ภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำรงชีวิต ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์จึงต้องศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย
นักประวัติศาสตร์ชาวไทยท่านหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า ประวัติศาสตร์แถบบ้านเราจะมียุคมืดหรือ dark age อยู่สมัยหนึ่ง คือช่วงอาณาจักรทวารวดีและศรีวิชัยที่มีความคาบเกี่ยวกันอยู่ โดยอาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรบนแผ่นดินที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคเหนือ และด้านตะวันตกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน ในขณะที่อาณาจักรศรีวิชัยจะเป็นอาณาจักรทางทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยลงไปจนสุดแหลมมลายูและอินโดนีเซียในปัจจุบัน
แต่คำว่ายุคมืดหรือ dark age ของประวัติศาสตร์แถบบ้านเรานั้น ท่านกล่าวเอาไว้ว่าแตกต่างไปจากยุคมืดของยุโรป กล่าวคือยุคมืดของยุโรปนั้นเป็นยุคสมัยที่ศิลปวิทยาการต่าง ๆ แทบไม่มีการพัฒนา แต่ยังมีการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เอาไว้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีการตั้งบ้านเมืองที่ไหนและมีใครเป็นผู้ปกครอง ในขณะที่ของทางบ้านเรานั้นเรามีร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทสิ่งก่อสร้างและเครื่องใข้ต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของพื้นที่บริเวณนั้น มีหลักฐานบันทึกที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นจารึกที่ค้นพบในท้องถิ่นหรือบันทึกของผู้ค้าและนักเดินทางต่าง ๆ ถิ่นที่ได้แวะเวียนเข้ามาบริเวณนี้ว่ามีบ้านเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง แต่กลับแทบไม่มีรายละเอียดบอกว่าใครเป็นผู้ปกครองและปกครองต่อเนื่องกันมายาวนานเท่าใด หรือแม้แต่กระทั่งที่ตั้งเหมือหลวงหลักเช่นในกรณีของอาณาจักรศรีวิชัย
รูปที่ ๑ แผนที่ทหารจัดทำโดยกองทัพอังกฤษในอินเดียในช่วงปีพ.ศ. ๒๔๘๘ บ้านคูบัวอยู่ในกรอบเส้นประสีเหลี่ยมสีน้ำเงินทางมุมด้านล่างขวาของรูป
การศึกษาโครงสร้างของชั้นดินบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง (รูปที่ ๒) แสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้นทะเลกินพื้นที่เข้ามาลึกมากกว่าปัจจุบันมาก แต่ด้วยการทับถมของตะกอนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจึงทำให้กลายเป็นสภาพภูมิประเทศดังปัจจุบัน แหล่งอารยธรรมโบราณที่ค้นพบพบว่ายิ่งเก่าแก่เท่าใดก็ยิ่งห่างจากฝั่งทะเลในปัจจุบันมากขึ้น แต่ถ้าเทียบกับชายฝั่งทะเลในยุคสมัยนั้นพบว่าต่างก็ตั้งอยู่ใกล้กับทะเล การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่าการเดินทางทางน้ำ โดยเฉพาะทางทะเลนั้น มีความสำคัญมานานแล้ว
รูปที่ ๒ แผนที่แสดงชั้นดินบริเวณพื้นที่ภาคกลางเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ที่เป็นแหล่งสะสมของตะกอนดินจากแม่น้ำหลายสาย ถ้าไล่จางทางตะวันตกก็จะมี แควน้อย, แควใหญ่, เจ้าพระยา, ป่าสัก, นครนายก, บางปะกง (จากหนังสือ "กรุงสุโขทัยมาจากไหน?" โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน ๒๕๔๘ สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม
รูปที่ ๓ ป้ายที่จัดทำโดยกรมศิลปากรบริเวณโบราณสถานแห่งที่ ๑ (โคกนายใหญ่) แสดงตำแหน่งที่ตั้งบริเวณโบราณสถานต่าง ๆ ในบริเวณบ้านคูบัวนี้
โบราณสถานบ้านคูบัวที่อ.เมือง ราชบุรี ก็เป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของดินแดนแถบนี้ในอดีต แต่น่าเสียดายที่มันไม่มีบันทึกเอาไว้ว่าอย่างชัดเจนว่ามัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสิ้นสุดไปได้อย่างไร การพัฒนาจะให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์คงทำได้ยาก เพราะมันไม่มีเรื่องเล่า มีเพียงแค่สิ่งก่อสร้างปรักหักพักที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น
รูปที่ ๖ ป้ายบอกชื่อโบราณสถาน แต่ตัวหนังสือเลือนลางมากแล้ว อ่านแทบไม่ได้ ไม่รู้เหมือนกันว่าเชียนด้วยอะไร จึงไม่ทนสภาพอากาศ
รูปที่ ๗ อ้อมมาทางด้านหลัง
รูปที่ ๘ มีจอมปลวกขึ้นอยู่เลยขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกหน่อย
โบราณสถานหมายเลข ๑ นี้เป็นโบราณสถานเล็ก ๆ อยู่อีกฟากของทางรถไฟสายใต้ (เทียบกับวัดโขลงที่เป็นที่ตั้งของโบราณสถานหมายเลข ๑๘ ที่เป็นโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่นี้) ไปทางสถานีบ้านคูบัว ข้ามทางรถไฟ แล้วก็เลี้ยวขวาเข้าไป ถนนทางเข้าเป็นถนนเล็ก ๆ ที่รถยนต์วิ่งได้แต่สวนกันไม่ได้ บริเวณทางเข้าโบราณสถานมีลานให้จอดรถยนต์ได้
สำหรับวันนี้ก็ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ เพื่อบันทึกเรื่องราวของสถานที่บางแห่ง (ที่ดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีคนสนใจแวะไป) ที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยีอนก็แล้วกัน
รูปที่ ๙ เดินวนจนครบรอบแล้ว จอมปลวกอยู่ทางด้านขวามือของรูป ตอนมาถึงมีสุนัขเจ้าถิ่นเห่าต้อนรับและพาเดินวนรอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น