ระบบ
ethylene
refrigeration
เป็นระบบทำความเย็นอุณหภูมิต่ำเพื่อใช้สำหรับกระบวนการกลั่นที่อุณหภูมิต่ำ
(เช่นที่หน่วย
demethanizer)
ระบบ
ethylene
refrigeration นี้ทำงานคู่ควบกับระบบ
propylene
refrigeration เพราะจำเป็นต้องใช้ระบบ
propylene
refrigeration
ในการทำให้เอทิลีนที่ผ่านการอัดของคอมเพรสเซอร์ควบแน่นเป็นของเหลว
การทำงานของระบบ ethylene
refrigeration และระบบ
propylene
refrigeration ที่เล่าไว้ใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(วันอังคารที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙)
มีความคล้ายคลึงกัน
รูปที่
๑ เป็น process
flow diagram (PFD) เบื้องต้นที่ใช้ในการออกแบบ
ส่วนรูปที่ ๒
นั้นเป็นแผนผังของระบบควบคุมที่อิงจากรูปที่
๑ รูปที่ ๓ และ 4
เป็น
process
flow diagram ที่พัฒนาขึ้นมาจากรูปที่
๑ หลังจากที่ได้พิจารณาหน่วยอื่นของกระบวนการร่วมด้วย
ดังนั้นรายละเอียดที่แสดงในรูปที่
๑ และรูปที่ ๓ และ ๔
จะแตกต่างกันอยู่บ้าง
คำอธิบายในที่นี้จะอิงไปยังรูปที่
๓ และ ๔ เป็นหลัก
(แม้ว่าคำบรรยายในเอกสารต้นฉบับที่มีอยู่จะอิงไปยังรูปที่
๑ ก็ตาม)
แก๊สเอทิลีนที่ใช้เป็นสารทำความเย็นจะถูกอัดให้มีความดันประมาณ
29.4
kg/cm2 (ความดันเกจ)
โดยแก๊สหลังการอัดจะมีอุณหภูมิประมาณ
88ºC
แก๊สนี้จะถูกทำให้เย็นลงด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนหลายขั้นตอน
เริ่มจากการใช้น้ำหล่อเย็น
(ลดอุณหภูมิลงเหลือประมาณ
43ºC)
โพรพิลีนที่ใช้เป็นสารทำความเย็น
(ลดอุณหภูมิลงเหลือประมาณ
21ºC
ดังนั้นน่าจะใช้โพรพิลีนที่อุณหภูมิ
18ºC
เป็นสารทำความเย็น)
เอทิลีนที่ใช้เป็นสารทำความเย็น
(ลดอุณหภูมิจนเหลือประมาณ
-8.5ºCส่วนนี้คงมาทีหลัง
หลังจากที่เดินเครื่องระบบ
ethylene
refrigeration ได้แล้ว)
และระบบทำความเย็นโพรพิลีน
จนมีอุณหภูมิเหลือประมาณ
-15ºC
(น่าจะใช้โพรพิลีนที่อุณหภูมิ
-23ºC)
ที่ความดันประมาณ
28.1
kg/cm2
(ความดันที่ลดลงเป็นผลจากการไหลผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนต่าง
ๆ)
และนำไปเก็บไว้ในถังเก็บ
(V-1604
ในรูปที่
๔)
พึงสังเกตว่า
ในการลดอุณหภูมิลงนั้น
จะไม่ใช้ระบบทำความเย็นตัวที่เย็นจัดเพียงตัวเดียวมาลดอุณหภูมิในขั้นตอนเดียว
(คือโพรพิลีนที่อุณหภูมิ
-23ºC)
แต่จะใช้การลดเป็นลำดับขั้น
เพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด
เอทิลีนเหลวจากถังเก็บถูกนำไปใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-62ºC
ด้วยการลดความดันลงเหลือประมาณ
6.0
kg/cm2 จากนั้นจะไหลเข้าสู่ถังพัก
(ที่ทำหน้าที่เป็น
suction
drum ให้กับคอมเพรสเซอร์ด้วย)
ใบแรก
(V-1603
ในรูปที่
๔)
ในถังพักใบนี้
เอทิลีนส่วนที่เป็นไอจะถูกดูดกลับไปยังคอมเพรสเซอร์
ส่วนเอทิลีนที่เป็นของเหลวนั้นจะถูกใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-75ºC
ด้วยการลดความดันลงเหลือประมาณ
3.2
kg/cm2 และเอทิลีนส่วนนี้จะไหลไปยังถังพักใบที่สอง
(V-1602
ในรูปที่
๓)
เอทิลีนส่วนที่เป็นไอในถังพักใบที่สองนี้จะถูกดูดกลับไปยังคอมเพรสเซอร์
ส่วนเอทิลีนที่เป็นของเหลวจะถูกนำไปใช้ต่อเป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิประมาณ
-102ºC
ด้วยการลดความดันลงเหลือประมาณ
0.11
kg/cm2 ไอเอทิลีนส่วนนี้จะไหลไปยังถังพักใบที่สาม
(V-1601
ในรูปที่
๓)
ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปยังคอมเพรสเซอร์
อันที่จริงในขั้นตอนสุดท้ายนี้จะให้ระบบทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่า
-102ºC
ก็ได้
ด้วยการลดความดันเอทิลีนลงให้ต่ำลงไปอีก
(ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ)
แต่ก็ต้องกลับไปดูที่คอมเพรสเซอร์ด้วยว่าจะมีปัญหาในการทำงานหรือไม่
(เพราะถ้าความดันด้านขาเข้าคอมเพรสเซอร์ต่ำเกินไป
ก็จะเกิด surging
ได้ง่าย)
