in·her·ent
(adj.) existing as a natural or permentent future or quality of
sb/sth. in·her·ently
(adv.)
จาก
Oxford
advanced learner's dictionary of current english. โดย
A.S.
Hornby 4th ed. 6th Impression (1991)
วาล์วควบคุมนั้นใช้กับการไหลในท่อ
ซึ่งอาจเป็นท่อส่งของเหลวหรือส่งแก๊ส
ในกรณีที่เป็นท่อส่งของเหลวนั้น
การเพิ่มแรงดันให้กับของเหลวเพื่อให้ของเหลวไหลไปตามท่อได้นั้นมักจะใช้ปั๊มเป็นหลัก
และปั๊มที่ใช้กันมากที่สุดในโรงงานเห็นจะได้แก่ปั๊มหอยโข่ง
(centrifugal
pump)
และด้วยพฤติกรรมของปั๊มหอยโข่งที่มีความดันด้านขาออกลดลงเมื่ออัตราการไหลเพิ่มขึ้น
(inherent
behaviour)
ทำให้ความดันด้านขาเข้าของวาล์วควบคุมการไหลเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราการไหลด้วย
และด้วยพฤติกรรมเช่นนี้จึงทำให้การใช้วาล์วควบคุมแบบ
equal
percentage นั้นมีความเหมาะสมมากกว่า
เพราะมันจะให้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหล
(ช่วง
0
- 100% ของวาล์ว)
และระดับการปิด-เปิด
(%
การยกตัวของ
valve
plug) ที่ใกล้เคียงเส้นตรงมากกว่าการใช้วาล์วควบคุมแบบ
linear
และคงจะด้วยเหตุผลเช่นนี้
จึงทำให้เห็นมีการใช้วาล์วควบคุมชนิด
equal
percentage เยอะแยะทั่วไปในโรงงาน
แต่อย่ารีบด่วนสรุปนะว่า
"ถ้าต้องเลือกชนิดวาล์วควบคุมเมื่อใด
ต้องเลือกชนิด equal
percentage เอาไว้ก่อนเสมอ"
เพราะตัวที่เป็นตัวกำหนดชนิดวาล์วที่เหมาะสมกับระบบคือพฤติกรรมการไหล
(inherently
flow behaviour) ไม่ใช่สูตรเคล็ดลับใด
ๆ
เป็นเรื่องปรกติที่เราจะพบว่าขนาดวาล์วที่ได้จากการคำนวณเพื่อให้ได้อัตราการไหลสูงสุดตามต้องการนั้นมันไม่มีใครทำขาย
การเลือกใช้จึงจำเป็นต้องเลือกวาล์วที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอย่างน้อย
ซึ่งก็เป็นแบบเดียวกับการคำนวณหาขนาดท่อที่เหมาะสมกับค่าอัตราการไหลที่ต้องการ
ซึ่งเมื่อได้ค่ามาแล้วก็มักต้องปัดขึ้นไปใช้ท่อที่ใหญ่ขึ้นอย่างน้อยก็
1
ขนาด
ใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(วันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙)
ได้ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างความดันด้านขาออกของปั๊มและอัตราการไหลที่ได้
และจากการคำนวณก็พบว่าวาล์วที่ให้ค่าการไหลสูงสุดตามที่ต้องการเมื่อวาล์วเปิดเต็มที่นั้นต้องมีค่า
Kv
= 8.06
แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้นขนาดวาล์วที่คำนวณได้มักไม่ตรงกับขนาดที่มีขายทั่วไป
และการควบคุมการไหลของวาล์วนั้นมักจะทำได้ไม่มีเมื่อวาล์วใกล้ปิดหรือเปิดเกือบเต็มที่
(ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือแม้ว่า
globe
valve จะใช้ควบคุมการไหลได้ในช่วงกว้าง
แต่ถ้าต้องการควบคุมอัตราการไหลที่ต่ำมาก
จะหันไปใช้ needle
valve แทน
เพราะมันปรับละเอียดได้ดีกว่า)
และยังมีประเด็นที่ว่าอัตราการไหลสูงสุดจริงที่ต้องการอาจมากกว่าค่าที่ใช้ในการออกแบบ
ดังนั้นการใช้วาล์วที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดที่ได้จากการคำนวณ
จึงมักจะพบเห็นกันเป็นเรื่องปรกติ
ใน
Memoir
ฉบับนี้จะเป็นการขยายความต่อจากฉบับที่แล้ว
โดยจะสมมุติว่าเลือกใช้วาล์วที่มีค่า
Kv
= 10.0 แล้วลองคำนวณว่าถ้าเป็นวาวล์ชนิด
linear
และชนิด
equal
percentage ที่มีค่า
rangeability
(τ)
= 20 50 และ
100
ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
