ย้อนหลังกลับไปเมื่อสักประมาณ
๓๐ ปีที่แล้ว
ในขณะนั้นประเทศไทยมีเพียงแค่โรงกลั่นน้ำมัน
๒ โรงที่ศรีราชา ๑
โรงที่แถวท่าเรือคลองเตย
และโรงกลั่นขนาดเล็กของทหารอีก
๑ โรงที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
โรงแยกแก๊สธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยก็เพิ่งจะตั้งขึ้นที่อำเภอมาบตาพุด
จังหวัดระยอง
โรงงานอุตสาหกรรมที่จัดได้ว่าเป็นส่วน
downstream
ของปิโตรเคมีก็เห็นจะมีแต่โรงผลิตพอลิเมอร์
PVC
ที่ตั้งอยู่แถวอำเภอพระประแดง
จังหวัดสมุทรปราการ
และโรงงานผลิตพอลิเมอร์
HDPE
และ
LDPE
ที่ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง
จังหวัดระยอง
แก๊สธรรมชาติที่ขึ้นมาจากอ่าวไทยในยุคนั้นประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก
แต่ก็มีอีเทน กับโพรเพนและบิวเทนร่วมอยู่ด้วย
(ตรงนี้ไม่นับรวมส่วนที่เป็นของเหลวที่เรียกว่า
natural
gas condensate แต่มักจะเรียกย่อว่า
condensate
ที่จะแยกออกจากส่วนที่เป็นแก๊สที่แท่นขุดเจาะ
ของเหลวส่วนนี้บางทีจะเรียกว่าแก๊สโซลีนธรรมชาติหรือ
Natural
Gasoline ที่ย่อว่า
NGL)
โพรเพนและบิวเทนถูกแยกออกมาเพื่อจำหน่ายในรูปแก๊สปิโตรเลียมเหลวหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า
LPG
ส่วนอีเทนนั้นแม้ว่าจะมีปริมาณที่มากพอที่คุ้มที่จะแยกออกมาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
แต่เนื่องจากบ้านเรายังไม่มีโรงงานผลิตเอทลีน
ทำให้ต้องขายอีเทนส่วนนี้ร่วมไปกับแก๊สมีเทนที่ขายในรูปของเชื้อเพลิง
ลูกค้าในขณะนั้นก็เห็นมีแต่โรงไฟฟ้าที่บางปะกงและโรงจักรพระนครใต้
และโรงงานปูนซิเมนต์ที่สระบุรี
กลุ่มโรงงานปิโตรเคมีกลุ่มแรกที่จะขึ้นที่มาบตาพุดนั้นประกอบด้วย
โรงงานผลิตเอทิลีน-โพรพิลีน
๑ โรง โรงงานผลิต PP
๑
โรง โรงงานผลิต HDPE
และ
LLDPE
อีกอย่างละ
๑ โรง และโรงงานผลิต PVC
อีก
๑ โรง
โดยต่างจะรับเอทิลีนและโพรพิลีนจากโรงงานผลิตเอทิลีน-โพรพิลีนที่จะสร้างขึ้น
(และยังส่งต่อไปยังโรงงานผลิต
HDPE
และ
LDPE
ที่ตั้งขึ้นก่อนหน้า
ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของตัวจังหวัดระยอง
ผ่านทางระบบท่อที่เลียบไปตามถนนสายเลี่ยงเมืองระยอง)
ในขณะนั้นวิศวกรกลุ่มหนึ่งที่รับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างกลุ่มโรงงานปิโตรเคมีกลุ่มแรกของประเทศนั้น
ได้มีการเดินทางไปฝึกอบรม
ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เพื่อเรียนรู้พื้นฐานต่าง
ๆ ที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโรงงานและการออกแบบกระบวนการ
ซึ่งในเวลานั้นนับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย
วิศวกรกลุ่มนี้บางท่านที่ผมรู้จักก็ได้กลายเป็นผู้บริหารของบริษัทชั้นนำของประเทศ
(อันที่จริงบางท่านเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือผมตอนเรียนปริญญาตรีด้วยซ้ำ)
