เป็นอีก
๒ เหตุการณ์จากบทความเรื่อง
"Asphyxiatation
hazards of inert gas" ที่ปรากฏในวารสาร
Loss
Prevention Bulleting ฉบับที่
๙๗ ปีค.ศ.
๑๙๙๑
เรื่องที่
๓ :
ช่างซ่อมบำรุงเสียชีวิตเนื่องจากแก๊สไนโตรเจนใน
vessel
มีการหยุดเดินเครื่องที่หน่วยผลิตหน่วยหนึ่งเพื่อการซ่อมบำรุงเป็นเวลาหลายวัน
และใน vessel
ตัวหนึ่งมีการเปิดให้แก๊สไนโตรเจนในปริมาณน้อย
ๆ ไหลผ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปปนเปื้อนในระบบ
(อันที่จริงคงป้องกันออกซิเจนจากอากาศ)
เพราะส่งผลต่อตัวเร่งปฏิกิริยาได้
โดยแก๊สไนโตรเจนไหลเข้าจากวาล์วที่อยู่ทางด้านล่างของ
vessel
และไหลออกทาง
manhole
ที่อยู่ทางด้านบน
ในวันที่เกิดเหตุนนั้นมีช่าง
๒ คนเข้าไปทำงานใน vessel
เพื่อซ่อมแซมตะแกรงรองรับเบด
(เดาว่า
vessel
ตัวนี้คงเป็นพวก
fixed-bed)
โดยทั้งสองคนที่เข้าไปภายใน
vessel
นั้นมีการสวมอุปกรณ์ช่วยหายใจที่ใช้อากาศอัดความดัน
และยังมีคนที่ ๓ เฝ้าดูอยู่ภายนอก
(เผื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับสองคนที่เข้าไปทำงานข้างใน
คนที่สามจะได้ไปตามคนอื่นมาช่วย
เพราะถ้าเข้าไปช่วยเองโดยไม่ระวัง
อาจมีสิทธิเป็นศพที่สามได้)
เมื่อถึงเวลาหยุดพักรับประทานน้ำชา
ทั้งสามคนก็ไปหยุดพัก
จากนั้นสองคนที่มีหน้าที่ที่ต้องเข้าไปทำงานใน
vessel
ก็ได้กลับมาทำงานต่อก่อน
เพื่อทำงานต่อให้เสร็จ อีก
๒๕
นาทีให้หลังมีการพบช่างสองคนนี้นอนนิ่งอยู่ภายในโดยไม่มีใครสวมเครื่องช่วยหายใจหรือมีสายรัดเครื่องช่วยหายใจติดตัวอยู่
ทั้ง ๒ รายถูกรีบนำตัวออกมาจาก
vessel
ทันที
แต่พบว่าทั้งคู่ได้เสียชีวิตแล้ว
ผลการชัณสูตรพบว่าทั้งคู่เสียชีวิตเนื่องจากการขาดอากาศ
ผลการสอบสวนอุบัติเหตุไม่สามารถระบุได้ว่าทำไมทั้งสองคนจึงเข้าไปใน
vessel
โดยไม่มีการสวมอุปกรณ์ป้องกัน
ได้แต่คาดการณ์ว่าคงมีใครคนหนึ่งเข้าไปใน
vessel
ก่อนโดยที่สวมหน้ากากเครื่องช่วยหายใจแต่ไม่ได้รัดเอาไว้
พอรู้สึกเกิดอาการไม่ดีจึงถอดหน้ากากออก
ส่วนอีกรายหนึ่งนั้นคงจะเข้าไปช่วยรายแรกโดยไม่ได้สวมหน้ากากเครื่องช่วยหายใจ
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ
ทั้งสองรายรู้ดีว่าภายใน
vessel
นั้นไม่มีอากาศหายใจ
แต่ทำไมจึงได้พลาดในเหตุการณ์เดียวกันทั้งสองคน
ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า
แม้ว่าจะมีการฝึกฝนหรือประสบการณ์กันมามากเท่าใด
แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริง
โดยตัวคนนั้นก็มีโอกาสพลาดกันได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
เช่นเผลอลืมไปชั่วขณะหนึ่ง
หรือมีบางสิ่งมาดึงความสนใจจากงานที่กำลังทำอยู่
เป็นต้น และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับคนที่หนึ่ง
คนที่สองที่อยู่ร่วมกันเมื่อเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าจึงรีบเข้าไปช่วยโดยลืมนึกถึงอันตรายที่อยู่ตรงหน้า