ผลการคำนวณในกรณีของวาล์วชนิด
linear
แสดงไว้ในตารางที่
๑ และรูปที่ ๑ และผลการคำนวณในกรณีของวาล์วชนิด
equal
percentage แสดงไว้ในตารางที่
๒ และรูปที่ ๒
ตรงนี้ขอย้ำนิดนึงเวลาที่พูดถึงคำว่า
"linearity"
หรือ
"ความเป็นเส้นตรง"
ว่าให้ระวังนิดนึง
ปรกติเวลาที่ใช้คำ ๆ
นี้เรามักจะหมายถึงการที่ตัวแปรตาม
y
มีการเปลี่ยนแปลงที่แปรผันตรงกับตัวแปรอิสระ
x
หรือสามารถประมาณได้ว่ามีการแปรผันตรงกับตัวแปรตาม
x
(เช่นในกรณีของเส้นโค้งที่มีความโค้งน้อย)
ถ้าว่ากันตามนิยามนี้เราก็จะเห็นว่าวาล์วแบบ
linear
นั้นมีกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง
%
การยกตัวขึ้นของ
valve
plug กับอัตราการไหลที่ประมาณได้ว่าเป็นเส้นตรง
แต่ก็เป็นในช่วงแคบ ๆ
(เช่นในช่วง
0
- 30%, 50 - 80%)
โดยแต่ละช่วงนั้นก็จะมีสมการเส้นตรงสำหรับประมาณค่าของมันเอง
แต่
linearity
ในกรณีของการควบคุมกระบวนการนั้นเราอยากจะได้ความสัมพันธ์ที่ประมาณได้ด้วยสมการเส้นตรงแบบ
1:1
มากกว่า
และครอบคลุมในช่วงที่กว้างมากกว่า
กล่าวคือถ้าวาล์วเปิด 30%
ก็ให้อัตราการไหล
30%
ของค่าสูงสุด
ถ้าวาล์วเปิด 65%
ก็ให้อัตราการไหลเป็น
65%
ของค่าสูงสุด
อะไรทำนองนี้ ซึ่งในกรณีนี้จะพบว่าวาล์วแบบ
equal
percentage (ที่มีค่า
rangeability
ที่เหมาะสมนั้น)
จะให้ความเป็น
linearity
ในรูปแบบนี้ที่ดีกว่า
กรณีสุดท้ายที่จะทดลองคำนวณดูก็คือจะสมมุติว่าถ้าความดันด้านขาออกของปั๊มนั้นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับอัตราการไหล
(คือกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลกับความดันนั้นมีลักษณะโค้งคว่ำที่มากขึ้น)
จะส่งผลต่อการทำงานของวาล์วชนิด
equal
percentage อย่างไร
โดยจะสมมุติให้ความสัมพันธ์ระหว่างความดันด้านขาออกของปั๊มและอัตราการไหลเป็นไปดังค่าที่แสดงในตารางที่
๓ ผลการคำนวณความสัมพันธ์ระหว่าง
%
การยกตัวของ
valve
plug และค่าอัตราการไหลก็แสดงไว้ในตารางที่
๓ และรูปที่ ๓
ค่า
rangeability
เป็นค่าอัตราส่วนระหว่างอัตราการไหลที่มากที่สุดต่ออัตราการไหลที่ต่ำที่สุดที่วาล์วตัวนั้นควบคุมได้
ค่า rangeability
ที่สูงแปลว่า
"ตัวหาร
(หรือค่าอัตราการไหลต่ำสุดที่วาล์วยังคงควบคุมได้)"
มีค่าน้อย
จากข้อมูลในตารางที่ ๒ และ
๓ จะเห็นว่าในช่วงอัตราการไหลต่ำนั้น
(คือต่ำกว่า
2
m3/h) วาล์วที่มีค่า
rangeability
= 50 ให้การควบคุมการไหลที่ดีกว่าวาล์วที่มีค่า
rangeability
= 20 แต่ในช่วงที่อัตราการไหลที่สูงขึ้นไป
วาล์วที่มีค่า rangeability
= 20 จะให้การควบคุมการไหลที่ดีกว่าวาล์วที่มีค่า
rangeability
= 50
ในทางปฏิบัติในกรณีที่ต้องการควบคุมอัตราการไหลในช่วงกว้าง
(เช่นในการปรับส่วนผสมของสารตั้งต้นที่ใช้ในการเข้าทำปฏิกิริยาเคมี)
เราไม่จำเป็นต้องมีวาล์วควบคุมตัวเดียว
เราอาจมีวาล์วควบคุมมากกว่า
๑ ตัวได้
โดยวาล์วตัวหนึ่งเป็นวาล์วควบคุมในกรณีที่ต้องการใช้อัตราการไหลที่สูง
ส่วนอีกตัวหนึ่งเป็นวาล์วควบคุมในกรณีที่ต้องการใช้อัตราการไหลที่ต่ำ
ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหากรณีของวาล์วที่ควบคุมการไหลในช่วงอัตราการไหลที่สูงได้ดี
แต่ควบคุมอัตราการไหลต่ำได้ไม่ดี
หวังว่าที่เขียนเรื่องนี้มารวม
๓ ตอน ๑๕ หน้า A4
นี้คงจะช่วยปูพื้นฐานบางเรื่องเกี่ยวกับวาล์วควบคุม
(control
valve) ให้ใครต่อใครได้บ้าง
ไม่มากก็น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น