หลายท่านที่เป็นรุ่นพี่ที่ยังคงอยู่ในวงการก็เติบโตไปตามสายงาน
(มีผมที่แยกออกจากสอนหนังสือ)
ตอนที่ผมจบไปทำงานใหม่
ๆ นั้นก็มีโอกาสได้ร่วมงานกับวิศวกรรุ่นพี่เหล่านี้บางท่าน
ก็เลยมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้มาอีกทีหนึ่ง
มาขณะนี้รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องนำเอาความรู้ที่เก็บสะสมเอาไว้นั้นมาเขียนบันทึก
เผื่อให้คนใหม่ ๆ
ได้เรียนรู้ว่าคนก่อนหน้านี้ได้เรียนอะไรมากันบ้าง
แม้เวลาจะผ่านไปกว่า ๓๐
ปีแต่ก็เชื่อว่าความรู้เหล่านี้ยังใช้งานกันอยู่
เพราะมันไม่ได้เป็นส่วนที่เป็นเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แต่เป็นส่วนการบริหารโครงการและการจัดการโครงการมากกว่า
โดยจะเริ่มจากเรื่อง Process
Design Questionnaire ก่อน
จากนั้นจึงค่อยตามด้วยเรื่อง
Project
Design Questionnaire
ในการก่อสร้างโรงงานสักโรงนั้น
เริ่มจากลูกค้า (Client)
หาซื้อเทคโนโยลีจากผู้เป็นเข้าของเทคโนโลยีที่พร้อมที่จะขายให้เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองต้องการจำหน่าย
จากนั้นจึงค่อยไปหาผู้ที่จะทำหน้าที่สร้างโรงงานที่สามารถทำงานตามเงื่อนไขต่าง
ๆ ที่เจ้าของเทคโนโลยีนั้นกำหนดไว้
ซึ่งในบางกรณีเจ้าของเทคโนโลยีก็อาจมีบริษัทรับก่อสร้างเป็นบริษัทอยู่ในเครือด้วย
หรืออาจไปจ้างบริษัทอื่นก็ได้
โดยงานนี้อาจมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเลือก
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
การตรวจแบบก่อสร้าง
การกำหนดผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เป็นที่ยอมรับ
(คือเป็นยี่ห้อที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการ)
การควบคุมงานก่อสร้าง
ฯลฯ
Process Design Questionnaire
นั้นเป็นแบบสอบถามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต
ที่ทางผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงานจำเป็นต้องทราบ
ว่าในกระบวนการผลิตที่เขาต้องทราบนั้นมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
โดยมุ่งเน้นไปที่ส่วนของตัวโรงงานที่เป็นกระบวนการผลิตเป็นหลัก
และข้อตกลงในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร
การเรียกชื่อ ฯลฯ
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในระหว่างการทำงาน
ส่วน
Project
Design Questionnaire นั้นจะเน้นไปที่ข้อมูลโดยรอบของโรงงานซะมากกว่า
ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางการขนส่งอุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง
ๆ เข้าโรงาน
ตัวอย่างของคำถามในหมวดนี้ได้แก่สถานที่ตั้ง
เส้นทางการคมนาคมที่เข้าถึงสถานที่ตั้ง
สภาพอากาศที่ต้องเผชิญ ฯลฯ
ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้ค่อยมาว่ากันอีกที
