วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir MO Memoir : Saturday 14 January 2555


ใน Memoir ฉบับก่อนหน้า() ได้กล่าวถึง volcano principle ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแรงของการดูดซับบนพื้นผิวกับความสามารถในการเกิดปฏิกิริยา Memoir ฉบับนี้จะกล่าวถึงแบบจำลองคณิตศาสตร์ (mathematical model) ของอัตราการเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์

ในการเกิดปฏิกิริยาบนผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์นั้น จะต้องมีสารตั้งต้นอย่างน้อยหนึ่งสารเกาะลงบนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่อยู่บนผิว รูปแบบการเกิดปฏิกิริยามีหลายรูปแบบด้วยกัน
สมมุติว่าเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในวัฏภาคแก๊สดังต่อไปนี้

A + B --> C
 
การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อวัดเทียบกับความเข้มข้นของสารแต่ละตัวมักจะถูกแสดงในรูปแบบสมการ
(1)
เมื่อ r - อัตราการเกิดปฏิกิริยา
k - rate constant
P - ความดันของสาร A B และ C
a b และ c เป็นเลขจำนวนจริงที่เป็นได้ทั้ง (+) และ (-)

สมการข้างบนเรียกว่า "power rate law" ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ง่ายที่สุด ค่า a b และ c จะได้มาจากการทำ curve fitting ค่าที่ได้จากการทดลองกับค่าที่แบบจำลองคำนวณได้ เพื่อให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
 
ข้อจำกัดของสมการ power rate law นี้อยู่ที่เมื่อนำสมการนี้มาใช้กับปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมด้วย ค่าของเลขยกกำลังต่าง ๆ มักจะไม่คงที่ และจะขึ้นอยู่กับช่วงความดันของสาร A B และ C ที่ทำการทดลอง อย่างไรก็ตามแบบจำลองนี้ก็มีประโยชน์ตรงที่ว่าสามารถใช้ทำนายค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาในช่วงที่ได้ทำการศึกษา โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่ากลไกการเกิดปฏิกิริยานั้นเป็นอย่างไร และยังพอที่จะนำไปใช้ทำนายข้อมูลในช่วงที่ไม่ห่างจากช่วงที่ทำการทดลองไว้มากนักได้
 
สำหรับการศึกษาที่ต้องการความถูกต้องแล้ว อัตราการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมควรที่จะกล่าวถึงในรูปแบบของอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่อจำนวนตำแหน่งที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา (per number of active sites) ซึ่งจะเรียกค่าดังกล่าวว่า Turn over number (TON) หรือ Turn over frequency (TOF) ซึ่งหมายถึงจำนวนโมเลกุลที่เข้าทำปฏิกิริยาต่อตำแหน่งที่ว่องไวต่อหน่วยเวลา
 
แต่โดยปรกติแล้วเรามักไม่รู้ค่าจำนวนที่แท้จริงของตำแหน่งที่ว่องไว() ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงมักกล่าวถึงในรูปแบบของต่อหน่วยน้ำหนักหรือต่อหน่วยปริมาตรของตัวเร่งปฏิกิริยา หรือต่อปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์()
 
สำหรับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็ง สารตั้งต้นอย่างน้อยหนึ่งชนิดจะต้องมาดูดซับอยู่บนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา กลายเป็น surface species ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในการสร้างแบบจำลองของการเกิดปฏิกิริยาเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยาเข้ามาเกี่ยวข้องจึงควรมีการรวมข้อเท็จจริงนี้เข้าไปด้วย
 
ในหลายกรณีด้วยกันได้มีการสังเกตว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาถูกควบคุมโดยขั้นตอนการทำปฏิกิริยาของสารต่าง ๆที่มาดูดซับอยู่บนพื้นผิว แทนที่จะเป็นขั้นตอนของการดูดซับหรือการคายออก() แบบจำลองของการเกิดปฏิกิริยาในรูปแบบนี้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน โดยใน memoir ฉบับนี้จะเริ่มจากแบบจำลอง Langmuir ก่อน

- แบบจำลอง Langmuir

สมมุติปฏิกิริยาการสลายตัวของสารตั้งต้น A ไปเป็นผลิตภัณฑ์ P บนผิวตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิคงที่ โดยสาร A จะมาเกาะบนตำแหน่งที่ว่องไว (q) กลายเป็นสารมัธยันต์บนพื้นผิว (qA) และสลายตัวเป็นผลิตภัณฑ์ P โดยที่ผลิตภัณฑ์ P ไม่ถูกดูดซับบนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ (q คือ theta ในสมการ)

A + q --> (qA) --> P

ในกรณีนี้อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาจะมีรูปแบบ
(2)

ค่าของ qA จะหาได้จากสมการของ Langmuir ดังนี้()
(3)