ทำให้เกิดความสูญเสียตามมา
ดังเช่นกรณีของ เรื่องที่
๑ ที่เป็นช่างเชื่อมที่เสียชีวิตจากแก๊สอาร์กอน
และเกือบทำให้คนที่พอเหตุแล้วรีบลงไปช่วยนั้นเกือบเสียชีวิตตามมา
(ดูใน
Memoir
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๑๖๒ วันพุธที่ ๒๐
เมษายน ๒๕๕๙ เรื่อง
"อันตรายจากแก๊สเฉื่อย (ตอนที่ ๒)"
เรื่องที่
๔ :
ช่างซ่อมบำรุงเสียชีวิตจากการพลัดตกลงไปใน
vessel
ที่เต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ในอากาศปรกติจะมีออกซิเจนอยู่
21%
โดยที่เหลือเป็นไนโตรเจน
(และตัวอื่นเล็กน้อย)
การเสียชีวิตเนื่องจากแก๊สนั้นเราอาจแยกออกได้เป็น
๑.
แก๊สนั้นเข้าไปเจือจางอากาศจนทำให้ความเข้มข้นออกซิเจนในแก๊สไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
แก๊สไนโตรเจนเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในรูปแบบนี้
หรือ
๒.
แก๊สนั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย
แม้ว่าในอากาศนั้นจะยังคงมีความเข้มข้นออกซิเจนอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำรงชึวิตก็ตาม
ตัวอย่างแก๊สพวกนี้ที่พบเห็นกันบ่อย
ๆ ได้แก่ คาร์บอนมอนออกไซด์
(carbon
monoxide CO) และไฮโดรเจนซัลไฟด์
(hydrogen
sulphide หรือ
hydrogen
sulfide H2S)
แก๊สพวกนี้แม้ว่าจะมีความเข้มข้นในอากาศที่ไม่สูง
แต่ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้
แก๊สพิษส่วนใหญ่มักมีกลิ่นหรือก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและดวงตา
ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกให้ทราบว่าในบรรยากาศรอบตัวนั้นมีแก๊สพิษอยู่
พวกที่ก่อให้เกิดปัญหามากกว่าคือพวกที่ไม่มีกลิ่นและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทั้งระบบทางเดินหายใจและดวงตา
เพราะการเข้าไปอยู่ในบรรยากาศที่มีแก๊สพวกหลังนี้กว่าจะรู้ตัวก็อาจไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว
จะมีพิเศษตัวหนึ่งเห็นจะได้แก่คาร์บอนไดออกไซด์
(carbon
dioxide - CO2) ที่กว่าจะแสดงอาการเป็นพิษให้เห็นได้
ต้องมีความเข้มข้นสูงในระดับหนึ่ง
(หลายเปอร์เซนต์ในอากาศ)
ซึ่งในที่เปิดจะเกิดเหตุการณ์นี้ได้ยากเว้นแต่จะเป็นบริเวณปิดล้อม
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเห็นมีการนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในรูปน้ำแข็งแห้ง
(dry
ice) มาใช้ในงานแสดงต่าง
ๆ (ที่พ่นให้เกิดควันขาวบนพื้น)
โดยที่ไม่มีอันตราย
จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มีอันตราย
เพื่อให้เห็นภาพ
ลองนึกสภาพอากาศปรกติที่มี
ไนโตรเจน 79%
ออกซิเจน
21%
แก๊สหายใจ
(บางชนิด)
ที่ใช้สำหรับการดำน้ำลึกนั้นแทนที่ไนโตรเจนบางส่วน
(หรือทั้งหมด)
ด้วยฮีเลียมโดยยังคงรักษาความเข้มข้นออกซิเจนที่เพียงพอสำหรับการหายใจ
คนเราก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ปลอดภัย