รูปที่
๑ Process
flow diagram สำหรับการออกแบบเบื้องต้นของระบบ
ethylene
refrigeration
รูปที่
๒ การออกแบบระบบควบคุมระบบ
ethylene
refrigeration
รูปที่
๓ Process
flow diagram ของระบบ
ethylene
refrigeration หลังการออกแบบเกือบเสร็จสมบูรณ์
รูปที่
๔ ส่วนต่อเนื่องจากรูปที่
๓
พึงเกตในรูปที่
๓ และ ๔ การควบคุมอัตราการไหลของเอทิลีนเหลว
(ที่ความดันต่าง
ๆ)
ที่ใช้ในการทำความเย็นนั้น
จะใช้ระดับเอทิลีนเหลวในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
(E-1310
E-1311 E-1313 และ
E-1329)
เป็นตัวควบคุม
ส่วนอุณหภูมิของการทำความเย็นที่จะได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะให้สารทำความเย็นนั้นเกิดการเดือดที่อุณหภูมิเท่าใด
ซึ่งอุณหภูมิการเดือดของสารทำความเย็นขึ้นอยู่กับความดัน
กล่าวคือความดันยิ่งต่ำ
อุณหภูมิจุดเดือดก็ยิ่งต่ำ
ดังนั้นความดันในถังพักแต่ละใบจะส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิการทำความเย็นที่จะได้
เพราะมันเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเหล่านั้น
การปรับแต่งความดันในถังพักแต่ละใบทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยน
"ความเร็วรอบการหมุน"
ของคอมเพรสเซอร์
กล่าวคือถ้าความดันในถังพักสูงมากเกินไป
ก็ให้เพิ่มความเร็วรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์
(หรือเพิ่มอัตราการดูดไอออกจากถังพัก)
แต่เนื่องจากมีคอมเพรสเซอร์เพียงตัวเดียวที่ทำการดูดไอออกจากถังพักทุกใบ
ดังนั้นเวลาที่คอมเพรสเซอร์เปลี่ยนความเร็วรอบการหมุนเพื่อปรับความดันในถังพักใบที่ผิดปรกตินั้นให้กลับมามีค่าที่ถูกต้อง
จะส่งผลต่อความดันในถังพักใบอื่นที่สภาวะการทำงานเป็นปรกติอยู่แล้วด้วย
เช่นเพิ่มความเร็วรอบอันเป็นผลจากการที่ความดันในถังพักใบใดใบหนึ่งสูงเกินไป
การทำเช่นนี้ก็อาจทำให้ความดันในถังพักใบอื่นที่ปรกติอยู่ลดต่ำลงจนเกิดการ
surge
ได้
ประเด็นนี้ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างหนึ่งเพื่อให้เห็นภาพความยุ่งยากในการออกแบบระบบควบคุม
ท้ายสุดนี้ขอเพิ่มเติมเรื่องระบบขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์นิดนึง
มอเตอร์ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดที่ใช้กันในโรงงานนั้นจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
ความเร็วรอบการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นอยู่กับจำนวนขั้วของมอเตอร์
(อันนี้เป็นโครงสร้างที่ติดตัวมากับมอเตอร์
ถ้าจะเปลี่ยนจำนวนขั้วก็ต้องเปลี่ยนมอเตอร์)
และความถี่ของกระแสไฟฟ้า
(ของบ้านเราจะคงที่ที่
50
Hz)
ดังนั้นการปรับความเร็วรอบการหมุนของอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนให้สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วรอบได้อย่างต่อเนื่องจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
(ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบเฟืองทด
หรือวงจรปรับเปลี่ยนความถี่กระแสไฟฟ้า)
แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจะไม่มีปัญหาเรื่องความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบการหมุนได้อย่างต่อเนื่อง
แต่จะไปมีปัญหาเรื่องการหาแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
(ต้องหาทางผลิตขึ้นเองจากไฟฟ้ากระแสสลับ
และก็ต้องปรับให้ความต่างศักย์และกระแสราบเรียบด้วย
ไม่ใช่เต้นไปตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ)
และราคาของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
ตรงประเด็นนี้การใช้กังหันไอน้ำขับเคลื่อนจะได้เปรียบกว่าเพราะสามารถปรับความเร็วรอบการหมุนได้อย่างต่อเนื่องโดยอาศัยการปรับเปลี่ยนปริมาณไอน้ำที่ป้อนเข้าไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น