ตอนสุดท้ายของบทความชุดนี้เป็นกรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนหลายตัวทำงานคู่ขนานกัน
ตัวอย่างที่นำมาแสดงนั้นเป็นกรณีของหอกลั่น
ความสูงของหอกลั่นขึ้นอยู่กับผลต่างอุณหภูมิจุดเดือดของสารที่ต้องการแยกออกจากกันและความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
ในกรณีของสารผสมที่มีจุดเดือดใกล้กันมาก
(เช่นโพรเพนกับโพรพิลีน)
และต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความบริสุทธิ์สูง
ความสูงของหอกลั่นสามารถขึ้นไปแตะระดับ
๑๐๐ เมตรได้ และในระหว่างการทำงาน
เมื่อตัวหอกลั่นร้อนขึ้นก็จะมีการยืดตัวขึ้นในแนวดิ่ง
ดังนั้นการออกแบบท่อที่เชื่อมต่อระหว่างตัวหอกลั่นกับอุปกรณ์อื่น
จึงจำเป็นต้องให้ท่อมีความยืดหยุ่นทเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวด้วย
ตัวอย่างเส้นท่อมีความยาวมากคือท่อที่นำเอาไอจากยอดหอ
(ที่ต้องออกมาจากยอดหอกลั่น)
มายังเครื่องควบแน่น
(ที่มักจะติดตั้งอยู่ที่ระดับใกล้กับพื้น)
และท่อ
reflux
ที่นำเอาบางส่วนของของเหลวที่ได้จากการควบแน่นนั้นป้อนกลับไปยังยอดหอใหม่
ความสามารถในการถ่ายเทความร้อนนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วของของไหลที่ไหลผ่านพื้นผิวถ่ายเทความร้อน
ที่ความเร็วต่ำจะมีชั้นฟิล์มเกิดขึ้นบนพื้นผิว
ทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี
แต่ถ้าให้มีความเร็วสูงเกินไปก็จะเกิดปัญหาเรื่องความดันลดและการสึกหรอ
erosion
ได้
ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสายสองสายที่มีอัตราการไหลแตกต่างกันมากนั้นจะเป็นการดีกว่าถ้าใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนขนาดเล็กหลายตัวทำงานคู่ขนานกัน
เช่นในกรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิด
shell
and tube นั้นอาจแบ่งสายที่มีอัตราการไหลสูงให้ไหลคู่ขนานเข้าส่วน
shell
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
ส่วนสายที่มีอัตราการไหลต่ำนั้นให้ไหลเข้าส่วน
tube
โดยให้ไหลแบบอนุกรม
(คือออกจาก
tube
ของเครื่องที่หนึ่งก็ไปเข้า
tube
ของเครื่องที่สอง)
สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของไอที่อุณหภูมิจุดเดือดที่ควบแน่นเป็นของเหลวที่อุณหภูมิจุดเดือดนั้นมีค่าสูงมาก
แต่ถ้าพื้นผิวถ่ายเทความร้อนนั้นมีของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นของไอนั้นปิดคลุมอยู่
การถ่ายเทความร้อนก็จะลดต่ำลง
ตัวเช่นเช่นเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิด
shell
and tube ถ้าเป็นการติดตั้งในแนวดิ่ง
ไอที่จะทำการควบแน่นจะไหลเข้าทางด้านบน
เพื่อให้ของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นนั้นไหลลงสู่ด้านล่างมาตามผิวท่อและระบายออกไปได้ด้วยแรงโน้มถ่วง
ซึ่งก็แน่นอนว่าผิวท่อด้านบนนั้นจะมีชั้นของเหลวห่อหุ้มน้อยกว่าผิวท่อด้านล่าง
การถ่ายเทความร้อนทางด้านบนจึงดีกว่าทางด้านล่างมาก
(ซึ่งถ้าของเหลวระบายออกไม่ทัน
ผิวท่อถ่ายเทความร้อนบางส่วนก็อาจจะจมอยู่ใต้ระดับของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นได้)
และในกรณีของการติดตั้งในแนวนอนที่ให้ไอที่ต้องการควบแน่นนั้นไหลเข้าจากทางด้านบนของส่วน
shell
ของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นบนผิวท่อที่อยู่ระดับสูงกว่าจะไหลหยดลงสู่ท่อที่อยู่ที่ระดับต่ำกว่า
ยิ่งเป็นท่อที่อยู่ต่ำลงไปก็ยิ่งมีของเหลวห่อหุ้มผิวท่อเอาไว้มากขึ้น
ความสามารถในการถ่ายเทความร้อนของท่อที่อยู่ระดับยิ่งต่ำลงไปจึงยิ่งลดต่ำลง
ในกรณีเช่นนี้จะเป็นการดีกว่าที่จะใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนขนาดเล็กหลายตัวทำงานคู่ขนานกันแทนการใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนขนาดใหญ่เพียงเครื่องเดียว
(รูปที่
๔)
เกริ่นร่ายยาวมา
๑ หน้าแล้ว
ก็ได้เวลาเข้าเรื่องกรณีของการติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนหลายตัวบนโครงสร้างที่อยู่ข้างหอกลั่น
(รูปที่
๑ และ ๒)
และหมายเหตุต่าง
ๆ (รูปที่
๓)
ที่เกี่ยวข้อง
Note
1 หรือหมายเหตุ
๑
กล่าวถึงการออกแบบท่อที่ให้ไอนั้นไหลเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้น
จำเป็นต้องให้ไหลเข้าแต่ละเครื่องเท่า
ๆ กัน จึงต้องให้เส้นทางการไหลนั้นมีความสมมาตร
และความต้องการนี้ควรต้องระบุไว้ใน
P&I
Diagram
Note
2 หรือหมายเหตุ
๒
กล่าวถึงโครงสร้างรองรับน้ำหนักท่อที่นำไอจากยอดหอกลั่นมายังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