เอกสารในส่วนของ
Process
Design Questionnaire นั้นมีอยู่ทั้งหมด
๒๙ หน้า จะค่อย ๆ
นำมาลงโดยจะพยายามอธิบายจขยายในแต่ละหัวข้อเพิ่มเติมประกอบ
เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังศึกษาอยู่นั้นได้เห็นภาพว่าทำผู้ก่อสร้างจึงจำเป็นต้องรู้คำตอบของคำถามเหล่านั้น
เริ่มจากหน้าแรกนั้นเป็นปกหน้าที่ระบุชื่อโครงการและสถานที่ตั้งโครงการ
ถัดไปเป็นหน้าสารบัญ
จากนั้นจึงเข้าสู่แบบสอบถาม
โดยเริ่มจากหน้าที่ระบุหมายเลข
Page
1 of 28 ทางมุมขวาของแบบสอบถาม
โดยเริ่มจาก
1.0
Introduction (Page 2 of 28)
ส่วนนี้กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ผู้ว่าจ้างต้องตอบแบบสอบถามนี้
จะเห็นว่ามีการระบุเอาไว้ด้วยว่าควรให้ข้อมูลโดยเร็วที่สุดเพื่อที่งานจะได้เริ่มอย่างรวดเร็ว
แต่ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบทุกตัวแล้วค่อยส่ง
ข้อมูลบางอย่างสามารถส่งให้ในภายหลังได้
2.0
Unit of measure (Page 3 of 28)
เนื้อหาในส่วนนี้เป็นข้อตกลงเรื่องหน่วยการวัดที่จะใช้
โดยทางผู้ออกแบบสอบถามนั้นยกตัวอย่างหน่วยวัดในระบบอังกฤษ/อเมริกามาให้
(เนื่องจากบริษัทที่ออกแบบสอบถามเป็นบริษัทอเมริกา)
ถ้าต้องการใช้หน่วยวัดอื่น
(เช่น
SI
หรือเมตริก
หรือใช้ผสมกัน)
ก็ต้องมีการตกลงกันตั้งแต่ต้น
ตรงนี้เราลองมาดูกันหน่อยว่าเขาต้องการทราบค่าหน่วยวัดของพารามิเตอร์ตัวไหนกันบ้าง
อุณหภูมิ
(Temperature)
: ถ้าเป็นบ้านเราก็จะใช้องศาเซลเซียสเป็นหลัก
(ºC)
ความดัน
(Pressure)
: ความดันตรงนี้มักจะหมายถึงความดันเกจ
(gauge
pressure) ที่สูงกว่าความดันบรรยายกาศ
ถ้าใช้ระบบอังกฤษก็จะใช้หน่วยปอนด์ต่อตารางนิ้ว
(psi)
เป็นหลัก
แต่ถ้าออกมาทางเมตริกก็อาจเป็น
กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
(kg/cm2)
บาร์
(bar)
หรือความดันบรรยากาศ
(atm)
แต่พักหลัง
ๆ ก็เห็นมีการใช้เกจวัดความดันที่แสดงหน่วยเป็นเมกกะปาสคาล
(MPa)
เหมือนกัน
ความดันสุญญากาศ
(Vacuum)
:
คือหน่วยวัดความดันสำหรับระบบที่ทำงานที่ความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ
โดยปรกติจะให้ความดันบรรยากาศเป็นศูนย์
ยิ่งตัวเลขนี้มีค่ามากแสดงว่าความดันของระบบนั้นต่ำกว่าความดันบรรยากาศมากตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่นถ้ากำหนดให้ใช้หน่วย
kg/cm2
ในการระบุความดันสุญญากาศ
ค่า 0.2
kg/cm2 จะเท่ากับค่าความดันสัมบูรณ์
0.8
kg/cm2 แต่ปรกติมักจะไม่เห็นการใช้ความดันสัมบูรณ์
(absolute
pressure) ในการวัดความดันที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ
ในบางครั้งสำหรับระบบที่มีการใช้ความดันที่สูงกว่าความดันบรรยากาศเพียงเล็กน้อยหรือต่ำกว่าความดันบรรยากาศเพียงเล็กน้อย
(เช่นถังเก็บของเหลวที่ความดันบรรยากาศ
ห้องควบคุม ห้องอุปกรณ์วัด-วิเคราะห์
