"เมื่อติดกระดุมเม็ดแรกผิด
วิธีแก้ที่ดีที่สุด
คือ ถอดเสื้อออกซะ
แล้วเริ่มต้นติดกระดุมซะใหม่"
เมื่อวานเห็นมีคนเขาโพสข้อความนี้มาโผล่บนหน้า
facebook
ของผม
ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาบ่นเรื่องอะไร
แต่ก็เลยตอบกลับไปเล่น ๆ
ว่า "ก็เปลี่ยนไปใส่เสื้อยืดคอกลมซิครับ"
การแก้ปัญหามันมีทั้งการแก้ที่
"ซอร์ฟแวร์"
หรือวิธีการทำงาน
(ไม่ว่าจะเป็น
การลงมือปฏิบัติ และการควบคุมการปฏิบัติ)
และที่
"ฮาร์ดแวร์"
หรือตัวอุปกรณ์ที่จับต้องได้
หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า
"ปัญหา"
จะหมดไป
อาจเป็นเพียงแค่ "ปัญหาเดิม"
หมดไป
โดยมี "ปัญหาใหม่"
เกิดขึ้นมาแทน
ในภาควิชาที่ผมทำงานอยู่
เมื่อเริ่มมีการใช้ระบบบัตรผ่านประตูเข้าออก
(บัตรสีขาวที่เห็นในรูป)
ก็มีการให้ยืมบัตรสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อ
(เกือบทั้งหมดก็คือนิสิต)
มีการให้แลกบัตรประจำตัวกับบัตรผ่านประตู
และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ให้เอามาคือ
ระบบแรกที่นำมาใช้ก็คือใช้ระบบ
"ไว้เนื้อเชื่อใจ"
หรือที่เรียกว่า
honour
system นั่นแหละครับ
เพราะทางภาควิชาไม่สามารถจัดคนให้มาทำหน้าที่เพียงเพื่อแลกบัตรทั้งวันได้
แล้วผลเป็นยังไงเหรอ
บัตรที่ให้ยืมหายเพียบ
มีพวกยึดเอาไว้เป็นบัตรส่วนตัวหลายรายเลย
คงมีทั้งเดินเข้ามาแลกบัตรแต่พอไม่เห็นเจ้าหน้าที่นั่งประจำอยู่
ก็หยิบเอาออกไปเลย
แต่ที่สำคัญคือคนเหล่านั้นต่างก็เป็น
"ผู้มีการศึกษา"
กันแล้วทั้งนั้น
ผมเคยเอาปัญหานี้ไปนั่งคุยเล่นกับหัวหน้างานธุรการ
เคยเสนอเขาไปว่าคงต้องเปลี่ยนรูปแบบบัตร
คือแทนที่จะให้มันมีขนาดกระทัดรัดแบบบัตรเครดิตทั่วไปที่ใส่กระเป๋าสตางค์หรือแขวนคอได้
ก็ทำให้มันใหญ่ ๆ ไปเลย
ผลที่ได้ออกมาก็ดังเห็นในรูปนั่นแหละครับ
คือเขาเอาบัตรไปแปะติดกับกระดานพลาสติก
แถมยังเลือกลายแผ่นกระดานให้ออกแนวว่าถ้าวัยรุ่นนำไปใช้ก็คงดูเป็นคนแก่ไปเลย
และเมื่อนำบัตรรุ่นใหม่นี้ไปใช้งาน
(ของเก่าที่ถูกยึดไปเป็นของส่วนตัวนั้นถูกยกเลิกหมด)
ปรากฏว่าจวบมาจนถึงวันนี้
ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีบัตรหายสักใบ
แถมคนที่ยืมไปใช้ก็มักจะรีบนำกลับมาคืน
ไม่มีประเภทว่าเอาไปเก็บไว้ทั้งวันหรือเอาไว้วันหลังค่อยแวะเอามาคืน
ที่เล่ามาข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาที่ฮาร์แวร์
แต่อย่าไปยึดว่าถ้าแก้ปัญหาที่ฮาร์ดแวร์แล้วปัญหาจะหมดไป
อย่างเช่นในกรณีของบัตรที่เล่ามานี้
ที่ตอนนี้มันยังใช้ได้อยู่ก็คงเป็นเพราะยังไม่มีใครคิดจะงัดเอาบัตรออกจากแผ่นกระดาน
หรือไม่ก็ตัดแผ่นกระดานรอบ
ๆ ตัวบัตรออก ซึ่งถ้ามีคนทำเช่นนั้นเมื่อใด
ก็คงต้องมาหาวิธีการป้องกันรูปแบบใหม่กันอีก
และก็อย่าไปตั้งเป็นกฎว่าการแก้ปัญหาที่ฮาร์ดแวร์จะต้องดีกว่าการแก้ปัญหาที่ซอร์ฟแวร์เสมอ
อุบัติเหตุร้ายรายบางรายสามารถป้องกันได้ถ้าหากทำการป้องกันที่ฮาร์แวร์
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือกรณีการระเบิดของโรงงานผลิต
HDPE
แห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
(ดู
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๗๒ วันอังคารที่
๒๔ กันยายน ๒๕๕๖ เรื่อง "โรงงาน
HDPE
ระเบิดที่
Pasadena
เมื่อ
๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๒")
ซึ่งถ้าหากตอนออกแบบนั้นคำนึงถึงโอกาสที่จะมีการต่อท่อผิด
(คือต่อสลับท่ออากาศที่ใช้เปิดวาล์วและปิดวาล์ว
ที่ทำได้ก็เพราะใช้ข้อต่อแบบเดียวกัน)
ก็คงจะออกแบบให้ใช้ข้อต่อท่อแตกต่างชนิดกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น