Roots
blower เป็น
compressor
(อุปกรณ์เพิ่มความดันให้กับแก๊ส)
ที่จัดอยู่ในกลุ่ม
positive
displacement จัดเป็นพวกที่อยู่ระหว่างอุปกรณ์ตระกูล
reciprocating
(พวกปั๊มลูกสูบ)
และ
centrifugal
(พวกปั๊มหอยโข่ง)
อุปกรณ์พวก
reciprocating
นั้นผลิตความดันได้สูงด้วยการอัดในขั้นตอนเดียว
และให้อัตราการไหล (เฉลี่ย)
ที่เกือบคงที่แม้ว่าความดันด้านขาออกจะเปลี่ยนไป
แต่การไหลนั้นจะเป็นแบบจังหวะ
(ตามช่วงการอัดไปข้างหน้าของลูกสูบ)
ในขณะที่พวก
centrifugal
นั้นผลิตความดันได้ต่ำในขั้นตอนเดียว
(ถ้าต้องการความดันสูงต้องใช้ใบพัดมาต่ออนุกรมกันหลายขั้นตอน)
และให้รูปแบบการไหลที่ราบเรียบ
(ไม่เป็นจังหวะ)
แต่อัตราการไหลจะเปลี่ยนแปลงได้มากเมื่อความดันด้านขาออกเปลี่ยนแปลงไป
พวก roots
blower จะอยู่ตรงกลางระหว่างสองกลุ่มนี้
คือให้ประสิทธิภาพที่สูงในช่วงความดันด้านขาออกที่ไม่สูงมากและไม่ต่ำมากและให้อัตราการไหลที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากตามการเปลี่ยนแปลงความดันด้านขาออก
การเพิ่มความดันของ
roots
blower นั้นอาศัยการหมุนขบกันของ
rotor
สองตัวที่มีจำนวน
lobe
เท่ากัน
รูปที่ ๑ แสดงหน้าตัดและการทำงานของ
roots
blower ชนิดที่
rotor
มี
2
lobe (two-lobe roots blower) และ
roots
blower ชนิดที่
rotor
มี
3
lobe (three-lobe roots blower) ข้อดีของ
roots
blower คือการหมุนขบกันของ
rotor
นั้นไม่มีการใช้น้ำมันหล่อลื่น
ทำให้อากาศที่ได้จากการอัดนั้นเป็นอากาศที่ปราศจากไอน้ำมันปนเปื้อน
รูปที่
๑ รูปซ้ายแสดงการทำงานของ
roots
blower ที่มี
rotor
ชนิด
two-lobe
(รูปจาก
http://www.sfpumps.com.cn)
ส่วนรูปขวาคือหน้าตัดขวางของ
roots
blower ที่มี
rotor
ชนิด
three-lobe
(รูปจาก
http://www.sdrm.org)
การไปเยี่ยมชมบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตเบียร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีโอกาสได้ถ่ายรูป
roots
blower มาให้ดูกัน
(รูปที่
๒ และรูปที่ ๓)
จะได้รู้จักหน้าตาอุปกรณ์ของจริงขนาดจริงที่ใช้ในโรงงาน
ในโรงงานนี้จะบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดแบบไม่มีอากาศก่อน
(anaerobic)
ซึ่งจะได้แก๊สเชื้อเพลิงไปใช้งาน
จากนั้นจึงมาบำบัดส่วนที่เหลือในบ่อบำบัดแบบมีอากาศ
(aerobic)
ซึ่งต้องมีการเติมอากาศเข้าไปในบ่อ
การเติมอากาศนั้นใช้ roots
blower อัดอากาศเข้าไปที่ด้านล่างของบ่อบำบัด
และให้เป็นฟองกระจายลอยขึ้นมา
รูปที่
๒ Roots
blower สำหรับเติมอากาศให้บ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน
ขับเคลื่อนด้วยสายพานที่ต่ออยู่กับมอเตอร์
ที่เห็นเป็นปล่องตั้งในแนวดิ่งคือท่อดูดอากาศเข้า
ส่วนท่อจ่ายอากาศออกอยู่ทางด้านซ้ายในแนวนอน
รูปที่
๓ Roots
blower ชุดเดียวกับที่แสดงในรูปที่
๒ รูปนี้ถ่ายให้เห็นท่อเก็บเสียง
(silencer)
หรือท่อลดเสียงด้านขาออกก่อนที่ท่อด้านขาออกจาก
blower
ทั้งสองจะมารวมกัน
รูปที่
๔ รูปแสดงอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง
roots
blower เอามาให้ดูเพื่อจะได้เข้าใจภาพในรูปที่
๒ และ ๓ ได้ชัดเจนขึ้น
(รูปจาก
http://www.everestblowers.com/brochure/airomm.pdf)
รูปที่
๕ ในกรณีของการอัดอากาศ
การควบคุมอัตราการไหลนั้นควรใช้การระบายอากาศด้านขาออกทิ้ง
ไม่ควรใช้การหรี่วาล์วด้านขาออก
(รูปจาก
http://www.everestblowers.com/brochure/airomm.pdf)
ไฟล์
Understanding
roots blower ในอีก
๑๑ หน้าถัดไปที่แนบมาได้มาจาก
www.everestblowers.com
ลองไปอ่านประดับความรู้ดูเอาเองก็แล้วกัน
เวลาที่ต้องไปโรงงานจะได้คุยกับคนอื่นหรือฟังคนอื่นพูดรู้เรื่อง