็จะนำเอาห่วงทางสะดวกนั้นไปให้พนักงานประจำรถไฟขบวนที่สองที่จอดรอหลีกอยู่
รถไฟขบวนที่สองนั้นก็จะสามารถวิ่งจากสถานี
ข ไปยังสถานี ก ได้
ถ้าเกิดกรณีที่พนักงานที่ประจำหัวรถจักรรับห่วงพลาด
ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่ขบวนรถไฟต้องหยุด
และอาจมีการวิ่งถอยหลังมารับห่วงทางสะดวกจากนายสถานี
หรือไม่นายสถานีก็จะปั่นจักรยานเอาไปส่งให้กับพนักงานประจำรถไฟ
เหตุการณ์ดังกล่าวตอนเด็ก
ๆ ที่ผมต้องนั่งรถไฟไปเยี่ยมญาติต่างจังหวัดก็เจออยู่หลายครั้ง
แต่ปัจจุบันหลาย ๆ สถานี
โดยเฉพาะในเขตรอบ ๆ
กรุงเทพมหานครและเส้นทางที่สร้างใหม่
(เช่นเส้นทางสายตะวันออกไปท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังและที่มาบตาพุด)
ก็ไม่มีการใช้ระบบนี้แล้ว
ดูเหมือนจะใช้ระบบ track
circuit แทนกันแล้ว
วันที่ไปที่คลองแงะนั้นผมถ่ายรูปการรับส่งห่วงของพนักงานประจำหัวรถจักรไม่ทัน
ก็เลยยังไม่ได้เขียนเรื่องนี้สักที
บังเอิญไปค้นเจอรูปการรับส่งห่วงทางสะดวกที่เห็นว่าชัดเจนดีก็เลยขอเอามาลงประกอบ
รูปที่ ๓ และ ๔
ผมเอามาจากhttp://www.panoramio.com/photo/385422xx
ทั้งสองรูปถูกระบุว่าถ่ายโดยคุณ
Sumran
R. Dumpee
สถานีปากคลองเป็นสถานีรถไฟที่ถ้าเป็นรถมุ่งหน้าลงใต้ก็จะเป็นสถานีที่อยู่ก่อนถึงพัทลุง
รูปที่
๓ รถไฟกำลังจะวิ่งผ่านสถานีปากคลอง
(จ.พัทลุง)
จะเห็นห่วงทางสะดวกคล้องอยู่ที่เสา
รูปที่
๔ ต่อเนื่องจากรูปที่ ๓
พนักงานประจำรถโผล่หน้าออกมากำลังจะคว้าห่วงทางสะดวกโดยไม่มีการหยุดรถไฟ
ในขณะที่คนกรุงเทพโหยหาสถานที่ท่องเที่ยวต่าง
ๆ ที่จัดขึ้นในรูปแบบย้อนยุคนั้น
บรรยากาศตามสถานีรถไฟเก่า
ๆ เล็ก ๆ ในย่านชนบทของต่างจังหวัดเมื่ออดีต
(เท่าที่ผมจำความได้ก็ร่วม
๔๐ ปีที่แล้ว)
เคยเป็นอย่างไร
ปัจจุบันก็ยังคงเป็นสภาพอย่างนั้นอยู่
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปที่เห็นได้ชัดคือภาชนะใส่ของกินต่าง
ๆ
ปัจจุบัน
ภาพพ่อค้าแม่ค้าขายที่นำข้าวแกงใส่กระทงที่ทำจากใบตองหรือใบบัว
พร้อมกับคนขายกาแฟร้อนใส่กระป๋องนมข้นหวานที่เปิดฝา
(แต่ไม่ตัดให้ขาดจากตัวกระป๋อง)
และมีเชือกร้อย
เดินขายตามชานชาลาสถานียามที่รถไฟเทียบชานชาลาตอนรุ่งสาง
คงไม่มีให้เห็นอีกแล้ว