ก็อาจใช้หน่วยวัดความดันที่แตกต่างไปจากหน่วยที่ใช้วัดความดันของกระบวนการ
ตัวอย่างของหน่วยวัดความดันที่สูงกว่าความดันบรรยากาศได้แก่หน่วย
นิ้วน้ำ (in
H2O) หรือเซนติเมตรน้ำ
(cm
H2O)
ซึ่งเปรียบเทียบความดันว่าเท่ากับความสูงของลำน้ำสูงเท่าใด
น้ำหนัก
(Weight)
: โดยทั่วไปก็จะเลือกว่าใช้เป็นกิโลกรัม
(kg)
หรือปอนด์
(lb)
หน่วยที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้ก็คือตัน
(ton)
ถ้าเป็นระบบเมตริก
1
ton (หรือเมตริกตัน)
จะเท่ากับ
1000
kg แต่ถ้าเป็นระบบอังกฤษต้องระวังไว้หน่อย
เพราะมันมีหน่วยตันอยู่สองแบบ
แบบแรกเรียกว่า short
ton ซึ่ง
1
short ton เท่ากับ
2000
lb แบบที่สองเรียกว่า
long
ton ซึ่ง
1
long ton เท่ากับ
2240
lb หรือเท่ากับ
1.016
เมตริกตัน
ปริมาตร,
ของเหลว
(Volume,
Liquids) : สำหรับการผลิตในโรงงานแล้ว
หน่วยวัดปริมาตรสำหรับของเหลวในปริมาณไม่มาก
ถ้าเป็นระบบเมตริกก็มักจะใช้เป็นลิตร
(อังกฤษเขียน
litre
ส่วนอเมริกาเขียน
liter
แต่ก็ย่อว่า
l
เหมือนกัน)
ไม่มีใครเขาใช้หน่วยลูกบาศก์เดซิเมตร
-
dm3 ที่ชอบใช้กันในโรงเรียน
แม้ว่ามันจะเท่ากันก็ตาม
ถ้าปริมาตรมากขึ้นก็มักจะใช้เป็นลูกบาศก์เมตร
(m3)
แต่ถ้าเป็นน้ำมันก็จะมีหน่วยบาร์เรล
(bbl)
ที่เป็นหน่วยที่นิยมใช้กันในวงการน้ำมัน
หน่วยที่ต้องระวังคือแกลลอน
(gal)
เพราะมีอยู่สองนิยาม
ถ้าเป็นของอังกฤษที่เรียก
UK
gal หรือ
Imperial
gallon จะเท่ากับ
4.546
ลิตร
แต่ถ้าเป็นของอเมริกาที่เรียก
US
gas จะเท่ากับ
3.785
ลิตร
ปริมาตร,
แก๊ส
(Volulme,
Gases) : “ปริมาตร”
แก๊สขึ้นอยู่กับปริมาตรภาชนะที่บรรจุ
ดังนั้นหน่วยที่ใช้สำหรับการบอกปริมาตรแก๊สก็มักจะเป็นไปตามหน่วยที่ใช้ในการบอกปริมาตรภาชนะบรรจุ
แต่ “ปริมาณ” แก๊สนั้นขึ้นอยู่กับ
“ปริมาตร” ภาชนะบรรจุ “ความดัน”
ภายในภาชนะบรรจุ และ “อุณหภูมิ”
ของแก๊สนั้น
ดังนั้นเพื่อที่จะเปรียบเทียบปริมาณแก๊สที่อยู่ในภาชนะบรรจุที่มีปริมาตรต่างกันที่ความดันแตกต่างกันได้
จึงมักจะนิยมเปรียบเทียบว่าถ้าแก๊สดังกล่าวมีค่าความดันและอุณหภูมิค่าหนึ่งที่เรียกว่าค่ามาตรฐาน
(หรือค่าที่ตกลงกันไว้)
แก๊สดังกล่าวจะมีปริมาตรเท่าใด
ที่สำคัญคือต้องเข้าใจตรงกันว่าค่าอุณหภูมิและความดันที่ใช้ในการเปรียบเทียบนั้น
แต่ละฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าต้องใช้ค่าอุณหภูมิและความดันที่ตำแหน่งใด
เพราะนิยามของตำแหน่งมาตรฐานนั้นมันมีอยู่หลายตำแหน่ง
อัตราการไหล,
ของเหลว
(Flow,
Liquids) : ต้องมีการกำหนดว่าจะใช้หน่วยเป็น
ปริมาตร/หน่วยเวลา
หรือ น้ำหนัก/ต่อหน่วยเวลา
ปริมาตรของเหลวในหน่วยวัดอัตราการไหลก็มักจะใช้ระบบเดียวกับที่ใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวที่ได้ตกลงกันไว้
ส่วนหน่วยเวลาที่ใช้ก็อาจเป็น
ต่อวินาที ต่อนาที ต่อชั่วโมง
ขึ้นอยู่กับอัตราการไหลว่าสูงเท่าใด