แต่สมมุติว่าเราหายใจเอาแก๊สที่ประกอบด้วยออกซิเจน
21%
คาร์บอนไดออกไซด์
5%
โดยส่วนที่เหลือคือไนโตรเจน
อันนี้อ้นตรายถึงตาย
เพราะความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สส่งผลกระทบต่อการระบายคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสโลหิต
เรื่องที่
๔ นี้เป็นกรณีที่พลัดเข้าไปในบรรยากาศที่เป็นอันตราย
(เต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์)
โดยไม่ตั้งใจ
vessel
ทรงกระบอกแนวนอน
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8
m ปริมาตร
6800
ลิตรได้รับการทดสอบความสามารถในการรับความดันด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
มีการพบว่ามีการรั่วของแก๊สที่ข้อต่อฝาปิด
จึงมีการเปิดฝาปิดดังกล่าวออกโดยใช้อุปกรณ์ช่วยยก
(ตรงนี้บ่งบอกเป็นนัยว่าฝาปิดต้องมีน้ำหนักมาก
และมีขนาดใหญ่มากจนต้องใช้อุปกรณ์ช่วยยก
ซึ่งบ่งบอกถึงรูตรงบริเวณดังกล่าวว่าคงต้องกว้างพอที่คนจะเข้าไปได้)
เพื่อทำการซ่อมแซมข้อต่อ
ตรงนี้ในบทความบอกว่าเป็นการทดสอบ
"pressure
tested"
ส่วนในความเป็นจริงจะเป็นการทดสอบความสามารถในการรับความดันของตัว
vessel
จริงหรือเปล่านั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน
ที่แปลกใจคือใช้ "คาร์บอนไดออกไซด์"
ในการทดสอบ
เพราะปรกติเวลาทดสอบความสามารถในการรับความดันนั้นเรามักจะใช้อากาศ
(เพราะมันถูกสุดและมีอยู่ทั่วไป)
เว้นแต่ไม่ต้องการให้มีอากาศ
(คือตัวออกซิเจน)
ปนเปื้อนในระบบ
(กรณีนี้สงสัยว่าอาจเป็นเช่นนี้
และคาร์บอนไดออกไซด์อาจเป็นแก๊สหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการอยู่แล้ว)
ในขณะที่ช่างผู้ทำหน้าที่เปิดฝาดังกล่าวกำลังดันฝาดังกล่าวไปทางด้านข้าง
เขาเกิดเสียหลักและพลัดตกลงไปใน
vessel
ที่ภายในยังเต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แม้ว่าจะมีความพยายามในการนำตัวช่างคนดังกล่าวออกมาทันที่และช่วยชีวิตแต่ช่างคนดังกล่าวก็เสียชีวิต
รูปที่
๑ ช่างซ่อมพลัดตกลงไปใน
vessel
ที่เต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ในขณะที่พยายามดันฝา manhole
ให้เปิด
ในบทความไม่ได้ให้รูปภาพใด
ๆ มา แต่จากที่อ่านบทความผมคิดว่าน่าจะเป็นดังรูปที่
๑ ข้างบน
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าในการทำงานนั้นจะไม่มีแผนการณ์ที่จะเข้าไปใน
vessel
หรือพื้นที่ปิดใดเลย
แต่ก็อาจมีการเข้าไปในบริเวณดังกล่าวเนื่องจากอุบัติเหตุได้
ประเด็นที่น่าสนใจตรงนี้ก็คือการตกลงไปใน
vessel
นั้นเกิดจากการลื่นไถลของตัวช่างเอง
หรือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่พุ่งออกมาจาก
vessel
ทำให้ช่างซ่อมนั้นหมดสติและพลัดตกลงไป
ผ่านมา
๔ ตอนแล้ว
จะขอพักเรื่องอันตรายจากแก๊สเฉื่อยเอาไว้ตรงนี้ก่อน
ถ้ามีเวลาว่างจะมาเขียนต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น