เมื่อ k คือค่า rate constant และ K คือค่าของที่ของการดูดซับของ A
ดังนั้นเมื่อแทนค่า qA จากสมการที่ (3) ลงในสมการที่ (2) จะได้
(4)
 
สมการที่ (4) เป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันของสารตั้งต้น A กับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีตามแบบจำลอง Langmuir ที่ความดันต่ำค่า 1 >> KPA ดังนั้นสมการที่ (4) จะลดรูปเหลือ


  (5)


ซึ่งจะเห็นว่าสมการที่ (5) เป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 ดังนั้นในช่วงความดัน PA ต่ำเราจะเห็นอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นตามความดันของสารตั้งต้น A
ที่ความดัน PA เพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งค่า KPA >> 1 สมการที่ (4) จะลดรูปเป็น

(6)

สมการที่ (6) เป็นปฏิกิริยาอันดับ 0 ซึ่งเป็นช่วงที่พื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยามีสาร A ดูดซับเอาไว้จนอิ่มตัวแล้ว การเพิ่มความดันสาร A จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนสาร A ที่ถูกดูดซับบนพื้นผิวได้
อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาเมื่อความเข้มข้นของ A เพิ่มขึ้นจะมีลักษณะดังรูปที่ ๑

รูปที่ ๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา ในกรณีของ Langmuir model ที่อุณหภูมิคงที่

ที่ความดันของ A ต่ำ ๆ จำนวนโมเลกุลของ A ที่อยู่บนพื้นผิวจะมีค่าน้อย ปฏิกิริยาจึงเกิดน้อย และเมื่อเพิ่มความดันของ A ให้สูงขึ้น จำนวนโมเลกุลของ A ที่อยู่บนพื้นผิวสูงตามไปด้วย แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีขีดจำกัดของการเพิ่ม ซึ่งถูกกำหนดโดยปริมาณของตำแหน่งที่ว่องไวที่มีอยู่ ดังนั้นเมื่อเพิ่มความดันของ A จนตำแหน่งที่ว่องไวทุกตำแหน่งจับสาร A เอาไว้จนไม่มีตำแหน่งว่างเหลือแล้ว สาร A ที่เพิ่มเข้าไปเกินกว่านั้นจะไม่มีส่วนช่วยให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น

หมายเหตุ
() MO Memoir ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘๓ วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่อง "จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle"
() ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นโลหะนั้น เราสามารถที่จะวัดจำนวนอะตอมของโลหะที่อยู่บนพื้นผิวที่สารตั้งต้นสามารถเข้าถึงได้ (พวกที่อยู่บนผิวบนสุดของผลึกโลหะ) ด้วยการวัด H2 chemisorption หรือ CO chemisorption และมักจะสมมุติว่าทุกอะตอมโลหะที่วัดได้นั้นเป็น active site แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นจะมีอะตอมโลหะบนพื้นผิวเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่เป็น active site ของปฏิกิริยาที่ต้องการ และถ้าเป็นกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ที่อยู่บนตัวรองรับที่เป็นโลหะออกไซด์ด้วยแล้ว เราไม่มีทางที่จะวัดจำนวนตำแหน่ง active site ของโลหะออกไซด์ด้วยวิธีการ H2 chemisorption หรือ CO chemisorption ได้

() เรื่องการบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาในรูปของหน่วยน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาหรือหน่วยปริมาตรตัวเร่งปฏิกิริยานี้ได้เคยกล่าวเอาไว้ใน MO Memoir ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๗๓ วันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง "GHSV หรือ WHSV" แล้ว

() การเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์นั้นประกอบด้วยกลไก ๗ ขั้นตอนด้วยกันคือ
. การแพร่ของสารตั้งต้นจาก bulk fluid มายังผิวนอกของตัวเร่งปฏิกิริยา
. การแพร่ของสารตั้งต้นจากผิวนอกของตัวเร่งปฏิกิริยาเข้ามาในรูพรุน
. การดูดซับสารตั้งต้นลงบนตำแหน่ง active site
. การเกิดปฏิกิริยาบนตำแหน่ง active site นั้น
. การคายซับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากตำแหน่ง active site
. การแพร่ของผลิตภัณฑ์จากภายในรูปพรุนออกมายังผิวนอกของตัวเร่งปฏิกิริยา และ
. การแพร่ของผลิตภัณฑ์จากผิวนอกของตัวเร่งปฏิกิริยากลับไปยัง bulk fluid
ในเรื่องจลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาใน memoir ฉบับนี้ เรากล่าวถึงเฉพาะขั้นตอนที่ ๔. การเกิดปฏิกิริยาบนตำแหน่ง active site เท่านั้น

() อันที่จริงผมควรจะเล่าเรื่องแบบจำลองของการดูดซับก่อน ดังนั้นที่มาของสมการนี้ขอติดเอาไว้ก่อนก็แล้วกัน แต่จะว่าไปพวกคุณก็เรียนมาแล้วนี่นา