อัตราการไหล,
แก๊ส
(Flow,
Gases) : เช่นเดียวกับหน่วยวัดอัตราการไหลของของเหลว
คือต้องมีการกำหนดว่าจะใช้หน่วยเป็น
ปริมาตร/หน่วยเวลา
หรือ น้ำหนัก/ต่อหน่วยเวลา
ปริมาตรของแก๊สในหน่วยวัดอัตราการไหลก็มักจะใช้ระบบเดียวกับที่ใช้ในการวัดปริมาตรของแก๊สที่ได้ตกลงกันไว้
แต่ในกรณีของแก๊สอาจต้องมีการระบุด้วยว่าค่าปริมาตรนั้นเป็นค่าปริมาตรที่อุณหภูมิและความดันเท่าใด
(กล่าวคือเป็นค่าอุณหภูมิและความดันของการไหลจริง
หรือแปลงมาเป็นที่ค่ามาตรฐาน)
อัตราการไหล,
ไอน้ำ
(Flow,
Steam) :
พึงสังเกตนะว่าอัตราการไหลของไอน้ำแยกออกมาต่างหากจากอัตราการไหลของแก๊ส
และในตัวอย่างที่เอามาให้ดูนั้นใช้หน่วยเป็น
“น้ำหนัก” ต่อหน่วยเวลา
ไม่ใช่หน่วย “ปริมาตร”
ต่อหน่วยเวลา
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการผลิตไอน้ำนั้นเริ่มจากการนำน้ำที่เป็นของเหลวมาต้มให้กลายเป็นไอ
น้ำหนักของไอน้ำที่ได้ก็เท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ต้มให้ระเหยกลายเป็นไอ
(น้ำ
1
ลิตรเมื่อต้มเป็นไอจะมีปริมาตรมากกว่า
1
ลิตร
มันจึงไม่บ่งบอกว่าถ้าต้องการไอน้ำ
1
ลิตรต้องต้มน้ำปริมาตรเท่าใด)
ความร้อน
(Heat)
: หน่วยพลังงานความร้อนที่ใช้ถ้าเป็นระบบอังกฤษคือ
Btu
(British thermal unit) แต่ถ้าเป็นระบบเมตริกก็อาจเป็นวัตต์
(watt
- W) หรือกิโลวัตต์
(kilowatt
- kW)
กำลัง
(Power)
: คือหน่วยของพลังงานต่อหน่วยเวลา
แต่สำหรับอุปกรณ์บางตัว
(เช่นเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ขนาดเล็ก)
อาจมีการใช้หน่วยเป็นแรงม้า
(horse
power - hp) ก็ได้
ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน
(Heat
transfer coefficient) :
ค่าเป็นค่าสำหรับใช้ในการคำนวณหาขนาดของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
(ค่ายิ่งสูงก็แสดงว่าส่งผ่านความร้อนได้ดี
ขนาดพื้นที่ผิวอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนก็จะเล็กลง)
หน่วยของค่านี้ขึ้นอยู่กับหน่วยความร้อนและหน่วยพื้นที่ที่จะใช้ในการคำนวณ
ความหนืด
(Viscosity)
: อาจต้องมีการแยกหน่วยระหว่างสารที่มีความหนืดสูง
(เช่นน้ำมันเตา)
และสารที่มีความหนืดต่ำ
ขนาดของอุปกรณ์และความยาวท่อ
(Equipment
Dimensions and Pipe Length) : ถ้าเป็นหน่วยอังกฤษก็จะเป็นฟุตและนิ้ว
ถ้าเป็นเมตริกก็เป็นเมตรและมิลลิเมตร
ขนาดท่อที่เป็น
Pipe
(Pipe Diameter) และที่เป็น
Tube
(Tube sizes) : ในทางวิศวกรรมนั้น
ท่อที่เรียกว่า Pipe
และ
Tube
นั้นไม่เหมือนกัน
มีมาตรฐานกำหนดที่แตกต่างกัน
ทั้ง Pipe
และ
Tube
มีขนาดทั้งเป็นระบบนิ้วและระบบมิลลิเมตร
Pipe
diameter ในที่นี้หมายถึง
Nominal
Pipe Size (NPS)
ซึ่งตัวเลขขนาดท่อตามชื่อและขนาดที่วัดได้จริงนั้นจะแตกต่างกันสำหรับ
Pipe
ขนาดเล็ก
แต่สำหรับ Pipe
ขนาดใหญ่ตั้งแต่
14
