ยังจำได้ตอนเด็ก
ๆ ที่มีรถเมล์หลากหลายสีให้นั่ง
มีทั้งสีส้ม สีแดง สีเขียว
สีขาว สีน้ำเงิน
ที่มันมีหลากสีก็เพราะตอนนั้นรถเมล์แต่ละสายดำเนินการโดยเอกชน
เอกชนแต่ละรายก็มีรถเมล์ที่เป็นสีของตนเอง
ซึ่งมันก็ดีเหมือนกันเพราะสีรถมันมองเห็นได้แต่ไกล
รู้เลยว่ารถเมล์ที่เห็นอยู่ไกล
ๆ นั้นเป็นสายที่กำลังรออยู่หรือเปล่า
ไม่เหมือนสมัยนี้ที่รถเมล์มีสีเหมือน
ๆ กัน ต้องรอให้รถเข้ามาใกล้
ๆ ก่อนจึงจะอ่านป้ายได้ว่าเป็นรถสายไหน
รถเมล์สายหนึ่งที่ชอบมาก
(ในสายตาของผมที่เป็นเด็กในตอนนั้น)
ทั้ง
ๆ ที่มันเป็นรถเก่า ๆ คือสาย
๘๓ ที่วิ่งจากท่ารถไฟ
(ท่าเรือข้ามฟากที่อยู่บริเวณที่เคยเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อยในอดีต)
ไปตลิ่งชัน
แต่ผมก็ไม่เคยนั่งไปจนถึงตลิ่งชันหรอกครับ
นั่งไปแค่บ้านเนินก็ลงแล้ว
เพราะอาศัยอยู่ในตรอกข้าวเม่าแถว
ๆ นั้น (ยังจำได้เลยว่าเลขที่บ้านเดิมคือ
๔๙๙/๑๖)
สามสิบกว่าปีที่แล้วรถเมล์มีไม่พอให้บริการครับ
มีรถสองแถวที่ใช้รถบรรทุกขนาดกลางมาดัดแปลงวิ่งทับเส้นทางรถเมล์ทั่วไปหมด
จากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงห้ามใช้รถสองแถว
ให้มาใช้รถไมโครบัส
(รถเมล์คันเล็ก
ๆ ที่ยังพอเห็นเป็นรถร่วมบริการวิ่งอยู่ในบางเส้นทาง)
วิ่งรับส่งแทน
แล้วก็มีการเพิ่มรถเมล์ปรับอากาศเสริมเข้ามา
จะว่าไปรถเมล์ไทยนี่ก็เป็นบริการที่อนุรักษ์นิยมมากบริการหนึ่ง
สมัยก่อนขายตั๋วกันอย่างไร
ปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้น
ส่วนมารยาทการให้บริการของพนักงานหรือครับ
ถ้าเป็นปัจจุบันผมรู้สึกว่าถ้าเป็นรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.)
โดยรวมพนักงานจะมีมารยาทที่ดีกว่าของรถร่วมบริการ
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรูปแบบรายได้ที่พนักงานประจำรถจะได้ที่แตกต่างกันอยู่
แล้วการให้บริการของพนักงานประจำรถเมล์
(ทั้งคนขับและพนักงานเก็บค่าโดยสาร)
ในอดีตเป็นอย่างไรหรือครับ
นักเขียนท่านหนึ่งนามว่า
ณรงค์ ไตรวัฒน์ ได้เขียนบทความเรื่อง
"คู่มือขึ้นรถในกรุง"
ตีพิมพ์ในหนังสือ
"เก็บตก"
ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพร่พิทยาเมื่อปีพ.ศ.
๒๕๐๔
หรือเมื่อ ๕๕ ปีที่แล้ว
ผู้เขียนได้ให้คำแนะนำตั้งแต่
การโบกรถ ขึ้นรถ การนั่ง
การยืนบนรถ ไปจนถึงการลงรถ
เนื้อหาเป็นอย่างไรก็ลองอ่านในภาพที่สแกนมาให้ดูก็แล้วกันครับ
ผมว่า
จะว่าไปแล้วการให้บริการของพนักงานรถเมล์ของบ้านเรานี่ก็
อนุรักษ์นิยมสุด ๆ อยู่เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น