ที่ต้องทำการระบุเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบโครงสร้างติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
(ไม่ใช่บอกเพียงแต่ว่าโครงสร้างดังกล่าวรับน้ำหนักเพียงเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
แต่ต้องกำหนดด้วยว่าจะมีท่อที่จะเดินมาจากยอดหอกลั่นมาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
ดังนั้นโครงสร้างดังกล่าวต้องมี
pipe
support สำหรับรองรับเส้นท่อดังกล่าวด้วย
Note
3 หรือหมายเหตุ
๓
กล่าวถึงกรณีที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มเติมในอนาคต
ควรมีการเผื่อจำนวนตำแหน่งหน้าแปลนสำหรับการติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มเติมและปิดไว้ด้วย
blind
flange (หน้าแปลนตาบอด)
ทั้งนี้เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้เมื่อทำการติดตั้ง
Note
4 หรือหมายเหตุ
๔
กล่าวถึงการวางตำแหน่งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องที่ควรต้องจัดแนวให้อยู่ตรงกัน
กล่าวคือตัวขาตั้งของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้น
ถ้าเป็นไปได้ ขาทางด้านหัวของแต่ละเครื่อง
และขาทางด้านท้ายของแต่ละเครื่อง
ควรจะอยู่ในแนวเดียวกัน
เพื่อที่จะลดจำนวนคานที่ต้องใช้รับน้ำหนักเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
(น้ำหนักอุปกรณ์ที่กดลงตรงตำแหน่งขาตั้งแต่ละด้านควรต้องถ่ายลงคานโดยตรง
ไม่ถ่ายลงพื้น)
Note
5 หรือหมายเหตุ
๕
กล่าวถึงกรณีที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้นใช้ระบบสาธารณูปโภค
(เช่นน้ำหล่อเย็นหรือไอน้ำ)
ร่วมกัน
แนวท่อระบบสาธารณูปโภคดังกล่าวควรที่จะอยู่ใต้ระดับพื้นที่ทำการติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
Note
6 หรือหมายเหตุ
๖
กล่าวถึงท่อที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องกับถังรองรับของเหลวที่เกิดจากการควบแน่น
ในบางกรณีควรกำหนดให้ท่อดังกล่าวมีความลาดเอียงเพื่อให้มั่นใจว่าของเหลวนั้นจะไหลลงสู่ถังรองรับด้านล่างได้อย่างอิสระ
Note
7 หรือหมายเหตุ
๗
กล่าวถึงกรณีที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนนั้นติดตั้งที่ระดับชั้นกลางหรือชั้นล่างของอาคาร
ควรมีโครงสร้างและอุปกรณ์ช่วยยกติดตั้งถาวรอยู่เหนือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนดังกล่าว
ซึ่งอาจทำให้ต้องเพิ่มระยะระหว่างพื้นกับเพดานของอาคารชั้นนั้นให้สูงขึ้น
(เพื่อให้ยกอุปกรณ์ขึ้นและเคลื่อนย้ายออกได้)
และควรเดินท่อโดยเปิดพื้นที่ด้านบนนั้นให้ว่างเอาไว้ด้วยเพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง
Note
8 หรือหมายเหตุ
๘ (ในรูปที่
๒ จะเป็น Note
9) กล่าวถึงกรณีที่ท่อนำไอจากยอดหอนั้นเชื่อมต่อเข้ากับท่อ
overhead
header
ที่ทำหน้าที่กระจายไอเข้าสู่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้น
ควรมีช่วงท่อตรงที่มีความยาวอย่างน้อย
๓ เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
เพื่อให้มั่นใจว่าไอนั้นจะไหลกระจายออกไปทางด้านซ้ายและขวาเท่า
ๆ กัน (กรณีนี้จำเป็นเมื่อท่อนำไอมายังท่อ
header
นั้นไม่ได้มาในแนวตั้งฉาก
(เมื่อมองจากทางด้านบน)
กับแนวท่อ
header)
รูปที่
๔ ในกรณีของเครื่องควบแน่นชนิด
shell
and tube ที่วางในแนวนอนนั้น
การใช้เครื่องควบแน่นสองตัวทำงานคู่ขนานกันจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เครื่องควบแน่นขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว
เพราะในเครื่องควบแน่นขนาดใหญ่นั้น
ท่อที่อยู่ระดับล่างจะถูกของเหลวที่หยดลงมาจากท่อที่อยู่สูงกว่านั้นปิดคลุมไปหมด
ประสิทธิภาพการถ่ายเทของร้อนของที่ยิ่งอยู่ต่ำลงไปเท่าใดจึงยิ่งลดต่ำลงเมื่อเทียบกับท่อที่อยู่ที่ระดับที่สูงกว่า
รูปที่
๕ การติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิด
fin
tube หลายตัวที่ทำงานคู่ขนานกันนั้นไม่ควรวางเรียงซ้อนกันในแนวดิ่ง
แต่ควรจะเรียงในแนวนอน
โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเครื่องควบแน่น
(condenser)
หรือเครื่องระเหย
(vaporizer)
เพราะการเรียงซ้อนในแนวดิ่งจะทำให้เครื่องที่อยู่ล่างสุดมีปัญหาเรื่องของเหลวผ่านเข้ามากกว่าเครื่องที่อยู่ด้านบน
บทความ
Piping
layout ตอน
Shell
and tube heat exchanger piping ก็จบด้วยตอนนี้ที่เป็นตอนสุดท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น