นิ้วขึ้นไปขนาดท่อตามชื่อเรียกจะเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อ
ส่วนความหนาจะบอกเป็น
Schedule
number (ย่อว่า
Sch
no.) ขนาดความหนามาตรฐานคือ
Sch
no. 40 ถ้าต่ำกว่านี้ก็ถือว่าเป็นท่อบาง
ถ้ามากกว่านี้ก็ถือว่าเป็นท่อหนา
ส่วน
Tube
size นั้นขนาด
Tube
ตามชื่อเรียกจะเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของ
Tube
ส่วน
Tube
แต่ละขนาดจะมีผนังหนาขนาดไหนให้เลือกนั้นก็ต้องไปดูค่าในตารางมาตรฐาน
ความแตกต่างระหว่าง Pipe
และ
Tube
เคยเล่าไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๒๕ วันพุธที่ ๒๙
พฤษภาคม ๒๕๕๖ เรื่อง "ท่อ - Pipe - Tube"
มิติของแผนผังโรงงาน
(Plat
Plan Dimension) : Plot plan
คือแบบที่บอกว่าในโรงงานนั้นมีหน่วยผลิตต่าง
ๆ ตั้งอยู่ ณ บริเวณใด
มิติในที่นี้ก็คือความกว้างและความยาวของพื้นที่ตั้งของหน่วยผลิตต่าง
ๆ ว่าจะบอกระทางด้านหน่วยฟุตหรือเมตร
เรื่อง Plot
plan สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๖๑ วันพฤหัสบดีที่
๕ กันยายน ๒๕๕๖ เรื่อง "มาทำความรู้จักกับ Plotplan (แผนผังโรงงาน)"
ความเร็ว
(Velocity)
: ในโรงงานที่ส่งสารต่าง
ๆ ไปตามระบบท่อ
ความเร็วที่ใช้กันก็คือความเร็วของการไหลในท่อที่มีหน่วยเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา
เช่น ft/s
หรือ
m/s
แต่ก็มีบางระบบเช่นระบบเผาแก๊สทิ้งที่เมื่อเวลาทำงานเต็มที่
แก๊สที่ไหลในท่ออาจมีความเร็วสูงมากจนต้องใช้หน่วย
Mach
(มัค
หรือ เท่าของความเร็วเสียง)
ขนาดของปลายท่อที่เป็นจุดต่อของภาชนะบรรจุ
(Vessel
Nozzle Sizes) : ภาชนะ
(Vessel)
ต่าง
ๆ
ไม่ว่าจะเป็นพวกที่ทำงานที่ความดันบรรยากาศหรือสูงกว่าความดันบรรยากาศ
จะมีช่องทางเข้าออกสำหรับท่อ
หรือสำหรับให้คนเข้าไปข้างใน
(ที่เรียกว่า
man
hole) หรือยื่นมือเข้าไปข้างใน
(ที่เรียกว่า
hand
hole) ปรกติก็มีลักษณะเป็นจุดต่อแบบหน้าแปลน
(ดูรูปที่
๑ ไปประกอบ)
การระบุขนาดของหน้าแปลนนี้ก็มักจะใช้หน่วยเดียวกับหน่วยที่ใช้กับขนาดท่อ
ถ้าใช้ท่อหน่วยนิ้ว
หน้าแปลนนี้ก็ใช้หน่วยนิ้วตาม
ถ้าใช้ท่อหน่วยมิลลิเมตร
หน้าแปลนนี้ก็ใช้หน่วยมิลลิเมตรตามไปด้วย
ความดันเสียงและพลังงานเสียง
(Sound
Pressure และ
Sound
Power) : หน่วยวัดค่าความดันเสียงและพลังงานเสียงคือเดซิเบล
(decible
- dB) โดยหน่วยเดซิเบลนี้ยังแยกออกเป็นสเกล
A,
B, C และ
D
อุปกรณ์หรือเครื่องจักรบางเครื่องจะส่งเสียงดังในขณะทำงาน
ทำให้ต้องมีการป้องกันหรือลดผลกระทบจากเสียงนั้น
(เช่นโดยการสร้างอาคารปิดคลุม)
ตัวอย่างเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อน
(diesel
generator) ระบบเผาแก๊สทิ้ง
(flare
system) เมื่อต้องเผาแก๊สทิ้งในปริมาณมาก
เครื่องเหวี่ยงแยกขนาดใหญ่
(centrifuge)
เนื้อหาเรื่องนี้ยังไม่จบ
ยังมีต่ออีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น